Monday, September 15, 2008

DCM Summerize Chapter12 : Telecommunications Systems

Chapter 12
Telecommunications Systems

บทที่ 12 จะพูดถึง บริการและเทคโนโลยีโทรคมนาคม

Introduction
n ในปัจจุบันนี้ ส่วนของระบบของการสื่อสารข้อมูล และระบบโทรคมนาคมนี้ ในปัจจุบันนี้แทบจะเรียกว่ารวมกันเป็นส่วนเดียวกัน คือในอดีตนี้โทรคมนาคมนี้ก็แยกไปเป็นส่วนหนึ่ง จะเป็นบริการหรือเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอย่างเช่น โทรศัพท์ โทรสาร ในขณะที่ data communication นี้จะเกี่ยวข้องกับการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์
n แต่ในปัจจุบันนี้สองส่วน หรือสอง field นี้แทบจะรวมกันเป็นหนึ่งเดียวกัน เราสามารถจะส่งเสียงผ่านไปในช่องทางของระบบ data communication ได้ เพราะฉะนั้นคนที่จะมีความรู้โดยปกติก็จะต้องมีความรู้ทั้งสองด้าน คือทั้งด้านระบบของการสื่อสารข้อมูล และระบบโทรคมนาคมด้วย

Basic Telephone Systems
n ระบบโทรคมนาคม เบื้องต้นก็คือระบบโทรศัพท์นั่นเอง ระบบโทรศัพท์บางทีเราเรียกว่าเครือข่าย PSTN (Public Switch Telephone Network) หรือบางคนก็เรียกว่า POTS หรือ plain old telephone system

อันนี้เป็นลักษณะการทำงานของโทรศัพท์ โทรศัพท์นี้จะใช้ย่านความถี่ ที่ bandwidth ที่ประมาณ 4000 Hz ในการรับและส่งข้อมูล ลักษณะของข้อมูลที่ส่งไปในสายโทรศัพท์ซึ่งเป็นข้อมูลเสียงโดยทั่วไปจะส่งผ่านไปในสายสองเส้น โดยจะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า filter จะเป็นตัวที่คอยแยกในแต่ละฝั่งว่าเสียงที่เข้ามากับเสียงที่ออกไป เพื่อที่ว่าผู้ที่คุยโทรศัพท์นี้จะได้ยินเสียงที่อีกฝั่งหนึ่งพูดเข้ามา แต่ไม่ได้ยินเสียงที่ตัวเองพูดออกไป

n โครงสร้างของระบบโทรศัพท์ ปกติจะแยกออกเป็นสองส่วน คือ ส่วนผู้ใช้โทรศัพท์ตามบ้าน กับชุมสายโทรศัพท์ สายโทรศัพท์ที่เอาไว้ใช้เชื่อมโทรศัพท์ที่บ้านของเรากับที่ชุมสายโทรศัพท์นี้เราเรียกว่า local loop
n ชุมสายโทรศัพท์ หรือ central office คือเป็นจุดที่ทำหน้าที่ในการ switching ในการสลับสายเมื่อมีการโทรจากเครื่องโทรศัพท์ใดโทรศัพท์หนึ่งก็จะวิ่งไปที่ชุมสายโทรศัพท์ ระหว่างชุมสายโทรศัพท์ก็จะมีการเชื่อมโยงถึงกัน

อันนี้ก็เป็นภาพในแต่ละบ้าน โทรศัพท์แต่ละเครื่องสุดท้ายแล้วก็จะมีสายเชื่อมโยงไปยังชุมสายโทรศัพท์
n ระหว่างชุมสายโทรศัพท์ จะมี trunk หรือว่ามีช่องทางในการรับส่งสัญญาณระหว่างชุมสายโทรศัพท์ด้วยกัน
n ซึ่งในปัจจุบันนี้ trunk นี้ โดยปกติก็จะเป็นการรับส่งข้อมูลในระบบ digital
n ในขณะที่สายโทรศัพท์ที่เป็น local loop ซึ่งเชื่อมระหว่างเครื่องโทรศัพท์ของเรากับชุมสายโทรศัพท์ที่เป็นสาย 2 เส้น สาย trunk นี้โดยปกติจะเป็นสาย 4 เส้น คือ แยกกันระหว่างเสียงที่ส่งกับเสียงที่รับ
n โดยปกติ trunk นี้จำนวนคู่สายจะน้อยกว่าจำนวนหมายเลขโทรศัพท์ คือโดยอาศัยหลักที่ว่าผู้ใช้โทรศัพท์นี้ไม่ได้โทรมาพร้อม ๆ กัน trunk นี้ก็จะเป็นสายเชื่อมต่อที่ share กันระหว่างผู้ใช้หลาย ๆ ราย คือ ถ้าผู้ใช้แต่ละรายไม่ได้มีการโทรเข้ามา หรือต้องการใช้โทรศัพท์พร้อม ๆ กัน trunk ก็จะมีจำนวนเพียงพอที่จะให้บริการผู้ใช้ทุก ๆ คนในแต่ละช่วงเวลา

Basic Telephone Systems (ต่อ)
n อันนี้ก็เป็นลักษณะของการทำงานของโทรศัพท์ เครื่องรับโทรศัพท์ปกติก็จะเชื่อมต่อกับสายโทรศัพท์โดยผ่านทางหัว modular jack ที่มีลักษณะเหมือนกับหัวต่อที่ใช้ในระบบเครือข่าย LAN ที่เป็นมาตรฐาน 10baseT แต่ขนาดของหัวต่อนี้จะเล็กกว่า เรียกมาตรฐานนี้ว่า RJ-11
n การทำงานของโทรศัพท์นี้ก็คือ เมื่อเรารับหูโทรศัพท์จะมีสัญญาณจากโทรศัพท์ของเราไปที่ชุมสาย เพื่อเป็นการบอกที่ชุมสายว่า เรามีความต้องการที่จะใช้โทรศัพท์ ซึ่งถ้าชุมสายโทรศัพท์นี้ไม่มีเหตุขัดข้องอะไรก็จะส่งสัญญาณที่เรียกว่าสัญญาณ dial tone มาที่ผู้ใช้โทรศัพท์ ผู้ใช้โทรศัพท์ก็จะหมุนหมายเลขโทรศัพท์ สัญญาณที่ได้จากการหมุนหมายเลขโทรศัพท์นี้จะส่งไปที่อุปกรณ์ switching ที่ชุมสายโทรศัพท์ ชุมสายโทรศัพท์ก็จะทราบว่าเราต้องการจะโทรไปที่หมายเลขอะไร อันนั้นก็เป็นหลักการของระบบโทรศัพท์โดยปกติ

Leased Line Services
n โทรศัพท์ปกติเมื่อนำมาใช้ในการรับส่งข้อมูลนี้ก็จำเป็นจะต้องใช้ Modem ในการเชื่อมต่อ ซึ่งก็มีอุปสรรคหรือมีปัญหาหรือมีข้อจำกัดที่สำคัญก็คือ 1 ในเรื่องของความเร็วในการเชื่อมต่อ และ 2 คือในเรื่องของ reliability คือ ความน่าเชื่อถือ ซึ่งก็จะขึ้นอยู่กับคุณภาพของสายโทรศัพท์ที่ใช้ ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่ชุมสายโทรศัพท์ที่ข้อมูลนั้นส่งผ่านออกไปว่าเป็นอย่างไร เพื่อจะให้ได้ความเร็วที่ดีขึ้น และก็ได้ reliability ที่ดีขึ้น แต่เราสามารถจะเรียกใช้บริการอีกบริการหนึ่งที่เราเรียกว่า lease line service
n lease line service นี้ก็เป็นสายโทรศัพท์ แต่ว่าเป็นสายโทรศัพท์ที่มีการถูก lock หรือถูก set ไว้ให้กับผู้ใช้แต่ละรายเป็นการเฉพาะ คือจะไม่ถูกนำไป share หรือนำไปใช้ร่วมกับผู้ใช้รายอื่น ๆ
n ลักษณะของการใช้ lease line นี้จะเป็นลักษณะที่เรียกว่าเป็น point to point connection หรือว่าเป็น end to end คำว่า end to end ก็คือหมายความว่าในการใช้บริการ lease line นี้เราจะต้องมีการระบุจุดเชื่อมต่อจุดต่อจุด จุดต้นกับจุดปลาย บริการ lease line ก็จะ provide ช่องทางในการเชื่อมต่อตั้งแต่จุดต้นไปจนถึงจุดปลาย โดยที่ช่องทางนั้นจะมีการ fix ไว้สำหรับผู้ใช้แต่ละราย คือจะไม่มีการ share กับผู้ใช้รายอื่น ๆ
n lease line จะมีข้อดีเหนือการใช้ระบบโทรศัพท์ปกติตรงที่ว่าเราสามารถจะมีความเร็วที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลที่สูงกว่าข้อจำกัดของโทรศัพท์ปกติ
n ความเร็วของ lease line โดยปกติจริง ๆ แล้วก็จะเริ่มได้ตั้งแต่ 9,600 ขึ้นไป บริการที่เป็น rate มาตรฐานของ lease line service เราเรียกว่า E-1 ซึ่งเป็นมาตรฐานความเร็วที่ 2.048 Mbps

E-1 Service
n E-1 Service นี้จริง ๆ แล้วคือเป็นการส่งข้อมูลในระบบ digital โดยที่อาศัยหลักการของ time division multiplexing คือใน E-1 Service นี้ข้อมูลที่ส่งซึ่งส่งเป็น digital นี้ จะถูกแบ่งออกมาเป็นช่อง ช่อง ช่อง คือถ้านับในลักษณะของช่องในการส่งข้อมูลที่เป็นเสียงในบริการของโทรศัพท์ก็จะนับได้ทั้งหมด 32 ช่อง ช่องละ 64 Kbps แต่ใน 32 ช่องนี้จะต้องเผื่อสำรองไว้ 1 ช่องไว้ใช้ในการทำ synchronization ก็จะเหลือเพียง 31 ช่อง ถ้าเราใช้บริการ E-1 Service ในลักษณะที่เป็นบริการโทรศัพท์ ก็คือหมายความว่า 1 เส้น E-1 นี้ เราก็จะสามารถเหมือนกับว่ามีหมายเลขโทรศัพท์กว่า 30 หมายเลขในสายเส้นเดียว ถ้าเป็นการทำงานในลักษณะดังกล่าวนี้ จำนวนหมายเลขโทรศัพท์ที่เราจะใช้ได้ต่อ 1 บริการ E-1 ก็คือ 30 หมายเลข เนื่องจากอีก 1 หมายเลขนี้จะต้องใช้ในการส่ง control signal ระหว่างเครื่องรับโทรศัพท์ของผู้ใช้ กับชุมสายโทรศัพท์
n แต่ถ้าเราจะเอา E-1 มาใช้ในการส่งข้อมูลแต่เพียงอย่างเดียวก็สามารถจะทำได้ คือ ความเร็วสูงสุดของ E-1 ที่ทำได้ก็คือ 2.048 Mbps เราเรียกการใช้งานในลักษณะนี้ว่าเป็น unframed mode ก็คือ mode ที่ไม่มีการทำ multiplexing ก็คือใช้ bandwidth ทั้งหมดของในสาย E-1 ทั้งหมด อันนี้ก็คือเป็นบริการ E-1
n ลักษณะของบริการ E-1 หรือ lease line service อื่น ๆ นี้มันมีลักษณะที่นอกเหนือไปจากความเร็วที่สามารถจะเลือกได้ให้มีความเร็วที่สูงกว่าสายโทรศัพท์ทั่วไปได้แล้ว
n อีกลักษณะที่สำคัญก็คือ มันเป็นลักษณะที่เรียกว่า always on services หมายความว่าการเชื่อมต่อระหว่างจุดสองจุดที่เรากำหนดขึ้นนี้นั้นจะมีลักษณะที่เป็น permanent คือ เราสามารถจะแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ตลอดเวลาโดยที่ไม่จำเป็นจะต้องมีการหมุนหมายเลขโทรศัพท์ ไม่ต้องมีการวางหูโทรศัพท์ การเชื่อมต่อในลักษณะนี้เราเรียกว่าการเชื่อมต่อในลักษณะที่ว่า always on service
n ในขณะที่มันมีข้อดีอย่างนี้ ข้อเสียของมันก็คือ โดยปกติ lease line service ก็จะมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างจะแพงมาก เนื่องจากว่าทรัพยากรของเครือข่ายได้ถูกจองไว้สำหรับผู้ใช้แต่ละราย และผู้ใช้รายอื่นไม่สามารถจะไป share ใช้ได้ เพราะฉะนั้นถ้าปริมาณการใช้งานของมันไม่หนาแน่นหรือว่าไม่มากเท่าที่ควร การใช้บริการในลักษณะที่เป็น lease line service ก็อาจจะไม่คุ้มค่าในทางเศรษฐศาสตร์ได้

Integrated Services Digital Network
n บริการโทรคมนาคมประเภทต่อมาที่จะพูดถึง คือ บริการที่เรียกว่า ISDN ซึ่งย่อมาจาก Integrated Services Digital Network
n ISDN หรือบางทีเราเรียกว่าเป็นระบบโทรศัพท์แบบ digital เนื่องจากว่าการรับส่งข้อมูลระหว่างผู้ใช้กับชุมสายโทรศัพท์นี้จะทำในระบบ digital
n ISDN เกิดมาจากแนวความคิดที่ว่า จะให้บริการ digital ในการส่งข้อมูล หรือที่ยังคงสามารถจะใช้สายโทรศัพท์ที่เชื่อมผู้ใช้โทรศัพท์กับชุมสายเดิมได้ โดยทำการเปลี่ยนเพียงอุปกรณ์ที่ชุมสายโทรศัพท์ และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมที่ฝั่งของผู้ใช้
n คำว่า ISDN หมายถึง บริการที่ถูกออกแบบมาให้สามารถจะใช้ service ได้หลาย ๆ service ผ่านบริการเดียว เช่น สามารถใช้คุยโทรศัพท์ได้ ในขณะเดียวกันก็สามารถจะใช้รับส่งข้อมูลได้ด้วย
n บริการ ISDN นั้นเป็นบริการในลักษณะเดียวกับโทรศัพท์ ในแง่ที่ว่าเป็น Circuit Switch Network หมายความว่าเมื่อผู้ใช้จะใช้บริการ ISDN ก็จำเป็นจะต้องมีการหมุนหมายเลขโทรศัพท์ไปที่ปลายทาง เมื่อเลิกใช้ก็ทำการยกเลิกหรือยกหูในการเชื่อมต่อ ความแตกต่างก็คือว่า ISDN นั้นรับส่งข้อมูลในระบบ digital สามารถจะให้บริการรับส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงกว่าปกติ สามารถจะใช้คุยโทรศัพท์ และรับส่งข้อมูลไปได้พร้อม ๆ กัน
n ISDN มีอยู่ด้วยกัน 2 rate คือ Basic rate interface (BRI) และ primary rate interface (PRI)

BRI ISDN

n ในกรณีของ basic rate interface นั้นเป็นบริการที่มีเป้าหมายสำหรับผู้ใช้บริการตามบ้าน หรือผู้ใช้รายย่อย โดยบริการของ BRI service นั้น 1 ช่องสัญญาณนี้จะประกอบไปด้วย 3 ช่องสัญญาณย่อย ๆ โดยใช้หลักการของ time division multiplexing โดยช่องสัญญาณสองช่องเราเรียกว่า B Channel หรือ Bearer Channel แต่ละช่องนี้มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 64 kbps สองช่องสัญญาณนี้สามารถจะใช้แยกกันก็ได้ อย่างเช่น ช่องสัญญาณหนึ่ง B channel หนึ่งสามารถจะใช้ในการรับส่งข้อมูล อีก B Channel หนึ่งสามารถจะไปใช้ในการคุยโทรศัพท์ได้ หรือจะรวมกันแล้วก็เป็นช่องสัญญาณเดียวแล้วมีความเร็ว 128 Kbps ก็ได้
n ส่วนอีกช่องสัญญาณหนึ่งคือ D Channel ช่องสัญญาณนี้คือช่องสัญญาณที่เอาไว้ใช้ในการส่ง control information ระหว่างผู้ใช้กับชุมสายโทรศัพท์ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับสถานะของระบบ ข้อมูลเกี่ยวกับหมายเลขโทรศัพท์ที่หมุน เป็นต้น
n D Channel นี้จะมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ต่ำกว่า B Channel คือมีความเร็วที่ 16 Kbps
PRI ISDN

n สำหรับ ISDN Service ประเภทที่สองเราเรียกว่า PRI ISDN ประเภทที่สองนี้เราสามารถจะมีจำนวน Bearer channel ได้ทั้งหมด 30 ช่อง และก็มี D channel อีก 1 ช่อง โดยที่ bearer channel ก็เช่นเดียวกับกรณีของ BRI Service โดยแต่ละช่องนั้นมีความเร็วในการรับส่งที่ 64 kbps แต่ D channel ในของ PRI Service นั้นจะมีความเร็วที่ 64 kbps
n ธรรมดาในการใช้ PRI ISDN นั้น ฝั่งของผู้ใช้นี้จะต้องเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์เฉพาะ อย่างเช่น ISDN Multiplexer หรือ digital PDX ที่มีพอร์ตรองรับ ISDN ได้
ISDN Equipment
อันนี้เป็นคำศัพท์ และประเภทของอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบเครือข่าย ISDN
n ประเภทอุปกรณ์แรก เราเรียกว่า NT1 (Network Termination-1) Network Termination Equipment อุปกรณ์ตัวนี้จะต้องเป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งในฝั่งของผู้ใช้ เป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับสายโทรศัพท์ 2 เส้นที่มาจากชุมสายโทรศัพท์ output ของอุปกรณ์ตัวนี้จะกลายเป็นสาย ISDN ซึ่งมีสาย 4 เส้น อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับ ISDN ได้นั้นมีอยู่ด้วยกัน 2 ลักษณะ ก็คือ อุปกรณ์ที่เป็น ISDN Device กับอุปกรณ์ที่เป็น non ISDN Device
n อุปกรณ์ที่เป็น ISDN Device เป็นอุปกรณ์ที่สามารถจะเชื่อมต่อเข้ากับ NT-1 ได้ ในขณะที่อุปกรณ์ที่เป็น non ISDN Device เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นจะต้องเชื่อมต่อผ่านอุปกรณ์ adapter ที่เราเรียกว่า TA หรือบางทีเราก็จะเรียกอุปกรณ์นี้ว่า ISDN Modem
n อุปกรณ์ที่เป็น non ISDN Device นี้เรามีชื่อเรียกทางด้านเทคนิคว่า TE2 ในขณะที่เป็นอุปกรณ์ ISDN Device เราเรียกว่า TE1
n ตัวอย่างของ TE1 ก็อย่างเช่น โทรศัพท์ เครื่องรับโทรศัพท์ดิจิตอล อุปกรณ์สื่อสารอย่างเช่น bridge หรือ router ที่มี port ที่สามารถจะต่อเป็น ISDN ได้ รวมถึงตัวอุปกรณ์ terminal adapter
n ส่วนตัวอย่างของ TE2 ก็อย่างเช่น โทรศัพท์ analog ปกติ, modem, และก็เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่มี ISDN port

Frame Relay
n บริการโทรคมนาคม service ประเภทถัดมาได้แก่ บริการเครือข่าย frame relay
n Frame relay ก็เป็นบริการที่อาศัยเทคโนโลยีเครือข่ายที่เราเรียกว่า packet switching บริการ frame relay นั้นเป็นบริการที่ใช้สำหรับการเชื่อมต่อระหว่างจุดต่อจุด หรือระหว่างจุดหนึ่งไปยังหลาย ๆ จุดได้

อันนี้เป็นภาพลักษณะของการเชื่อมต่อด้วยบริการ Frame relay
n ในภาพนี้เราจะเห็นว่ามี site อยู่ทั้งหมด 3 site ด้วยกัน ซึ่งมีเชื่อมต่อผ่านเครือข่าย frame relay ลักษณะของการเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายของ frame relay นั้น จะมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเชื่อมต่ออยู่ 2 ส่วนคือ ส่วนแรกที่เห็นในภาพนี้เป็น Local Telephone Line ในทางปฏิบัติแล้วส่วนที่เป็น Local Telephone Line นี้ก็จะเป็นบริการ lease line ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายของผู้ใช้ ไปยังชุมสายโทรศัพท์ที่ใกล้ที่สุดซึ่งมีบริการ frame relay ให้บริการอยู่
n ตรงนี้ก็จะเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายของผู้ใช้ไปยังจุดที่เป็นขอบของเครือข่าย frame relay ระหว่างจุดต่าง ๆ นั้น ข้อมูลนี้จะถูกส่งผ่านเครือข่าย frame relay ที่เห็นเป็นก้อนเมฆในภาพ ก็จะมีส่วนที่เป็นการเชื่อมต่ออยู่ 2 ส่วน ก็คือ ระหว่างเครือข่ายของผู้ใช้ไปยังชุมสายโทรศัพท์ โดยปกติก็จะเป็นการใช้บริการวงจรคู่สายเช่า หรือ lease line และระหว่างชุมสายโทรศัพท์ของ site หนึ่งไปยังชุมสายโทรศัพท์ที่อีก site หนึ่งเชื่อมต่ออยู่ อันนี้จะกระทำผ่านเครือข่าย frame relay

อันนี้เป็นภาพเปรียบเทียบระหว่างการเชื่อมต่อโดยการใช้ circuit switched กับการใช้ frame relay
n ข้อดีประการหนึ่งของการใช้ frame relay เมื่อเปรียบเทียบกับเทคโนโลยีที่เป็น circuit switch หรือแม้แต่เทคโนโลยีที่เชื่อมต่อด้วยวงจรคู่สายเช่าหรือ lease line
n คือในกรณีของ frame relay นั้น เราสามารถจะใช้ความสามารถในการทำ multiplexing ของ frame relay ทำให้อย่างที่เห็นในภาพล่างทางด้านซ้าย เครื่องคอมพิวเตอร์ทางด้านซ้าย เชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ทางด้านขวา 3 เครื่อง เราไม่จำเป็นจะต้องมีสายเชื่อมต่อเข้ากับบริการ frame relay ทั้งหมด 3 สาย สามารถจะใช้สายเส้นเดียวกันในการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่าย frame relay ได้
n ซึ่งต่างกับกรณีของภาพบน ซึ่งจะต้องมีสายหรือ lease line จำนวน 3 เส้น เพื่อเชื่อมต่อกับเครื่องทางซ้ายเข้ากับแต่ละเครื่องทางด้านขวามือ

Frame Relay Error Correction

n Frame relay จะอาศัยกลไกที่เราเรียกว่า error correction ในลักษณะที่พึ่งพาจุดต้นทางกับปลายทาง ทำให้สามารถจะรับส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วสูง ๆ ในอดีตนั้นระบบเครือข่ายที่เป็นแบบ packet switching network นั้นจะมีการตรวจสอบความถูกต้องในการรับส่งข้อมูลในทุก ๆ ช่วงของการเชื่อมต่อ แต่ในกรณีของเครือข่าย frame relay นั้น การทำ error correction จะกระทำเฉพาะที่ต้นทางกับปลายทางเท่านั้น ที่เป็นเช่นนั้นก็เนื่องมาจากว่า ในเครือข่าย frame relay นั้นอาศัยเทคโนโลยีในระดับ physical layer อย่างเช่น สาย fiber optic ซึ่งได้มีการพัฒนาประสิทธิภาพไปมากในปัจจุบัน ทำให้โอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดในการรับส่งข้อมูลนั้นต่ำ โดยการที่ผลักภาระของการทำ error correction ไปไว้ที่ต้นทางปลายทาง ทำให้การรับส่งข้อมูลระหว่าง node ต่าง ๆ ในเครือข่าย frame relay สามารถจะกระทำได้ที่ความเร็วสูง ๆ

Frame Relay
n ลักษณะของการให้บริการ Frame relay มันมีลักษณะเฉพาะอยู่อย่างหนึ่ง ซึ่งแตกต่างจากกรณีของวงจรคู่สายเช่า หรือ lease line คือในขณะที่ lease line นั้น ความเร็วที่การันตีไว้จะเป็นความเร็วที่คงที่ไปตลอดการเชื่อมต่อ ในกรณีของ frame relay ก็มีการการันตีความเร็วในการรับส่งข้อมูลอยู่เหมือนกัน แต่ความเร็วในการการันตีนี้เราเรียกว่า CIR rate หรือ Committed information rate
n ค่า CIR rate นั้น เป็นค่าความเร็วเฉลี่ยที่ผู้ให้บริการการันตีไว้กับเรา ไม่ได้หมายความว่าทุกชั่วขณะของเวลานั้น ผู้ใช้จะสามารถจะรับส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วเท่ากับ CIR rate เหมือนกับเช่นกรณีของวงจรคู่สายเช่า

Frame Relay vs. the Internet
n อันนี้เป็นการเปรียบเทียบระหว่างการใช้ frame relay กับ การใช้เครือข่าย Internet ในการเชื่อมต่อ
n ข้อดีของเครือข่าย frame relay ก็มีอย่างเช่น เรื่องของการันตีของความเร็วในการเชื่อมต่อ หรือ throughput มี delay ต่ำ และก็มีระดับความปลอดภัยที่สูงกว่า เนื่องจากว่าไม่ได้เป็นเครือข่ายที่เป็น public
n ในขณะเดียวกัน Internet ก็มีข้อดีที่เหนือกว่า frame relay ในแง่ที่ว่า พื้นที่หรือขอบเขตของการบริการนี้กว้างมาก และมีในแทบจะทุกที่ มีราคาถูกว่า และสามารถจะกระทำได้ง่ายกว่า

Asynchronous Transfer Mode
n บริการโทรคมนาคมประเภทถัดมาได้แก่ บริการ ATM หรือในชื่อเต็มว่า Asynchronous Transfer Mode
n ATM เป็นเทคโนโลยี packet switching network ในลักษณะเดียวกับ frame relay
n มีลักษณะที่สำคัญก็คือ มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่สูง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับ frame relay แล้วจะมีความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 45 Mbps แต่ ATM จะมีความเร็วความสามารถในการรับส่งข้อมูลที่สูงกว่านั้น
n บริการ constant bit rate ถึงแม้จะเป็นบริการที่มีคุณภาพสูงสุด แต่ในขณะเดียวกันก็ใช้ทรัพยากรของเครือข่ายมากที่สุดเช่นเดียวกัน
n ในหลาย ๆ กรณีนี้ เราอาจจะไม่จำเป็นต้องอาศัย หรือใช้คุณภาพในระดับเดียวกันกับ VBR ก็สามารถจะทำได้ อย่างเช่น กรณีของการรับส่งภาพวิดีโอ ที่เป็นลักษณะที่เป็น streaming ผ่านเครือข่าย อาจจะเหมาะสมกว่าที่เราจะใช้บริการที่เราเรียกว่า Variable bit rate
n VBR นี้เป็นบริการที่ความเร็วมันอาจจะไม่คงที่ได้ แต่มีการการันตีว่าความเร็วเฉลี่ยในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ นี้จะมีความเร็วที่คงที่
n VBR นี้ก็จะลักษณะของการบริการที่มีคุณภาพใกล้เคียงกับบริการ frame relay ที่เราได้พูดมาแล้ว
n บริการถัดมาก็คือ Available bit rate (ABR) อันนี้เป็นบริการที่มี priority ต่ำกว่า 2 บริการแรก บริการนี้ข้อมูลที่วิ่งผ่านโดยอาศัยบริการนี้ จะถูกส่งก็ต่อเมื่อ 2 บริการแรกนี้ได้สิทธิ์ในการรับส่งข้อมูลไปแล้ว คือถ้าเกิดว่ามีความคับคั่งในการรับส่งข้อมูลมาก ABR Service ก็จะต้องเปิดทางให้กับข้อมูลที่รับส่งผ่านเครือข่ายด้วยบริการที่เป็น VBR หรือ CBR ก่อน
n บริการสุดท้ายคือบริการ Unspecified bit rate (UBR) อันนี้เป็นบริการที่คล้ายคลึงกับคุณภาพการรับส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย LAN คือข้อมูลจะถูกส่งก็ต่อเมื่อมี traffic เหลือ เหลือมาจากการใช้ในการส่งข้อมูลของที่ใช้บริการ ABR VBR หรือ CBR แล้วเท่านั้น คือถ้าเกิดมีการคับคั่งเกิดขึ้น หรือ traffic สูง bandwidth ไม่เพียงพอ ข้อมูลที่รับส่งด้วย UBR Service ก็จะต้องถูก drop ออกจากเครือข่ายไป

โดยสรุปก็คือ ข้อดีของ ATM ก็คือ เป็นเครือข่ายที่มีความเร็วสูง และก็รองรับ class of service ที่่ต่างกันได้
ข้อเสียก็คือ ราคาที่แพง และมีความซับซ้อนในการดูแลค่อนข้างจะมาก

Digital Subscriber Line
บริการโทรคมนาคมประเภทถัดมา คือ Digital subscriber line (DSL)
n Digital subscriber line นี้ใช้ concept ในลักษณะของ ISDN ในแง่ที่ว่าใช้สายโทรศัพท์ที่ได้มีการติดตั้งระหว่างผู้ใช้กับชุมสายโทรศัพท์ไว้แล้ว แต่ทำการเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ชุมสาย และทำการติดตั้งอุปกรณ์ที่ฝั่งของผู้ใช้เพิ่มเติม
n DSL ต่างจาก ISDN ในแง่ที่ว่า DSL นั้น อาศัยการรับส่งข้อมูลในรูปแบบที่เป็น analog ซึ่งแตกต่างจากกรณีของ ISDN คือทำการรับส่งข้อมูลในรูปแบบ digital
n DSL ทำให้เราสามารถจะใช้สายโทรศัพท์ที่มีอยู่ในการรับส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วสูงกว่าการส่งไปในระบบของโทรศัพท์โดยทั่วไป
n ความเร็วที่รับส่งด้วยบริการ DSL นี้จะขึ้นอยู่คุณภาพของสาย และระยะทางจากผู้ใช้ไปยังชุมสายโทรศัพท์
n บริการ DSL มีทั้งที่เป็นแบบ symmetric และ asymmetric คำว่า symmetric คือความเร็วในการรับและการส่ง มีความเร็วเท่ากัน ส่วน Asymmetric คือความเร็วในการรับและการส่งไม่เท่ากัน
n ซึ่งโดยปกติความเร็วของ downstream คือจากชุมสายโทรศัพท์มาที่บ้านเรา จะมีความเร็วที่สูงกว่าฝั่งของ upstream
n บริการ DSL นั้นสามารถจะใช้ในการคุยโทรศัพท์ และใช้ในการรับส่งข้อมูลได้พร้อม ๆ กัน โดยอาศัยเทคนิคของ frequency division multiplexing เพื่อจะให้ใช้บริการ DSL ได้นี้ชุมสายโทรศัพท์จะต้องติดตั้งอุปกรณ์ที่เรียกว่า DSLAM ที่ชุมสายโทรศัพท์ ซึ่งจะเป็นตัวที่คอยแยก traffic ที่เป็นเสียงไปเชื่อมต่อกับระบบโทรศัพท์ปกติ และ traffic ที่เป็น data ไปยังผู้ให้บริการ Service นั้น ๆ อย่างเช่นในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ของบริการ DSL ที่ให้บริการจะเป็น Internet connection


อันนี้เป็นภาพของ DSLAM ซึ่งเป็นตัวแยกข้อมูลที่ได้มาจากผู้ใช้ คือถ้าเป็นโทรศัพท์ก็ไปเข้าเครือข่ายของโทรศัพท์ ถ้าเป็นข้อมูลโดยปกติก็จะออกไปสู่ผู้ให้บริการ internet ต่อไป

อันนี้เป็นมาตรฐานต่าง ๆ ของ DSL ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ก็มีพัฒนาการในอัตราที่รวดเร็วมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราเปรียบเทียบกับบริการ ISDN ซึ่งให้บริการในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน



n ADSL หรือ DSL เป็นบริการที่ดูเหมือนว่าจะได้รับความนิยม และมีอนาคตที่ดีกว่า ISDN เนื่องจากว่ามีการติดตั้งและมีการใช้งานเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ข้อดีประการสำคัญของ DSL เมื่อเปรียบเทียบกับ ISDN ก็คือ อัตราความเร็วที่มีรองรับได้สูงกว่า ISDN ค่อนข้างจะมาก

Wednesday, September 3, 2008

Summarize Sound Lecture Chapter 11

Chapter 11
The Internet

บทที่ 11 จะพูดถึงเรื่องเครือข่าย Internet และ Protocol และมาตรฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเครือข่าย Internet อย่างเช่น IP และ TCP Protocol

Introduction
n ความหมายของคำว่า Internet, คำว่า Internet (ซึ่งเขียนโดยใช้อักษร I ตัวใหญ่) หมายถึง เครือข่ายซึ่งเป็นเครือข่ายเดียว แต่ว่าเป็นเครือข่ายที่เกิดขึ้นจากเครือข่ายย่อย ๆ มาเชื่อมต่อกัน
n เครือข่ายนี้จริง ๆ แล้วเริ่มต้นนั้นเป็นเครือข่ายที่ไม่ใหญ่นัก เป็นเครือข่ายเล็ก ๆ ภายใต้โครงการที่เราเรียกว่า Arpanet ซึ่งเกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา เครือข่าย internet ในช่วงเริ่มแรกนี้เป็นเครือข่ายที่เอาไว้เชื่อมต่อหน่วยงานต่าง ๆ ทางด้านงานวิจัย ทางด้านการทหาร ส่วนงานวิจัยที่อยู่ในมหาวิทยาลัย และส่วนงานของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา
n แต่หลังจากนั้นเมื่อเครือข่ายมีการขยายตัว และมีผู้ใช้เพิ่มมากขึ้น ในที่สุดรัฐบาลสหรัฐอเมริกาก็ได้โอนภาระค่าใช้จ่าย และการดูแลเครือข่ายนี้ให้ไปเป็นหน้าที่ของบริษัทที่เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือที่เรารู้จักกันว่า ISP ซึ่งย่อมากจาก Internet Service Providers



อันนี้ก็เป็นภาพของการเชื่อมต่อเครือข่าย Internet อย่างคร่าว ๆ Internet จริง ๆ ก็คือประกอบกันขึ้นจากเครือข่ายหลัก หรือที่เราเรียกว่าเครือข่าย backbone ซึ่งเป็นเครือข่ายความเร็วสูงเชื่อมต่อระหว่าจุดสำคัญ ๆ ต่าง ๆ ในเครือข่ายพวกนี้ก็จะเป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายใหญ่ ๆ ที่จะเป็นคน support สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อ

จากโครงข่ายหลักนี้มันก็จะเชื่อมต่อไปยังโครงข่ายหลักของประเทศอื่น ๆ รวมถึงประเทศไทย ในประเทศไทยผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแต่ละรายก็จะมีโครงสร้างของเครือข่าย backbone ของตนเอง จากเครือข่าย backbone ของตัวเองก็จะมีจุดเชื่อมต่อ ซึ่งโดยปกติก็จะไปเชื่อมต่อเข้ากับระบบของโทรศัพท์ ทำให้ผู้ใช้ตามบ้านสามารถจะเชื่อมต่อเข้ากับ ISP ผ่านทางสายโทรศัพท์ เมื่อเชื่อมต่อด้วยสายโทรศัพท์เข้าไปสู่ระบบเครือข่าย ISP แล้วก็สามารถที่จะเชื่อมโยงไปยังส่วนอื่น ๆ ที่เหลือของเครือข่าย Internet ได้ เพราะว่าผู้ให้บริการ Internet Service Provider ก็จะมีการเชื่อมโยงไปยัง ISP รายอื่น ๆ และก็เชื่อมโยงไปยังเครือข่าย Internet ที่อยู่ในต่างประเทศ

Internet Protocols
n อย่างที่บอกไปแล้วว่าเครือข่าย Internet นี้มันเกิดจากเครือข่ายย่อย ๆ หลาย ๆ เครือข่ายมาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ปัจจัยที่จะทำให้การรับส่งข้อมูลระหว่างเครือข่ายต่าง ๆ นี้เป็นไปได้ ก็คือเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครือข่ายจะต้องติดต่อกันด้วย Protocol ที่เป็นมาตรฐานชุดหนึ่ง เป็นมาตรฐานเดียวกัน ข้อมูลจากเครื่องหนึ่งถึงสามารถจะส่งผ่านเครือข่ายย่อยหนึ่งผ่านไปสู่อีกเครือข่ายย่อยหนึ่งได้ และผ่านไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องที่อยู่ปลายทางได้
n Protocol หลัก ๆ ที่มีใช้อยู่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น
 Internet Protocol (IP)
 Transmission Control Protocol (TCP)
 Address Resolution Protocol (ARP)
 Domain Name System (DNS)
 DHCP
 NAT


อันนี้เป็นภาพโครงสร้างของ Protocol ต่าง ๆ ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นในเครือข่าย Internet ซึ่ง Protocol เหล่านี้หลาย ๆ Protocol ก็ถูกนำมาใช้ในเครือข่าย LAN ด้วยในปัจจุบัน Protocol ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตนี้จะอยู่ภายใต้ model ของ Internet Model ซึ่งในภาพบนจะเห็น chart ที่เปรียบเทียบระหว่าง OSI Model กับ Internet Model จะเห็นว่าเมื่อเปรียบเทียบกับ OSI Model แล้ว
 ส่วนที่เป็น Physical กับ Data Link นี้อาจจะประมาณคร่าว ๆ ได้ว่าเทียบได้กับส่วนที่เป็น Network Access Layer ของ TCP Model ซึ่ง Network Access Layer บางที่เราก็เรียกว่า Interface Layer
 ในขณะที่ Network Layer ของ OSI จะเทียบได้คร่าว ๆ กับ Internet Layer ของ Internet Model
 Transport Layer ก็เทียบได้คร่าว ๆ กับ Transport Layer ของ Internet Model
 และ Layer ตั้งแต่ที่ 5-7 นี้ จะครอบคลุม Application Layer ภายใต้ Internet Model

ในภาพล่างก็จะเป็นภาพที่แสดงให้เห็นว่า Protocol ต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ทำงานอยู่ภายใต้ Layer ใดบ้างของ Internet Model

Internet Protocols (IP Protocol)
n IP Protocol เป็น Protocol ที่ทำงานอยู่ในระดับ Layer ที่เราเรียกว่า Network Layer
n หน้าที่ของ IP Protocol ก็คือจะต้องจัดทำข้อมูล หรือ block ข้อมูลที่เราเรียกว่า packet ขึ้นมาเพื่อให้สามารถจะส่งเข้าไปในเครือข่าย Internet ได้
n ข้อมูลนั้นมาจากไหน? ข้อมูลก็จะมาจาก Layer ที่อยู่เหนือ IP Layer ขึ้นไป อย่างเช่น ในระดับของ Application ก็จะเป็นจุดเริ่มต้นของข้อมูล ข้อมูลจาก Application ก็จะถูกส่งมายัง Transport Layer ซึ่งก็จะใส่ header ของมันเข้าไป จากนั้นข้อมูลจาก Transport Layer ก็จะถูกส่งไปยัง IP Layer ซึ่งจะทำหน้าที่ในการใส่ header ที่อยู่ภายใต้ Protocol เข้าไปในตัวข้อมูล



อันนี้เป็นภาพกระบวนการในการสร้าง packet โดย IP Protocol จะเห็นในภาพว่า ข้อมูลจะเริ่มมาจาก Application เมื่อผ่านไปถึง Transport Layer ก็จะมีการใส่ Transport Header เข้าไปกับตัว data เมื่อถึง Network Layer ก็จะมีการใส่ IP Header เข้าไป ข้อมูลจาก IP Header ซึ่งเป็น IP Packet นั้นจะถูกส่งต่อมายัง Interface Layer ซึ่งกรณีในภาพนี้ก็คือส่งไปให้ตัว LAN Card ซึ่ง LAN Card ก็จะทำการใส่ Header และ trailer ของตัว LAN Card เข้าไป ข้อมูลนี้ก็จะถูกส่งไปในเครือข่าย ในภาพนี้มันจะถูกส่งออกไปจนถึง router ซึ่งทำหน้าที่ในการแปลงตัว Data Link Protocol Header จาก Protocol หนึ่งซึ่งใช้ในเครือข่าย LAN ไปเป็นอีก Protocol หนึ่งที่ใช้ในเครือข่าย WAN
จะเห็นในภาพนี้ว่า IP Protocol นี้ จะทำงานข้ามเครือข่ายกัน ก็คือในเครือข่าย LAN ก็ใช้ IP Protocol ออกไปสู่เครือข่าย WAN ก็ยังเป็น IP Protocol เพียงแต่ว่า Data Link Layer Protocol เท่านั้น ที่มีความแตกต่างกันระหว่างเครือข่ายทั้งสองในภาพ

The Internet Protocol (IP)
n โดยการใช้ IP Protocol นี้ router เมื่อได้รับ IP Packet มา จะอาศัย destination address ซึ่งอยู่ใน IP Header ในการตัดสินใจว่าจะส่งข้อมูลออกไปในเส้นทางใด
n Destination Address ที่เราพูดถึงนี้เป็น Network Layer Address ในกรณีที่ใช้ IP Protocol ในระดับ Network Layer
n Destination Address นี้ก็คือ เป็น Destination IP Address ซึ่ง address อันนี้จะแตกต่างจาก MAC Layer Address ซึ่งเราพูดถึงในบทที่ว่าด้วย Local Area Network เพราะ MAC Address นั้นเป็น Address ที่อยู่ในระดับของ Data Link Layer แต่ Destination Address ที่พูดถึงในที่นี้ หมายถึง IP Address ซึ่งเป็น Address ในระดับของ Network Layer
n นอกจากใช้ประโยชน์จาก Destination Address ซึ่งอยู่ใน IP Header แล้ว router ก็ยังสามารถที่จะปรับค่าบางค่าซึ่งอยู่ใน IP Header แต่ข้อมูล IP Packet ที่ได้รับมานี้ถ้ามันมีขนาดที่ใหญ่เกินไป Router ก็จะทำการ break ข้อมูล block ข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ให้เป็นข้อมูลที่มีขนาดเล็กลง โดยการ mark ตำแหน่งของแต่ละ Packet ย่อย ๆ นี้ลงไปในส่วนที่เราเรียกว่าเป็น Fragment Offset ของ IP Header เพื่อที่ว่าเมื่อฝั่งรับ รับข้อมูล Packet ย่อย ๆ นี้แล้วสามารถจะอ่านข้อมูลในส่วนของ Fragment Offset ซึ่งอยู่ใน IP Packet ย่อย ๆ นั้น แล้วเอา Packet ย่อย ๆ นั้นมาประกอบกันเป็น Packet ที่เหมือนต้นฉบับได้ในที่สุด

อันนี้ก็เป็นภาพโครงสร้างของ IP Header ก็จะเห็นว่าประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ เป็นจำนวนมากพอสมควร แต่ส่วนที่จะอยู่ในความสนใจของเราในที่นี้ ก็จะมีส่วนซึ่งเขียนว่าเป็น Source IP Address ส่วนที่เป็น Destination IP Address ก็คือหมายเลข IP Address ของเครื่องต้นทาง และหมายเลข IP Address ของเครื่องปลายทาง

อย่างที่ได้พูดไปแล้วว่า ข้อมูลที่ IP Protocol ได้รับ ก็จะได้รับมาจากข้อมูลที่ส่งออกมาจาก Transport Layer ในระดับของ Transport Layer นี้มี Protocol หลัก ๆ ที่ใช้อยู่ในเครือข่าย Internet อยู่ 2 Protocol ด้วยกัน ก็คือ TCP Protocol กับ UDP Protocol เราจะพูดถึง TCP Protocol เป็นอันดับแรก

Transmission Control Protocol (TCP)
n TCP Protocol นี้ หน้าที่ของมันก็คือ ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ๆ นี้สามารถที่จะมี Network Application run อยู่ได้หลาย ๆ Application พร้อม ๆ กัน เนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ๆ โดยทั่วไปจะมีหมายเลข IP Address เพียงหมายเลขเดียว เพราะฉะนั้นถ้าเรานึกภาพเครื่องคอมพิวเตอร์เมื่อเราเปิดโปรแกรม Web browser ขึ้นมามากกว่า 1 โปรแกรม หรือใช้โปรแกรม Web browser ในหน้าจอหนึ่ง และไปเปิดโปรแกรม e-mail อีกหน้าจอหนึ่ง ข้อมูลที่รับส่งระหว่าง Application หรือหน้าจอที่แตกต่างกันนี้กับจุดหมายปลายทาง หรือ server ถ้าอยู่อีกฝั่งหนึ่งมันจะต้องมีกลไกที่ทำให้ข้อมูลซึ่งเมื่อส่งออกมาจาก Server ที่ปลายทางมาถึงที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา จะสามารถจะทราบได้ว่าข้อมูลชุดไหนควรจะส่งไปให้หน้าจอไหน อย่างเช่น เราเปิด Browser ขึ้นมา 2 หน้าจอ หน้าจอหนึ่งเชื่อมต่อกับ www.yahoo.com อีกหน้าจอหนึ่งเชื่อมต่อกับ www.kmitl.ac.th เมื่อมีข้อมูลส่งมาจาก server www.kmitl.ac.th ซึ่งก็จะต้องส่งมาที่หมายเลข IP Address ของเรา จะต้องมีกลไกเพื่อที่จะทำยังไงให้ทราบว่าข้อมูลชุดนี้ จะต้องถูกส่งไปยังหน้าจอที่เชื่อมต่อกับ www.kmitl.ac.th ไม่ใช่ส่งไปยังหน้าจอที่เชื่อมต่ออยู่กับ www.yahoo.com
n ซึ่งกลไกที่ทำให้ตัวระบบสามารถจะจำแนกได้ว่าข้อมูลที่ได้รับนั้น จะต้องถูกส่งไปให้หน้าจอใด ก็คือโดยการใช้หมายเลขที่เรียกว่า TCP Port number ที่แตกต่างกันสำหรับแต่ละ Application ที่ run อยู่บนเครื่องเดียวกันนั่นเอง
n เพราะฉะนั้นโดยสรุปก็คือ TCP Protocol หน้าที่อันหนึ่งก็คือ มันทำให้สามารถจะใช้เครื่อง ๆ เดียว ซึ่งมีหมายเลข IP Address เดียวแต่ว่าสามารถจะ run Network Application หลาย ๆ Application พร้อม ๆ กันได้ มันเป็นกลไกที่คล้าย ๆ กับการทำ Multiplexing แต่ว่าเป็นการทำ Multiplexing ในระดับของ Transport Layer ซึ่งแตกต่างจากการทำ Multiplexing ในบทต้น ๆ ซึ่งในกรณีนั้นเราทำ Multiplexing โดยอาศัยอุปกรณ์ที่เราเรียกว่า Multiplexer ซึ่งเป็นการทำ Multiplexing ในระดับของ Physical Layer ซึ่งแตกต่างจากการทำ Multiplexing ของที่เราพูดในบทนี้
n นอกจากความสามารถของ TCP ที่ทำให้ Application หลาย ๆ Application สามารถจะเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายได้ รับส่งข้อมูลกันได้ ถึงแม้ว่าจะอยู่ในเครื่องเดียวกัน แล้วมีหมายเลข IP Address เดียวกันแล้ว TCP Protocol ก็ยังมีหน้าที่ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือเป็นการทำ error detection และ correction ในลักษณะของการทำ error correction/detection ของ TCP Protocol นี้ จะแตกต่างจากการทำ error detection และ correction ในระดับของ Data Link Layer เนื่องจากว่า error correction ของ TCP Protocol นี้เป็นการทำ error correction ในแบบที่เราเรียกว่า end-to-end เนื่องจาก Protocol TCP นั้นจะ run อยู่เฉพาะที่เครื่องต้นทางกับที่เครื่องปลายทางเท่านั้น node หรืออุปกรณ์ซึ่งอยู่ระหว่างทางระหว่างต้นทางกับปลายทางนี้จะไม่มีอุปกรณ์ใดที่ run Protocol TCP เพราะฉะนั้นมันก็จะเป็นการติดต่อคุยกันระหว่าง TCP ต้นทางกับปลายทาง นั่นคือเราถึงเรียกว่าฟังก์ชั่น error correction/detection ของ TCP นั้นเป็น error correction ในแบบ end-to-end



จากรูปนี้เป็นโครงสร้างของ TCP Header ซึ่งก็มีองค์ประกอบต่าง ๆ อยู่หลายองค์ประกอบอยู่ด้วยกัน ที่เราสนใจในที่นี้ก็จะมีอยู่เฉพาะ 2 องค์ประกอบก็คือ ที่เขียนว่าเป็น Destination port กับที่เขียนว่าเป็น Source port และนี่ก็เป็นหมายเลขซึ่งในการรับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องต่อเครื่องนี้ ในกรณีที่เครื่องไม่ว่าจะเป็นเครื่องที่ส่งข้อมูล หรือเครื่องที่รับข้อมูลนี้ มี Application หรือ Network Application มากกว่า 1 Application ตัวระบบก็จะอาศัย Source port หรือ Destination port นี้ในการระบุได้ว่าข้อมูลที่ส่งไป หรือข้อมูลที่ได้รับมานั้นส่งออกมาจาก Application ไหน หรือเมื่อข้อมูลรับมานั้นควรส่งต่อไปให้ Application ใด

User Datagram Protocol (UDP)
n ในเครือข่าย Internet นั้น นอกเหนือจาก Protocol TCP ซึ่งเป็น Protocol ซึ่งทำงานอยู่ในระดับของ Transport Layer แล้ว ก็ยังมีอีกหนึ่ง Protocol ก็คือ Protocol UDP ซึ่งมีหน้าที่ลักษณะการทำงานคล้ายคลึงกับ TCP ในแง่ที่ว่า เช่นเดียวกับ Protocol TCP โดย Protocol UDP ก็ทำให้เครื่อง ๆ หนึ่งสามารถจะ run Application ได้มากกว่า 1 Application คือ ใน Header ของ Protocol UDP ก็จะมี Source port และ destination port เหมือนกันเพื่อจะทำให้โปรแกรม Application ต่าง ๆ สามารถจะ run ได้พร้อม ๆ กันอยู่บนเครื่องเดียวกัน แต่ในขณะที่ Protocol TCP มีฟังก์ชั่นเพิ่มเติมอย่างเช่น ฟังก์ชัน error correction/detection แต่ Protocol UDP ไม่ได้มีฟังก์ชันเหล่านั้น
n เมื่อเปรียบเทียบกับลักษณะของ Network Application ที่เราพูดถึงไปในบทที่ 10 ซึ่งจำแนกออกมาเป็น 2 ประเภทได้แก่ Connection-oriented Application และ Connectionless Application, Protocol TCP ก็จะใช้กับ Application ที่เป็น Connection-oriented Application ในขณะที่ Protocol UDP นั้นจะใช้กับ Application ในลักษณะที่เป็น Connectionless Application

Address Resolution Protocol (ARP)
n ในการรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย Internet หรือผ่าน Network ที่ใช้ Protocol IP เราจะอาศัย Source IP Address และ Destination Address ในการระบุต้นทางกับปลายทางของข้อมูล แต่เมื่อข้อมูลรับส่งกันในระบบเครือข่าย LAN ข้อมูลที่แต่ละเครื่องได้รับนั้น จะถูกส่งต่อไปให้ Protocol ในระดับ Layer ที่อยู่ข้างบน หรือถึง Application ประมวลผล ก็ต่อเมื่อข้อมูลนั้นได้ผ่านส่วนของ LAN Card ไปแล้วเท่านั้น ดังที่เราได้ทราบแล้วว่าข้อมูล เมื่อ LAN Card ได้รับข้อมูลมานี้ LAN Card จะนำข้อมูลนั้นไป Process ต่อก็ต่อเมื่อส่วนที่เป็น Destination MAC Address ของข้อมูลที่ได้รับนั้นมีหมายเลข MAC Address ตรงกับหมายเลขของ LAN Card นั้นเท่านั้น เพราะฉะนั้นถ้า MAC Address ที่อยู่ในส่วนที่เป็น Destination Address ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ใน Header ของ Ethernet Header ไม่ match กับ MAC Address ของ LAN Card ตามนั้น ข้อมูลนั้นก็ไม่สามารถจะผ่านระดับของ Data Link Layer ไปสู่ระดับของ Network Layer ได้ ถึงแม้ว่า IP Address ที่มากับข้อมูลนั้นจะ match กับ IP Address ของเครื่อง ๆ นั้นก็ตาม
n เพราะฉะนั้นในการรับส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย LAN จึงมีความจำเป็นที่จะต้องระบุ MAC Address ของเครื่องปลายทางให้ถูกต้องด้วย นอกเหนือจากการระบุ Destination IP Address ให้ถูกต้องแล้ว
n ปัญหาก็คือว่า โดยปกติเราจะรู้ Destination IP address แต่เราจะไม่ทราบ MAC Address ของเครื่องปลายทาง กลไกที่ทำให้เราสามารถจะทราบ MAC Address ของเครื่องปลายทางจากข้อมูลของ IP Address ของเครื่องนั้น ๆ ก็โดยอาศัยสิ่งที่เราเรียกว่า Address Resolution Protocol ซึ่งจะทำหน้าที่ในการแปลงจากหมายเลข IP Address ของเครื่องนั้นไปเป็น MAC Address ของเครื่อง ๆ นั้น

Dynamic Host Configuration Protocol (DHCP)
n อีก Protocol หนึ่งซึ่งมีบทบาทสำคัญในระบบเครือข่ายที่ใช้ IP Protocol ก็คือ Protocol DHCP เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่กับเครือข่ายที่ใช้ Protocol IP อย่างเช่น Internet จำเป็นจะต้องมีหมายเลข IP Address ภาระหน้าที่อย่างหนึ่งของผู้ดูแลระบบเครือข่ายโดยปกติก็คือจะต้องมีหน้าที่ในการ Assign หมายเลข IP Address ให้กับเครื่องแต่ละเครื่อง ซึ่งจะต้องไม่ซ้ำกันด้วย ซึ่งถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์มีจำนวนมาก ๆ ก็จะเกิดปัญหาในเรื่องของการจัดการขึ้น
n Protocol DHCP ทำให้เราสามารถจ่ายหมายเลข IP Address โดยอัตโนมัติให้กับเครื่องแต่ละเครื่องได้โดยที่ผู้ดูแลระบบไม่จำเป็นต้องไปที่เครื่อง ๆ นั้นแล้ว set IP Address ทีละเครื่อง ทีละเครื่อง
n การทำงานของ DHCP นั้นจะประกอบไปด้วย software ที่เราเรียกว่า DHCP Client ซึ่งโดยปกติจะติดตั้งมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการที่อยู่บนเครื่องของผู้ใช้ เช่น Windows XP เมื่อเราเปิดเครื่อง หรือ run โปรแกรม Windows XP ขึ้นมา ในระหว่างที่ run นี้ DHCP Client ซึ่งเป็น software ที่มากับตัวระบบปฏิบัติการ ก็จะทำการส่งข้อมูลออกไปยังระบบเครือข่าย เพื่อร้องของ IP Address จาก DHCP Server
n DHCP Server ก็เป็น software อีกตัวหนึ่งซึ่งทำงานควบคู่กับ DHCP Client
n DHCP Server จะต้องติดตั้งอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออยู่กับระบบเครือข่ายเดียวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ร้องขอ IP Address ซึ่งอาจจะติดตั้งอยู่บนในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็น file server ก็ได้ เนื่องจากว่าทรัพยากรที่จำเป็นจะต้องใช้ในการ run DHCP Server นั้นค่อนข้างจะไม่สูงนัก
n หน้าที่ของ DHCP Server คือ เมื่อได้รับ IP Request จาก DHCP Client จะทำการหาหมายเลข IP Address ที่ยังว่างอยู่ และส่งหมายเลข IP Address นั้นกลับไปให้ DHCP Server ใช้ในการกำหนดหมายเลข IP ของเครื่อง ๆ นั้นต่อไป
n เราสามารถจะกำหนดช่วงระยะเวลา หรืออายุของหมายเลข IP Address ที่ DHCP Server จ่ายให้เครื่องแต่ละเครื่องได้ และ DHCP Client ก็สามารถดำเนินการต่ออายุหมายเลข IP Address นั้นได้ เมื่อใกล้จะครบกำหนดการหมดอายุของหมายเลข IP Address ที่ได้รับ

Internet and Application Address
n หมายเลข IP Address นี้เป็นตัวเลขจำนวนขนาด 32 bit เป็นหมายเลข binary จำนวน 32 bit ซึ่งเป็นการยากที่ผู้ใช้โดยทั่วไปจะจดจำหมายเลข IP Address ได้ ถึงแม้ว่าจะมี format ของหมายเลข IP Address ซึ่งแปลงข้อมูล binary 32 bit ให้มาเป็นข้อมูลเลขฐาน 10 จำนวน 4 ชุดก็ตาม ตัวเลขตัวนั้นก็ยังเป็นตัวเลขที่ยากแก่การจดจำ และไม่สามารถจะสื่อถึง server หรือแหล่งข้อมูลนั้น ๆ ได้ว่าเป็น server ที่เกี่ยวกับอะไร
n อย่างเช่นกรณีของ web server หมายเลขที่เป็น IP Address ซึ่งเป็นตัวเลข 4 ชุด ก็ไม่สื่อความหมายว่า server นั้นเป็น server ของบริษัทใด มีข้อมูลเกี่ยวกับอะไร
n ทางออกของปัญหานี้ก็คือ เราจะใช้ชื่ออีกชื่อหนึ่ง ซึ่งเป็นชื่อที่เป็นข้อความหรือตัวอักษร ทำให้ผู้ใช้สามารถจะจดจำได้ง่าย และก็สามารถจะสื่อความหมายถึงเครื่อง ๆ นั้นได้ว่าเป็นเครื่องที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับอะไร ซึ่งชื่อที่เป็นตัวอักษรนี้เรารู้จักกันในชื่อที่เรียกว่า Uniform Resource Locator (URL) เช่นกรณีของ Web browser หรือ web server ก็คือ หมายเลข หรือชื่อของ web server ซึ่งเขียนให้อยู่ในรูปแบบของตัวอักษรนั่นเอง เช่น www.kmitl.ac.th นี้ก็เป็นตัวอย่างของชื่อที่เราเรียกว่า URL โดยการใช้ชื่อที่เป็นตัวอักษรนี้เราสามารถที่จะจดจำชื่อของเครื่องได้ง่ายขึ้น ทำให้สื่อความหมายถึงเครื่อง ๆ นั้นได้ว่าให้ข้อมูลเกี่ยวกับอะไร
n ในชื่อ URL แต่ละชื่อนี้จะประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 4 ส่วนคือ
 Service type
 Host หรือ Domain name
 Directory หรือ subdirectory
 Filename

ภาพนี้ก็เป็นตัวอย่างของโครงสร้างของ URL
1 ก็คือเป็น Service type ซึ่งถ้าขึ้นด้วย http ก็คือหมายถึง server ตัวนี้ทำหน้าที่เป็น web server ถ้าขึ้นต้นด้วย ftp จะทำหน้าที่เป็น ftp server อันที่ 2 คือเป็น domain name ซึ่ง domain name ก็คือชื่อกลุ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างเช่น depaul.edu อันนี้คือเป็นชื่อ Domain name สิ่งที่อยู่ข้าหน้า domain name จะเป็นสิ่งที่เราเรียกว่า computer name เช่น ตัวอย่าง A คือ cs นี้เป็นชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ ความหมายก็คือชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ cs ซึ่งอยู่ใน domain depaul.edu ส่วน public นี้เป็นชื่อ folder หรือชื่อ directory และ example นี้เป็นชื่อ file ซึ่งอยู่ใน folder public นั่นเอง

n ข้อดีของ URL ก็คือ ง่ายแก่การจดจำ และก็สื่อความหมายเหมาะสำหรับเป็น interface ใช้ในการอ้างอิงถึงระหว่างผู้ใช้กับเครื่อง แต่เครื่องคอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น ติดต่ออ้างอิงกันโดยใช้หมายเลข IP Address แทนที่จะเป็น URL
n เพราะฉะนั้นเมื่อเราพิมพ์ข้อความ พิมพ์ address ของ web site เข้าไปในโปรแกรม web browser และเคาะ enter แล้ว web browser ไม่ได้ติดต่อ web server โดยอาศัย URL แต่ web browser จำเป็นต้องหาทางที่จะแปลงชื่อ URL ที่เราพิมพ์เข้าไปให้เป็นหมายเลข IP Address ของเครื่อง ๆ นั้น ก่อนที่จะสามารถจะติดต่อไปยัง web server นั้นได้ ซึ่งกลไกที่ทำหน้าที่ในการแปลงระหว่าง URL ไปยังหมายเลข IP Address ก็คือสิ่งที่เราเรียกว่า DNS หรือ Domain Name System
n โดยในระบบนี้เราจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นฐานข้อมูลเชื่อมโยงระหว่าง URL กับหมายเลข IP Address เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นเรามักจะเรียกว่า DNS Server เพราะฉะนั้นในกรณีที่เราพิมพ์ URL ไปในส่วน Address ของโปรแกรม web browser แล้วเราเคาะ enter สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ web browser ก็จะต้อง request ไปยังที่ DNS Server ที่ browser นั้นรู้จัก เพื่อร้องขอหมายเลข IP Address ของ URL ที่เราได้กำหนด เมื่อได้รับหมายเลข IP Address จาก DNS Server มาแล้ว ถึงจะทำการติดต่อไปยัง Web server นั้น ๆ ต่อไป
n ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า IP Address นั้นเป็นตัวเลข binary ขนาด 32 bit ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่เชื่อมต่ออยู่กับเครือข่าย Internet จะต้องมีการกำหนดหมายเลข IP Address ซึ่งไม่ซ้ำกับเครื่องอื่นที่เหลือ
n ในระบบตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เครือข่ายนั้นจะอ้างอิงถึงหมายเลข IP Address ในรูปแบบของข้อมูล binary ขนาด 32 bit แต่สำหรับผู้ใช้โดยทั่วไป เราจะไม่คุ้นเคยกับรูปแบบตัวเลขที่เป็น binary เพราะฉะนั้นก็จะมีอีก format หนึ่งซึ่งเราใช้อ้างอิงถึงหมายเลข IP Address โดยใช้ตัวเลขที่เป็นเลขฐาน 10 format นั้นเราเรียกว่า dotted decimal notation



n ภาพนี้เป็นตัวอย่างความสัมพันธ์ระหว่าง dotted decimal notation กับข้อมูล IP Address ซึ่งอยู่ในรูปแบบของตัวเลข binary อย่างในแถวข้างบนนี้เป็นข้อมูลตัวเลข IP Address ซึ่งอยู่ในรูปแบบของ binary ในความเป็นจริงแล้วข้อมูล binary ที่เป็น 32 bit นี้ก็จะเป็นตัวเลข binary ที่เรียงต่อไปตั้งแต่ bit แรกไปจนถึง bit ที่ 32 แต่เพื่อว่าจะให้มนุษย์เรานี้สามารถจะจดจำ หรืออ้างอิง หรือพิมพ์ หรือกำหนดหมายเลข IP Address ได้โดยง่าย ก็ได้มีการจัดแปลงข้อมูล IP Address ซึ่งอยู่ในรูปแบบ binary ให้มาเป็นข้อมูลในรูปแบบ dotted decimal notation โดยการ grouping หรือจำแนกข้อมูล 32 bit ให้ออกมาเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 8 bit จากนั้นก็ทำการแปลงข้อมูล binary ให้เป็นเลขฐาน 10 ก็จะได้เลขฐาน 10 ด้วยกันทั้งหมด 4 ชุด แล้วทำการใส่จุดเข้าไประหว่างเลขฐาน 10 แต่ละชุดเพื่อให้เห็นเป็นข้อมูล 4 ชุด ในภาพนี้ข้อมูล binary ได้ถูกแปลงให้มาเป็นตัวเลขที่อยู่ในชุดรูปแบบ dotted decimal ได้เป็น 110.234.9.202
n พึงระลึกไว้เสมอว่ารูปแบบ หรือ format ที่เป็น dotted decimal notation นี้เป็น format ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้ในการติดต่อกับผู้ใช้หรือมนุษย์เท่านั้น เพื่อให้มนุษย์สามารถจะอ่านหมายเลข IP Address ได้ง่าย ๆ สามารถจะ set หมายเลข IP Address ได้ง่าย ๆ แต่ถึงที่สุดแล้วเครื่องคอมพิวเตอร์จะ operate หมายเลข IP Address ในรูปแบบของเลขฐาน 2 ขนาด 32 bit เท่านั้น

อันนี้ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่หมายเลข IP Address ขนาด 32 bit ถูกแปลงให้อยู่ในรูปแบบของ dotted decimal notation

n IP Address นี้เป็นตัวเลข 32 bit ซึ่งข้อกำหนดก็คือ เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะต้องมีหมายเลขนี้ซึ่งไม่ซ้ำกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ที่เหลือในระบบเครือข่าย ในทางปฏิบัติแล้วเรามีความต้องการที่จะแบ่งเครือข่ายใหญ่ ๆ นี้ออกมาเป็นเครือข่ายย่อย ๆ หรือที่เราเรียกว่า sub network เพื่อที่จะทำให้เราสามารถแบ่งเครือข่ายใหญ่ ๆ ออกมาเป็นเครือข่ายย่อย ๆ นี้ได้ จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องแบ่งหมายเลข IP Address 32 bit นี้ออกมาเป็น 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่งคือส่วนที่เราเรียกว่า Network ID กับส่วนที่สองที่เราเรียกว่า Host ID โดยมีข้อกำหนดที่ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ใน sub network เดียวกันจะต้องมีส่วนของ IP Address ที่ถูกกำหนดให้เป็น Network ID ที่เหมือนกัน แต่มีส่วนของ IP Address ที่ถูกกำหนดให้เป็น Host ID ที่ต่างกัน
n กลไกที่ทำหน้าที่ในการแบ่งหมายเลข IP Address ออกมาเป็น 2 ส่วนดังกล่าว คือกลไกที่เราเรียกว่าการทำ subnet masking โดยตัวข้อมูลที่ผู้ใช้ ผู้ดูแลระบบป้อนเข้าสู่ให้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องหรืออุปกรณ์เครือข่ายแต่ละตัว ตัวเลขชุดนั้นเราเรียกว่า subnet mask ด้วยชุดตัวเลขตัวนี้ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เครือข่ายสามารถแบ่งหมายเลข IP Address 32 bit ออกมาเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็น Host ID หรือ subnet ID ได้ ก็ทำให้เราสามารถจะแบ่งเครือข่ายใหญ่ ๆ ออกมาเป็นเครือข่ายย่อย ๆ ได้

Summarize Sound Lecture Chapter 10

Chapter 10
Introduction to Metropolitan Area Networks and Wide Area Networks

Introduction
n ในบทที่ผ่าน ๆ มาเราได้พูดถึงเครือข่าย Local Area Network ซึ่งโดยขอบเขตของ Local Area Network นั้นครอบคลุมการเชื่อมต่อในระยะทางที่ไม่ไกลนัก
n สำหรับการเชื่อมต่อระหว่างจุดต่อจุดที่อยู่ในเมืองเดียวกัน จังหวัดเดียวกัน หรือจังหวัดข้างเคียง จำเป็นจะต้องอาศัยใช้เครือข่ายที่เราเรียกว่า Metropolitan Area Network
n สำหรับการเชื่อมต่อที่ระยะทางที่ไกลกว่านั้น เราจำเป็นจะต้องใช้เครือข่ายที่เราเรียกว่า Wide Area Network หมายถึงว่าระยะทางในการเชื่อมต่อระหว่างจังหวัดกับจังหวัด หรือระหว่างประเทศกับประเทศ

Metropolitan Area Network Basics
n Metropolitan Area Network หรือ MAN เป็นเครือข่ายที่อาศัยเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องมาจากเครือข่าย LAN และ WAN เพื่อเชื่อมต่อช่องว่างที่เกิดขึ้น อันเนื่องมาจากความต้องการในการเชื่อมต่อในระยะทางที่ไม่ไกลนัก แต่เกินขอบเขตของ LAN
n ในขณะเดียวกัน ก็ต้องการความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่สูง ซึ่งเป็นช่องว่างที่ทำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีเครือข่าย Metropolitan Area Network
 ลักษณะที่สำคัญของ MAN ก็คือ มักจะใช้สายไฟเบอร์ออฟติคเป็นสื่อกลางในการเชื่อมต่อ
 มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่สูง
 มีความน่าเชื่อสูง คือจะมีกลไกที่เราเรียกว่า disaster recovery คือความสามารถของระบบในการที่ยังคงทำงานต่อไปได้ ถึงแม้ว่าจะเกิดข้อบกพร่องขึ้นเพียงบางส่วนในระบบก็ตาม

SONET versus Ethernet MANs
n ในปัจจุบันอาจจะกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีเครือข่าย MAN มีอยู่ด้วยกัน 2 ระบบใหญ่ ๆ ที่มีการใช้งานอยู่ปัจจุบัน ระบบแรกเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนามาจาก Wide Area Network เราเรียกเทคโนโลยีนี้ว่า SONET ซึ่ง SONET นี้คือเป็นชื่อมาตรฐานซึ่งใช้อยู่ในประเทศทางทวีปอเมริกาเหนือ
n ในขณะที่มาตรฐานที่ compatible หรือสอดคล้องกันกับ SONET อีกมาตรฐานหนึ่ง เราเรียกว่า SDH อันนี้เป็นเวอร์ชันของ SONET ที่พัฒนาขึ้นในประเทศทางยุโรป และก็เป็นมาตรฐานอันนี้ที่ถูกนำมาใช้ในประเทศไทยและประเทศในเอเชียแปซิฟิกอื่น ๆ
n ข้อดีของ SONET ก็คือ SONET นี้เป็นมาตรฐานที่ได้มีการพัฒนา และมีการทดสอบใช้งานมาเป็นเวลานานพอสมควร ถือเป็นเทคโนโลยีเครือข่าย MAN ที่มีความน่าเชื่อถือสูง
n แต่ข้อเสียก็คือมีความซับซ้อนของระบบค่อนข้างจะมาก และมีราคาแพง
n ถ้าเรายึดถือมาตรฐานของทวีปอเมริกาเหนือ SONET ก็จะเป็นระบบเครือข่ายที่มีอัตราความเร็วเป็นจำนวนเท่าของ T-1 ซึ่ง T-1 ก็จะเริ่มจาก 1.544 Mbps ในขณะที่ถ้าพูดถึง SDH ซึ่งเป็นเวอร์ชันของ SONET สำหรับทวีปยุโรปและประเทศไทย Rate ของบริการ SDH ก็จะเริ่มต้นที่ STM-1 หรือ 155 Mbps ซึ่งเท่ากับ 63 x E1 (ซึ่ง E1 ซึ่งก็คือ บริการ digital lease line ซึ่งมีความเร็วเท่ากับ 2.048 Mbps)
n ดังนั้นถ้ามองว่าไม่ว่าจะเป็น SONET หรือ SDH อัตราความเร็วของมันที่ rate ต่าง ๆ ที่ได้กำหนดมาเป็นมาตรฐานนี้ จะไม่สามารถจะ fit เข้ากับอัตราความเร็วของระบบเครือข่าย LAN ซึ่งโดยส่วนใหญ่คือเป็น Ethernet ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่ 10 Mbps, 100 Mbps, 1000 Mbps อันนั้นก็เป็นข้อด้อยอย่างหนึ่งของ SONET หรือ SDH เมื่อต้องการใช้เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อ ระหว่างเครือข่าย LAN 2 เครือข่าย หรือมากกว่านั้นเข้าด้วยกัน เนื่องจากว่าความเร็วของการเชื่อมต่อเครือข่ายของ SDH หรือ SONET นั้น ความเร็วนั้นมันไม่สัมพันธ์กับอัตราความเร็วของมาตรฐาน Ethernet LAN ที่มีใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
n แต่ข้อบกพร่องหรือข้อเสียประการสำคัญของ Ethernet ซึ่งในปัจจุบันนี้มีการพัฒนามาตรฐาน Ethernet ต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อให้สามารถจะใช้ในเครือข่ายที่เป็น Metropolitan Area Network ได้
n มาตรฐาน Ethernet เหล่านั้นที่นำมาใช้ในลักษณะที่เป็น MAN นี้ เรามักจะเรียกว่า Metro Ethernet
n Ethernet ที่นำมาใช้ในมาตรฐานที่เป็น MAN นี้ ปกติก็จะเป็น Ethernet ที่อาศัยสาย Fiber optic ในการรับส่งข้อมูล มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูง โดยปกติก็จะเริ่มไม่น้อยกว่า 100 Mbps ขึ้นไป จนถึง 1 -10 Gbps
n แต่ข้อเสียของ Ethernet เมื่อเปรียบเทียบกับ SONET เมื่อนำมาใช้เป็นเครือข่าย MAN ก็คือ มีระยะเวลาในการ failover time สูง
n คำว่า failover time ก็คือ เวลาที่ใช้ในการที่จะทำให้ระบบกลับมาทำงานได้เหมือนเดิม เมื่อเกิดปัญหาบกพร่องขึ้นในส่วนหนึ่งส่วนใดของระบบเครือข่าย อย่างเช่น สายที่เชื่อมต่อระหว่างจุดหนึ่งกับอีกจุดหนึ่งเกิดขาดขึ้นมา ช่องทางสำรองที่เตรียมไว้นี้จะสามารถจะ recover และกลับมา operate เชื่อมต่อจุดสองจุดนี้เข้าด้วยกันได้เหมือนเดิมโดยใช้เวลานานมากเท่าไร อันนี้คือสิ่งที่เราเรียกว่า failover time
n ซึ่งในเครือข่าย Ethernet นี้จะยังคงมี failover time ที่สูงกว่ากรณีเครือข่าย SONET หรือ SDH พูดอีกในหนึ่งคือในแง่ของ reliability นั้น SONET หรือ SDH ยังคงจะมีคุณภาพที่ดีกว่า Ethernet
n ขณะที่ Ethernet ก็จะมีข้อดีในแง่ที่มีราคาถูกว่า มีความซับซ้อนน้อยกว่า และอัตราความเร็วสัมพันธ์กับอัตราความเร็วที่ใช้ในระบบเครือข่าย LAN


n ส่วนใหญ่นี้ Topology ทางด้าน Physical ของการเชื่อมต่อเครือข่าย MAN ที่เป็นมาตรฐาน SONET หรือ SDH นี้จะ Topology ที่เป็นแบบ Ring topology เพื่อให้เกิดช่องทางสำรองในกรณีที่ส่วนหนึ่งส่วนใดของวงแหวนนี้เกิดขาดขึ้น ก็จะทำให้ยังคงสามารถเชื่อมต่อจุดต่าง ๆ เข้าด้วยกันได้ ซึ่งสามารถจะอธิบายได้ดังภาพ

n ภาพซ้ายนี้เป็นกรณีที่ระบบทำงานอย่างไม่มีข้อบกพร่องเกิดขึ้น ภาพขวาจะเห็นว่าตรงกากบาท link ที่เชื่อมอยู่ระหว่าง node 2 node ระหว่างด้านขวากับด้านล่างนี้เกิดขาดหรือเสียหายขึ้น โดยการเชื่อมต่อในลักษณะที่เป็น Ring topology ก็จะยังทำให้อุปกรณ์ทั้ง 4 ตัว หรือ 4 node นี้ยังสามารถจะเชื่อมต่อกันได้ เพราะยังคงมีช่องทางสำรองซึ่งเป็นวงแหวนที่อยู่ทางด้านซ้ายมือ ยังคงเป็นช่องทางสำรองทำให้จุดทั้ง 4 จุดยังสามารถเชื่อมต่อถึงกันได้ อันนี้ก็เป็นข้อดีของการเชื่อมต่อในลักษณะที่เป็น Ring topology ที่ใช้งานกันอยู่ในเครือข่าย MAN ที่ใช้มาตรฐานของ SONET หรือ SDH
n ในกรณีของ Ethernet ที่ใช้ในเครือข่าย MAN ในลักษณะที่เป็น Metro Ethernet นั้น ลักษณะของการเชื่อมต่อ topology โดยปกติก็จะเป็นลักษณะที่เป็น Mesh topology
n Mesh topology ก็คือจะมีลักษณะอย่างที่เห็นในภาพก็คือระหว่างจุดหนึ่งกับอีกจุดหนึ่งมันจะมีการเชื่อมต่อหรือเส้นทางในการรับส่งข้อมูลได้มากกว่าหนึ่งเส้นทาง เส้นทางอื่น ๆ ที่มากกว่า 1 เส้นทางนี้ก็เสมือนกับว่าเป็นช่องทางสำรอง ทำให้เมื่อเกิดความบกพร่องหรือผิดพลาดขึ้นกับเส้นทางใด ข้อมูลก็จะสามารถวิ่งผ่านเส้นทางอื่นไปได้ อันนี้ก็เป็นตัวอย่างของลักษณะการเชื่อมต่อที่เราเรียกว่า Mesh topology

n ในกรณีของ Ethernet นั้น อุปกรณ์หลักที่ใช้ในการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่าย ก็จะใช้อุปกรณ์ที่เป็น Ethernet switch ในการเชื่อมต่อ

Wide Area Network Basics
n หลักการพื้นฐานของเครือข่าย Wide Area Network ในอดีตที่ผ่านมาเครือข่าย WAN จัดได้ว่าเป็นเครือข่ายที่มีความเร็วค่อนข้างจะต่ำ และก็เป็นเครือข่ายที่มีความผิดพลาดในการรับส่งข้อมูลที่สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราเปรียบเทียบกับเทคโนโลยีเครือข่าย LAN ที่มีความเร็วสูง และก็มีความผิดพลาดต่ำ
n แต่ในปัจจุบันนี้ตัวเทคโนโลยีได้ก้าวหน้าไปมาก ทำให้เครือข่าย WAN ในปัจจุบันนี้มีความเร็วที่ค่อนข้างจะสูงกว่าเดิมมาก และก็มีความผิดพลาดในการรับส่งข้อมูลต่ำมาก อันนี้ส่วนใหญ่ก็จะเป็นผลมาจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลด้วยแสง หรือ fiber optic communication
n โดยปกติการเชื่อมต่อ Wide Area Network นี้จะใช้ Topology ที่เป็นแบบ Mesh Topology
n อันนี้ก็เป็นลักษณะตัวอย่างการเชื่อมต่อจุดต่าง ๆ เข้าด้วยกันในเครือข่าย Wide Area Network จะเห็นว่าการเชื่อมต่อนี้จะเป็นลักษณะของ Mesh topology คือ ระหว่างจุด 2 จุดนี้สามารถจะมีเส้นทางในเชื่อมต่อถึงกันได้มากกว่า 1 เส้นทาง


Types of Network Structures
n เทคโนโลยีเครือข่าย Wide Area Network นั้น เราสามารถจำแนกออกมาได้เป็น 2 ประเภทด้วยกันคือ เทคโนโลยีเครือข่ายที่เราเรียกว่า Circuit-switched network และ Packet-switched network
n ใน 2 เทคโนโลยีนี้ Circuit-switched network นี้จะเป็นเทคโนโลยีที่มีมาก่อน Packet-switched network ซึ่ง Circuit-switched network นี้เป็นเทคโนโลยีที่มีมาพร้อมกับการพัฒนาเครือข่ายของโทรศัพท์
n ลักษณะการทำงานของ Circuit-switched network ก็เพื่อจะทำให้ในระบบเครือข่ายนั้นสามารถจะเชื่อมโยงจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้โดยไม่ต้องมีเส้นทางการเชื่อมต่อระหว่างกันโดยตรง อุปกรณ์ต่าง ๆ อย่างเช่น โทรศัพท์ในระบบเครือข่ายโทรศัพท์จะถูกเชื่อมต่อเข้ากับศูนย์กลางในการ switching ซึ่งก็คือชุมสายโทรศัพท์ที่เรารู้จักกันนั่นเอง

n ภาพนี้ก็แสดงหลักการทำงานของระบบที่เรียกว่า Circuit-switched network โดยยกตัวอย่างกรณีของระบบโทรศัพท์ ในภาพนี้ node ที่เห็นเป็นจุดกลม ๆ ในภาพนี้ ในทางปฏิบัติก็คือเป็นอุปกรณ์ switching ซึ่งติดตั้งอยู่ในชุมสายโทรศัพท์ อุปกรณ์ switching นี้ก็จะทำงานในลักษณะเดียวกับตู้ PBX ซึ่งเป็นตู้ชุมสายโทรศัพท์อัตโนมัติขนาดย่อม ๆ ซึ่งมีใช้กันอยู่ในสำนักงานโดยทั่วไปนั่นเอง
n ในภาพนี้จะเห็นว่ามีผู้ใช้โทรศัพท์อยู่ 2 คน ซึ่งต้องการจะต่อโทรศัพท์เข้าด้วยกัน เพื่อจะให้สามารถสนทนากันได้ การเชื่อมต่อระหว่างสองคนนี้ ไม่ได้เชื่อมต่อถึงกันโดยตรง แต่ทำการเชื่อมต่อผ่านชุมสายโทรศัพท์ ผ่านคู่สายซึ่งเชื่อมต่อระหว่างชุมสายโทรศัพท์ต่าง ๆ จะเห็นว่าในการติดต่อระหว่างคู่สนทนาคู่นี้ จะต้องผ่านชุมสายโทรศัพท์ทั้งหมด 5 ชุมสายด้วยกัน โดยมีชุมสายแรกซึ่งอยู่ทางด้านซ้ายมือสุด ซึ่งเป็นชุมสายที่เชื่อมต่อเข้ากับเครื่องรับโทรศัพท์ของผู้ใช้โดยตรง และชุมสายที่อยู่ด้านขวา เป็นชุมสายที่เชื่อมกับเครื่องรับโทรศัพท์ของผู้ใช้ที่อยู่ทางด้านขวาโดยตรง ระหว่างชุมสายทั้งสองก็จะมีชุมสายขั้นกลางอยู่ 3 ชุมสาย ซึ่งเป็นตัวคอยนำข้อมูล หรือข้อมูลเสียงจากคนหนึ่งผ่านไปยังชุมสายต่าง ๆ ไปยังผู้ใช้อีกคนหนึ่ง
n ลักษณะของการติดตั้งระบบเครือข่ายโทรศัพท์โดยทั่วไปนี้ จะพยายามติดตั้งจำนวนคู่สายที่เอาไว้เชื่อมต่อระหว่างชุมสายโทรศัพท์ต่าง ๆ นี้ให้มีจำนวนเพียงพอกับการใช้งานของผู้ใช้ แต่โดยปกติแล้วจะมีจำนวนที่ต่ำกว่าหมายเลขโทรศัพท์หรือจำนวนผู้ใช้อยู่พอสมควร ทั้งนี้เนื่องมาจากว่า โดยปกติแล้วนี้ผู้ใช้จะไม่ได้ใช้งานโทรศัพท์พร้อม ๆ กัน และไม่ได้ใช้งานตลอดเวลา เพราะฉะนั้นคู่สายที่เชื่อมต่อระหว่างชุมสายโทรศัพท์ต่าง ๆ นี้ก็จะไม่ถูก allocate หรือ provide ให้กับผู้ใช้โทรศัพท์หมายเลขใดหมายเลขหนึ่งเป็นการเฉพาะ จนกว่าผู้ใช้หรือโทรศัพท์นั้นจะถูกหมุนไปยังหมายเลขโทรศัพท์อื่น ชุมสายโทรศัพท์ถึงจะเริ่มทำการจองคู่สาย เพื่อให้สามารถจะเชื่อมต่อจากชุมสายโทรศัพท์ต้นทางไปยังชุมสายโทรศัพท์ปลายทางได้ เมื่อเรายกหูขึ้นมาแล้วก็หมุนหมายเลขโทรศัพท์ นั่นคือระบบจะเริ่มค้นหาคู่สายที่ว่าง และเริ่มจะค้นหาเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างต้นทางกับปลายทางเข้าด้วยกัน ถ้าในกรณีที่เส้นทางต่าง ๆ นั้นยังมีคู่สายที่เหลืออยู่ โทรศัพท์ของเราเมื่อโทรไปแล้วก็จะโทรติด เมื่อโทรติดอีกฝั่งหนึ่งยกหูโทรศัพท์ขึ้นมาก็จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้สองฝั่งพูดคุยกันได้ ซึ่ง ณ จุดนี้คู่สายที่เชื่อมต่อระหว่างชุมสายโทรศัพท์ต่าง ๆ ตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทางก็จะถูกจองไว้สำหรับคู่สนทนาคู่นี้ ผู้ใช้รายอื่นไม่สามารถเข้ามาใช้คู่สายที่ถูกจองไว้แล้วได้ นอกจากคู่สายอื่น ๆ ที่ยังว่างอยู่ก็สามารถจะใช้ได้ แต่คู่สายที่ถูกจองไว้สำหรับคู่สนทนาคู่นี้ไม่สามารถจะนำไปใช้สำหรับผู้ใช้รายอื่นได้ จนกว่าคู่สนทนานี้จะวางหูโทรศัพท์ ซึ่งจะส่งสัญญาณไปบอกชุมสายโทรศัพท์เพื่อทำการยกเลิกการจองคู่สายต่าง ๆ ที่ได้จองไว้ ก็จะทำให้คู่สายเหล่านั้นสามารถจะถูกนำไปใช้ให้บริการผู้ใช้คนอื่นต่อไปได้ อันนี้เป็นหลักการเทคนิคของเครือข่ายที่เราเรียกว่า Circuit-switched network
n ด้วยวิธีนี้ก็จะทำให้ผู้ใช้ต่าง ๆ นี้สามารถจะ share คู่สายที่เชื่อมต่อระหว่างชุมสายโทรศัพท์ด้วยกันได้ แต่ในระหว่างที่ผู้ใช้คนใดคนหนึ่งนี้ทำการจองคู่สายใดคู่สายหนึ่งไปแล้ว ผู้ใช้คนอื่นนั้นจะไม่สามารถจะไปใช้คู่สายนั้นได้ ถึงแม้ว่าจะบางช่วงบางขณะอาจไม่มีการพูดการคุยแต่ว่ายกหูไว้เฉย ๆ ช่องสัญญาณหรือคู่สัญญาณที่จองไว้ก็ไม่สามารถนำไปใช้เพื่อการอื่นได้
n ปัญหาของการนำ Circuit-switched network มาใช้ในการส่งข้อมูลก็คือ ในระบบคอมพิวเตอร์นั้นมันไม่ได้มีการส่งออกมาอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์นั้นจะถูกส่งออกมาเป็นชิ้นเล็ก ๆ ที่เราเรียกว่าเป็น packet ระยะห่างระหว่าง packet นั้นอาจจะห่างกันมากห่างกันน้อย ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน และ Application
n ปัญหาก็คือว่า ในหลาย ๆ Application นี้อาจมีความต้องการในการรับส่งข้อมูลอยู่ตลอดเวลา ตลอดทั้งวัน แต่ข้อมูลนั้นอาจจะไม่ได้ส่งอย่างต่อเนื่อง จะมีบางช่วงบางตอนเป็นระยะ ๆ ที่ไม่ได้มีการส่งข้อมูล การใช้เทคโนโลยี Packet-switched network ก็จะทำให้มีความจำเป็นที่จะต้องจองช่องสัญญาณหรือจองคู่สายไว้สำหรับการเชื่อมต่อระหว่างจุดใดจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ซึ่งถ้าในบางช่วงบางขณะเวลาไม่มีการรับส่งข้อมูลเกิดขึ้น ทรัพยากรหรือคู่สายที่จองไว้ก็จะไม่เกิดประโยชน์สูงสุด ทำให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีเครือข่ายที่เราเรียกว่า Packet-switched network ขึ้นมา เพื่อรองรับสำหรับการส่งข้อมูลเป็นการเฉพาะ เพื่อทำให้การใช้ประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากรเครือข่ายนั้นทำได้ดีขึ้น
n อีกประเภทหนึ่งของเทคโนโลยีเครือข่ายก็คือ Broadcast Network อันนี้เป็นเครือข่ายที่โดยปกติเราจะพบเห็นในระบบของเครือข่าย LAN แต่ก็สามารถจะพบเห็นได้บ้างในกรณีของ WAN โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของ Network ที่อาศัยคลื่นวิทยุเป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล
n ในกรณีของ Broadcast Network นั้น ข้อมูลที่ส่งออกมาจากเครื่องใดก็ตาม จะถูกกระจายไปยังเครื่องอื่น ๆ ที่เหลือทั้งหมดในระบบเครือข่าย และเครื่องทั้งหมดเมื่อได้รับข้อมูลมาก็จะทำการเช็ค Address ว่าเครื่องที่ได้รับมานั้นส่งมาให้เครื่องของตนหรือไม่ ถ้าไม่ใช่ก็จะทิ้งข้อมูลนั้นไป ถ้าใช่ก็จะนำข้อมูลนั้นมาประมวลผลต่อ

Connection-oriented versus Connectionless network applications
n ที่พูดมาทั้งหมดก็คือประเภทของเทคโนโลยีเครือข่าย Wide Area Network ซึ่งได้จำแนกออกมาเป็น 3 ประเภทด้วยกัน ทีนี้เราจะมาพูดถึง Application ที่ใช้ Network เหล่านั้นในการเชื่อมต่อ
n Application เหล่านี้ เนื่องจากอาศัย Network เป็นตัวกลางในการทำงานของมัน ดังนั้นในการทำงานของมันเราก็จะเรียกรวม ๆ กันว่าเป็น Network Application
n ในการรับส่งข้อมูลของ Network Application ผ่านเครือข่าย โดยปกติก็จะเกี่ยวข้องกับ Application ของเครื่องที่ฝั่งส่ง ส่งข้อมูลไปยัง Application ของเครื่องที่ฝั่งรับ ก็คือเป็นการติดต่อระหว่าง Application ถึง Application ผ่านระบบเครือข่าย ลักษณะของการเริ่มต้นในการติดต่อ และสิ้นสุดในการติดต่อทำให้สามารถจะจำแนก Network Application ได้เป็น 2 ลักษณะ คือ Connection-oriented และ Connectionless network applications
n ความแตกต่างระหว่างประเภทของ Application 2 อันนี้ก็คือ อยู่ที่ความจำเป็นที่จะต้องมีการร้องขอ และการตอบรับหรือปฏิเสธการเชื่อมต่อก่อนที่จะมีการส่งข้อมูลจริง ๆ หรือไม่
n ในกรณีของ Connection-oriented application ก่อนที่จะ application ฝั่งส่งจะมีการส่งข้อมูลให้ application ของฝั่งรับ จะต้องมีการส่ง code ที่ร้องขอไปยัง application ฝั่งรับก่อน และ application ก็จะต้องส่งข้อความตอบรับให้มีการเชื่อมต่อได้ หรือข้อความปฏิเสธไม่ให้มีการเชื่อมต่อ ต้องให้มีการตอบรับการเชื่อมต่อ ถึงจะเริ่มทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ อันนี้เราเรียกว่า Connection-oriented application
n ในขณะที่ Connectionless ซึ่ง network applications นี้จะไม่มีกลไกการร้องขอ และการตอบรับหรือปฏิเสธก่อนที่จะมีการส่งข้อมูล คือเมื่อต้องการที่จะส่งข้อมูลก็จะทำการส่งออกไปเลย โดยที่ไม่มีกลไกที่ตรวจสอบหรือกลไกที่จะร้องขอก่อนเหมือนกับกรณีของ Connection-oriented application
n อันนี้ก็เป็นคำอธิบายของ Connection-oriented application กับ Connectionless network applications
n อันนี้เป็นภาพเปรียบเทียบการทำงานของ Connection-oriented application กับการพูดคุยโทรศัพท์ ซึ่งโดยปกติแล้วเมื่อเราทำการโทรศัพท์ติดต่อไปยังหมายเลขปลายทางแล้วเมื่อมีการยกหูรับสายแล้วนี้ ธรรมดาเราจะไม่ได้เริ่มสนทนาหรือเริ่มทำการส่งข้อมูลในทันที แต่จะเป็นการแลกเปลี่ยนข้อความบางอย่างกัน เพื่อเป็นการยืนยันการเชื่อมต่อ อย่างเช่น ฝั่งหนึ่งอาจพูด ฮัลโหล อีกฝั่งหนึ่งก็จะถามว่าเป็นคนนี้ใช่มั๊ย อีกฝั่งก็จะตอบว่าใช่ ...ฯลฯ ข้อความที่แลกเปลี่ยนกันข้างต้นนี้ มันเปรียบได้กับข้อความที่ message ที่มีการ request และมีการ Acknowledge หรือ ตอบรับการเชื่อมต่อของ Application ที่มีลักษณะเป็น Connection-oriented Application

n ข้อความเหล่านี้มันไม่ได้เป็นข้อความที่เป็นตัว message หรือตัว data แต่เป็นข้อความที่ยืนยันว่าทั้งฝั่งส่งและฝั่งรับ พร้อมที่จะดำเนินการเชื่อมต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้จริง
n อันนี้เป็นอีกกรณีหนึ่ง เป็นการเปรียบเทียบระหว่าง Connectionless network applications กับ การส่งจดหมาย คือในการส่งจดหมายนี้ message ที่จะส่งไปกับจดหมายนี้ โดยปกติเราจะไม่ได้มีการเช็คก่อนว่าปลายทางนี้พร้อมที่จะรับจดหมายหรือไม่ ก็คือไม่มีกลไกร้องขอในการเชื่อมต่อ ไม่มีกลไกในการตอบรับหรือปฏิเสธการร้องขอ ก่อนที่จะทำการส่งข้อมูล คือจะทำการส่งจดหมายหรือส่งข้อมูลออกไปทันที อันนี้ก็เป็นตัวอย่างที่เปรียบเทียบได้กับ Connectionless network applications

n ในความเป็นจริงแล้วนี้ มันไม่ได้มีความสัมพันธ์โดยตรงใด ๆ ทั้งสิ้นระหว่างประเภทของ Application ไม่ว่าจะเป็น Connection-oriented หรือ Connectionless กับประเภทของเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็น circuit-switched หรือ packet-switched-network ก็คือ Connection-oriented Application อาจจะ run อยู่บนเครือข่ายที่ circuit-switching หรืออาจเป็น packet-switching-network ก็ได้

Routing
n ในระบบเครือข่าย WAN นี้จะอาศัยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Router เป็นอุปกรณ์หลักในการเชื่อมต่อจุดต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เนื่องจากว่าการเชื่อมต่อในระบบเครือข่าย WAN โดยปกติจะเป็นการเชื่อมต่อในลักษณะที่เป็น Mesh Topology ก็เป็นผลทำให้การเชื่อมต่อระหว่างจุดต่าง ๆ ในเครือข่าย WAN นั้นอาจมีเส้นทางในการรับส่งข้อมูลที่เป็นไปได้มากกว่า 1 ช่องทาง ก็จะเป็นหน้าที่ของอุปกรณ์ Router ที่จะเป็นตัวเลือก route หรือเลือกเส้นทางในการส่งข้อมูลไป ก็คือ เมื่อได้รับข้อมูลมา router ก็จะมีหน้าทีเลือกเส้นทางในการส่งข้อมูลไปยัง node ถัดไป
n ในภาพนี้แสดงให้เห็นถึงกรณีที่เกิดขึ้นโดยปกติในระบบเครือข่าย WAN ที่การเชื่อมต่อระหว่างจุด 2 จุดนี้สามารถจะทำการผ่านเส้นทางต่าง ๆ ที่แตกต่างกันได้มากกว่า 1 เส้นทาง จุด A B C D E F G ในภาพนี้ก็คือ node ต่าง ๆ หรือที่ตั้งของอุปกรณ์ router จะเห็นว่าข้อมูลที่เข้ามาที่ node A จะไปที่ node G สามารถจะผ่านเส้นทางต่าง ๆ ได้มากกว่า 1 เส้นทาง ก็จะเป็นหน้าที่ของ Router A ที่จะเลือกเส้นทางที่เหมาะสมในการส่งข้อมูลที่ได้รับ เพื่อที่สุดแล้วจะได้ไปยังที่หมายปลายทางได้


n กลไกหรือกฎเกณฑ์ในการที่จะตัดสินใจในการเลือกเส้นทางนี้เราเรียกว่า Routing Method หรือ Routing algorithm
n จากเส้นทางต่าง ๆ ที่มีความเป็นไปได้มากกว่า 1 เส้นทาง router จะอาศัย routing algorithm ประกอบกับข้อมูลที่มีอยู่ใน routing table และ destination address ของข้อมูลที่ได้รับ เพื่อกำหนดเส้นทางในการส่งข้อมูลที่เหมาะสม
n Routing ที่ดี ควรมีคุณสมบัติต่าง ๆ อันได้แก่
 Optimal คือ router ควรจะเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดในการส่งข้อมูล ซึ่งคำว่าดีที่สุดนี้ขึ้นอยู่กับการ define หรือการ config ตัว router เช่นคำว่าดีที่สุด คืออาจจะประเมิน หรือคิดจากเวลาที่ใช้ในการส่งข้อมูล ยิ่งส่งน้อยก็ยิ่งดี คิดจากจำนวน node ที่ต้องผ่าน ซึ่งเส้นทางที่ผ่าน node น้อยที่สุดอาจเป็นเส้นทางที่ดีที่สุด อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับ criteria หรือกฎเกณฑ์ที่เรากำหนดขึ้นมาว่าดีที่สุดนั้นคิดจากอะไรบ้าง
 Fair คือ ควรจะ treat packet ต่าง ๆ ในลักษณะที่เท่าเทียมกัน คือข้อมูลที่มาจากเส้นทางต่าง ๆ นั้นควรได้รับการปฏิบัติในลักษณะที่เท่าเทียมกัน ยกเว้นแต่ว่ากรณีที่ router ตัวนั้น implement policy ที่เราเรียกว่า quality of service นั่นเป็นการจงใจหรือตั้งใจที่จะทำให้ข้อมูลบางประเภท หรือบาง source ได้รับการปฏิบัติที่ดีกว่าหรือมี priority สูงกว่าข้อมูลอื่น ๆ
 Robust หมายความว่า router ควรจะมีความสามารถในการตรวจพบข้อผิดพลาดขึ้นในระบบเครือข่าย สามารถจะปรับเปลี่ยนเส้นทางจากเดิมซึ่งปัจจุบันอาจจะเกิดข้อบกพร่องใช้งานไม่ได้ ไปเป็นเส้นทางอื่นได้ ทำให้ระบบเครือข่ายยังคงทำงานต่อไปได้ ถึงแม้ว่าจะข้อผิดพลาดขึ้นในส่วนอื่น ๆ ของระบบก็ตาม

Centralized Routing
 อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่า router นี้อาศัยองค์ประกอบต่าง ๆ องค์ประกอบหนึ่งก็คือ routing table ในการเลือกเส้นทาง ถ้าเราจำแนกประเภทของ router ตามที่ตั้งของตัว routing table ก็จำแนกออกมาได้เป็น 2 ลักษณะ คือ Centralized routing กับ Distributed routing
 คำว่า Centralized routing ก็คือ routing table ซึ่งเหมือนกับเป็นแผนที่การเชื่อมต่อของ node หรือ router ต่าง ๆ ของระบบเครือข่ายทั้งหมด จะถูกเก็บอยู่ ณ node ๆ เดียว เรียกว่า central node
 เพราะฉะนั้น node อื่น ๆ เมื่อมีความจำเป็นจะต้อง consult ตัว routing table ก็จะต้อง request ข้อมูลอันนั้นจากตัว central node
 อันนี้เป็นตัวอย่างของตัวตารางที่เรียกว่า routing table เป็นตัวอย่างที่ simplify จากข้อมูลที่เก็บอยู่ในตัว router จริง ๆ ฝั่งที่เป็นแถวนี้เราเรียกว่า origination node กับฝั่งที่เป็น คอลัมน์นี้เรียกว่า Destination node

 คำว่า origination node นี้คือ node ซึ่งข้อมูลนั้นได้รับ เมื่อมีข้อมูล packet ผ่านเข้ามา เช่น packet เข้ามาที่ node A นั้น origination node สำหรับข้อมูลนั้นก็คือ A และถ้า packet นั้นมีปลายทางไปที่ node D, next node ที่ A ควรจะส่งไปให้ก็คือ เป็น node B อันนี้ก็คือเป็นวิธีการที่เราจะอ่านตัว routing table นั้น ๆ
 เนื่องจากว่า router อันนี้เป็นลักษณะ centralized routing ข้อมูลในทุก ๆ แถว (คือ แต่ละแถวนี้เป็น routing ที่เฉพาะสำหรับ node แต่ละ node หรือ router แต่ละตัวในเครือข่าย) แต่แถวข้อมูลในทั้งหมดนี้จะถูกจัดเก็บอยู่ใน central node ของ centralized routing ซึ่งจะต่างจากกรณีของ Distributed routing

Distributed routing
 ซึ่งจะเหมือนกับการเอา routing table มาแบ่งออกเป็นแต่ละแถว แต่ละแถว แยก ๆ ออกไป แต่ละแถวก็จะไปถูกจัดเก็บใน node ที่เกี่ยวข้อง อันนี้เป็นลักษณะของ Distributed routing อย่างในภาพนี้

 จะเห็นว่า แถวของ origination node C ก็จะไปถูกจัดเก็บอยู่ที่ node C ไม่ไปถูกเก็บอยู่ที่ node อื่น ก็มีการกระจายกันออกไปใน node ต่าง ๆ

Adaptive Routing versus Static Routing
 นอกจากนี้เรายังสามารถจำแนกประเภทของ router ในลักษณะของการ update ของตัว routing table ออกมาได้เป็น 2 ประเภทคือ Adaptive Routing versus Static Routing
 คำว่า Static Routing ก็คือ ข้อมูลในตัว routing table นี้มันจะคงที่ตลอดไม่อยู่กับสภาวะการทำงานของระบบเครือข่าย ยกเว้นแต่ผู้ดูแลระบบจะมาทำการปรับแก้ตัว routing table เท่านั้น
 ในขณะที่ Adaptive Routing นั้น มันจะมีกลไกที่ router สามารถจะเรียนรู้สภาพการใช้งานในระบบเครือข่าย ปริมาณความหนาแน่นของข้อมูลในระบบเครือข่าย เพื่อจะมาปรับเปลี่ยนค่าตัว routing table เพื่อให้ระบบเครือข่ายทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพสูงสุด อันนี้ก็เป็นการจำแนก router ตามลักษณะการ update ข้อมูลที่มีอยู่ใน routing table

Summarize Sound Lecture Chapter 8

Chapter 8
Local Area Networks: Internetworking

ในบทที่ 7 เราได้พูดถึงเทคโนโลยีเครือข่าย LAN แบบต่าง ๆ ในส่วนของบทที่ 8 นี้จะพูดถึงวิธีการในการเชื่อมโยงเครือข่าย LAN เข้าด้วยกัน หรือที่เราเรียกว่า การทำ Internetworking

Summary
 เหตุผลและความจำเป็นที่จะต้องทำ Internetworking
 อุปกรณ์ Internetworking Devices ที่สามารถจะนำมาใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายได้

Why Internetworking
มีเหตุผล หรือความจำเป็นอะไรบ้างที่ทำให้เราจำเป็นต้องมีการเชื่อมเครือข่ายเข้าด้วยกัน หรือทำการ Internetworking
n มีปัจจัย หรือมีสาเหตุหลาย ๆ อย่างที่ทำให้บ่อยครั้ง
 เรามีความจำเป็นที่จะต้องเชื่อมโยงเครือข่าย LAN เข้ากับเครือข่าย LAN อื่น ๆ
 หรือในบางกรณีก็อาจจะเป็นการเชื่อมโยงเครือข่าย LAN เข้ากับเครือข่าย Wide Area Network อย่างเช่น เครือข่าย Internet (ซึ่งถือว่าเป็นเครือข่ายประเภท Wide Area Network ประเภทหนึ่ง)
n นอกจากนี้ก็ยังมีเหตุผลอย่างเช่น เราต้องการจะเพิ่มระยะทาง หรือเพิ่มจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออยู่กับเครือข่าย LAN
n เพื่อต้องการแยกระบบเครือข่ายระหว่างส่วนงานต่าง ๆ ออกจากกัน การแยกนี้อาจจะเป็นเหตุผลในแง่ของความปลอดภัย หรืออาจจะเป็นเหตุผลในแง่ของการจัดการก็ได้
n เพื่อต้องการจะแยกเครือข่าย LAN ออกมาเป็นเครือข่ายย่อย ๆ หรือเราเรียกว่าแบ่งออกมาเป็น Segment ต่าง ๆ เพื่อเหตุผลในแง่ประสิทธิภาพการทำงานของเครือข่าย เพื่อไม่ให้เครือข่าย LAN นั้นเกิด Congestion หรือมีเครื่องคอมพิวเตอร์ในแต่ละเครือข่าย LAN มากเกินไป
n เหตุผลในแง่ความปลอดภัย เพื่อให้ระบบเครือข่าย LAN เมื่อทำการแบ่งแยกออกมาแล้ว ก็จะทำให้แต่ละส่วนของเครือข่าย LAN นี้ สามารถจะมีมาตรการทางด้านความปลอดภัยที่เหมาะสมสำหรับเครือข่ายนั้น ๆ ได้ ในขณะเดียวกันเมื่อยังมีความจำเป็นที่จะต้องเชื่อมโยงเครือข่ายต่าง ๆ เหล่านี้เข้าด้วยกัน ก็จำเป็นจะต้องมีการทำ Internetworking

เรามาพูดถึงประเภทแรกของอุปกรณ์ที่สามารถจะใช้ในการทำ Internetworking

Hubs
n อย่างที่ได้พูดไปในบทก่อน ๆ Hub เป็นอุปกรณ์ที่เราใช้ในเครือข่าย LAN ที่มี Topology แบบ Star หรือใช้เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงเครือข่ายต่าง ๆ เข้าด้วยกันในระบบเครือข่าย LAN
n ลักษณะของ Hub ก็คือ เมื่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งทำการส่งข้อมูลไปยัง Hub แล้ว Hub ก็จะทำการกระจายข้อมูลที่ได้รับกลับออกไปยังทุก ๆ พอร์ต ซึ่งก็คือจะกลับออกไปสู่ยังเครื่องคอมพิวเตอร์ทุก ๆ เครื่อง ที่เชื่อมต่ออยู่กับ Hub ตัวนั้นนั่นเอง
n ลักษณะของอุปกรณ์ Hub มีอยู่ด้วยกัน 2 ลักษณะ ที่เราเรียกว่า Managed Hub และ Unmanaged Hub
 Managed Hub ก็คือ Hub ที่มันมี processor มี chip มีส่วนของอุปกรณ์ มีส่วนของ firmware ซึ่งมีความชาญฉลาดเพียงพอที่จะทำให้เราสามารถจะจัดการ Hub นั้นจากเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องที่เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโดยที่ไม่จำเป็นต้องไปทำการจัดการหรือ manage หรือทำการ set ค่าต่าง ๆ ของ Hub ที่ตัว Hub เอง เราสามารถจะใช้ software ในการ run software แล้วก็ไปจัดการ หรือ monitor สถานะการทำงานของ Hub ผ่านระบบเครือข่ายได้ อันนี้ก็จะเป็นประโยชน์สำหรับเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่ ทำให้สามารถจะทราบ Status การทำงานของ Hub ต่าง ๆ จากที่ที่อยู่ห่างไกลออกไปได้



ภาพลักษณะทั่ว ๆ ไปของอุปกรณ์ Hubs จริง ๆ ภาพนี้เป็นภาพของอุปกรณ์ Switches คือลักษณะทางกายภาพภายนอกของ Hub กับ Switch จะไม่มีความแตกต่างกัน ก็จำเป็นจะต้องดูจากโมเดลของอุปกรณ์นั้น ๆ ว่าอุปกรณ์ที่เราเห็นนั้นเป็น Hub หรือเป็น Switch แต่ลักษณะโดยทั่วไปก็จะมีลักษณะที่เหมือน ๆ กัน
 อุปกรณ์ทางซ้าย เป็นลักษณะของ Hub ที่เป็นประเภท Stand alone คือ เป็น Hub ตัวเล็ก ๆ ซึ่งสามารถจะมีพอร์ตอยู่ทั้งหมด ซึ่งอาจจะเป็นได้ตั้งแต่ 8, 16, 24, 32 หรือมากกว่านั้น
 ส่วนภาพทางขวา เป็น Hub ที่เราเรียกว่าเป็นประเภท Rack version คือจะมีตู้ใส่อุปกรณ์ และก็ตัว Hub ก็จะเป็นการ์ดที่นำมาเสียบเข้าในตู้ต่าง ๆ ก็จะเหมาะกับเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่



ภาพนี้เป็นภาพที่แสดงถึงกติกา หรือหลักเกณฑ์ในการเชื่อมต่อ Hub ในระบบเครือข่าย Ethernet มันมีกติกา หรือกฎในการเชื่อมโยงเครือข่ายโดยการใช้ Hub อยู่ 2 ประการ
1. จะต้องทำให้ไม่เกิด loop ขึ้นในระบบเครือข่าย
2. ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องใด ๆ ในระบบเครือข่าย จะมี Hub ขั้นอยู่ตรงกลางได้ไม่เกิน 4 ตัว
นั่นคือ กฎเกณฑ์ 2 ประการในการเชื่อมต่อ Hub ในเครือข่าย Ethernet

ในภาพนี้เราก็จะเห็นว่า ระหว่างเครื่อง A กับเครื่อง B นั้น ผ่าน Hub จำนวนทั้งหมด 5 ตัวด้วยกัน ระหว่างเครื่อง A กับเครื่อง C ก็เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นกรณีนี้ก็จะ violate หรือละเมิดกฎข้อที่ 2 แต่ระหว่าง B กับ C นี้ผ่าน Hub เพียง 3 ตัว ซึ่งโอเค แต่โดยรวมแล้วในระบบเครือข่าย มันจะต้องไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดที่ละเมิดกฎเกณฑ์ข้อหนึ่งข้อใดในสองข้อ เพราะฉะนั้นเครือข่ายนี้ก็จะทำงานไม่ได้

ในกรณีของ loop จะเป็นกรณีตัวอย่างที่เห็นเป็นเส้นสีเหลืองในภาพ จะเห็นว่าระหว่าง Hub ตัวที่ 2, 3, 4, 5 เกิดเป็น loop ขึ้น คำว่าเกิดเป็น loop ก็คือว่า เมื่อเราไล่เดินจากจุดใดไปในระบบเครือข่าย มันสามารถจะมีเส้นทางที่ย้อนกลับมายังจุดเริ่มต้น หรือ Hub ตัวนั้นได้ นั่นแสดงว่าเกิด loop ขึ้นแล้วในระบบเครือข่าย โดยเฉพาะกรณีของการเชื่อมต่อที่เป็น loop นี้จะทำให้ระบบเครือข่ายหยุดทำงาน

ในกรณีของการเชื่อมโยงโดยการใช้ Hub มากกว่า 4 ตัว ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างเครื่องสองเครื่องใด ๆ อันนี้มันไม่มีอะไรการันตีว่าระบบเครือข่ายจะทำงานได้หรือไม่ ระบบเครือข่ายอาจทำงานได้ แต่ว่าอาจทำงานได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ

เพราะฉะนั้นอันนี้ก็จะเป็นกฎ 2 ประการ ซึ่งเป็นข้อที่ต้องพิจารณาในการเชื่อมต่อ Hub ในระบบเครือข่าย LAN ที่เป็นตามมาตรฐาน Ethernet

ปัญหาของ Hub ก็คือว่า Hub เมื่อได้รับข้อมูลจากเครื่องใด มันก็จะกระจายข้อมูลกลับออกไปยังทุก ๆ เครื่อง หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันด้วย Hub นั้นจะฟอร์มสิ่งที่เราเรียกว่า Collision Domain คำว่า Collision Domain ก็คือว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่อยู่ใน Collision Domain จะต้องเชื่อมต่อกันในลักษณะที่ share สื่อสัญญาณ ก็หมายความว่า เราไม่สามารถจะส่งข้อมูลออกจากเครื่อง 2 เครื่อง หรือมากกว่านั้นพร้อม ๆ กันได้ ก็จะทำให้เกิด Collision

ปัญหาก็คือว่า ถ้ามีจำนวนเครื่องในระบบเครือข่ายมากจนเกินไป ก็จะทำให้เกิดโอกาสที่จะเกิด Collision มากขึ้นเท่านั้น ก็จะทำให้เวลาที่แต่ละเครื่อง ต้องใช้ในการส่งข้อมูลก็จะนานขึ้น ทำให้ผู้ใช้ก็จะสังเกตเห็นได้ว่าระบบเครือข่ายนั้นทำงานช้าลง

วิธีการหนึ่ง ที่จะใช้แก้ปัญหาเหล่านั้นได้ก็คือ การใช้อุปกรณ์ที่เราเรียกว่า Bridge คือในกรณีของ Hub นั้น เราสามารถจะใช้เพื่อแก้ปัญหาหนึ่ง หรือสองประการ
 ประการแรกก็คือ เพื่อเพิ่มจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อในระบบเครือข่าย
 ประการที่สองก็คือ เพื่อเพิ่มระยะทางในการเชื่อมต่อ
แต่ Hub ไม่สามารถจะเอาไว้ใช้แก้ปัญหา Congestion หรือปัญหาของการที่จะมีจำนวนเครื่องในระบบเครือข่ายมาก ๆ ทำให้จะต้อง share การใช้ทรัพยากรเครือข่าย ทำให้ระบบทำงานช้าลง ปัญหาดังกล่าวสามารถจะแก้ได้บางส่วนโดยการใช้อุปกรณ์ที่เราเรียกว่า Bridge ในการเชื่อมโยงเครือข่าย LAN เข้าด้วยกัน

Bridge
ลักษณะของการใช้ Bridge จะมีลักษณะของการใช้อยู่ 2 ลักษณะ
1. เป็นการเชื่อมโยงเครือข่าย LAN ประเภทเดียวกัน เช่น เชื่อมโยงเครือข่าย Ethernet เข้ากับ เครือข่าย Ethernet ซึ่งลักษณะการเชื่อมโยงประการแรกนี้ จะมีจุดประสงค์สำคัญ เพื่อที่จะทำให้ประสิทธิภาพของการทำงานระบบเครือข่ายดีขึ้น ทำให้โอกาสจะเกิด Collision นั้นน้อยลง
2. เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายที่ใช้ Protocol แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น เชื่อมโยงระหว่างเครือข่าย Ethernet LAN กับ เครือข่าย Token ring หรือเชื่อมโยงเครือข่าย Ethernet เข้ากับเครือข่าย Wireless LAN เป็นต้น

ลักษณะการทำงานของ Bridge ก็คือ เมื่อรับข้อมูลมาแล้ว Bridge จะต้องมีการอ่านส่วนของ frame Ethernet ที่เป็น destination address และจาก destination address ที่อ่านมาได้จะเป็นข้อมูลสำคัญที่ Bridge จะมาใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับการ forward frame ข้อมูลนั้นต่อไป อันนี้จะต่างจากกรณีของ Hub โดย Hub ซึ่งคือ เมื่อรับข้อมูลเข้ามาแล้วก็จะกระจายข้อมูลกลับออกไปทันที จะไม่มีการอ่านข้อมูลซึ่งมากับ frame ข้อมูลส่วนหนึ่งส่วนใดทั้งสิ้น



ภาพนี้ เป็นภาพของการใช้ Bridge ในการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย LAN 2 ประเภท ที่มี Protocol ที่แตกต่างกัน

Transparent Bridge
ลักษณะของ Bridge ที่ใช้ในเครือข่าย Ethernet เราจะเรียกว่าเป็น Bridge ที่เป็นประเภท Transparent Bridge

คำว่า Transparent Bridge ก็คือ หมายความว่า โดยการนำ Bridge ประเภทดังกล่าว มาเชื่อมต่อในระบบเครือข่าย เราไม่มีความจำเป็นจะต้องปรับแก้ software ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ใด ๆ ทั้งสิ้น คือตัว Bridge นั้นเป็น Transparent เพราะฉะนั้น software หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ก็จะสามารถจะใช้งานได้ต่อไปโดยที่ไม่ต้องมีการปรับแก้ หรือ upgrade software ใด ๆ ทั้งสิ้น นั่นคือที่มาของคำที่เราเรียกว่า Transparent Bridge

n Transparent Bridge จะอาศัยการอ่านข้อมูลที่วิ่งเข้าสู่ตัว Bridge ในการสร้างสิ่งที่เราเรียกว่า routing table ซึ่งตัว routing table นี้ จะเป็นข้อมูลที่ Bridge ใช้ในการตัดสินใจในการส่งข้อมูลระหว่างพอร์ต
n ซึ่งในกรณีของตัว Bridge นี้จะมีพอร์ตอยู่ทั้งหมด 2 พอร์ต แต่ละพอร์ตจะมีตารางซึ่งเป็นหน่วยความจำที่เราเรียกว่า routing table ของแต่ละพอร์ต เพราะฉะนั้นก็จะมี routing table อยู่ 2 table สำหรับพอร์ตแต่ละพอร์ต
n เมื่อมีข้อมูลส่งมายังแต่ละพอร์ต Bridge จะทำการอ่าน source address ที่มากับตัว frame ข้อมูลนั้น จากข้อมูลนั้นก็จะทำให้ bridge ทราบได้ว่า เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดบ้างที่ต่ออยู่กับพอร์ตใดของ Bridge หรือต่ออยู่กับด้านใดของ Bridge นั่นเอง
n Transparent Bridge ก็จะเป็น Bridge ที่ใช้อยู่ในเครือข่ายที่ใช้ Protocol CSMA/CD ซึ่งก็คือเครือข่าย Ethernet นั่นเอง



ภาพนี้ก็จะแสดงให้เห็นว่า Bridge จะมีพอร์ตอยู่ 2 พอร์ต ซึ่งในภาพนี้ก็คือ พอร์ต A กับ พอร์ต B ทำให้สามารถจะเชื่อมต่อ LAN A กับ LAN B เข้าด้วยกัน ในภาพจะเห็นว่า ในพอร์ต A ก็จะมี table ของพอร์ต A ทางฝั่งของพอร์ต B ก็จะมี table ของพอร์ต B ทั้งสองส่วนนี้จะอยู่ในรูปแบบของหน่วยความจำซึ่งอยู่ในตัวอุปกรณ์ Bridge



ในภาพนี้ก็จะเป็นภาพที่แสดงให้เห็นถึงการเรียนรู้ว่า เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดบ้างต่ออยู่กับพอร์ตด้านใดของ Bridge โดยในการเรียนรู้นั้น Bridge จะทำการอ่านข้อมูลที่เข้ามาในแต่ละพอร์ต และเมื่อทำการอ่าน source address ของ ข้อมูลที่เข้ามา ก็จะทำให้ Bridge สามารถจะ identify ได้ว่าเครื่องไหนบ้างที่เชื่อมต่ออยู่กับฝั่งใดของตัว Bridge

 ภาพ A เป็นกรณีที่ Bridge เริ่มทำงาน ก็คือยังไม่มีข้อมูลใด ๆ ทั้งสิ้น
 ภาพ B จะเห็นว่า workstation 1 ทำการส่งข้อมูลเข้ามายังพอร์ต A Bridge ก็จะทำการบันทึก จริง ๆ แล้วที่ Bridge บันทึกนี้จะเป็น MAC Address ก็คือ Source address ของ Ethernet นั่นเอง (แต่ในภาพนี้ก็เขียนหมายเลข 1 ไว้เพื่อให้ง่ายต่อการอธิบาย)
 ภาพ C จะเห็นว่ามี workstation 4 ส่งข้อมูลเข้ามาทางพอร์ต A อีก เพราะฉะนั้นในตารางพอร์ต A ของ Bridge นี้ก็จะมี list ว่า workstation 1 กับ 4 เชื่อมต่ออยู่กับ Bridge ผ่านทางพอร์ต A เมื่อมีข้อมูลส่งผ่านเข้ามาทางพอร์ต B ก็จะมี list รายการเพิ่มเติมเข้ามาใน พอร์ต B เช่นเดียวกับกรณีที่แสดงในภาพนี้

เพราะฉะนั้นเมื่อเวลาผ่านไป Bridge ก็จะเริ่มเรียนรู้ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์มีเครื่องไหนบ้างต่ออยู่กับฝั่ง A เครื่องไหนบ้างที่ต่ออยู่กับฝั่ง B จากข้อมูลของ routing table ตรงนี้นี่ Bridge จะนำมาใช้เมื่อมีข้อมูลส่งมาทางพอร์ตใดพอร์ตหนึ่ง Bridge จะทำการตรวจสอบว่า Destination address หรือที่หมายของข้อมูลนั้น ๆ เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในฝั่งเดียวกับฝั่งที่ Bridge ได้รับข้อมูลมาหรือไม่ ถ้าอยู่ในฝั่งเดียวกัน Bridge ก็จะไม่ทำการส่งข้อมูลต่อไปยังฝั่งตรงข้าม แต่ถ้าไม่อยู่ใน list ของในตัว routing table ของฝั่งเดียวกัน Bridge ก็จะทำการ forward หรือส่งต่อข้อมูลไปยังอีกฝั่งหนึ่ง

อย่างเช่นยกตัวอย่างในกรณีนี้ ถ้าเกิดว่ามีข้อมูลส่งจาก Workstation หมายเลข 1 เพื่อไปยัง workstation หมายเลข 4 เมื่อข้อมูลเข้ามาทางพอร์ต A ของตัว Bridge และ Bridge ก็จะทำการเช็ค destination address ของข้อมูลที่ได้รับ ซึ่งก็จะปรากฏว่า destination ก็จะคือเครื่องหมายเลข 4 ซึ่งเครื่องหมายเลข 4 ก็จะอยู่ในตาราง routing table ของพอร์ต A ก็แสดงว่าฝั่งส่งและฝั่งรับนี้อยู่ในฝั่งเดียวกัน ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องส่งต่อข้อมูลไปยังฝั่ง B

ด้วยวิธีนี้ก็จะทำให้ปริมาณข้อมูลที่รับส่งอยู่ในแต่ละฝั่งของ Bridge นี้มีปริมาณที่ลดน้อยลง เนื่องจากว่าการรับส่งข้อมูลที่อยู่ในฝั่งเดียวกันของ Bridge จะไม่ไปรบกวนการรับส่งข้อมูลที่อยู่อีกฝั่งหนึ่งของ Bridge คือถ้าเราคิดง่าย ๆ ว่าเครื่องแต่ละเครื่องนี้มีลักษณะของการรับส่งข้อมูลที่กระจายกัน คือ เครื่องหมายเลข 1 ส่งมาหมายเลข 4 บ้าง บางทีก็ส่งมาที่หมายเลข 5 บ้าง บางทีก็ส่งหมายเลข 2 บ้าง ก็จะทำให้โดยรวมแล้ว ปริมาณข้อมูลที่รับส่งกันที่อยู่ในแต่ละฝั่งของเครือข่ายนี้ก็จะมีปริมาณลดลงประมาณครึ่งหนึ่ง เนื่องจากว่าครึ่งหนึ่งของการรับส่งข้อมูลนี้จะเป็นการรับส่งซึ่งอยู่ในฝั่งเดียวกัน กับอีกครึ่งหนึ่งการรับส่งข้อมูลจะเป็นการรับส่งที่อยู่กันคนละฝั่งกัน ก็จะทำให้โอกาสที่จะเกิด collision ขึ้นนี้ก็จะมีโอกาสลดน้อยลง ก็จะทำให้เสมือนกับว่าจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกันนี้มีจำนวนที่ลดน้อยลง จะทำให้ความเร็วในการรับส่งข้อมูลมีเพิ่มมากขึ้น

ที่กล่าวมาเป็นกรณีตัวอย่างของเครื่องที่อยู่ในฝั่งเดียวกันส่งไปยังเครื่องที่อยู่ในฝั่งเดียวกันกับเครื่องที่ส่ง

ในกรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่คนละฝั่ง เช่น กรณีของเครื่องหมายเลข 1 ส่งข้อมูลไปเครื่องหมายเลข 5 ในกรณีนี้ bridge ก็จะทำการเช็ค routing table ก็จะพบว่าเครื่องหมายเลข 5 นี้ไม่ได้อยู่ใน list ของ routing table ของพอร์ต A หรือฝั่ง A ก็แสดงว่าจุดหมายของข้อมูลชุดนี้ จะต้องถูกส่งข้าม bridge ไปยังอีกฝั่งหนึ่ง ในกรณีนี้ bridge ก็จะทำการ forward หรือส่งต่อข้อมูลไปยังพอร์ต B ซึ่งก็จะส่งข้อมูลต่อไปยัง LAN B ในที่สุดก็จะทำให้เครื่องหมายเลข 5 ก็จะได้รับข้อมูลจากเครื่องหมายเลข 1

จากลักษณะการทำงานนี้เราจะเห็นว่า Bridge จะทำงานได้ดี ก็คือหมายความว่า ช่วยทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลในเครือข่าย Ethernet ดีขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อเป็นกรณีที่ลักษณะของการรับส่งข้อมูลส่วนใหญ่เป็นการรับส่งข้อมูลที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกัน เช่น ในภาพนี้ ส่วนใหญ่เครื่องหมายเลข 1 จะส่งไปให้เครื่องหมายเลข 4 แต่จะมีส่วนน้อยที่เครื่องหมายเลข 1 จะส่งไปให้เครื่องหมายเลข 5 หรือเครื่องหมายเลข 2 ซึ่งอยู่กันคนละฝั่งกันของ Bridge

ในลักษณะของการรับส่งข้อมูลแบบนี้ Bridge จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และจะสามารถจะปรับปรุงประสิทธิภาพการรับส่งข้อมูลในระบบเครือข่ายได้เป็นอย่างดี

แต่ถ้าการรับส่งข้อมูลส่วนใหญ่เป็นการรับส่งข้อมูลข้ามฝั่งกัน อย่างเช่น 1 ไป 5, 1 ไป 2, หรือ 2 มา 4, 5 มา 4, 5 มา 1 เป็นส่วนใหญ่ ประสิทธิภาพการทำงานของ Bridge จะไม่ดีนัก เพราะว่าถึงที่สุดแล้วถ้ามันมีการรับส่งข้อมูลข้ามฝั่งกันมาก ๆ Bridge ก็จะทำงานไม่แตกต่างจากตัว Repeater ก็จะทำให้อัตราของการเกิด Collision ไม่สามารถจะลดลงได้โดยอาศัย Bridge

ภาพนี้เป็นลักษณะของ Bridge อีกประเภทหนึ่งที่เราเรียกว่า Wireless Bridge

Wireless Bridge นี้เป็น ลักษณะเฉพาะของ Bridge ที่เราเรียกกันว่า Remote Bridge จุดประสงค์ของ Remote Bridge ก็คือ เป็น Bridge ที่เอาไว้เชื่อมต่อเครือข่าย 2 เครือข่ายเ้ข้าด้วยกัน โดยอาศัยช่องทางการเชื่อมต่อซึ่งอาจเป็น Wide Area Network หรือว่าเป็นคลื่นวิทยุดังภาพนี้

ในภาพนี้ตัว Wireless Bridge นี้จะเป็นอุปกรณ์ที่เอาไว้เชื่อมระบบเครือข่ายที่อยู่ในฝั่ง Building A เข้ากับเครือข่ายที่อยู่ในฝั่ง Building B แต่การเชื่อมต่อนั้นกระทำผ่านคลื่นวิืทยุ (จริง ๆ เป็นมาตรฐาน Wireless LAN) อันนี้ก็เป็นอีกลักษณะหนึ่งของการใช้งาน Bridge ซึ่ง Bridge ที่ทำงานในลักษณะนี้เรามีชื่อเรียกเฉพาะว่า Remote Bridge

จาก Bridge นี้ก็มีการพัฒนาต่อเนื่องมาเป็นอุปกรณ์อีกประเภทหนึ่งที่เราเรียกว่า Switch ข้อจำกัดของ Bridge นี้ก็คือว่า Bridge นี้จะมีพอร์ตเพียง 2 พอร์ตเท่านั้น ทำให้การแบ่งเครือข่ายออกมาเป็นเครือข่ายย่อย ๆ ทำได้แค่เพียง 2 เครือข่ายเท่านั้น เพราะว่ามีแค่ 2 ฝั่ง ถ้าต้องการที่จะเบรกเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งมีเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่เป็นจำนวนมาก ๆ ให้ออกมาเป็นเครือข่ายย่อย ๆ ที่มากกว่า 2 เครือข่าย Bridge ไม่สามารถจะทำได้เนื่องจาก bridge มีพอร์ตเพียง 2 พอร์ตเท่านั้น อุปกรณ์ที่จะสามารถตอบสนองความต้องการนี้ได้คือ Switch

Switch
Switch ถ้าพูดกันอย่างง่าย ๆ ก็คือ Bridge ที่มีหลายพอร์ตนั่นเอง ก็ทำให้ Switch สามารถจะเชื่อมต่อกับเครือข่ายย่อย ๆ ได้มากกว่า 2 เครือข่าย

ในกรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องนี้เชื่อมต่ออยู่กับแต่ละพอร์ตของ Switch นี้เราเรียกจุดเชื่อมต่อนั้นว่า Dedicated segment หรือ Switched segment เนื่องจากว่าในกรณีเฉพาะอันนี้ จะไม่มีการเกิด collision ขึ้น เนื่องจากว่ามีเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวที่เชื่อมต่ออยู่กับพอร์ต ๆ นั้น


ในภาพนี้เป็นการแสดงให้เห็นถึงการเชื่อมต่อใน 2 รูปแบบเข้ากับตัว Switch อุปกรณ์ workstation 2 เครื่องที่อยู่ทางด้านขวามือ กับอุปกรณ์ Server ที่อยู่ทางด้านซ้ายมือ 2 เครื่อง จะเห็นว่าแต่ละเครื่องจะทำการเชื่อมต่อเข้ากับแต่ละพอร์ตของ Switch โดยตรง เราเรียกลักษณะของการเชื่อมต่อแบบนี้ว่า Dedicated connection หรือ Dedicated segment เนื่องจากว่าสายหรือพอร์ตที่เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่ทำการเชื่อมต่อนั้นไม่ได้ถูก share หรือใช้งานร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ

ซึ่งต่างจากกรณีที่ทางด้านซ้ายมือของภาพ ที่พอร์ตแรกของของตัว Switch นั้น ทำการเชื่อมต่ออยู่กับ Hub ในขณะที่ Hub ทำการเชื่อมต่ออยู่กับ workstation ในกรณีนี้ segment หรือพอร์ตนี้ของ Switch นี้จะเป็น share segment เนื่องจากว่าพอร์ตหนึ่งพอร์ตจะถูกใช้งานร่วมกันระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป

การเชื่อมต่อด้วย Switch ทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลในระบบเครือข่ายดีขึ้น เนื่องจากทำให้โอกาสทีจะเกิด Collision นั้นลดน้อยลง


Switch ลดโอกาสที่จะเกิด collision ได้เนื่องมาจากการทำงานที่คล้ายคลึงกับ Bridge อย่างเช่นในภาพนี้จะเห็นว่า workstation A ส่งข้อมูลไปยัง server หมายเลข 1 ในขณะที่ workstation B ส่งข้อมูลไปยัง server หมายเลข 2 และในขณะที่ workstation C ส่งข้อมูลไปให้ workstation D การส่งข้อมูลทั้ง 3 คู่นี้สามารถจะเกิดขึ้นในเวลาพร้อม ๆ กันโดยที่ไม่เกิด collision ขึ้น เนื่องจากว่าในการทำงานของ Switch เมื่อข้อมูลเข้ามายังพอร์ตใดของ Switch ซึ่ง Switch จะทำการเช็ค Destination address ของข้อมูลนั้น และจะทำการเช็ค routing table ของแต่ละพอร์ตที่เหลือว่ามันมีพอร์ตใดที่มีสมาชิกเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตรงกับ Destination address ของข้อมูลที่เข้ามา จากนั้น Switch ก็จะทำการส่งต่อข้อมูลที่ได้รับไปยังพอร์ตนั้นโดยตรง โดยที่ไม่ต้องมีการกระจายข้อมูลไปยังพอร์ตอื่น ๆ ที่เหลือ ดังภาพนี้ เครื่อง A เครื่อง B และเครื่อง C สามารถจะทำการส่งข้อมูลมาพร้อม ๆ กันโดยที่ไม่เกิด collision ขึ้น ซึ่งจะต่างจากกรณีที่เราใช้ Hub ในการเชื่อมต่อ เพราะถ้าเป็นกรณีของการใช้ Hub เมื่อข้อมูลเข้ามายังพอร์ตใดก็จะถูกกระจายไปยังทุก ๆ พอร์ตที่เหลือ ก็จะทำให้เกิด collision ขึ้น ถ้าเกิดว่าการส่งข้อมูลจากเครื่อง A หรือ เครื่อง B เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน

Full-Duplex Switches
โดยลักษณะการเชื่อมต่อด้วย Switch ทำให้เราสามารถจะ operate Ethernet LAN ในลักษณะของการรับส่งที่เราเรียกว่าเป็น Full-Duplex ได้ การรับส่งที่เป็นแบบ Full-Duplex ก็คือ เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถจะรับและส่งข้อมูลได้พร้อม ๆ กัน ซึ่งไม่สามารถจะเกิดขึ้นได้ในเครือข่าย Ethernet ที่ใช้ Hub ในการเชื่อมต่อ เนื่องจากว่าในกรณีของ Hub นี้ ข้อมูลที่ส่งมายังพอร์ตใดจะถูกกระจายกลับไปยังทุก ๆ พอร์ตที่เหลือ ซึ่งจะมีผลทำให้ไม่สามารถจะมีเครื่องมากกว่า 1 เครื่องส่งข้อมูลออกมาในเวลาเดียวกันได้ เพราะว่าจะเกิด collision ขึ้น

โดยความหมายของการรับส่งข้อมูลแบบ Full-Duplex คือ เครื่องแต่ละเครื่องสามารถจะรับและส่งพร้อม ๆ กันได้ การที่เครื่องแต่ละเครื่องจะสามารถรับและส่งไปพร้อม ๆ กันได้ก็คือหมายความว่า จะต้องมีเครื่องอย่างน้อย 2 เครื่องกำลังส่งข้อมูลออกมาพร้อม ๆ กันในเวลาเดียวกัน ซึ่งถ้าเป็นกรณีของ Ethernet LAN ที่เชื่อมต่อด้วย Hub ก็จะเกิด collision ขึ้น แต่ถ้าในกรณีของ Switch นี้ เราสามารถจะ operate Ethernet LAN ในลักษณะที่เป็น Full-Duplex ได้

สาเหตุที่เราสามารถจะรับส่งข้อมูลพร้อม ๆ กันในเครือข่าย Ethernet ที่เชื่อมต่อกันด้วย Switch ได้ ก็เนื่องมาจากว่า

ดังในภาพนี้ เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่เชื่อมต่อในลักษณะที่เป็น Dedicated segment เข้ากับพอร์ตแต่ละพอร์ตของ Switch สายที่เชื่อมต่อเข้าไปในสาย 1 เส้นนั้น จริง ๆ แล้วจะประกอบไปด้วยสาย 2 คู่ ซึ่งก็คือสาย Twisted pair 2 คู่ ซึ่งคู่หนึ่งจะเอาไว้ส่ง อีกคู่หนึ่งจะเอาไว้รับ (อย่างในภาพ) ก็ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งสามารถส่งข้อมูลไปโดยการใช้สายคู่หนึ่งต่อเข้าไปที่ switch ได้ ในขณะเดียวกันก็สามารถรับข้อมูลจากเครื่องอื่นๆ ผ่านมายังสายอีกคู่หนึ่งได้ ก็ทำให้สามารถรับส่งข้อมูลได้ในเวลาเดียวกัน พร้อมๆ กัน

ความสามารถอันนี้ไม่ได้เป็นผลเนื่องมาจากการใช้สาย Twisted Pair 2 คู่แต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นผลอันเนื่องมาจากการใช้ switch ในการเชื่อมต่อ เพราะการใช้ Hub นั้น จริงๆ แล้วสายที่ใช้เชื่อมต่อระหว่าง Hub กับคอมพิวเตอร์ จริงๆ แล้วก็เป็นสายประเภทเดียวกัน ก็คือภายในจะมีคู่ของ Twisted pair wired อยู่ 2 คู่ ใช้รับกับส่ง แต่โดยลักษณะการทำงานของ Hub เมื่อได้รับข้อมูลจากเครื่องใด ก็จะกระจายข้อมูลไปยังทุกๆ เครื่อง ทำให้ไม่สามารถทำงานในลักษณะที่เป็น full duplex ได้

สรุปว่า เครือข่าย Ethernet LAN จะทำงานในลักษณะที่เป็น full duplex ได้ก็ต่อเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์มีการเชื่อมต่อในลักษณะที่เป็น Dedicated segment เข้ากับตัว switch โดยการเชื่อมต่อนั้นเป็นการเชื่อมต่อโดยอาศัยสายที่เป็น Twisted pair ซึ่งโดยปกติแล้วก็จะมี 2 คู่ โดยคู่หนึ่งจะใช้ส่ง คู่หนึ่งจะใช้รับ

Types of Switches
ประเภทของ Switch มีผลิตในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกันหลัก ๆ อยู่ 2 ลักษณะ เรียกว่าเป็น Switch แบบ Cut-through กับ Switch แบบ Store-and-forward ซึ่ง Switch ทั้งสองประเภทนี้ก็จะมีข้อดี และข้อเสีย แตกต่างกันออกไป (รายละเอียดจะพูดในชั้นเรียน)

ในขณะที่บางโมเดลของ Switch ที่มีจำหน่ายในท้องตลาดนี้จะเป็น Switch ที่ทำงานใน mode ที่เราเรียกว่า Hybrid คือ เป็นส่วนผสมระหว่าง Cut-through กับ Store-and-forward

802.1D Spanning Tree Allows Redundant Links
Switch โดยทั่วไปจะมีคุณสมบัติที่รองรับช่องทางสำรองที่เราเรียกว่า Redundant Link ตามมาตรฐานที่เราเรียกว่า Spanning Tree ซึ่งมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า IEEE 802.1D ซึ่งฟังก์ชันตัวนี้ทำให้เราสามารถจะเชื่อมต่อ Switch ในลักษณะที่เป็น loop อย่างที่เห็นในภาพนี้ได้


อย่างในภาพนี้จะเห็นว่าเส้นเหลืองนี้จะเป็นเส้นที่เชื่อมต่อระหว่าง Switch 2 ตัว ซึ่งเมื่อประกอบเข้ากับ Switch อีกตัวหนึ่งที่อยู่ข้างบน จะเกิดเป็น loop ขึ้นระหว่าง Switch 3 ตัวนี้ จุดประสงค์ของเส้นเหลืองนี้ ก็คือเพื่อที่จะทำให้สามารถจะ provide ช่องทางการรับส่งข้อมูลสำรองได้ ในกรณีที่ช่องทางหลักในภาพเกิดเสียหายขึ้น กรณีดังกล่าวนี้ Switch 2 ตัวสามารถจะ send ความเสียหายที่เกิดขึ้นนี้ได้ ก็จะทำให้ link นี้ ซึ่งเดิมนี้จะไม่มีการรับส่งข้อมูลระหว่าง link 2 link แต่เมื่อมี link หนึ่ง link ใดเกิดเสียหายขึ้น จะมีผลทำให้ link นี้ถูกใช้แทนในการรับส่งข้อมูล ทำให้ระหว่าง Switch 3 ตัวนั้น ยังคงสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อยู่ คือไม่ถูกตัดขาดออกจากกัน เช่นกรณีที่ link ที่เชื่อมระหว่างเครื่อง 2 เครื่องในภาพนี้เกิดเสียหายขึ้น ถ้าไม่มี link (สีเหลือง) นี้สำรองไว้อยู่ ก็จะทำให้เครื่องที่เชื่อมต่ออยู่กับ Switch ตัวนี้ไม่สามารถจะติดต่อกับส่วนที่เหลือของระบบเครือข่ายได้

ซึ่งตรงนี้ก็จะทำให้ Reliability ของระบบเครือข่ายดีขึ้น

ข้อเสียของมาตรฐาน IEEE 802.1D ก็คือ ถ้าเมื่อมี link ใด link หนึ่งเกิดเสียขึ้นมา ระบบจะใช้เวลาค่อนข้างจะนานกว่าที่จะสามารถ recover หมายถึงว่ากว่าที่จะสามารถ send ได้ถึงความเสียหายที่เกิดขึ้น แล้วทำการ activate ตัว redundant link ขึ้นมา ทำให้ช่วงเวลาระหว่างที่ทำการ process อยู่นี้ ข้อมูลบางส่วนของระบบเครือข่าย อาจจะถูกตัดขาดจากส่วนอื่น ๆ ที่เหลือไปชั่วขณะหนึ่ง เพราะฉะนั้นเวลาที่ใช้ในการรอค่อนข้างนานก็คือ โดยปกติก็จะใช้เวลารอมากกว่า 30 วินาทีขึ้นไป

IEEE ก็ได้ทำการออกมาตรฐานซึ่งทำให้เราสามารถที่จะ Recover ได้เร็วขึ้น เราเรียกมาตรฐานนี้ว่า RSTP หรือว่า Rapid Spanning Tree Protocol ชื่อมาตรฐานอย่างเป็นทางการคือ IEEE 802.1W

Link Aggregation Protocol
อีกมาตรฐานหนึ่งเราเรียกว่า มาตรฐาน Link Aggregation Protocol ฟังก์ชันตัวนี้ เป็นความสามารถของตัว Switch ในการที่สามารถจะเชื่อมต่อ Switch กับ Switch โดยอาศัยพอร์ตหรือสายมากกว่า 1 สายดังภาพ



ดังเช่นในภาพนี้ ระหว่าง Switch ตัวบนกับตัวขวานี้ถูกเชื่อมต่อด้วยสายจำนวนทั้งหมดจำนวน 3 เส้น โดยอาศัยพอร์ต 3 พอร์ต ของ Switch แต่ละฝั่ง การเชื่อมลักษณะนี้มีประโยชน์คือ ทำให้สามารถจะเพิ่มอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลระหว่าง Switch 2 ตัวนี้ได้ อย่างเช่น ถ้าพอร์ตแต่ละพอร์ตนี้ส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 100 Mbps มี 3 พอร์ตที่เชื่อมต่อกันในลักษณะนี้ก็ทำให้สามารถจะเพิ่มความเร็วในการรับส่งข้อมูลได้เป็น 3 เท่า

นอกจากนี้ก็จะสามารถใช้กลไกอันนี้ในการเป็นช่องทางสำรองในการรับส่งข้อมูลได้ด้วย ก็คือหมายความว่าเมื่อเส้นใดเส้นหนึ่งใน 3 เส้นนี้เกิดเสียขึ้นมา ก็ยังมีอีก 2 เส้นที่เหลืออยู่ ทำให้ยังคงสามารถจะรับส่งข้อมูลระหว่าง Switch 2 ตัวนี้ได้ ชื่ออย่างเป็นทางการของ Link Aggregation Protocol นี้คือ IEEE 802.3ad

นั่นคือเราได้พูดถึงอุปกรณ์ที่เป็น Hub ที่เป็น Bridge ที่เป็น Switch

Router
ในกรณีที่เราต้องการเชื่อมต่อเครือข่าย LAN เข้ากับเครือข่าย Wide Area Network หรือ ต้องการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย Wide Area Network ด้วยกัน อุปกรณ์ที่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในเชื่อมต่อเพื่อจุดประสงค์ดังกล่าวนี้เราเรียกว่า Router

Router ในระดับนี้จะทำงานอยู่ในระดับ Layer ที่เราเรียกว่า Network Layer ซึ่งแตกต่างจากกรณีของ Bridge หรือ Switch ซึ่งทำงานได้แค่ระดับตั้งแต่ Physical ถึง Data Link Layer เท่านั้น เพราะฉะนั้นในบางครั้งเราจะเรียกอุปกรณ์ Router ว่า layer 3 switch

Router ในบางรุ่น หรือบางบริษัทนี้จะมีฟังก์ชันในด้านความปลอดภัยที่เราเรียกว่า Firewall function



เป็นภาพแสดงลักษณะการทำงานของ Router

กล่าวโดยสรุปย่อ ๆ ก็คือ Router สามารถจะใช้ในเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย 2 เครือข่าย หรือมากกว่านั้น ที่ใช้ Data Link Layer Protocol ที่เหมือนกัน หรือต่างกันก็ได้ แต่จะต้องอาศัย Network Protocol แบบเดียวกัน

ดังภาพนี้ Router จะใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย LAN ซึ่งเป็น Ethernet LAN ทางด้านซ้ายมือ เข้ากับเครือข่าย Wide Area Network ซึ่งไม่ได้แสดงในภาพ จะเห็นว่า Router จะทำการอ่าน Ethernet frame เข้ามา จากนั้นจะตัดเอาเฉพาะส่วนที่เป็น Network Layer ใน step ที่เขียนว่า Step D จากนั้นก็จะทำการใส่ Header Data Link Layer ของ Wide Area Network ที่ทำการเชื่อมต่อ แล้วส่งไปยังเครือข่าย Wide Area Network

เพราะฉะนั้นในภาพนี้โดยหลัก ๆ ก็คือ Router ทำการเปลี่ยน Data Link Protocol จากของ LAN ไปยัง Data Link Protocol ของเครือข่าย Wide Area Network ที่เชื่อมต่อ ซึ่ง Router จะทำอย่างนี้ได้ก็คือ Router จะต้องสามารถจะทำงานได้ในระดับของ Network Layer คือสามารถจะอ่านข้อมูลจนถึงในระดับของ Network Layer ได้ ซึ่งต่างจาก Ethernet ซึ่งแตกต่างจากกรณีของ Switch หรือ Bridge ซึ่งอ่านข้อมูลได้เฉพาะในระดับของ Data Link เท่านั้น ในขณะที่ Hub นั้นทำงานได้เฉพาะในระดับของ Physical Layer

Thursday, August 7, 2008

MIT Assignment : Business Model

รายงานเรื่อง Business Model ของการค้าบนอินเทอร์เน็ต
จัดทำโดย นางสาวศศิธร นามงาม รหัสประจำตัว 51066621
อาจารย์ผู้สอน อ. ชัชชัย สาริมาน
รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา Managing Information Technology
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551
แขนงวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
วันที่ส่ง 7 สิงหาคม 2551


Perfumeforrent.com
ร้านเช่า แลกเปลี่ยน ประมูล น้ำหอมแบรนด์เนม


Perfume Daily Shop ร้านขายน้ำหอมแบรนด์เนม ที่มีเคาเตอร์หน้าร้านอยู่ในห้างสรรพสินค้ารายใหญ่ และช้อปปิ้งมอลล์ ทั่วประเทศกว่า 10 สาขา ต้องการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าให้สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่นิยมการใช้น้ำหอมแบรนด์เนมได้หลาย segment มากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่ชื่นชอบการใช้น้ำหอมหลายกลิ่น หลายแบรนด์ แต่มีทุนทรัพย์จำกัด, กลุ่มลูกค้าที่ชอบเปลี่ยนน้ำหอม เปลี่ยนกลิ่นกายไปเรื่อยๆ ตามสภาพอารมณ์ในแต่ละวัน หรือในแต่ละสถานการณ์ รวมไปถึงกลุ่มลูกค้าที่ต้องการแลกเปลี่ยนน้ำหอมกับผู้อื่น หรือต้องการประมูลน้ำหอมหายาก เพื่อเก็บสะสม หรือเพื่อนำมาครอบครองในราคาย่อมเยา

ดังนั้น Perfume Daily Shop จึงได้เพิ่มช่องทางการบริการทางออนไลน์เพิ่มขึ้นมาจากการขายน้ำหอมในหน้าร้านปกติ เพื่อตอบสนอง และจับกลุ่มลูกค้าให้มากขึ้น โดยได้เปิดเว็บไซต์ perfumeforrent.com ขึ้นมา เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้กับบริษัทมากขึ้น

Perfumeforrent.com Concept

Perfumeforrent.com เกิดขึ้นมาจากแนวคิดที่ว่า คนทุกคนคงไม่สามารถซื้อน้ำหอมแบรนด์เนม กลิ่นที่ตัวเองชอบได้ทุกขวด และกว่าที่จะใช้น้ำหอมขวดนั้นหมดก็ต้องใช้เวลาหลายเดือน หลายปี ซึ่งผู้ใช้เองก็จะรู้สึกเบื่อกับกลิ่นน้ำหอมที่ใช้อยู่เป็นประจำได้

อีกทั้งถ้าน้ำหอมขวดที่ซื้อมาเมื่อนำมาใช้แล้วกลับไม่ถูกใจ จะนำไปเปลี่ยนคืนก็ไม่ได้ จะให้ใครไปก็เสียดาย จะขายต่อให้คนอื่น ก็ลำบาก สุดท้ายกลายเป็นว่าเงินที่ใช้ซื้อน้ำหอมขวดนั้นก็ต้องเสียเปล่า และต้องเก็บไว้ในตู้อยู่เช่นเดิม ไม่สามารถทำอะไรให้งอกเงยขึ้นมาได้ นอกจากเดินหน้าไปร้านขายน้ำหอมแล้วเลือกซื้อขวดใหม่ กลิ่นใหม่ที่คิดว่าถูกใจมาแทน

นอกจากนี้ลองคิดดูว่า จะมีน้ำหอมสักกี่ขวดที่คุณใช้จนหมด เหลือทิ้งเก็บไว้ในตู้อยู่กี่ขวด ถ้าเป็นนักสะสมน้ำหอม สะสมขวดน้ำหอมคงจะชอบใจที่มีน้ำหอมเก็บไว้เป็นที่ระลึก แต่ก็ใช่ว่าทุกคนที่ใช้น้ำหอมจะมีลักษณะนิสัยที่ชอบสะสมน้ำหอมไปด้วย

ด้วยเหตุนี้ perfumeforrent.com เว็บไซต์ที่มุ่งให้บริการในแบบ B2C (Business to Customer) จึงกำเนิดขึ้นมา เพื่อให้เป็นแหล่งเช่าน้ำหอมแบรนด์เนม แลกเปลี่ยน และประมูลน้ำหอมให้กับผู้ที่ใช้น้ำหอมอยู่เป็นประจำ แต่เบื่อความจำเจกับน้ำหอมกลิ่นเดิมๆ ต้องการเปลี่ยนกลิ่นไปเรื่อยๆ แต่ไม่มีทุนทรัพย์มากพอที่จะซื้อน้ำหอมทุกกลิ่น ทุกขวด ก็สามารถมาเช่าใช้ได้

อีกทั้งยังเป็นแหล่งให้กับผู้ที่ต้องการแลกเปลี่ยนน้ำหอมที่เหลือกับผู้อื่น เพื่อให้ได้มีน้ำหอมกลิ่นใหม่ แบรนด์ใหม่ที่แตกต่างไปจากที่ใช้ หรือเป็นกลิ่นที่กำลังต้องการ ส่วนผู้ที่ต้องการขายน้ำหอมขวดเดิมที่เหลือใช้ หรืออาจจะเก็บไว้หลายปี ไม่คิดจะสะสม ก็สามารถนำมาประมูลซื้อขายในตลาดกลางได้

บริการต่างๆ บนเว็บไซต์เหล่านี้ ล้วนเป็นการเพิ่มศักยภาพให้กับธุรกิจขายน้ำหอม ที่มีหน้าร้านกระจายอยู่ในหัวเมือง และแหล่งชุมชนต่างๆ เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ให้มีบริการที่ครอบคลุม และตอบโจทย์กับความต้องการของผู้บริโภคได้ในทุกระดับ

Business model of perfumeforrent.com

1. สินค้าและบริการ
บริการให้เช่า แลกเปลี่ยน และประมูลน้ำหอม จะเน้นสินค้าที่เป็นน้ำหอมแบรนด์เนมของแท้เท่านั้น ราคาน้ำหอมแต่ละขวดที่นำมาให้บริการมีต้นทุนไม่เกิน 2,500 บาท ในเบื้องต้นของการเปิดให้บริการจะคัดสรรน้ำหอมที่ได้รับความนิยมเป็นจำนวนมากมาให้บริการก่อน โดยข้อมูลเหล่านี้จะมาจากยอดขายหน้าร้าน การสำรวจสถิติ การสอบถามจากร้านค้าอื่นๆ และผู้บริโภค

2. กระบวนการให้บริการ
นโยบายของการให้บริการบนเว็บไซต์ perfumeforrent.com นั้น ผู้เข้ามาใช้บริการทุกคนจะต้องเป็นสมาชิกกับทางเว็บไซต์ และต้องมีการชำระเงินค่าประกันสินค้า จำนวน 5,000 บาท ให้กับทางเว็บไซต์ก่อน ถึงจะมีสิทธิเข้ามาขอเช่าน้ำหอมจากทางเว็บไซต์ได้ โดยเงินประกันค่าสินค้าทางเว็บไซต์จะคืนให้ภายใน 2 เดือน หลังจากหมดอายุสมาชิกรายปี และสมาชิกรายนั้นแสดงความจำนงว่าไม่ต้องการต่ออายุสมาชิกอีก

โดยการเช่าน้ำหอมนั้น สมาชิกสามารถเช่าได้ครั้งละไม่เกิน 2 ชนิด ซึ่งแต่ละชนิดจะสามารถเลือกได้ว่าต้องการเช่า 7 วัน หรือ 15 วัน คิดอัตราค่าเช่า 300 บาทต่อชนิด สำหรับการเช่า 7 วัน และ 500 บาทต่อชนิด สำหรับการเช่า 15 วัน ซึ่งผู้ที่ต้องการเช่าสามารถสั่งจองผ่านเว็บไซต์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง 7 วัน สามารถรับสินค้าได้ภายใน 3 วัน โดยจะมารับที่เคาเตอร์ที่อยู่ใกล้ที่สุด หรือจะให้จัดส่งทางไปรษณีย์ก็ได้

ส่วนการคืนสินค้าเมื่อครบกำหนด ผู้เช่าสินค้าจะต้องคืนสินค้าให้กับทางร้านภายใน 3 วันหลังจากหมดเวลาการเช่า โดยจะส่งคืนทางไปรษณีย์ หรือจะมาคืนที่เคาเตอร์หน้าร้านที่อยู่ใกล้บ้านที่สุดก็ได้ ซึ่งสินค้าที่นำส่งกลับมาจะต้องไม่ชำรุด เสียหาย หากสินค้าเกิดการชำรุด เสียหาย เช่น ขวดแตก หัวฉีดน้ำหอมเสียหาย ขวดเป็นรอย เป็นต้น ผู้เช่ารายนั้นจะต้องซื้อน้ำหอมขวดนั้นในราคาเต็มของสินค้าทันที

น้ำหอมแต่ละขวดที่ส่งมอบให้กับลูกค้า จะมีการติดสติกเกอร์ลายน้ำที่เมื่อลอกออกแล้วจะเกิดการฉีกขาดทันทีทุกขวด เพื่อป้องกันการลักลอบนำน้ำหอมไปใช้เกินกว่าความจำเป็น เก็บกักตุน และเป็นการตรวจสอบความซื่อสัตย์ของลูกค้าแต่ละรายที่เช่าสินค้าไปด้วย

ในส่วนการแลกเปลี่ยนนั้น เป็นบริการที่ปิดให้สมาชิก และบุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่สมาชิกสามารถแลกเปลี่ยนสินค้ากันได้ภายในเว็บไซต์แห่งนี้ โดยจะมีการนำสินค้าซึ่งก็คือน้ำหอมที่ต้องการแลกเปลี่ยนขึ้นไปโพสต์เอาไว้บนเว็บ พร้อมเบอร์ติดต่อ หากมีใครสนใจจะแลกเปลี่ยนสินค้ากันก็สามารถติดต่อกันได้โดยตรง หรือจะคุยกันผ่านเว็บไซต์ก็ได้ โดยจะมีเว็บบอร์ดสำหรับการติดประกาศในหัวข้อต่างๆ ซึ่งต่อไปในอนาคตบริการส่วนนี้จะขยายสินค้าออกไปในวงกว้างมากขึ้น มีการจัดหมวดหมู่ประเภทสินค้าที่ต้องการแลกเปลี่ยน รองรับการแลกเปลี่ยนทั้งในแบบ B2B และ B2C ซึ่งบริการในส่วนนี้ทางเว็บไซต์จะเปิดให้บริการฟรี ไม่คิดค่าใช้จ่าย

ในส่วนการประมูล เป็นบริการที่ให้สมาชิกนำน้ำหอมเหลือใช้ หรือเก่าเก็บ หรืออาจจะเป็นน้ำหอมใหม่แกะกล่อง ออกมาประกาศ และตั้งราคาประมูลในตลาดกลางแห่งนี้ได้ โดยสมาชิกในเว็บไซต์ และคนทั่วไปที่มาสมัครใช้บริการในส่วนนี้สามารถประมูลสินค้าที่ตัวเองต้องการกลับไปได้ รวมทั้งยังสามารถนำสินค้ามาโพสต์เพื่อตั้งราคาประมูลได้ด้วย โดยบริการในส่วนนี้ทางเว็บไซต์ก็จะมีสินค้าพิเศษนำมาร่วมประมูลด้วยเช่นกัน ซึ่งบริการในส่วนนี้ในอนาคตจะมีการเพิ่มหมวดหมู่สินค้าให้มากขึ้น เพื่อรองรับสินค้าและความต้องการที่หลากหลายของผู้ที่เข้ามาใช้บริการให้เกิดความพึงพอใจอย่างสูงสุด

3. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มผู้ชาย และผู้หญิง ที่นิยมการใช้น้ำหอมแบรนด์เนม โดยในเบื้องต้นจะเน้นจับกลุ่มคนวัยทำงาน อายุ 21-40 ปี เป็นหลัก

4. แหล่งสินค้า
สินค้าที่นำมาให้บริการ จะมีทั้งที่มาจากเจ้าของเว็บไซต์เอง, สมาชิก และบุคคลทั่วไป ที่เข้ามาใช้บริการในเว็บไซต์ โดยสินค้าที่มาจากทางเจ้าของเว็บไซต์ซึ่งเป็นสินค้าที่มีอยู่ในหน้าร้านอยู่แล้ว หรืออาจจะมีการหาสินค้ามาเพิ่มเติมด้วยนั้นจะมีราคาไม่เกิน 2,500 บาทต่อขวด มีน้ำหอมให้เลือกในเบื้องต้น 20 ชนิด และจะขยายเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ โดยเฉลี่ยจะมีสินค้าเพิ่มขึ้นเดือนละ 5-10 ชนิด

น้ำหอมแบรนด์เนมที่จะถูกคัดเลือกนำมาให้บริการ ได้แก่ Alexander McQueen, Anna Sui, Aramis, Azzaro, Benetton, Burberry, Bvlgari, Cacharel, Calvin Klein, Carolina Herrrera, Cavalli, Cerruti, Chanel, Chloe , Chopard, Christian Lacroix , Clinique, Dana, Davidoff, Diesel, Dior, DKNY, Dolce & Gabbana, Donna Karan, Dunhill, Elizabeth Arden, Emanuel Ungaro, Emporio Armani, Enigma, Escada, Estee Lauder

Fendi, Ferrari, Ghost, Giorgio Beverley Hill, Givenchy, Gres, Gucci, Guerlain, Guy Laroche, Halston, Hermes, Hugo Boss, Iceberg, Inis, Issey Miyake, Jaguar, Jasper Conran, Jean Patou, Jean Paul Gaultier, Joop, Juicy Couture, Kenzo, La Perla, Lacoste, Lancome, Lanvin, Laura Biagiotti, Lolita Lempicka, Marc Jacobs, Matthew Williamson, Miss Morabito

Miss Sixty, Morgan, Moschino, Narciso Rodriguez, New Launched, New Scentsations, Nina Ricci, Oscar de La Renta, Paco Rabanne, Paloma Picasso, Paul Smith, Pierre Cardin, Police, Prada, Puma, Ralph Lauren, Revlon, Rimmel, Rochas, Roxy, Salvador Dali, Sean John, Storm, Sun Care, Ted Baker, Thierry Mugler, Tommy Hilfiger, Trussardi, Valentino, Van Clef & Arples, Vanderbilt, Vera Wang, Versace, Viva Box, Vivienne Westwood, Worth และ Yves Saint Laurent

5. ต้นทุนค่าใช้จ่าย
ต้นทุนของการให้บริการ ประกอบไปด้วย ค่าน้ำหอม, ค่าจัดส่ง, ค่าโฮสติ้ง, ค่าจดโดเมนเนม, ค่าสติกเกอร์สำหรับปิดปากขวดเพื่อป้องกันการทุจริต, ค่ากล่องบรรจุน้ำหอม เพื่อป้องกันไม่ให้สินค้าเสียหายระหว่างการจัดส่ง, เครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องสำหรับการดูแลลูกค้าออนไลน์, ค่าพรินเตอร์แบบ Dot Metrix สำหรับพิมพ์เอกสารการเช่าสินค้า, ค่าเงินเดือนพนักงาน 2 คน สำหรับดูแลลูกค้าออนไลน์โดยเฉพาะ (แต่ในเบื้องต้นอาจจะดูแลเองไปก่อน), ค่าตู้วางสต็อกสินค้า 1 ใบ และ ค่ากระดาษพิมพ์แบบฟอร์มการเช่าสินค้า ดังนั้นต้นทุนสำหรับการเริ่มบริการทางด้านออนไลน์ พร้อมเงินหมุนเวียนในร้านค้าออนไลน์แห่งนี้ ควรจะมีไม่น้อยกว่า 1.5 แสนบาท

6. ราคาค่าบริการ/การจัดส่ง/การชำระเงิน
ค่าสมาชิกกับทางเว็บไซต์ : ฟรี
ค่าประกันสินค้า : 5,000 บาทต่อราย เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่เกิดจากการเช่าน้ำหอมแล้วไม่ส่งคืนร้านค้า
การเช่าน้ำหอม : ครั้งละไม่เกิน 2 ชนิด
ระยะเวลาในการเช่า : 7 วัน หรือ 15 วัน
อัตราค่าเช่า : 300 บาทต่อชนิด สำหรับการเช่า 7 วัน และ 500 บาทต่อชนิด สำหรับการเช่า 15 วัน
ช่องทางการสั่งจอง: เว็บไซต์ perfumeforrent.com, โทรศัพท์ และ เคาเตอร์หน้าร้าน
การจัดส่งสินค้า : ลูกค้าจะได้รับสินเค้าภายใน 3 วันหลังการสั่งจอง โดยสามารถมารับสินเค้าได้ที่เคาเตอร์ที่อยู่ใกล้ที่สุด หรือจัดส่งทางไปรษณีย์
การชำเงิน : โอนเงินผ่านธนาคาร, จ่ายผ่านบัตรเครดิต, จ่ายผ่านโทรศัพท์มือถือ, paysbuy, paypal, thaiepay เป็นต้น



แผนการโฆษณาและการตลาด

Keyword สำคัญที่จะนำมาใช้ในการโฆษณา และการทำตลาด คือ เช่า, น้ำหอม, Perfume, แลกเปลี่ยน, ประมูล, Exchange, Auction, Rent, Perfume bottles, แลกน้ำหอม, เช่าน้ำหอม เป็นต้น

ในส่วนแผนการตลาดและโฆษณาที่จะนำมาใช้โปรโมทเว็บไซต์ จะประกอบไปด้วย
1. การทำ banner ที่จะนำไปติดในส่วนบนของหน้าเว็บไซต์
2. การแลกลิงก์กับเว็บไซต์ที่มีชื่อเสียง และในกลุ่มพันธมิตรที่รู้จัก
3. เข้าไปเพิ่มชื่อเว็บไซต์ในฟรีเว็บไซต์ไดเร็กทอรี่ชื่อดัง เช่น google.com, yahoo.com, msn.com เป็นต้น และควรจะเข้าไปเพิ่มชื่อเว็บไซต์ในฟรีเว็บไดเร็กทอรี่ให้ได้มากที่สุด
4. เข้าไปสมัครในเว็บบอร์ดหรือฟอรั่มต่างๆ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเว็บไซต์ และที่มีเนื้อหาไม่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ โดยเลือกสมัครกับฟอรั่มหรือเว็บบอร์ดที่ดังๆ มีคนเข้ามาใช้บริการเป็นจำนวนมาก จากนั้นก็ขยันใส่คอมเม็นต์ต่างๆ เข้าไป และสร้าง signature ของตัวเองเอาไว้ เพื่อให้แต่ละคอมเม็นต์ที่โพสต์ไปนั้นมีชื่อเว็บไซต์ หรือสโลแกนที่ใช้ติดไปด้วยทุกครั้ง ซึ่งจะทำให้คนรู้จักมากขึ้น
5. นำเทคโนโลยี RSS เข้ามาติดบนเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถติดตามความเคลื่อนไหวของเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้น
6. นำเว็บไซต์ไปสมัครใช้บริการกับ Google AdSense เพื่อนำโฆษณาจาก Google มาติดที่หน้าเว็บไซต์เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับเว็บไซต์เพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง แต่ในขณะเดียวกันก็ใช้ Google AdWords ด้วย เพื่อเพิ่มโอกาสในการแสดงหน้าเว็บไซต์ให้อยู่อันดับต้นๆ ด้วยคีย์เวิร์ดต่างๆ ที่เลือกเอาไว้
7. ส่ง Email Newsletter หรือจดหมายข่าวต่างๆ ไปให้กับสมาชิก และฐานลูกค้าเดิมที่ได้จากการขายหน้าร้าน
8. สร้าง Widget หรือโปรแกรมขนาดเล็กขึ้นมาโดยจะเป็นเกมเกี่ยวกับน้ำหอม ใช้เล่นเพื่อคลายเครียด ยามว่าง ซึ่ง Widget ดังกล่าวจะเปิดให้ผู้ที่สนใจโหลดไปติดตั้งที่เครื่องของตัวเองได้ จากนั้นทางเว็บไซต์ก็สามารถส่งข้อมูลข่าวสาร ความเคลื่อนไหวต่างๆ ผ่าน Widget นั้นได้ด้วย
9. ใช้ Viral Marketing หรือการทำการตลาดแบบปากต่อปาก เข้ามาช่วยในการทำตลาด และโปรโมทเว็บไซต์ให้เป็นที่รู้จัก โดยสร้างเป็นเกมทายใจ หรือเกมให้ตอบคำถามว่าคุณชอบน้ำหอมแบบไหน หรือน้ำหอมแบบไหนถึงจะเหมาะกับบุคลิกของคุณ เป็นต้น จากนั้นก็นำไปสร้างกระแสในเว็บบอร์ดดังๆ อย่างพันธุ์ทิพย์ หรือตามเว็บไซต์ชื่อดังต่างๆ ให้คนได้เข้ามาลองเล่น ซึ่งจะเป็นการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักได้อีกทางหนึ่ง
10. ทำการตลาดผ่าน Social Network เช่น hi5.com, myspace.com, bloggang.com, blogspot.com, facebook.com เป็นต้น ด้วยการเข้าไปสมัครเป็นสมาชิก แล้วนำบทความ เรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับน้ำหอม รวมทั้งบริการของทางเว็บไซต์ไปเผยแพร่เอาไว้ในเว็บไซต์ social network เหล่านี้ โดยการลงเนื้อหาแต่ละแห่ง ต้องให้เหมาะสมกับลักษณะของสังคมนั้นๆ ด้วย เพื่อไม่ให้เกิดการต่อต้านจากสังคม ซึ่งจะทำให้เสียชื่อแบรนด์ได้
11. ทำสติกเกอร์โฆษณาเว็บไซต์ติดไว้ตามเคาเตอร์ที่เป็นหน้าร้านปกติ
12. ทำคูปองลดราคาค่าเช่าน้ำหอม ให้กับลูกค้าที่มาซื้อสินค้าจากหน้าร้านปกติ ส่วนบนเว็บไซต์ก็ทำคูปองลดราคาการซื้อน้ำหอม โดยผู้ที่สนใจสามารถพิมพ์คูปองออกมา แล้วนำไปใช้เป็นคูปองส่วนลดการซื้อน้ำหอมที่หน้าร้านปกติได้

ทั้งนี้ตำแหน่งการวางโฆษณา หรือแบนเนอร์ต่างๆ บนหน้าเว็บไซต์จะยึดจากหลักของ “แผนที่ความร้อนแรง” ตามภาพข้างล่าง



"แผนที่ความร้อนแรง" นี้แสดงให้เห็นการจัดตำแหน่งที่ดีที่สุดบนหน้าเว็บไซต์ โดยสีจะไล่จากสีส้มเข้ม (ประสิทธิภาพสูงสุด) ไปยังสีเหลืองอ่อน (ประสิทธิภาพต่ำสุด) เมื่อปัจจัยอื่นๆ เหมือนกัน โฆษณาที่อยู่เหนือรอยต่อของหน้าจะมีประสิทธิภาพสูงกว่าโฆษณาที่อยู่ช่วงล่างรอยต่อของหน้า โดยโฆษณาที่อยู่ใกล้กับเนื้อหาหลัก และ Navigation bar มักจะมีประสิทธิภาพสูง เนื่องจากผู้เข้ามาที่เว็บไซต์จะมุ่งความสนใจไปยังพื้นที่ส่วนนั้นของหน้าเว็บกันเป็นส่วนมาก

ปัจจัยสู่ความสำเร็จ
เนื่องจากบริการให้เช่าน้ำหอม ยังไม่มีใครเปิดให้บริการ จึงถือว่าเป็นธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตทางการตลาดสูงมากสามารถนำเสนอให้กับผู้บริโภคทั้งในกลุ่มที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นประจำ และกลุ่มลูกค้าทั่วไปที่ไม่ได้ใช้อินเทอร์เน็ต ให้รู้จักกับบริการในรูปแบบใหม่ที่จะนำเสนอสู่ตลาด และยังสามารถตอบโจทย์ในเรื่องความต้องการของผู้บริโภค และสภาวะทางเศรษฐกิจที่ผู้บริโภคต้องใช้เงินกันอย่างประหยัดมากขึ้น แต่ได้สินค้าที่ดี ตรงกับความต้องการ น่าพึงพอใจในราคาเหมาะสมมาใช้งานได้

นอกจากนี้เว็บไซต์ยังเป็นการเพิ่มช่องทางการขายให้เพิ่มขึ้นจากธุรกิจเดิมที่มีอยู่ได้อีกทางหนึ่ง โดยการนำสินค้าที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น มีโอกาสในการขายสินค้ามากขึ้น ขยายฐานลูกค้าให้เพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม โดยที่ไม่ต้องลงทุนสูง และยังมีโอกาสขยายบริการออกไปสู่ตลาดต่างประเทศ รวมไปถึงการขยายไลน์สินค้า ด้วยการสร้างน้ำหอมแฮนด์เมดแบรนด์ไทย ที่มีลักษณะเฉพาะตัวให้ก้าวไกลสู่ตลาดต่างประเทศได้ต่อไป

สโลแกนของเว็บไซต์
Perfumeforrent.com ผู้ให้บริการเช่า แลกเปลี่ยน ประมูล น้ำหอมแบรนด์เนมรายแรกของโลก

โครงร่างหน้าเว็บไซต์ perfumeforrent.com