Friday, June 27, 2008

Grammar Practise

แบบฝึกหัดทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษ

1. "Are you going to the movies?"
"If bill goes,......"

a. I do so.
b. so do I
c. so I'll go
d. so will I


2. "May I use you telephone, please?"
"I'm very sorry, It's been......out."

a. took
b. taking
c. taken
d. take


3. "Have you met Linda?"
"Yes, Micheal introduced......yesterday."

a. me her
b. her to me
c. her for me
d. her me


4. "What is the teacher doing?"
"What he's doing is ......."

a. teachers
b. teaching
c. taught
d. teach


5. "How expensive the ticket is?"
"Oh, I forgot to ask Mary ...."

a. how expensive is it
b. how expensive it is
c. it is expensive
d. is it expensive


6. "Did you take to Bill?"
"No, he only....."

a. said me 'hello'
b. said 'hello' for me
c. said to me 'hello'
d. said 'hello' to me


7. "Can George accept his parents' divorce?"
"No, he isn't......to understand."

a. very mature
b. mature enough
c. too mature
d. so mature


8. "Are you ready to bake the cake?"
"Yes, the dough has already...."

a. raised
b. rose
c. risen
d. rising


9. "Will Albert come next week?"
"Yes, and......"

a. he'll too
b. Alex will, too
c. he will
d. they do, too


10. "Chris smokes entirely too much."
"Well, he used to smoke mor that he.....now."

a. does
b. did
c. could
d. has



Answer : 1. d 2. c 3. b 4. b 5. b
6. d 7. b 8. c 9. b 10. a

Wednesday, June 25, 2008

Summarize Sound Lecture Chapter 3

Data Communication
Summarize Sound Lecture ของอาจารย์นพพร

Chapter 3 : The Media: Conducted and Wireless



ในบทที่ 3 เราจะมาพูดถึง องค์ประกอบที่มีความสำคัญเป็นพื้นฐานของระบบการสื่อสารข้อมูล และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยทั่วไป ซึ่งได้แก่ Media ซึ่งก็คือ ตัวนำสัญญาณจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งนั่นเอง

หัวข้อที่จะพูดในบทนี้ จะเริ่มจาก คุณลักษณะ หรือจุดประสงค์โดยทั่วไปของ Transmission Media รวมไปถึง Media ในแบบต่างๆ ได้แก่
1. Twisted Pair Wire
2. Coaxial Cable
3. Fiber Optic Cable
4. Wireless Media

ระบบสื่อสารข้อมูล หรือระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าเราไม่มีสื่อที่ใช้ในการสื่อสาร หรือส่งสัญญาณจากจุดหนึ่ง ไปยังอีกจุดหนึ่ง ซึ่งสื่อต่างๆ ทำงานอยู่ภายใต้ Physical Layer ของ OSI Model

ถ้าพูดถึงฟังก์ชั่น หน้าที่การทำงานของ Physical Layer จะครอบคลุมตั้งแต่การแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบสัญญาณที่เหมาะสม ทำหน้าที่ส่งสัญญาณจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง และทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณให้กลับมาเป็นข้อมูลเหมือนเดิม

อุปกรณ์ที่อยู่ในระดับของ Physical Layer จะไม่เข้าใจความหมายของข้อมูลที่ส่งได้ ทำได้แค่เพียงแปลงข้อมูลให้เป็นสัญญาณในรูปแบบที่เหมาะสมกับสื่อที่เราใช้ แล้วทำหน้าที่แปลงสัญญาณที่ได้รับอีกฝั่งหนึ่ง ให้กลับมาอยู่ในรูปแบบของข้อมูลเหมือนเดิม

อุปกรณ์ในระดับ Physical Layer สามารถจำแนกออกมาได้ 3 ส่วนด้วยกัน คือ
อุปกรณ์ทำหน้าที่ในการส่ง โดยจะทำหน้าที่แปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบของสัญญาณที่เหมาะสม เรียกว่า transmitter จากนั้นสัญญาณที่ได้จะถูกส่งไปใน สื่อ หรือ Media ส่วนอีกฝั่งหนึ่งจะมี อุปกรณ์รับ หรือที่เรียกว่า Receiver ทำหน้าที่แปลงสัญญาณที่ได้รับกลับไปเป็นข้อมูลเหมือนเดิม

ในบทนี้จะพูดถึงเฉพาะสื่อ หรือ Media ที่ใช้ในระบบการสื่อสารข้อมูล และคอมพิวเตอร์ จะจำแนกออกมาได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. สื่อที่มีสาย (Conducted Media)
2. สื่อไร้สาย (Wireless Media)

สื่อที่มีสาย (Conducted Media)
ประเภทของสื่อประเภทมีสาย (Conducted Media) ซึ่งเป็นสื่อที่ง่ายที่สุด และมีราคาถูกที่สุด ในบรรดาสื่อทั้งหมดที่พูดถึงในวันนี้ ได้แก่

1. Twisted Pair Wire
สื่อประเภทนี้จะอาศัยสายตัวนำสัญญาณ เป็นการนำสัญญาณไฟฟ้าจากจุดหนึ่งไปยังอีกสุดหนึ่ง ลักษณะสำคัญของสายประเภทนี้คือ นอกจากจะเป็นเส้นลวดตัวนำไฟฟ้าแล้ว ลักษณะของสายจะถูกบิดเป็นเกลียวเป็นคู่ๆ นั่นจึงเป็นเหตุผลที่เราเรียกสายประเภทนี้ว่า Twisted pair

เหตุผลที่สายประเภทนี้ถูกออกแบบมาในลักษณะนี้ ก็เพื่อลดสัญญาณรบกวน โดยเฉพาะคลื่นวิทยุ หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic) ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ทั่วไปในทุกที่ ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ โดยจะเกิดจากการที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น สถานีวิทยุส่งสัญญาณคลื่นวิทยุออกมา เป็นต้น หรืออาจจะเกิดจากอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่ใช้ เช่น มอเตอร์ เครื่องจักรต่างๆ ที่เป็นแหล่งกำเนิดคลื่นวิทยุ หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมารบกวนการสื่อสารข้อมูลได้ หรืออาจจะเกิดจากปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น ฟ้าผ่า ก็เกิดเป็นคลื่นวิทยุออกมาได้

ในสายแบบ Twisted Pair มีทั้งประเภทที่มีการครอบเส้นลวดตัวนำที่อยู่ตรงกลางอีกที หรือที่เรียกว่า (shield) ซึ่งสายประเภทนี้จะสามารถกำจัดสัญญาณรบกวนได้ดีกว่าแบบที่ไม่มี shield

ตัวอย่างของสาย Twisted pair ที่ไม่มี shield ซึ่งจะเรียกว่า Unshielded Twisted Pair หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า UTP โดยสายประเภทนี้จะใช้ในระบบโทรศัพท์ หรือระบบ LAN

ส่วนสายที่มี Shield หุ้มรอบ จะเรียกว่า Shielded Twisted Pair โดยอาจจะเป็นฟลอยด์ หรือเส้นลวดเล็กๆ มาถักหุ้มรอบสายตัวนำแต่ละคู่อีกทีหนึ่ง ซึ่งจุดประสงค์หลักของการหุ้มสายคือ การป้องกันสัญญาณคลื่นรบกวนต่างๆ ไม่ให้เข้าไปส่งผลกระทบต่อสัญญาณที่ส่งไปในสาย ทำให้สายประเภทนี้สามารถลดทอนสัญญาณรบกวนได้มากกว่าสายที่เป็นแบบ unshielded twisted pair แต่ราคาจะแพงกว่า

ตัวอย่างสายที่ใช้แบบ Shielded Twisted Pair คือ USB และ Firewire

2. Coaxial Cable
ทั้งสาย Twisted pair และ Coaxial cable จะเหมือนกันตรงที่ใช้ลวดตัวนำไฟฟ้า คือใช้การส่งสัญญาณไฟฟ้าเป็นตัวนำข้อมูลจากจุดหนึ่ง ไปยังอีกจุดหนึ่ง ลักษณะทางกายภาพจะมีความแตกต่างจากสาย Twisted Pair อย่างเห็นได้ชัด โดยจะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนของลวดตัวนำที่อยู่ตรงแกนกลาง โดยส่วนนี้จะใช้สำหรับการส่งข้อมูล แล้วรอบๆ สาย จะถูกหุ้มด้วย shield และระหว่าง shield กับแกนกลาง จะมีฉนวนหุ้มอยู่

คุณสมบัติที่สำคัญคือ มีความเร็วในการส่งสัญญาณได้รวดเร็วกว่าสาย Twisted pair และสามารถป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดีกว่า อีกทั้งยังสามารถนำมาใช้สำหรับส่งสัญญาณที่เป็นดิจิตอล หรืออนาล็อกก็ได้ โดยการใช้สาย coaxial cable มาใช้ส่งสัญญาณดิจิตอล จะเรียกว่า Baseband Coaxial Technology ในขณะเดียวกันถ้านำมาใช้เพื่อการส่งสัญญาณอนาล็อก จะเรียกว่า Broadband Coaxial Technology

3. Fiber Optic Cable
นอกเหนือจากการใช้กระแสไฟฟ้าเป็นสัญญาณในการนำข้อมูลแล้ว ในปัจจุบัน สามารถใช้แสงเป็นสัญญาณที่ใช้ในการนำข้อมูลได้ด้วย โดยแสงที่ใช้ในการนำข้อมูลในระบบการสื่อสารข้อมูล โดยปกติจะใช้การส่งผ่านเข้าไปในสื่อที่เรียกว่า สายใยแก้วนำแสง หรือ Fiber Optic

ทั้งนี้ในสภาพปกติ ถ้าเราส่งแสงไปในอากาศระดับความเข้ม หรือความสว่างของแสงจะลดลงอย่างรวดเร็ว ไม่สามารถส่งแสงไปได้ไกลๆ ในขณะที่เราส่งแสงเข้าไปในสาย Fiber optic การสูญเสียหรือการลดทอนของระดับแสงจะต่ำมาก เนื่องจากสายไฟเบอร์ผลิตขึ้นมาจากใยแก้วที่มีความบริสุทธิ์สูง ทำให้สามารถส่งสัญญาณแสงไปได้ไกลๆ

ลักษณะของสาย Fiber Optic จะประกอบด้วย 3 ส่วนคือ ส่วนที่เป็น core, cladding และ ส่วนที่หุ้มอยู่รอบๆ (Jacket) โดยส่วนที่เป็น core และ cladding จะมีส่วนสำคัญในการส่งสัญญาณแสง

หลักการทำงานของสาย Fiber Optic
ในภาพจะเห็นว่า ที่ฝั่งหนึ่งของสายใยแก้วนำแสงจะมี อุปกรณ์ที่ใช้ในการกำเนิดแสง ซึ่งอาจจะเป็น แสงเลเซอร์, แสง LED (light-emitting diode) โดยทั้ง 2 กรณีนี้จะใช้เป็นแหล่งกำเนิดแสง ที่จะส่องแสงแล้วบีบให้แสงวิ่งเข้าไปในสายเคเบิล ที่ปลายอีกด้านหนึ่งจะมีอุปกรณ์สำหรับวัดระดับของแสง โดยการปรับ เพิ่ม ลด ระดับของแสง ให้สอดคล้องกับข้อมูลที่จะส่ง เช่น ส่ง 1 อาจจะเปิดแสง ส่ง 0 อาจจะปิดแสง ซึ่งทำให้เราสามารถส่งข้อมูลจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้ โดยอาศัยการควบคุมระดับการเปิด ปิดสัญญาณแสง

ในภาพนี้แสงที่วิ่งเข้าไปบางส่วนก็วิ่งตรงไปยังปลายทาง บางส่วนก็วิ่งสะท้อนกลับไปกลับมาอยู่ในสาย แล้วไปปรากฏยังปลายทาง ซึ่งการสะท้อนกลับไปมา จะเกิดตรงรอยต่อระหว่างแกนใน (core) และแกนนอก (cladding) ทั้งแกนในและแกนนอกของสาย fiber optic จะทำมาจากใยแก้วนำแสงเหมือนกัน แต่มีคุณสมบัติในการหักเหแสงที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งการมีชั้นใยแก้ว 2 ชั้น ทำให้แสงที่วิ่งเข้าไปในสายสามารถสะท้อนกลับไปกลับมา แล้วไปปรากฏที่ปลายอีกด้านหนึ่งได้ โดยไม่หลุดออกไปจากสายใยแก้วนำแสง

สายใยแก้วนำแสงที่ใช้กันในปัจจุบันในระบบการสื่อสารข้อมูลและคอมพิวเตอร์ มีอยู่ 2 ประเภท คือ single mode cable และ multi-mode cable โดยสายที่เป็นแบบ multi-mode จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ใหญ่กว่าสายแบบ single mode ในขณะที่สายแบบ single mode จะมีความเร็วในการส่งข้อมูลได้เร็วกว่า และส่งไปได้ในระยะทางที่ไกลกว่า อีกทั้งยังมีราคาแพงกว่าสายแบบ multi-mode

ที่พูดมาทั้งหมดเป็นสื่อที่เป็นแบบ Conducted Media ซึ่งแบ่งย่อยออกได้เป็น สื่อที่ใช้กระแสไฟฟ้าเป็นสัญญาณในการส่งข้อมูล และสื่อที่ใช้แสงเป็นสัญญาณในการนำข้อมูล แต่ทั้ง 2 รูปแบบจะต้องมีสาย Cable เป็นตัวส่งสัญญาณแสง หรือสัญญาณไฟฟ้า

Wireless Media
Wireless Media คือ สื่อที่สามารถส่งไปในอากาศได้โดยไม่ต้องใช้สาย Cable เป็นตัวนำสัญญาณ โดย Wireless Media ที่ใช้ในระบบสื่อสารปัจจุบัน คือ คลื่นวิทยุ ซึ่งจำแนกเป็นช่วงความถี่ต่างๆ ซึ่งจะมีการจำแนกออกมาเพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์ด้วย

สื่อไร้สาย สามารถแยกออกมาได้อีกหลายประเภท ขึ้นอยู่กับวิธีการ ตำแหน่งของอุปกรณ์รับ-อุปกรณ์ส่ง และย่านความถี่ที่ใช้

1. Terrestrial Microwaveระบบส่งสัญญาณโดยอาศัยคลื่นไมโครเวฟ โดยคำว่า Terrestrial หมายถึง สถานีส่ง และสถานีรับคลื่นไมโครเวฟ อยู่บนพื้นดินทั้ง 2 แห่ง

ลักษณะของการส่ง-รับ แบบ Terrestrial Microwave ระหว่างฝั่งส่ง กับฝั่งรับ จะต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง เรียกว่าเป็น line of sight transmission โดยเมื่อลากเป็นเส้นตรงระหว่างจุดส่ง-รับ จะต้องไม่มีสิ่งกีดขวางใดๆ ในเส้นตรงที่เป็นเส้นทางการส่งข้อมูลจากจุดส่ง ไปยังจุดรับ

Terrestrial Microwave จะมีข้อจำกัด ในเรื่องระยะทางสูงสุด ระหว่างอุปกรณ์ส่ง และอุปกรณ์รับ โดยจะส่งได้ในระยะทางสูงสุดไม่เกิน 20-30 ไมล์ เนื่องจากลักษณะความโค้งของพื้นผิวโลก ถ้าส่งในระยะที่ไกลมากๆ เมื่อถึงจุดหนึ่งพื้นผิวโลกจะไปบดบังสัญญาณที่ส่งจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง

ระบบนี้สามารถส่งข้อมูลได้ในความเร็วสูงที่ระดับ Mbps (Megabit per second) ส่วนใหญ่นิยมใช้ในบริษัทที่ให้บริการระบบโทรศัพท์พื้นฐาน และใช้ในการรับส่งข้อมูลระหว่างสาขาต่างๆ ของบริษัท ซึ่งโดยปกติจานไมโครเวฟจะติดตั้งในตำแหน่งที่สูงกว่าระดับอาคารโดยทั่วไป

2. Satellite Microwave
คลื่นวิทยุในย่านความถี่ในระดับเดียวกัน ซึ่งเราเรียกว่าย่านไมโครเวฟ นั้น นอกจากจะใช้กับการส่งแบบ Terrestrial Microwave แล้วยังสามารถนำมาใช้กับการส่งสัญญาณในอีกรูปแบบหนึ่งได้ นั่นคือ การสื่อสารผ่านดาวเทียม (Satellite Microwave)

ข้อแตกต่างระหว่างการสื่อสารแบบ Terrestrial Microwave กับ Satellite Microwave คือ ในกรณีของ satellite microwave จะมีสถานที่เรียกว่า Rely station ที่คอยรับสัญญาณมาจากสถานีภาคพื้นดิน แล้วส่งกลับไปยังโลก ซึ่งจะไปสู่สถานีปลายทางอีกทีหนึ่ง โดยอุปกรณ์ Rely นี้จะถูกติดตั้งในดาวเทียม

ดาวเทียม คือ อุปกรณ์ที่จะโคจรไปรอบๆ โลก ทำหน้าที่รับสัญญาณที่ส่งมาจากภาคพื้นโลก ทำการขยายสัญญาณ และส่งกลับมายังพื้นโลกอีกที ด้วยวิธีนี้ทำให้อุปกรณ์รับ-ส่ง ที่อยู่ภาคพื้นโลก ไม่จำเป็นต้องมี Line of Sight นั่นคือ ระหว่างฝั่งส่ง และฝั่งรับอาจจะมีสิ่งกีดขวางกันได้ เพราะการรับส่งกระทำผ่านดาวเทียมที่ลอยสูงอยู่บนท้องฟ้า

ดาวเทียมที่ใช้กันในทางพาณิชย์ปัจจุบัน มีวงโคจรที่แตกต่างกัน โดยดาวเทียมที่โคจรอยู่ในระดับใกล้ๆ เรียกว่าโคจรอยู่ในระดับ Low Earth Orbit (LEO) ส่วนที่โคจรอยู่ในระดับไกลๆ ออกไป จะเรียกว่าระดับ Medium Earth Orbit (MEO) ส่วนที่ไกลออกไปอีก จะเรียกว่า ระดับ GEO (Geosynchronous Orbit) และระดับ HEO ตามลำดับ

วงจรโคจรที่ถูกนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์มากที่สุด คือ GEO (Geosynchronous Orbit) โดยมีลักษณะสำคัญ คือ ทำให้ดาวเทียมที่หมุนอยู่ในวงโคจรสามารถจะโคจรด้วยความเร็วที่เท่ากับการหมุนรอบตัวเองของโลก ทำให้จานรับสัญญาณที่อยู่บนพื้นโลกเห็นดาวเทียมหยุดนิ่งอยู่บนท้องฟ้า ซึ่งทำให้สะดวกต่อการติดตั้ง และการใช้งาน โดยวงโคจรในระดับ GEO จะนำมาใช้งานกับ Weather, Television และ Government Operations

3. Mobile Telephone
นอกจากนี้คลื่นวิทยุยังถูกนำมาใช้ในระบบโทรศัพท์มือถือ หรือที่เรียกว่า Mobile Telephone โดยระบบนี้จะใช้คลื่นวิทยุในการรับส่งระหว่าง handset ที่ผู้ใช้แต่ละคนถือ กับ สถานีฐาน (base station)

โดยส่วนที่เป็น Wireless หรือส่วนที่ใช้คลื่นวิทยุจริงๆ คือ ส่วนที่ติดต่อระหว่างผู้ใช้ที่ถือโทรศัพท์เคลื่อนที่ กับสถานีฐาน ซึ่งการติดต่อระหว่าง base station กับ base station หรือ base station กับชุมสายโทรศัพท์เคลื่อนที่ สามารถใช้สาย Cable ในการติดต่อได้ตามปกติ

ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่บางทีเรียกว่า โทรศัพท์แบบรวงผึ้ง เนื่องจากในระบบดังกล่าว จะมีการแบ่งพื้นที่การให้บริการออกมาเป็น Cell ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายรวงผึ้ง เพื่อให้สามารถใช้คลื่นความถี่เดิมซ้ำในบริเวณหรือรวงผึ้งที่ไม่อยู่ติดกัน โดยคลื่นวิทยุ ถ้าใช้ในคลื่นความถี่เดียวกันจะมีการรบกวนซึ่งกันแลกกัน แต่หากใช้คลื่นความถี่เดียวกันแต่มีระยะทางอยู่ห่างกันมากๆ จะไม่รบกวนซึ่งกันและกัน

การที่เราสามารถใช้คลื่นความถี่เดียวกันซ้ำกันอีกครั้ง (Reuse) ในพื้นที่ที่ไกลออกไป หรือนำมาใช้ใหม่ในพื้นที่อื่น โดยมีช่วงของคลื่นความถี่ที่จำกัดนั้น ทำให้ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถให้บริการหมายเลขโทรศัพท์ได้เป็นจำนวนมาก เราเรียกคอนเซ็ปต์นี้ว่า Frequency Reuse

4. Infrared Transmissions
นอกจากนี้การใช้คลื่นวิทยุแล้ว ในระบบสื่อสารของข้อมูลยังมีการใช้แสง ที่เรียกว่าแสง Infrared เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของ Wireless Media โดยข้อจำกัดของแสง Infrared คือ มีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลต่ำ, ระยะทางในการรับ-ส่งข้อมูลไม่ไกลนัก เพราะฉะนั้นรูปแบบการส่งข้อมูลด้วยแสง Infrared จะใช้กับการรับส่งข้อมูลในระยะทางใกล้ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ กับอุปกรณ์ต่อพ่วง (peripheral) เช่น พรินเตอร์, การส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์มือถือ และการส่งข้อมูลระหว่างพีดีเอ กับเครื่องคอมพิวเตอร์

ปัจจัยในการเลือกพิจารณาการใช้สื่อ
โดยสรุปแล้ว หากเรามีสื่อที่สามารถนำมาเลือกใช้ได้ เพื่อนำมาใช้กับระบบการสื่อสารของเรา จะมีปัจจัยที่นำมาใช้พิจารณาในการเลือกสื่อ ได้แก่

1. ค่าใช้จ่าย -- ราคา ซึ่งรวมถึงราคาของสื่อ, ค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง, บำรุงรักษา รวมถึงราคาของอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการรับส่งกับสื่อนั้นๆ ด้วย

2. ความเร็ว -- ความเร็วในการรับส่งข้อมูล

3. ระยะทาง -- ความสามารถในการขยาย เมื่อมีความต้องการใช้งานมากขึ้น สื่อประเภทนั้นจะต้องรองรับความต้องการที่มากขึ้นได้ด้วย

4. สภาพแวดล้อม -- ในสภาพแวดล้อมที่มีสัญญาณรบกวน สื่อบางประเภทอาจจะไม่เหมาะสม เช่น ในกรณีที่ตัวสายต้องติดตั้งในบริเวณที่เสี่ยงกับการติดไฟ หรือเสี่ยงต่อการเกิดไฟไหม้ เพราะฉะนั้นสายที่ใช้จะต้องมี Jacket หรือส่วนที่ห่อหุ้มสาย ที่ทนทานต่อการติดไฟ นี่คือ Factor ของสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสายที่ใช้

5. Security -- สายบางประเภทสามารถถูกตรวจจับข้อมูลได้ง่ายกว่าสายบางประเภท เช่น สื่อที่เป็นลักษณะของ Wireless ซึ่งเป็นคลื่นวิทยุที่กระจายไปทั่ว จึงไม่สามารถควบคุมพื้นที่ หรือคนที่ดักฟังคลื่นวิทยุได้ ในกรณีนี้อาจจะต้องมีเทคนิค หรือวิธีเสริมเพิ่มเติมเพื่อให้การรับส่งข้อมูลเป็นไปอย่างปลอดภัย เช่น การเข้ารหัสข้อมูลก่อนที่จะส่งออกไปยังสื่อประเภทไร้สาย

เตรียมสอบ CU-TEP

CU-TEP : แบบทดสอบมาตรฐานของศูนย์ทดสอบทางวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อวัดความามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ 3 ทักษะ คือ ทักษะการฟัง การอ่าน และการเขียน จัดทำขึ้นโดยเทียบเคียงกับข้อสอบ TOEFL ซึ่งเป็นข้อสอบที่ใช้วัดความสามารถของผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษ

ข้อสอบ CU-TEP ประกอบด้วยข้อสอบ 3 ชุดย่อย คือ

Listening ทดสอบทักษะการฟังโดยให้ผู้เข้าสอบฟังเทปที่ใช้เสียงของเจ้าของภาษาและตอบ คำถามวัดความเข้าใจ จำนวน 30 ข้อ เวลาสอบ 30 นาที

Reading ทดสอบทักษะการอ่านโดยให้ผู้เข้าสอบอ่านเรื่องที่กำหนดให้และตอบคำถามเพื่อวัดความเข้าใจจำนวน 60 ข้อ เวลาสอบ 70 นาที

Writing ทดสอบความรู้ของผู้เข้าสอบโดยให้ผู้เข้าสอบหาจุดบกพร่องของประโยคที่กำหนดให้จำนวน 30 ข้อ เวลาสอบ 30 นาที

รายละเอียดเกี่ยวกับ CU-TEP

วัดอะไร?
วัดความสามารถการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาทางทักษะการอ่าน การเขียนการฟังและ
การพูดเนื้อหาเป็นภาษาอังกฤษทั่วไป และภาษาอังกฤษกึ่งวิชาการ

นำผลสอบ ไปใช้ทำอะไร?
ข้อสอบชุดนี้เหมาะสำหรับวัดระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษา ทั้งในระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา

ค่าสมัครสอบ
400 บาท

วิธีีการสมัคร
ผู้สมัครต้องสมัครสอบผ่านโปรแกรมลงทะเบียนแบบOnlineทาง Internet เท่านั้น และหลังจากที่ผู้สมัครลงทะเบียนถึงขั้นตอนสุดท้ายแล้ว โปรแกรมจะสร้างใบลงทะเบียนให้ผู้สมัคร ดังนั้น เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ผู้สมัครใช้ในการลงทะเบียนต้องต่อเข้ากับเครื่องพรินเตอร์ให้พร้อม

ใบลงทะเบียน
หลังจากที่ผู้สมัครลงทะเบียนถูกต้องแล้วระบบจะสร้างใบลงทะเบียน ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนดังนี้
ส่วนที่ 1 : แสดงตารางสอบที่ผู้สมัครเลือก และค่าธรรมเนียมที่ต้องชำระ
ส่วนที่ 2 : เป็นหลักฐานการชำระเงินของผู้สมัคร หลังจากที่ผู้สมัครชำระค่าธรรมเนียมที่งธนาคารเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่งธนาคารจะประทับตราธนาคารเพื่อเป็นหลักฐานการรับเงินผู้สมัครสามารถใช้ส่วนที่2นี้เป็นใบเสร็จรับเงินชั่วคราวได้แต่ยังไม่ถือเป็นใบเสร็จที่ถูกต้องตามกฎหมายศูนย์ทดสอบทางวิชาการฯจะส่งใบเสร็จที่ถูกต้องพร้อมบัตรเข้าห้องสอบ(ใบเดียวกัน)ให้แก่ผู้สมัครทางไปรษณีย์ประมาณ1สัปดาห์ก่อนการสอบ
ส่วนที่ 3 : เป็นหลักฐานการรับเงินของธนาคาร ซึ่งเจ้าหน้าที่ธนาคารจะฉีกส่วนนี้เก็บไว้

ค่าธรรมเนียมและการชำระค่าธรรมเนียม
ศูนย์ทดสอบฯ คิดค่าธรรมเนียมการสมัครสอบวิชาละ 400 บาท พร้อมค่าธรรมเนียมของธนาคาร 15 บาทต่อใบลงทะเบียน 1 ใบ โดยในการชำระค่าธรรมเนียม ผู้สมัครต้องใช้แบบฟอร์มใบลงทะเบียนที่พิมพ์จากโปรแกรมลงทะเบียนแบบOnlineเท่านั้น เพื่อนำไปยื่นชำระค่าธรรมเนียมที่ี่เคาน์เตอร์ธนาคารไทยพาณิชย์หรือไทยธนาคาร (ได้ทุกสาขาทั่วประเทศ)ทั้งนี้ต้องไม่เกินวันที่ระบุไว้บนใบลงทะเบียนและให้เจ้าหน้าที่ธนาคารประทับตราชำระเงินบนใบลงทะเีบียนไว้เป็นหลักฐาน การสมัครจะถือว่าเสร็จสิ้นสมบูรณ์ต่อเมื่อผู้สมัครลงทะเบียนถููกต้องและชำระเงินเรียบร้อยแล้วเท่านั้น

การชำระเงินโดยการกรอกใบนำฝากของธนาคารหรือการชำระเงินนอกเหนือจากช่วงเวลาที่กำหนดไว้จะถือว่าการสมัครครั้งนั้นเป็นโมฆะ และผู้สมัครจะไม่สามารถขอรับเงินคืนหรือเลื่อนการลงทะเบียนหรือโอนเงินให้ผู้สมัครรายอื่นได้

นโยบายการคืนเงิน
ศูนย์ทดสอบฯ ขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่คืนเงินแก่ผู้สมัครไม่ว่ากรณีใดๆทั้งสิ้น

รายละเอียดเพิ่มเติมhttp://www.atc.chula.ac.th/index.html

Tuesday, June 17, 2008

Summarize Sound Lecture Chapter 2

Data Communication
(Summarize Sound Lecture ของอาจารย์นพพร)

Chapter 2 : Fundamentals of Data and Signals


บทนี้จะเป็นบทแรกที่จะมี summarize lecture ซึ่งจะเป็นบันทึกการบรรยายฉบับย่อ ที่จะมีการตัดเนื้อหาบางหัวข้อออกไป เพื่อให้การศึกษาเอกสารการบรรยายสามารถทำได้โดยไม่นานนัก โดยเนื้อหาบางหัวข้อที่อยู่ใน handout อาจจะไม่ปรากฏอยู่ใน summarize lecture

สำหรับในบทที่ 2 เราจะมาพูดถึงพื้นฐานการส่งข้อมูลด้วย data โดยอาศัยสิ่งที่เรียกว่าสัญญาณ หรือ signal รวมถึงกระบวนการที่เกิดขึ้นในการแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมสำหรับการส่งไปในช่องการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ

นี่จะเป็นสรุปหัวข้อต่างๆ ที่จะพูดถึงใน summarize lecture โดยจะประกอบด้วย
1. อธิบายความหมายของ data และ signal
2. ประเภทและความแตกต่างของสัญญาณ analog และ digital
3. หลักในการจัดเก็บข้อมูลตัวอักษรในระบบคอมพิวเตอร์ โดยอาศัย character code
4. กระบวนการที่เกิดขึ้นในการแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบของสัญญาณที่เหมาะสมเพื่อส่งไปในช่องสัญญาณที่ใช้กันอยู่ทั่วไป

ลำดับแรก จะมาดูความหมายของคำว่า data และคำว่า signal

คำว่า data (ข้อมูล) หมายถึง รูปแบบของสารสนเทศที่สามารถนำมาจัดเก็บได้ในระบบคอมพิวเตอร์ โดยจะเป็นข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบของดิจิตอล ทั้งข้อมูลที่เป็นตัวเลข ข้อความ ภาพและเสียง เช่น ไฟล์ที่จัดเก็บในคอมพิวเตอร์ ทั้งไฟล์ข้อมูล ไฟล์ excel, word, ข้อมูลเสียง, ไฟล์รูปภาพ รวมไปถึงข้อมูลที่จัดเก็บอยู่ในสื่อประเภทอื่นๆ เช่น ซีดี และข้อมูลที่ได้จากถ่ายภาพจากกล้องดิจิตอล

คำว่า signal (สัญญาณ) หมายถึง ปริมาณบางอย่างที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามเวลาได้ โดยสัญญาณที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตามเวลา จะไม่มีความหมายในการนำพา หรือส่งข้อมูลหรือสารสนเทศ โดยข้อมูลหรือข่าวสารจะเกิดขึ้นได้เมื่อสัญญาณมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเวลาเปลี่ยนแปลงไป

สัญญาณในระบบของการสื่อสารที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน อาศัยสัญญาณใน 3 รูปแบบด้วยกัน
1. สัญญาณไฟฟ้า โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงของระดับของกระแสไฟฟ้าในการส่งสัญญาณ
2. สัญญาณคลื่นวิทยุ
3. สัญญาณแสง โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงของปริมาณแสงที่ใช้เป็นตัวส่งข้อมูลข่าวสารไป

สัญญาณในรูปแบบต่างๆ มีความจำเป็นในระบบการสื่อสาร เพื่อใช้เป็นตัวนำข่าวสาร หรือข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือจากอุปกรณ์หนึ่งไปยังอีกอุปกรณ์หนึ่ง ผ่านทางระบบสื่อสารและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งถ้าปราศจากสัญญาณแล้วข้อมูลต่างๆ จะไม่สามารถส่งไปได้ในระยะไกล

สัญญาณในระบบการสื่อสารข้อมูล สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ อนาล็อก และดิจิตอล
ในสไลด์จะเป็นการสรุปข้อมูล และสัญญาณในรูปแบบต่างๆ ซึ่งในทีนี้ในส่วนของข้อมูลจะเน้นไปที่ข้อมูลดิจิตอล

ความแตกต่างของสัญญาณ อนาล็อก และดิจิตอล

อนาล็อก (analog) จะเป็นสัญญาณที่ลักษณะที่เรียกว่า continous waveform โดยจะเป็นสัญญาณอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามเวลานั้น โดยมีปริมาณการเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างต่อเนื่องเมื่อเวลาผ่านไป ไม่ว่าจะเป็นระดับของสัญญาณไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า จะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ไม่มีการก้าวกระโดด เช่น สัญญาณเสียง อุณหภูมิ เป็นต้น

ดิจิตอล (digital) จะเป็นสัญญาณที่ไม่ต่อเนื่อง (discrete waveform) โดยปริมาณที่เป็นคุณลักษณะสำคัญนั้น มีการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด ไม่ต่อเนื่องเมื่อเวลาเปลี่ยนแปลงไป โดยที่ระดับของปริมาณ หรือคาบของปริมาณ หรือระดับของสัญญาณนั้นๆ ที่ระดับที่เป็นไปได้ จะมีค่าที่จำกัด เช่น อาจจะมีเพียง 2 ระดับ สูงหรือต่ำ หรืออาจจะมี 3 ระดับ เป็นต้น

ในการส่งสัญญาณ ไม่ว่าจะเป็นอนาล็อก หรือดิจิตอล ปัจจัยที่มีผลทำให้ เป็นตัวจำกัดความถูกต้อง ตลอดจนระยะทางที่จะส่งสัญญาณไปได้ คือ สัญญาณรบกวน หรือ noise ซึ่งก็คือสัญญาณที่ไม่พึงประสงค์ โดยเป็นสัญญาณที่จะเกิดขึ้นมาจากแหล่งกำเนิดสัญญาณต่างๆ ที่เข้ามารบกวนสัญญาณนำพาข้อมูลสารสนเทศจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง

เมื่อสัญญาณรบกวน หรือ noise ถูกนำเข้าไปผสมกับสัญญาณที่จะใช้ส่งข้อมูล หรือที่เรียกว่า useful in signal จะมีผลทำให้ความถูกต้องในการรับข้อมูลลดลงไปได้

สัญญาณอนาล็อก เมื่อถูกสัญญาณรบกวนผสมเข้าไป จะทำการแยก หรือกำจัดสัญญาณรบกวนออกจากสัญญาณที่ใช้ส่งข้อมูลได้ยากกว่าสัญญาณดิจิตอล หรืออีกนัยหนึ่งคือ ถ้าปริมาณสัญญาณรบกวนไม่มากเกินไป ในทางเทคนิคแล้วเราสามารถกำจัดสัญญาณรบกวนออกไปได้

ปัจจัยอีกประการหนึ่งที่มีผลกับความถูกต้อง และระยะทาง ในการส่งสัญญาณ ทั้งในรูปแบบของสัญญาณ อนาล็อก และดิจิตอล คือ กำลังของสัญญาณ หรือ signal strength

ไม่ว่าจะเป็นสัญญาณในรูปแบบใด กำลังงานของสัญญาณจะลดลงเมื่อถูกส่งไปในระยะไกลมากขึ้น โดยกำลังงาน หรือ signal strength ที่ลดลงนั้นเกิดขึ้นจากสิ่งที่เรียกว่า Attenuation หรือ การลดทอนสัญญาณ ซึ่งจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อระยะทางไกลมากขึ้น โดยจะมีหน่วยวัดเป็น เดซิเบล (dB) เช่นเดียวกับหน่วยวัดความดังของเสียง

สัญญาณในหน่วยเดซิเบล กับกำลังของสัญญาณมีความสัมพันธ์กันตามสมการนี้
dB = 10 log10 (P2/P1)
โดยสามารถนำมาใช้คำนวณอัตราการลดทอนสัญญาณได้

ลักษณะของการจัดเก็บข้อมูลตัวอักษร (Character code)

ข้อมูลตัวอักษรในคอมพิวเตอร์จะถูกแปลงให้เป็นชุดข้อมูลของเลขฐาน 2 ด้วยกระบวนการที่เรียกว่า character encoding โดยจากตัวอักษรต่างๆ แต่ละตัวจะถูกแปลงให้เป็นตัวเลขไบนารี่ (binary) ซึ่งจะมีแค่เลข 0 และ 1 ซึ่งมาตรฐานในการแปลงให้เป็นชุดไบนารี่ ได้แก่ ASCII, EBCDIC และ UNICODE ที่นิยมใช้งานกันมากขึ้น

คุณสมบัติพื้นฐานของสัญญาณอนาล็อก มีอยู่ 3 ประการด้วยกัน คือ
1. Amplitude คือระดับสูงสุดของคลื่น หรือสัญญาณ โดยทั่วไปจะวัดระดับสูงสุดหรือต่ำสุดก็ได้
2. Frequency คือ ความถี่ในการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณ ซึ่งในระยะเวลาที่เท่ากัน สัญญาณที่มีความถี่ต่ำ จะมีอัตราการเปลี่ยนสัญญาณที่ช้ากว่าสัญญาณที่มีความถี่สูง โดยมีหน่วยที่เรียกว่า Hz (ความถี่ = จำนวนของรอบคลื่น โดยเมื่อคลื่นครบ 1 รอบ จะเรียกว่า 1 Hz)

ทั้งนี้จะมีคำที่เกี่ยวข้องกับความถี่ ซึ่งจะเกี่ยวพันธ์กับความสามารถในการรับส่งข้อมูลของระบบสื่อสารหนึ่งๆ นั่นคือ spectrum และ bandwidth

Spectrum เป็นช่วงความถี่ โดยในระบบการสื่อสาร หรือช่องการสื่อสารหนึ่งๆ นั้นจะยอมให้คลื่นความถี่ใดส่งผ่านเข้าไปได้บ้าง ซึ่ง spectrum จะเป็นตัวกำหนดสัญญาณความถี่ต่ำสุด และสูงสุด โดยย่านความถี่ที่อยู่ระหว่างนั้น จะเป็นช่วงคลื่นที่ให้ส่งสัญญาณผ่านไปได้

Bandwidth เป็นผลต่าง ระหว่างความถี่ต่ำสุด และความถี่สูงสุดที่ช่องสัญญาณนั้นๆ จะส่งสัญญาณไปได้ ถ้าใช้คำว่า แบนด์วิธกว้าง จะหมายถึงช่วงระหว่างความถี่ต่ำสุด และความถี่สูงสุด หรือเป็นช่วงที่ความถี่ที่ช่องสัญญาณนั้นๆ สามารถรองรับได้ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ช่องสัญญาณที่มีแบนด์วิธกว้าง จะมีความสามารถในการรับส่งสัญญาณได้เร็วกว่าช่องสัญญาณที่มีแบนด์วิธแคบ

3. Phase คือตัวเลขที่ใช้อ้างอิงว่าระดับสัญญาณขึ้นถึงจุดไหน หรือส่วนไหน หรือช่วงไหนของตัวสัญญาณ

กระบวนการส่งข้อมูล

ข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบดิจิตอลแล้ว สามารถใช้การส่งข้อมูลได้ทั้งผ่านสัญญาณอนาล็อก และดิจิตอล โดยรูปแบบเบื้องต้นที่สามารถส่งสัญญาณดิจิตอลโดยอาศัยสัญญาณดิจิตอล คือ NRZ-L (Non Return to Zero) โดยการส่งด้วยวิธีนี้จะต้องใช้สัญญาณต่ำ และระดับสัญญาณจะแปรเปลี่ยนไปตามข้อมูลที่จะส่ง

ตัวอย่างระบบที่ใช้การส่งสัญญาณดิจิตอล ได้แก่ การสื่อสารในระบบ LAN, USB, DV port เป็นต้น

ในขณะเดียวกันก็ต้องอาศัยสัญญาณแบบอนาล็อกด้วย เช่น การใช้วิธี Amplitude Modulation ซึ่งวิธีนี้จะใช้การเปลี่ยนแปลงระดับ Amplitude เพื่อใช้แทนข้อมูล 0 หรือ 1 แล้วแต่กรณีไป

ที่ผ่านมาทั้งหมด เป็นการพูดถึงข้อมูลที่เป็นดิจิตอล แต่ในบางกรณี source ของข้อมูลเป็นข้อมูลที่เป็นอนาล็อก เช่น เสียงพูด ซึ่งจะต้องแปลงข้อมูลเหล่านี้ให้เป็นดิจิตอลก่อน ถึงจะส่งข้อมูลต่อไปได้ โดยอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงข้อมูลจากอนาล็อกให้เป็นดิจิตอล เรียกว่า Codec –coder/Decoder เช่น sound card, microphone, video conference ที่จะต้องแปลงสัญญาณเสียง และภาพ ให้เป็นข้อมูลไบนารี่ ก่อนถึงจะส่งข้อมูลออกไปได้

แม้แต่ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ จะมี chip ที่ทำหน้าที่เป็น coder/decoder ฝังอยู่ภายใน เพื่อแปลงข้อมูลจากอนาล็อกให้เป็นดิจิตอล เพื่อส่งข้อมูลออกไป

Monday, June 16, 2008

สถาปัตยกรรม OSI

สถาปัตยกรรมเครือข่ายรูปแบบ OSI

ในปี ค.ศ.1977 องค์กร ISO (International Organization for Standard) ได้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นกลุ่มหนึ่ง เพื่อทำการศึกษาจัดรูปแบบมาตรฐาน และพัฒนาสถาปัตยกรรมเครือข่าย และในปี ค.ศ.1983 องค์กร ISO ก็ได้ออกประกาศรูปแบบของสถาปัตยกรรมเครือข่ายมาตรฐานในชื่อของ "รูปแบบ OSI" (Open Systems Interconnection Model) เพื่อใช้เป็นรูปแบบมาตรฐานในการเชื่อมต่อระบบคอมพิวเตอร์ อักษร "O" หรือ " Open" ก็หมายถึง การที่คอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์หนึ่งสามารถ "เปิด" กว้างให้ คอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์อื่นที่ใช้มาตรฐาน OSI เหมือนกันสามารถติดต่อไปมาหาสู่ระหว่างกันได้

จุดมุ่งหมายของการกำหนดมาตรฐานรูปแบบ OSI ขึ้นมานั้นก็เพื่อเป็นการกำหนดการแบ่งโครงสร้างของสถาปัตยกรรมเครือข่ายออกเป็นเลเยอร์ ๆ และกำหนดหน้าที่การทำงานในแต่ละเลเยอร์ รวมถึงกำหนดรูปแบบการอินเตอร์เฟซระหว่างเลเยอร์ด้วย โดยมีหลักเกณฑ์ในการกำหนดดังต่อไปนี้

1.ไม่แบ่งโครงสร้างออกเป็นเลเยอร์ ๆ มากจนเกินไป
2.แต่ละเลเยอร์จะต้องมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกันทั้งขบวนการและเทคโนโลยี
3.จัดกลุ่มหน้าที่การทำงานที่คล้ายกันให้อยู่ในเลเยอร์เดียวกัน
4.เลือกเฉพาะการทำงานที่เคยใช้ได้ผลประสบความสำเร็จมาแล้ว
5.กำหนดหน้าที่การทำงานเฉพาะง่าย ๆ แก่เลเยอร์ เผื่อว่าต่อไปถ้ามีการออกแบบเลเยอร์ใหม่ หรือมีการเปลี่ยนแปลงโปรโตคอลใหม่ในอันที่จะทำให้สถาปัตยกรรมมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น จะไม่มีผลทำให้อุปกรณ์ ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ที่เคยใช้ได้ผลอยู่เดิมจะต้องเปลี่ยนแปลงตาม
6.กำหนดอินเตอร์เฟซมาตรฐาน
7.ให้มีความยืดหยุ่นในการเปลี่ยนแปลงโปรโตคอลในแต่ละเลเยอร์
8.สำหรับเลเยอร์ย่อยของแต่ละเลเยอร์ให้ใช้หลักเกณฑ์เดียวกันกับที่กล่าวมาใน 7 ข้อแรก


โครงสร้างของสถาปัตยกรรมรูปแบบ OSI

สามารถการแบ่งออกเป็น 7 เลเยอร์ และในแต่ละเลเยอร์ได้มีการกำหนดหน้าที่การทำงานไว้ดังต่อไปนี้

1.เลเยอร์ชั้น Physical เป็นชั้นล่างสุดของการติดต่อสื่อสาร ทำหน้าที่ส่ง-รับข้อมูลจริง ๆ จากช่องทางการสื่อสาร (สื่อกลาง) ระหว่างคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ มาตรฐานสำหรับเลเยอร์ชั้นนี้จะกำหนดว่าแต่ละคอนเนคเตอร์ (Connector) เช่น RS-232-C มีกี่พิน (PIN) แต่ละพินทำหน้าที่อะไรบ้าง ใช้สัญญาณไฟกี่โวลต์ เทคนิคการมัลติเพล็กซ์แบบต่าง ๆ ก็จะถูกกำหนดอยู่ในเลเยอร์ชั้นนี้

2. เลเยอร์ชั้น Data Link จะเป็นเสมือนผู้ตรวจสอบ หรือควบคุมความผิดพลาดในข้อมูลโดยจะแบ่งข้อมูลที่จะส่งออกเป็นแพ็กเกจหรือเฟรม ถ้าผู้รับได้รับข้อมูลถูกต้องก็จะส่งสัญญาณยืนยันกลับว่าได้รับข้อมูลแล้ว เรียกว่าสัญญาณ ACK (Acknowledge) ให้กับผู้ส่ง แต่ถ้าผู้ส่งไม่ได้รับสัญญาณ ACK หรือได้รับสัญญาณ NAK (Negative Acknowledge) กลับมา ผู้ส่งก็อาจจะทำการส่งข้อมูลไปให้ใหม่ อีกหน้าที่หนึ่งของเลเยอร์ชั้นนี้คือป้องกันไม่ให้เครื่องส่งทำการส่งข้อมูลเร็วจนเกิดขีดความสามารถขเเครื่องผู้รับจะรับข้อมูลได้

3. เลเยอร์ชั้น Network เป็นชั้นที่ออกแบบหรือกำหนดเส้นทางการเดินทางของข้อมูลที่ส่ง-รับในการส่งผ่าน ข้อมูลระหว่างต้นทางและปลายทาง ซึ่งแน่นอนว่าในการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายการสื่อสารจะต้องเส้นทางการรับ-ส่งข้อมูลมากกว่า 1 เส้นทาง ดังนั้นเลเยอร์ชั้น Network นี้จะมีหน้าที่เลือกเส้นทางที่ใช้เวลาในการสื่อสารน้อยที่สุด และระยะทางสั้นที่สุดด้วย ข่าวสารที่รับมาจากเลเยอร์ชั้นที่ 4 จะถูกแบ่งออกเป็นแพ็กเกจ ๆ ในชั้นที่ 3 นี้

4. เลเยอร์ชั้น Transport บางครั้งเรียกว่า เลเยอร์ชั้น Host-to-Host หรือเครื่องต่อเครื่อง และจากเลเยอร์ชั้นที่ 4 ถึงชั้นที่ 7 นี้รวมกันจะเรียกว่า เลเยอร์ End-to-End ในเลเยอร์ชั้น Transport นี้เป็นการสื่อสารกันระหว่างต้นทางและปลายทาง (คอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์) กันจริง ๆ เลเยอร์ชั้น Transport จะทำหน้าที่ตรวจสอบว่าข้อมูลที่ส่งมาจากเลเยอร์ชั้น Session นั้นไปถึงปลายทางจริง ๆ หรือไม่ ดังนั้นการกำหนดตำแหน่งของข้อมูล (Address) จึงเป็นเรื่องสำคัญในชั้นนี้ เนื่องจากจะต้องรับรู้ว่าใครคือผู้ส่ง และใครคือผู้รับข้อมูลนั้น

5. เลเยอร์ชั้น Session ทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ โดยผู้ใช้จะใช้คำสั่งหรือข้อความที่กำหนดไว้ป้อนเข้าไปในระบบ ในการสร้างการเชื่อมโยงนี้ผู้ใช้จะต้องกำหนดรหัสตำแหน่งของจุดหมายปลายทางที่ต้องการติดต่อสื่อสารด้วย เลเยอร์ชั้น Session จะส่งข้อมูลทั้งหมดให้กับเลเยอร์ชั้น Transport เป็นผู้จัดการต่อไป ในบางเครือข่ายทั้งเลเยอร์ Session และเลเยอร์ Transport อาจจะเป็นเลเยอร์ชั้นเดียวกัน

6. เลเยอร์ชั้น Presentation ทำหน้าที่เหมือนบรรณารักษ์ กล่าวคือคอยรวบรวมข้อความ (Text) และแปลงรหัส หรือแปลงรูปของข้อมูลให้เป็นรูปแบบการสื่อสารเดียวกัน เพื่อช่วยลดปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ใช้งานในระบบ

7. เลเยอร์ชั้น Application เป็นเลเยอร์ชั้นบนสุดของรูปแบบ OSI ซึ่งเป็นชั้นที่ใช้ติดต่อกันระหว่างผู้ใช้โดยตรงซึ่งได้แก่ โฮสต์คอมพิวเตอร์ เทอร์มินัลหรือคอมพิวเตอร์ PC เป็นต้น แอปพลิเคชันในเลเยอร์ชั้นนี้สารมารถนำเข้า หรือออกจากระบบเครือข่ายได้โดยไม่จำเป็นต้องสนใจว่าจะมีขั้นตอนการทำงานอย่างไร เพราะจะมีเลเยอร์ชั้น Presentation เป็นผู้รับผิดชอบแทนอยู่แล้ว ในรูปแบบ OSI เลเยอร์นั้น Application จะทำการติดต่อกับเลเยอร์ชั้น Presentation โดยตรงเท่านั้น

โปรโตคอลของในแต่ละชั้นจะแตกต่างกันออกไป แต่อย่างไรก็ตามการที่เครื่องคอมพิวเตอร์ หลาย ๆ เครื่องจะติดต่อสื่อสารกันได้ ในแต่ละเลเยอร์ของแต่ละเครื่องจะต้องใช้โปรโตคอลแบบเดียวกัน หรือถ้าใช้โปรโตคอลต่างกันก็ต้องมีอุปกรณ์ หรือซอฟร์แวร์ที่สามารถแปลงโปรโตคอลที่ต่างกันนั้นให้มีรูปแบบเป็นอย่างเดียวกัน เพื่อเชื่อมโยงให้คอมพิวเตอร์ทั้ง 2 เครื่องสามารถติดต่อกันได้

Tuesday, June 10, 2008

Lecture MIT chapter1

Chapter 1 : Organizational Performance : IT Support and Applications

เนื้อหา
1. บรรยายถึงความสำคัญเศรษฐกิจยุค Digital เพราะว่ามันจะเริ่มเกี่ยวข้องกับงานของเราด้าน IT และ Digital enterprise บริษัท ห้าง ร้านต่างๆ ที่จะต้องปรับตัวนำ IT ไปใช้
2. บรรยายถึงเหตุผลของว่าทำไม่ต้องนำ IT ไปใช้ เนื่องจากว่ามันมีปัญหาหลายๆ ด้านที่การบริหารอย่างอื่น มันช่วยแก้ไขไม่ได้ จึงต้องใช้ IT มาช่วยแก้ไข
3. เราก็จะมาเรียน คำว่า IS กับ IT ว่ามันคืออะไร
4. องค์กรยุคใหม่มีลักษณะอย่างไร
5. บทบาทของ IT ในการช่วยบริหารงาน ในองค์กร
6. ทำไมถึงอยากเรียน IT

Opening case 1
สงครามการผลิต chip ของ Computer ของ Intel and AMD


ปัญหาที่เกิดขึ้นคือในภาวะปัจจุบันมีการแข่งขันสูงทำให้ของที่มีการแข่งขันสูงมีกำไรน้อย คือมีการตัดราคากันเยอะ

Case Intel and AMD
1. Intel มีพนักงาน 1 แสน คน มีรายได้ประมาณ 33.8 พันล้าน (ดอลล่าร์)
2. AMD มีพนักงาน 1 หมื่น คน มีรายได้ประมาณ 5 พันล้าน (ดอลล่าร์)
3. ซึ่งราคาหุ้นของ Intel จะค่อยๆ ตกลง มาเรื่อยๆ ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา ในขณะที่หุ้นของ AMD ค่อยๆ เพิ่มขึ้น จนบางครั้งสูงขี้นกว่า Intel

แสดงว่าการแข่งขันมีผลกระทบกับส่วนแบ่งของตลาด (Market share) ของ Intel ลดไปเรื่อยๆ ราคาหุ้นก็ลดลง กำไรก็ลดลง เพราะฉะนั้น Intel จึงต้องปรับกลยุทธ์

การปรับกลยุทธ์

1. ในปี 2006 ประมาณเดือนเมษายน AMD ออก chip ตัวใหม่ก่อน ซึ่งเน้น กินไฟน้อย ขายให้กับพวกที่ทำ Web hosting หรือว่า Outsource ศูนย์คอมพิวเตอร์ คือเอา server มาตั้งเยอะๆ แล้วก็รับจ้างลูกค้าทำ host ให้ (จะมี server เป็น100 ตัว) ซึ่งมีที่แห่งหนึ่งที่ทำแบบนี้คือ Very center โดยที่เค้ามีลูกค้ากว่า 500 รายที่มาจ้างให้ทำแบบนี้ และเค้าก็เอา Intel ออก และเอา CPU ของ AMD ใส่เข้าไปปรากฏว่าลดค่าไฟ ปีนึงจาก 5 แสนเหรียญ เหลือ 1.5 แสนเหรียญ ทำไปเรื่อยๆ AMD ก็ไปเจาะตลาดลูกค้ากลุ่มนี้ทำให้คู่แข่งแย่ไป
2. ผลปรากฏว่าได้ผล และลูกค้าสนใจที่จะเปลี่ยนมาใช้เป็นจำนวนมาก
3. Intel ในปี 2006 ออก chip ตัวใหม่ ปรับปรุง และตั้งเป้าว่าจะกินไฟน้อยกว่า AMD ถึง 20% (ลดไปถึง 1 ใน 5)
4. ใช้ IT มาช่วยในการออกแบบประสานงานภายใน Product (IT base collaboration tool) คือการทำงานร่วมกันหรือการประชุมภายในทาง software (จะเรียนเรื่องนี้ในบทที่ 4)
5. แล้วก็เทคนิคการพัฒนา Software ที่ทันสมัยการออกแบบ software ที่ทันสมัย
6. ปรากฏว่า คิดว่าจะสามารถได้ลูกค้าคืนจาก AMD Intel
ผลก็คือบริษัทฯ AMD ต้องพยายามปรับปรุงกลยุทธ์ซึ่งปัจจุบันเป็นช่วงภาวะการณ์แข่งขันด้านพลังงาน

จะสังเกตว่าการแข่งขันทุกธุรกิจมีสูงมาก เดี๋ยวจะมี Chart ให้ดูว่าทำไมต้องแข่งขันสูงขนาดนั้น

คำว่า Digital economy เศรษฐกิจยุค digital หรือบางคนเรียกว่า เศรษฐกิจแบบยุคใหม่ ทำไมถึงเรียกว่า เศรษฐกิจยุคdigital ถ้าย้อนกลับไปดูจะมีการปฏิวัติทางเกษตรกรรม ในยุโรป เค้าเรียกว่า วิธีการเพาะปลูกแบบใหม่ ทำให้เก็บเกี่ยวได้เยอะขึ้น นอกเหนือจากการปลูกสะเปะ สะปะไป

อีกยุคนึงก็คือ Industrial revaluation คือการปฏิวัติอุตสาหกรรม คือการผลิตของให้มีประสิทธิภาพ เป็นระบบประเทศในยุโรป ก็กลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมไป และก็ร่ำรวยกันไปคือเข้าสู่ประเทศอุตสาหกรรม แต่ในปัจจุบัน เป็นอีกขั้นนึงก็คือเข้าสู่ยุค Digital (รายละเอียดในหนังสือ หน้า 5 ตาราง 1.1)

ในเศรษฐกิจยุคdigitalนั้น โตมาด้วยอาศัยหลัก 2-3 อย่างคือ ทำไมถึงมีความสำคัญ

1. E-business การใช้การทำธุรกิจ หรือค้าขายผ่าน Internet เป็นปัจจัยหลัก ของเศรษฐกิจยุค digital
2. Corroboration การทำงานร่วมกันของบุคคลหลายๆ คน การสื่อสาร การสืบค้นหาข้อมูล คือถ้าเดิมไม่หาข้อมูล ซึ่งถ้าทำด้วยกระดาษมันยาก แต่ถ้าทำผ่าน IT ก็สามารถทำได้รวดเร็ว การสื่อสาร การประชุมร่วมกัน หรือคนที่อยู่ที่ห่างไกลกัน ทำงานร่วมกันได้

เพราะฉะนั้น IT มีส่วนช่วยทำให้คนที่ไม่เคยสื่อสารกัน สามารถสื่อสารกันได้ หรือคนที่อยู่ในที่ห่างไกลกัน สามารถทำงานชิ้นเดียวกันได้ ฉะนั้น IT ทำให้คนมาทำงานร่วมกันได้มากขึ้น ทำให้มีงานมากขึ้น

3. Information exchange การจัดเก็บข่าวสาร หรือประมวลผลข้อมูล เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ส่งประมวลผล upload , download

Opening case 2
ตัวอย่างเศรษฐกิจยุค Digital
Diamonds online (ธุรกิจค้าเพชรพลอย)


1. เป็นธุรกิจเก่าแก่มาตั้ง 1,000 ปี มีความเหมือนกันมาตลอด คือเรื่องของการตั้งราคา (pricing) ส่งผลให้ราคาสามารถเพิ่มขึ้นได้โดยไม่จำกัด เนื่องจากมีการซื้อกันหลายทอด เช่น ขุดมาขาย อาจขายเม็ดละ 10 บาท พ่อค้ามาซื้อ ต่อไปขายอีก เม็ดละ 100 บาท แล้วก็ขายต่อ ราคาเพิ่มขึ้นอีก จนถึงมือลูกค้าจนมีราคาหลายหมื่น

การปรับกลยุทธ์
o มีชายหนุ่มคนอเมริกัน ชื่อ ดอน โคเจนส์ ตอนนั้นอายุ15 ปี เดินทางมาจากอเมริกา มาใช้ชีวิตที่เมืองไทย อยู่ที่จังหวัดจันทบุรี เค้ามีความเข้าใจในสถานการณ์ของการค้าเพชรพลอยดี จึงคิดหาวิธีโดยการนำพลอยเมืองจันทบุรีไปขายที่ อเมริการ โดยการลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ และรับสั่งทางFax เพื่อตัดการค้าหลายๆ ทอด ทำให้ไม่ต้องบวกกำไรมาก ทำให้ราคาพลอยของเค้าถูกกว่าคนอื่น
o ความคิดริเริ่มของเค้า ทำให้ขายดิบขายดี แม้แต่ใช้ Fax order ก็มียอดขายถึงปีละ 250,000 ดอลล่าร์
o จนกระทั่งปี 1998 เป็นยุคที่อินเทอร์เน็ตบูมขึ้นมา จึงไปตั้งเว็บไซต์ ชื่อ Thaigem.com แล้วก็ขายผ่านอินเทอร์เน็ต ผลปรากฏว่า รวยยิ่งกว่าเก่า

ผล
o ในปี 2001 มียอดขายถึง 4.3 ล้านดอลล่าร์
o ซึ่งวิธีลงข้อมูลทาง Internet ก็ทำให้ยอดขายเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีกำไร 20-25 % ถือว่าใช้ได้ เพราะไม่ได้มีค่าใช้จ่ายอะไรมาก ไม่ต้องเอากำไรเป็น 100 เป็น 1000% ก็สามารถขายได้ เอาจำนวนมาก ต้นทุนที่ต่ำจากการขายทางอินเทอร์เน็ต
o ลูกค้ามีทั้งคนที่เอาไปทำต่อหรือเอาไปตั้งเป็นร้านสรรพสินค้า(Cooperate customer) และลูกค้าทั่วไปซื้อไปใส่เลยแบบสำเร็จรูป(Retail customer) ซึ่งก็ประสบความสำเร็จไป ปัจจุบันเว็บไซต์ Thaigem.com ก็ยังอยู่

ในธุรกิจอื่นๆ ไม่ว่าจะอะไรก็ต้องใช้ IT ทั้งนั้น (ในตาราง 1.2 หน้า 7 เค้าจะบอกว่าปัจจุบันเราเอา IT ไปใช้อะไรบ้าง เช่น เอามา ใช้คำนวณงานยากๆ ที่มีรายการธุรกรรมเยอะๆ เป็นต้น ลองไปอ่านดู เพื่อให้เกิดไอเดีย)

Opening case 3
ตัวอย่างการถ่ายทอด Digital (เศรษฐกิจแบบเก่า กับเศรษฐกิจแบบใหม่)


เริ่มจากการถ่ายทอด Digital เพิ่งเริ่มใหม่ๆ คือ การถ่ายภาพ ซึ่งเดิมจากใช้ กล้องใส่ฟิล์ม แต่ปัจจุบันใช้กล้องดิจิตอล แทน ซึ่งถือว่ามีการพัฒนาไปมาก จากเดิมที่ ใช้วิธีนำฟิล์มใส่กล้อง แล้วก็ถ่าย แล้วนำไปล้าง ต้องรอหลายวัน กว่าจะได้รูป ถ้าเป็นแบบใหม่ ถ่ายภาพแล้ววันเดียว ครึ่งวันก็ได้รูปเลย ซึ่งเร็วกว่าเยอะ แต่ปัจจุบันนี้ มันกลับกันแล้ว คือเราใช้กล้องดิจิตอลถ่ายภาพ ทำให้เราไม่รู้ว่าวิธีถ่ายภาพโดยใช้ฟิล์มนั้นทำกันยังไง

คนที่ทำ IT มักจะลืม คำนี้ อยากทำ E - commerce ขายของ ก็มักจะลืมคำนี้ แต่ยังไม่รู้จะขายอะไร แต่ขั้นแรกที่ทำก็ต้องรู้ว่าขายอะไร? สิ่งนั้นก็คือ Business Model คือ วิธีการทำธุรกิจเพื่อให้มีรายได้ สร้างมูลค่าของของ ตั้งราคาสินค้า ให้บริการลูกค้า จัดการทรัพยากร หรือต้นทุน ดูตัวอย่างต่อไปนี้

Business Model ของ Nokia คืออะไร ก็คือ การทำโทรศัพท์ และขายโทรศัพท์ เพียงแต่ตอนแรกไปทำจานดาวเทียม แล้วไม่สำเร็จ จึงเปลี่ยนสินค้า

Business Model ของสถานีโทรทัศน์ คือให้ประชาชนดูรายการฟรี ทีวี แต่เก็บเงินค่าโฆษณาจากบริษัทโฆษณาต่างๆ เคเบิลทีวี ก็เก็บค่าสมาชิกจากประชาชนที่สนใจ และเก็บค่าโฆษณาจากบริษัทโฆษณา

Business Model ของ Yahoo and Google คือ ทำ search engine ให้คนค้นหาข้อมูล แต่ตอนหลังเริ่มมีการให้บริการหลากหลาย เช่น ให้ใช้ e-mail ฟรี และไม่ฟรี ทำโทรศัพท์ ทำโฆษณา

จะสังเกตว่า Model นี้มันจะยุ่ง ถ้าเกิดว่าเราตั้งหลักไม่ดี เราไม่รู้ว่าเราทำอะไรอยู่ คือถ้าเราจะทำเปิด website เราก็ต้องมี Business Model ว่าเราจะทำอะไร ลองไปดูตัวอย่าง 4.1 หน้า 10 จะเป็น 6 ขั้นตอน ทำแบบมืออาชีพ เป็นวิธีการเขียน Business Model

ปรากฏว่าเศรษฐกิจยุคดิจิตอล ทำให้เกิด Business Model ใหม่ๆ ขึ้น ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน ไม่สามารถทำได้ในอดีต มีข้อจำกัดเกี่ยวกับสถานที่และเวลา ปริมาณ ข้อมูล แต่ในปัจจุบันทำได้แล้ว ตัวอย่างเช่น

1. Name–Your-Own Price เช่น การขายของ ขายของโดยผู้ซื้อเป็นผู้ตั้งราคา เช่น บริษัททัวร์ ซึ่งผู้ขายจะเป็นผู้ตั้งราคามา Packets พร้อมโรงแรม ไม่พอใจเราก็ไม่ซื้อ
2. แต่นี่กลับกันคือ ให้เราเป็นคนตั้งราคา แล้วเค้าจะไปจัดหาทัวร์ ที่ราคาเท่านี้มาให้
3. ซึ่งวิธีนี้เดิมในอดีตทำไม่ได้ แต่อันนี้ทำได้ และฟรี
4. Reverse auction คือการประมูลแบบต่างๆ ซึ่งเดิมก็ประมูลได้ แบบอยู่ในห้องแล้ว เคาะๆ แต่แบบนี้เป็นการทำกันทั่วโลก ซึ่งประมูลของจากทั่วโลก โอกาสจะได้มันจะเร็วกว่า
5. Affiliate Marketing เป็นการตลาดแบบไม่ต้องทำเอง มีคนช่วยทำ เช่น จะทำโฆษณาอะไรซักอย่าง ก็ไม่ต้องไปโฆษณาเอง จะมีคนทำให้ หรือที่เราเรียกว่า Agent จะไปจัดหาคนมาทำให้ แล้วเค้าก็แบ่ง % ร่วมกัน
6. ทุกอย่างบน Internet คือคนที่ทำโฆษณาให้บริษัททัวร์ ก็ไม่รู้จัก กับคนที่รับจัดหาให้ คนที่จัดหาให้เราก็ไม่รู้จักเรา แต่มีคนกลางคอยเก็บเงิน
7. E-Market Place and Exchanges ซึ่งE-Market place ก็คล้ายๆกับ Market Place คือสถานที่ๆ คนเอาของมาขายกันเยอะๆ แต่ว่าสถานที่บนโลกจริงๆ นั้นถูกจำกัดด้วยสถานที่ ระยะทาง เพียงแต่ E-Market Place จะตัดข้อจำกัดออกไป คือมีใครจากที่ไหนในโลกมาขายก็ได้ อีกคนเป็นผู้ซื้อจากที่ไหนในโลกมาซื้อก็ได้ มาซื้อขายได้เช่นกัน รวมถึง Exchanges ก็มีทั้งซื้อและขายอยู่ในเว็บเดียวกัน เช่น ตลาดหลักทรัพย์ นอกจากนั้นก็มีการซื้อเป็นกลุ่ม เช่น การไปซื้อตำรา หากต้องการส่วนลดมากก็ควรรวมกันซื้อหลายคน เราก็สามารถทำได้เนื่องจากว่าเราเรียนห้องเดียวกัน แต่ถ้าบนโลก Internet ก็ทำได้เช่นกัน เพียงแต่ว่าเราไม่รู้จักกัน รวมตัวกันเพื่อขอส่วนลดได้
8. แต่ถ้าไม่มี Internet ก็ทำไม่ได้ เพราะคุณไม่รู้จักกัน
ดังนั้น เวลาเข้าไปดู Web site ก็ต้องคิดไปด้วยว่า Business Model ของเค้าคืออะไร กำลังจะขายอะไรให้ใคร ลองดูว่าเค้าทำอะไรอยู่

ตอนนี้องค์กรธุรกิจ ก็ต้องมีการปรับเปลี่ยน Business Model อันเนื่องมาจาก IT ที่ทำให้เราคิดรูปแบบใหม่ๆ
ได้ และอันเนื่องมาจากแรง Pressures ต่างๆ ที่เข้ามา ทำให้เราต้องปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ อันนี้เราเรียกว่า Business Pressures ซึ่งจะมีผลกระทบต่อองค์กรว่าต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลง มีทั้งทางบวก ทางลบ มีทั้งอุปสรรค และโอกาสในการทำธุรกิจ เรียกว่าบางคนก็เปลี่ยนวิกฤต ให้เป็นโอกาสได้เหมือนกัน
> แรงกดดันของหน่วยงานจะรวมทั้งของรัฐ บางส่วนด้วย ก็มี 3 ด้านใหญ่ๆ ด้วยกัน ก็คือทางด้านการตลาด(Market Pressures) ทางด้านเทคโนโลยี(Technology Pressures) และ ทางด้านสังคมการเมือง(Societal Pressures)
> วิธีการแก้ไข แก้ปัญหาโดยมี IT เป็นเครื่องมีอหลักในการจะช่วยสร้างเครื่องมือในการช่วยแก้ปัญหา
> ในตาราง 1.3 หน้า15 จะมีรายละเอียดว่าองค์กรต่างๆมีวิธีแก้ไขหรือตอบโต้อย่างไร เป็นแนวคิดของเรา เช่น ถ้าเรากำลังประสบปัญหาด้านผลิตภัณฑ์ใหม่อยู่นี้ เราก็มาดูว่าเค้าทำกันยังไง แก้ไขกันอย่างไร ดูในตาราง 1.3

Three Types of Business Pressures
1. Market Pressures
- Global Economy and Strong competition เศรษฐกิจไม่ได้เป็นกรอบของประเทศใดประเทศหนึ่ง มันมีผลกระทบต่อทั่วโลก ถ้าทั่วโลกดีก็ดีไปด้วย แต่ถ้าแย่ก็แย่ไปด้วย และก็มีการแข่งขันกันสูง ทุกชาติสามารถมาแข่งขันกันได้
- Workforce ค่าจ้างแรงงานที่แตกต่างกัน มีการขาดแคลนแรงงานบ้าง
- Powerful Customer ลูกค้าที่ซื้อของเรามีอำนาจต่อรองมากขึ้นกว่าเดิมมาก เนื่องจากข้อมูลข่าวสารนั่นเอง คือ เราสามารถรู้ราคาของในแต่ละที่ แต่ละห้าง แต่ละประเทศขายเท่าไหร่ ทำให้มาต่อรองราคาได้มากขึ้น เราในฐานะผู้ขายก็จะลำบากขึ้นในการบริหาร

2. Technology Pressures
- Innovation and Obsolescence เทคโนโลยีของผลิตภัณฑ์ทุกอย่าง เช่น เทคโนโลยียานยนต์ การเกษตร สิ่งทอ เทคโนโลยีทำให้เกิด product ใหม่มากขึ้น ทำให้เกิดProduct mass cycle วงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์สั้นลงในหลายๆตัว อันเนื่องมาจากเทคโนโลยีที่เราคิดค้นขึ้นมา
- Information Overload ข่าวสารมากเกินไปทำให้ตัดสินใจยาก เลยไม่รู้ว่ามันจริงรึเปล่า อันนี้ก็เป็นอุสรรคอันนึง

3.Societal Pressures ด้านสังคม มีอะไรที่กระทบบ้าง
- กฎหมายที่ออกมาใหม่บังคับไม่ให้ขายอะไร ให้ขายอะไร หรือกฎหมายที่ยกเลิกไป ก็มีผลทำให้ ของบางอย่างที่เคยขายไม่ได้ก็มาขายได้ ทำให้มีคู่แข่งมากขึ้น
- งบประมาณต่างๆที่ค่อนข้างจะตัดออกไปเยอะ
- การก่อการร้าย อาชญากรรม
- จริยธรรม (สำคัญ)

Organizational Responses
1.Strategic System ระบบที่เป็นเชิงกลยุทธ์
ช่วยหาของแปลกๆใหม่ๆ หรือว่าทำให้ขายของได้ดีขึ้น มีผลกระทบต่อรายได้โดยตรง อันนี้เราเรียกว่า ระบบงานที่เป็นเชิงกลยุทธ์(บทที่10 ก็จะได้เรียนว่าอะไรบ้าง ที่ระบบไอที ที่เป็นเชิงกลยุทธ์ และเรานำมาช่วยองค์กรได้)
2.Customer Focus คือ ใช้เทคนิคอะไรก็ได้ดึงลูกค้า สนใจที่ตัวลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าซื้อของกับเราอยู่ต่อไปเรื่อยๆ โดยไม่สูญเสียให้กับคู่แข่งของเราไป
3. Make to Order สมัยนี้นิยมผลิตสิ่งที่ปรับเปลี่ยนสเปกได้ตามที่ลูกค้าต้องการมากขึ้น โดยเราใช้เทคโนโลยีด้านไอที บวกกับsupply chain เข้ามา ทำให้เราผลิตของตามที่ลูกค้าสั่งได้หลายรุ่น โดยที่ต้นทุนไม่สูงขึ้น นี่ก็เป็นข้อดีของไอทีตัวหนึ่งที่ทำระบบ Make to Order ได้
4. Mass Customization ทำจำนวนมากโดยที่ไม่แพง
5. E-business and E- commerce ซึ่งมีส่วนช่วยอย่างมากในการแก้ปัญหาต่างๆ

Doing Business in the Digital Economy

• ยุค digital economy หรือบางทีเรียกว่า Web economy จะสังเกตเห็นว่าจะมีลักษณะหลายๆอย่างที่ทำให้ค้าขายได้คล่องขึ้น เช่น ผลิตภัณฑ์หรือของที่จะขายจะอยู่ในลักษณะ digital format หรือ format ของคอมพิวเตอร์มากขึ้น ที่เราสังเกตเห็นได้ชัดก็คือ หนังสือ หนัง วิทยาศาสตร์ โทรทัศน์ วิทยุ เกมส์ หลายๆอย่างด้วยกัน เพราะมันเป็นแนวโน้ม ถ้าเราไม่ค้าขายด้วย digital product เราก็อาจจะค้าขายไม่ได้อีกแล้ว เช่น ร้านซีดีใหญ่ๆปิดไปเยอะ (ร้าน CD Warehouse) เพราะคนไม่ไปซื้อ เนื่องจากสามารถดาวน์โหลดได้ ทำให้ไม่มีคนไปยืนเลือกซีดีนานๆ ซึ่งเริ่มมีบางอย่างหายไป หรืออย่างร้านหนังสือ ก็จะกลายเป็น E-bookมากขึ้น เพราะถ้าเราไม่ทำ จะขายอยู่อย่างเดิมมันก็จะขายไม่ได้

• เงิน เงินซื้อขายเป็นดิจิตอล พยายามเป็นดิจิตอล สาเหตุที่เป็นอย่างนั้น เพราะว่ามันเร็วกว่า ต้นทุนในการบริหารเงินสด ไม่ว่าจะเป็นเหรียญหรือแบงค์เยอะ เพราะฉะนั้นถ้าเราซื้อและขายด้วย transaction เงินที่เป็นดิจิตอลก็จะเร็ว ได้เงินเร็ว เสียเงินเร็ว

• อุปกรณ์ต่างๆในบ้าน ในยุคนี้ก็จะเป็นลักษณะมี chip คืออะไรๆก็มี chip หมด เช่น ตู้เย็น ไมโครเวฟ (ไม่รู้จะใส่ไปทำไม) แต่ว่ามันก็เป็นแนวโน้ม ถ้ามี chip มันก็จะทำให้รู้สึกว่าดีขึ้น

Electronic Business
• การ service ลูกค้า การขาย กิจกรรมต่างๆในการขาย การสั่งของ การส่งของ เปลี่ยนไปในลักษณะ ผ่านคอมพิวเตอร์ ผ่านnetwork เป็นดิจิตอล ทำไมต้องเป็นอย่างนั้น เพราะมันเร็ว ไม่ค่อยมีใครอยากจะนั่งส่งFax และรับ Fax หรือส่งไปรษณีย์จะน้อยลง เพราะฉะนั้นกิจกรรมต่างๆทางธุรกิจที่หายไปจากกระดาษหรืออุปกรณ์โบราณ ก็จะกลายเป็น E-business กับ E-commerce มาแทนที่

New Economy vs. Old Economy

ตัวอย่าง
1.การซื้อขายหนังสือ สามารถเข้าไปที่เว็บไซต์ได้เช่น Amazon.com มากกว่าจะไปเดินซื้อ
2.การลงทะเบียนเรียน สมัยก่อนใช้บัตรกระดาษแข็งเจาะรู เป็นบัตรยาวๆ เปรียบเทียบคล้ายกับdiskette หรือflash drive ในปัจจุบัน แต่ว่ามันมีข้อมูลแค่ 80 ใบ แล้วก็มีรูๆเพื่อให้คอมพิวเตอร์อ่านแล้ว ก็ถือไปลงทะเบียน ปัจจุบันเราถือflash drive หรือซีดีไป
3. การถ่ายรูป ใช้เป็นกล้องดิจิตอล แทนกล้องที่ใช้ฟิล์ม
4. การซื้อตั๋วเดินทางต่างๆเปลี่ยนไป
5.น้ำมัน(คงเป็นในอเมริกา) ทำนองที่ว่าบริการตัวเอง เดิมก็เติมน้ำมันเองอยู่แล้ว ผนวกกับจ่ายตังค์เองเพิ่มมา
6.ใน New York city ที่เค้าใช้บัตรเดียวในการขึ้นรถโดยสารทุกชนิด ซึ่งที่ฮ่องกงก็ทำคล้ายๆแบบนี้ คือ
Octopus card ในนิวยอร์กมีหลายเมืองที่พยายามทำ เพื่อให้สะดวก
7. การซื้อของแบบที่คนไม่ต้องผ่านCashier คือ ปกติเราซื้อของก็ต้องเอาไปให้เค้า scan แล้วก็จ่ายตังค์
แบบใหม่เราก็เข็นรถเข็นไปมันก็จะอ่านจาก RFID ซึ่งเป็นbarcode แล้วtab barcodeก็จะส่งสัญญาณวิทยุรวด
เดียวเลย เข้าไปออกมาเป็นเงินกี่ดอลล่าร์ แล้วเราก็เอาบัตรไปรูด แล้วก็เข็นรถเข็นต่อไปโดยไม่มี cashier ยืนอยู่
ก็ทำให้เร็วขึ้น

Information System (ระบบสารสนเทศ)
ความจริงการประมวลผลข้อมูลมีมานานแล้ว เพราะว่าสมัยก่อน เลือกตั้ง เราก็มานับคะแนนเสียงกัน ซึ่งการนับ
ก็คือการประมวลผลข้อมูลแบบหนึ่ง แต่การประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์นิยมใช้เพราะว่าสะดวก รวดเร็ว มีความถูกต้องกว่า
ระบบสารสนเทศ ประกอบด้วย Inputs / Outputs คือ ข้อมูลดิบหรือ transaction ที่เกิดขึ้นเอามาประมวลผล Output ที่ออกมาก็จะแสดงผลที่หน้าจอ

Computer Based Information System(ระบบประมวลผลสารสนเทศโดยใช้คอมพิวเตอร์)
ประกอบด้วย
1. Hardware
2. Software
3. Data
4. Network
5. Procedure
6. People

ทั้ง 6 ส่วนนี้จะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้ และทั้งหมดนี้เราเอามาสร้างสิ่งที่เรียกว่า application (โปรแกรมประยุกต์) หรือ ระบบงาน

Application คือ โปรแกรมที่นำมาใช้เพื่อประมวลผลเฉพาะกิจ อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เอามาทำการขาย การค้าปลีก ค้าส่ง การผลิต บริหารงานทรัพยากรบุคคล หรืออะไรก็ตาม เฉพาะเรื่องไป

ระบบIT Failures คือ สร้างความเดือดร้อน และเสียเงินให้กับเจ้าของก็มีเยอะ เช่น
• Dot com in 2000-2001 ก่อนปี 2000 มาแล้วทุกคนบอกว่าอินเทอร์เน็ตมาแล้วต้องใช้ ทำอะไรมาก็ได้ทำมา พอมาถึงจุดๆหนึ่ง business model ก็ไม่เขียน ทำแข่งกัน ไม่รู้ว่าขายอะไร ลูกค้าคือใคร ทำให้เกิด failure ไปเยอะ หรือปิดกิจการ ในช่วงปี 2000-2001

• Disney web sites ที่พยายามสร้างเว็บไซต์ขึ้นมาก็ไม่สำเร็จ เสียเงินไปเยอะ แล้วก็ทำโฆษณาก็ไม่ได้ ขายของก็ไม่ได้ ไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้น

• NIKE 400$ M in 2001 ขณะนั้นมีรองเท้ารุ่นหนึ่งขายดีมากเลย เค้าก็มาตั้งระบบคอมพิวเตอร์ จะทำ Supply chain management แล้วก็มี bug ขึ้นใน Supply chain management ที่ทำให้เกิด material วัตถุดิบเกินจำนวนขึ้น กระทบไปถึงรองเท้ารุ่นนั้นทำให้เสียรายได้ไปเยอะ

• AT&T CRM in 2004 บริษัทโทรคมนาคมในอเมริกา วันดีคืนดีในปี 2004 อยากจะทำระบบบริหารงานความสัมพันธ์กับลูกค้า(Customer relationship management) อยู่ดีไม่ว่าดีไปซื้อมา แพงก็แพง แล้วก็ failure

ทำไมถึงมาเรียน IT กัน
• เป็นงานที่สำคัญในองค์กร หรือเปล่าอาจจะใช่หรือไม่ใช่
• IT จะทำให้จำนวนพนักงานที่เป็นผู้บริหารระดับกลางลดลง ก็ไม่เกี่ยวกับเรา
• IT จะทำให้งานของหัวหน้างาน (manager) เปลี่ยนไป
• IT มีผลกระทบต่อพนักงานที่ทำงาน
• IT มีผลกระทบต่อพนักงาน ทางด้านสุขภาพ
• ที่สำคัญ IT ใช้กับทุกแผนกในองค์กร
• IT ช่วยให้คนมีโอกาสมากขึ้น
• IT ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น
• สุดท้าย เรียนเพื่อว่า ถ้าเราไม่รู้IT ก็จะมีคนมาเอาเปรียบเราได้ และอีกข้อหนึ่ง คือ ทำให้คนรวยขึ้นได้
จำนวนหนึ่ง เยอะเหมือนกัน

• เพราะฉะนั้นต้องตอบตัวเองได้ว่าเรียน IT เพื่ออะไร : เพื่อไปเป็นผู้บริหาร
• จากหนังที่ได้ดูไป ให้ข้อคิดที่ว่า “เราควรจะอ่านหนังสือมาก่อนที่จะเรียน”

Wednesday, June 4, 2008

Lecture ISC#1

สรุปการเรียนวิชา ISC
ครั้งที่ 1 วันที่ 4 มิถุนายน 2551


อุปกรณ์การสอน
1. หนังสือที่ใช้ประกอบการเรียน : Discovering Computer 2008
2. e-Learning เข้าใช้ได้จาก Homepage คณะฯ> e-Learning> ลงชื่อเข้าใช้> หาวิชาที่เรียน
3. ซีดี presentation จากอาจารย์

การประเมินผล
ช่วงก่อน Mid Term : เน้นความรู้ด้าน ฮาร์ดแวร์ โดยจะใช้ความรู้ในบทที่ 1,2, 4-7
ช่วงหลัง Mid Term : เน้นความรู้ด้าน ซอฟต์แวร์ โดยจะใช้ความรู้ในบทที่ 3,8, 11-15

การเก็บคะแนน
Individual Assignment 10%
Group Assigment 20%
Mid Term 30%
Final 40%

ความหมายของคำ
USB Flash Drive : ไดร์ฟหน่วยความจำ ที่คนส่วนใหญ่มักจะเรียกกันว่า thumb drive
Portable : อุปกรณ์พกพา
Capacity : ความจุ

ความแตกต่างระหว่าง Internet กับ World Wide Web
Internet : โครงข่ายใยแมงมุม ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก เป็นเสมือนสาธารณูปโภคพื้นฐานอย่างหนึ่ง เหมือนกับระบบน้ำ หรือไฟฟ้า
World Wide Web : เป็นบริการอย่างหนึ่งบนอินเทอร์เน็ต

*** คุณลักษณะของข้อมูล หรือสารสนเทศที่มีคุณภาพ ***
1. Accurate : มีความถูกต้องแม่นยำ
2. Complete : บริบูรณ์/ครบถ้วน –ข้อมูลจะต้องมีความสมบูรณ์มีเนื้อหาครบถ้วน
3. Econimical : ประหยัด
4. Flexible : เปลี่ยนแปลงได้/ปรับได้/ แก้ไขง่าย/ ยืดหยุ่น
5. Reliable : เชื่อถือได้, ความเชื่อถือได้ (reliability)
6. Relevant : ตรงประเด็น/ เกี่ยวเนื่อง, ความเกี่ยวเนื่อง (Relevancy)
7. Simple : ง่าย/ ธรรมดา
8. Timely : ทันเหตุการณ์/ เกิดขึ้นเหมาะสมกับเวลา, ความทันเหตุการณ์ (Timeliness)
9. Verifiable : ซึ่งพิสูจน์ความจริงได้/ ตรวจสอบได้/ ยืนยันได้, Verifiablility การพิสูจน์ความจริงได้/ การตรวจสอบได้

หมายเหตุ ความรู้ในส่วนนี้จะต้องสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับตัวอย่างอื่นๆ ได้ด้วย เพราะฉะนั้นต้องท่องคุณสมบัติทั้ง 9 ข้อให้ขึ้นใจ และลองหาตัวอย่างอื่นๆ มาลองประยุกต์ใช้ดูด้วย

ข้อมูล (Data)
Data : คือตัวตั้งต้น เป็นวัตถุดิบที่จะถูกนำไป process ต่อไป โดยเมื่อ Data ได้รับการ process แล้วจะกลายเป็น Information และถ้า process ต่อไปจะกลายเป็น Knowledge (องค์ความรู้) จากนั้นถ้าได้รับการ process ต่อไป จะเป็นระดับ Wisdom (นักปราชญ์)

Data ------> Information ------> Knowledge ------> Wisdom

ลักษณะของข้อมูล
ข้อมูลมีหลายประเภท โดยจะต้องมีการจำแนก (Classified) ระดับความสำคัญเป็นขั้นๆ ไป ได้แก่
1. ข้อมูลที่เปิดเผยได้ (Public Data) เช่น ชื่อ, อายุ เป็นต้น
2. ข้อมูลส่วนตัว (Private Data) จะเป็นข้อมูลที่ใช้กันภายในองค์กร หรือเป็นข้อมูลเฉพาะส่วนตัว
3. ข้อมูลลับ (Secret Data) จะเป็นข้อมูลที่ไม่เปิดเผย มีเพียบผู้เกี่ยวข้อง หรือเจ้าของข้อมูลเท่านั้นที่ทราบ โดยการทำข้อมูลให้เป็นข้อมูลลับ มีอยู่ 3 วิธี คือ ไม่เก็บไว้ที่ไหนเลย, เข้ารหัส และ ซ่อนไฟล์ ซึ่งการเข้ารหัส และซ่อนไฟล์ เป็นวิธีที่ใช้กับทางไอที

ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ อยู่ที่ไหนได้บ้าง?
1. ในอากาศ
2. สื่อต่างๆ (Media) เช่น แผ่นซีดี, USB Flash Drive, Harddisk เป็นต้น

ข้อมูลจะต้องมีการทำสำรองข้อมูลเอาไว้ (Back up) เพื่อป้องกันข้อมูลสูญหาย ซึ่งโดยธรรมชาติของข้อมูลแล้ว ถ้าไม่เก็บ ก็ต้องส่งไปยังที่อื่นๆ โดยการส่งข้อมูลให้ปลอดภัยนั้นจะต้องมีการเข้ารหัสก่อน ส่วนทางฝั่งผู้รับข้อมูลจะต้องมีกุญแจ เพื่อไขรหัส และต้องมีการแสดงตัวตนด้วย (Autenticate)

หากผู้ที่ได้ข้อมูลไปไม่ใช่ผู้รับที่แท้จริง หรือผู้รับตัวจริงทำกุญแจไขรหัสหาย สามารถแก้ไขข้อมูลที่ถูกเข้ารหัส ได้ด้วยการ crack
ถ้าเป็นข้อมูลที่ตั้งรหัสผ่านเอาไว้ 3 ตัว จะใช้เวลาประมาณ 5 วินาที ในการถอดรหัส
ถ้าเป็นข้อมูลที่ตั้งรหัสผ่านเอาไว้ 4 ตัว จะใช้เวลาประมาณ 2 นาที ในการถอดรหัส
ถ้าเป็นข้อมูลที่ตั้งรหัสผ่านเอาไว้ 8 ตัว จะใช้เวลาประมาณ 1 ปี ในการถอดรหัส ดังนั้นการตั้งรหัสผ่าน (password) ควรจะตั้งอย่างน้อย 8 ตัว

ทั้งนี้ ข้อมูลที่ดีจะต้องมีคุณภาพ และมีความมั่นคงปลอดภัย (Security) โดยการควบคุมการเข้าถึงข้อมูลนั้นโดยพื้นฐานแล้วจะใช้ User Name (ถือว่าเป็นข้อมูลที่เปิดเผยได้) และ Password (ถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล/ส่วนตัว) เพื่อแสดงตัวตน และเข้าถึงข้อมูลต่างๆ

รหัสผ่านที่ดี คือ รหัสที่ง่ายที่จะจำ แต่ยากที่จะเดา นั่นหมายถึงรหัสที่ตั้งขึ้นมานั้น คนอื่นจะเดารหัสของเราไม่ได้ แต่ตัวเจ้าของเองจะต้องจำได้ง่าย อีกทั้งการตั้งรหัสผ่านยังจะต้องมี อักษรตัวเล็ก + อักษรตัวใหญ่ + ตัวเลข ผสมเข้าด้วยกัน เป็นคำที่ไม่มีความหมาย มีความยากพอเหมาะ ไม่ต่ำกว่า 8 ตัวอักษร และเจ้าของควรจะเปลี่ยนรหัสผ่านอยู่บ่อยๆ เพื่อความปลอดภัย

นอกจากนี้การใช้รหัสผ่านแบบ single sign on (รหัสเดียว ใช้กับทุกที่) ยังจะต้องมีความระมัดระวัง และไม่ควรที่จะนำมาใช้ ควรจะตั้งรหัสการเข้าถึงข้อมูลในแต่ละแห่งให้ต่างกัน เพื่อป้องกันผู้อื่น ไม่ให้ลักลอบเข้าไปใช้ข้อมูลได้ง่ายนัก

ธนาคารใช้หลัก มี (บัตร) + รู้ (รหัส) กับบัตร ATM โดยการตั้งรหัสไว้ 4 ตัวนั้น เนื่องจากโดยปกติแล้วมนุษย์จะจำรหัสได้ประมาณนี้ อีกทั้งยังมีการตั้งกฎ ให้กดรหัสได้ 3 ครั้งมากำกับไว้ เพื่อเสริมความปลอดภัยให้กับลูกค้าที่ใช้บริการบัตร ATM ให้มากขึ้น