Thursday, July 31, 2008

ISC Chapter 7 Storage

Chapter 7 Storage
Lecture in Class


ภัยคุกคามจากไวรัส จะได้ 2 ทาง คือ
1. Storage
2. Network
**ส่วนใหญ่สาเหตุของการติดไวรัส จะมาทาง Storage และแพร่กระจายทาง Network **
วิธีการป้องกัน
• วิธีที่ดีสุด คือ จำกัดการเข้า web
• วิธีที่ง่ายที่สุดที่จะทำให้ไวรัส หยุดทำงาน คือ ปิดเครื่อง
• ส่วน Warm จะมาทาง network วิธีการ คือ ดึงสาย LAN ออก

**การป้องกันมีข้อจำกัดเยอะ และทำได้ยาก **
*************************************************************************************
ตย. การเลือกซื้อกล้องถ่ายรูปดิจิดอล ต้องพิจารณาจากอะไรบ้าง ( Input - Process / Output - Storage)
1. คุณภาพของ Output (รูปภาพ)
2. Input - Storage – ประเภทของหน่วยความจำจะขึ้นอยู่กับยี่ห้อของกล้อง เช่น
Nikon, Panasonic  SD card
Fuji, Olympus  xD picture card
Sony  Memory stick
Canon  compact flash
*************************************************************************************
รูปแบบของหน่วยความจำ / Storage
1. Magnetic Disks (แบบแม่เหล็ก) เช่น Tape, Floppy disk
2. Optical Discs (แบบใช้แสง)
3. Flash memory
4. MO Disc (แบบผสมระหว่าง Magnetic กับ Optical)
(หน่วยความจำแต่ละชนิด จะถูกพัฒนา ในเรื่องของความเร็วในการ Transfer ข้อมูล)
*************************************************************************************
ประเภทของ Storage มี 2 ประเภท
1. Storage Media หรือ medium
2. Storage Devices -- อุปกรณ์ทำหน้าที่ Reading /Writing process
Storage Medium Storage Device
1. Floppy Disk Floppy Drive
2. Hard disk Storage Media กับ Devices จะแพ็คเป็นตัวเดียวกัน แยกซื้อไม่ได้
3 USB Flash Drive เป็น Medium และ Devices เป็น ship memory ซึ่งเก็บข้อมูลโดยใช้สัญญาณไฟฟ้า แต่ถ้าเป็น Notebook ที่มี slot ให้ใส่ Flash memory card = Drive card
Transaction media – ตัวกลางหรือสื่อในการส่งข้อมูล ทั้งแบบสาย และไร้สาย
RAM - primary storage
Storage (Hard disk, CD, DVD, Tape, Floppy disk) - Secondary storage
Storage capacity (ความจุ) ถือเป็นสมบัติอันดับแรก และสำคัญของ storage
Storage ถือเป็นหน่วยความจำที่เป็น Non-Volatility คือไม่ต้องมีไฟฟ้าเลี้ยง ข้อมูลยังอยู่ ไม่หาย เช่น hard disc, Flash Drive แต่ถ้าเป็น RAM ไฟดับข้อมูลหาย
*****************************************************************************************
Storage Device
Read คือ การอ่านจาก media - transfer ข้อมูลจาก storage media มาอยู่ใน memory
Write คือ การ Transfer ข้อมูล จาก Memory (RAM) ไปไว้ใน Storage
Open file คือการ read
Save file คือ การwrite
กระบวนการ Read และ Write ต้องอาศัยอุปกรณ์ Hardware (Hard disc ก็จะมีตัวหัวอ่าน)
*****************************************************************************************
Access time
คือ ช่วงระยะเวลา (มีหน่วยเป็นวินาที) ที่เข้าถึงข้อมูลใน Storage media เมื่อเข้าถึงได้เร็ว ก็สามารถอ่านข้อมูลได้เร็ว
การเข้าถึงข้อมูลใน Hard disc กับ การเข้าถึงข้อมูลใน RAM ต่างกัน ล้านเท่า
เรียงลำดับตามความร็ว ของ Access time / transfer rate (เป็นตัวกัน) (เร็วสุด – ช้าสุด)
Register
Cache
RAM
Hard disc
Flash Memory card
CD / DVD
Tape
Floppy disc

ปัจจัยในการเลือกใช้ระหว่าง CD กับ Floppy disc
• CD มีความจุมากกว่า
• CD บางกว่า
• CD ถูกกว่า
*******************************************************************************************
Track / Sector
Track – แบ่งตามเส้นในทางตรง
Sector – แบ่งตามเส้นผ่านศูนย์กลาง
Bad sector – มีส่วนใดส่วนหนึงเสีย ไม่สามารถอ่านได้

ความจุ = จำนวน Track x จำนวน sector / ถ้าต้องการเพิ่มความจุก็ต้องเพิ่ม track หรือเพิ่มความจุในแต่ละ sector
Hard disk
• เป็นอุปกรณ์ที่มีความจุสูง มีขนาด 3.5 นิ้ว
• Platters 4 แผ่น / มีด้านบน -ล่าง = 8 ด้าน, มีหัวอ่าน 8 ตัว จะอ่านในแนวทรงกระบอก ในแนวดิ่งที่ตรงกันตามแนวเส้นผ่าศูนย์กลาง และบวกกับการหมุน 200 รอบต่อนาที ทุกจุดบน hard disc จะถูกอ่านทั้งหมด
• แต่ถ้าเก็บไฟล์กระจัดกระจาย ทำให้อ่านข้อมูลช้า เพราะหัวอ่านจะอ่านตามลำดับ
• Cylinders
• Transfer rate 300 MBps
• Access time 8.5 ms
• ควรมี free space เหลือไว้ อย่างน้อย 20% เพื่อความคล่องตัวในการใช้งาน
***********************************************************************************************
ให้ลองไปสังเกต Property ของ Hard Disk ที่เราใช้อยู่
Hard Disk ทำงานอย่างไร?
Hard Disk จะมีหัวอ่าน ซึ่งจะเคลื่อนที่ตามแนวศูนย์กลาง ในขณะเดียวกัน แผ่น Disk ก็จะหมุน


ตามรูป มี 2 platter 4 หัวอ่าน อยู่บนล่าง
ข้อมูลใน Floppy Disk มองเป็น Sector แต่ใน Hard Disk มองเป็น Cluster
Cluster คือ กลุ่มของ Sector ที่อยู่ในแนวดิ่งเดียวกัน เพราะเวลาหัวอ่านเคลื่อนที่จะไปพร้อมๆกัน ก็จะไปเจอข้อมูลที่อยู่ในแนวดิ่งเดียวกัน

Single Movement คือ เคลื่อนที่ครั้งเดียวไปทั้งแผง สามารถเข้าถึงข้อมูลทุก platter ในทรงกระบอกเดียวกัน
เพราะฉะนั้นการเก็บข้อมูล ก็จะเก็บเป็น Cluster (ในแนวดิ่ง) และถ้าเก็บเรียงกันด้วยก็จะดี เพราะเวลาหมุนก็จะอ่านข้อมูลได้ในรอบเดียว

การทำ Disk Defragmenter ก็จะทำให้ข้อมูลมาเรียงกัน ให้อยู่ใน Sector ที่ติดกัน ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้เร็ว
สรุปก็คือ การเคลื่อนที่ของหัวอ่านกับการหมุนของจาน จะทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกๆ Cluster

Head crash ระหว่างหัวอ่านกับ Platter จะมีช่องว่างอยู่ แต่ถ้ามาสัมผัสกันจะเกิดการ crash ขึ้น
Disk Cache [Cache ของ Disk]
Virtual Memory เอา HD มาทำงานเป็น RAM ได้ความจุเยอะ Memory เพิ่มขึ้น ถึงจะช้าลงก็ตาม
Disk Cache เอา RAM มาทำเป็น Disk ทำให้ทำงานได้เร็วขึ้น แต่ความจุลดลง ถ้าเราต้องเข้าถึงข้อมูลใน Hard Disk บ่อยๆ ก็จะทำงานได้ช้า จึงเอาข้อมูลนั้นมาเก็บไว้ใน RAM (เอา RAM ส่วนหนึ่งมาจำลองเป็น Disk) เมื่อต้องการใช้ข้อมูลก็จะเข้าไปหาใน Disk Cache ก่อน ถ้าไม่มีจึงเข้าไปหาใน Hard Disk
ถ้าข้อมูลที่จะใช้อยู่ใน Disk Cache ก็จะทำงานได้เร็วขึ้น 1 ล้านเท่า แต่ถ้าไม่มีใน Disk Cache ก็ทำงานที่ความเร็วปกติ

Storage Medium
1. Floppy Disk
2. Hard disk
3 USB Flash Drive

Storage Device
1. Floppy Drive
2. Storage Media กับ Devices จะแพ็คเป็นตัวเดียวกัน แยกซื้อไม่ได้
3. เป็น Medium และ Devices เป็น ship memory ซึ่งเก็บข้อมูลโดยใช้สัญญาณไฟฟ้า แต่ถ้าเป็น Notebook ที่มี slot ให้ใส่ Flash memory card = Drive card

ก่อนหน้านี้เราเรียนเรื่อง Memory Cache
คำสั่งหรือข้อมูลที่ใช้บ่อยจะถูกเก็บไว้ใน RAM ระหว่างนั้นก็จะทำสำเนาไว้ที่ Cache Memory ด้วย
ถ้าข้อมูลที่จะใช้ครั้งต่อไปมีอยู่ใน Cache แล้ว ก็ไม่ต้องไปดึงจาก RAM เพราะการเข้าถึงข้อมูลใน Cache จะเร็วกว่าใน RAM ถ้าไม่เจอใน Cache จึงไปหาใน RAM (แต่ถ้าไม่เจอใน RAM แสดงว่ายังไม่ได้ Load Program)


ทั้ง Disk Cache และ Memory Cache เป็นหน่วยความจำในตระกูล RAM
การทำ Cache จะต้องเอาหน่วยความจำที่เร็วกว่ามาทำเป็น Cache ของหน่วยความจำที่ช้ากว่า
เช่น เอา Hard Disk (เร็วกว่า) มาทำเป็น Cache ของ Flash Drive (ช้ากว่า)

• Cache ช่วยเพิ่มความเร็ว
• Virtual Memory ช่วยเพิ่มความจุ แต่ยอมช้า ใช้ในกรณีที่ RAM ไม่พอที่จะ Run Application

Buffer เป็นที่พักข้อมูลชั่วคราว ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับ RAM ใน Hard Disk บางรุ่นจะมี Buffer มาด้วย
RAID (Redundant Array of Independent Disks)เป็น Hard Disk ที่มีความน่าเชื่อถือสูงขึ้น เพราะมีส่วนที่เก็บข้อมูลแยกกันย่อยๆ อาจมีความซับซ้อนบ้าง แต่ก็เพื่อความน่าเชื่อถือ เช่น มีข้อมูลบางส่วนเสียหายก็มี Backup อยู่ ใช้กับเครื่อง Server แบบ Duplicate มี Hard Disk 2 ก้อน Size เดียวกัน แต่ใช้เหมือนก้อนเดียว แต่ต้องมี RAID Controller ก็จะมีข้อมูล Backup เมื่อ Hard Disk เสียหาย แต่ไม่ได้ช่วยกู้ข้อมูลจากการลบ เพราะต้องใช้ Software ในการกู้ตราบใดที่ยังไม่ได้มีการเขียนทับ

Miniature Hard Disk
Hard Disk ขนาดเล็ก ขนาด 1.8” ก็จะอยู่ตามอุปกรณ์ขนาดเล็ก ความจุก็จะน้อยด้วย (แต่ก็มากกว่า Flash Drive)
Hard Disk Notebook ขนาด 2.5”
Hard Disk PC ขนาด 3.5”
External Hard Disk

สาเหตุที่ต้องใช้ External Hard Disk
1. ต้องการเคลื่อนย้ายข้อมูลที่มีขนาดใหญ่กว่าความจุของ Flash Drive
2. ต้องการขยาย Hard Disk ของเครื่อง แต่ไม่สามารถติดตั้งภายในได้

Disk Controller อยู่บน Main board
1. EIDE (Enhanced Integrated Drive Electronics) แบบเก่า ใช้คู่กับ CD/DVD Drive เป็น PATA (Parallel Advanced Technology Attachment)
2. SATA (Serial Advanced Technology Attachment) ความเร็วสูงขึ้น เครื่องรุ่นเก่าๆจะไม่รองรับ SATA
3. SCSI ใช้งานกับเครื่อง Server

Online Storage
เก็บข้อมูลโดยที่ไม่ต้องรู้ว่า Hard Disk อยู่ที่ไหน โดย Web Hosting จะให้แถมบริการนี้มาด้วย
Floppy Disk หรือเรียกว่า diskette
อาจจะยังให้กับระบบหรืออุปกรณ์บางตัวที่ยังใช้สืบทอดกันมาก็ยังใช้อยู่ (Legacy) แต่ไม่ค่อยมีใช้กับ PC และ Notebook แล้ว

************************ BreaK*********************************************

Storage เราพูดถึงไหนเมื่อสัปดาห์ก่อน (พูดถึง Floppy Disk) ถ้าปัจจุบันยังใช้ Floppy disk อยู่คุณนึกออกไหมว่าจะใช้เมื่อไหร่ หรือยังไงก็จะไม่ใช้ เช่นถ้าอาจารย์จะแจกตัวอย่างข้อสอบใน Floppy disk คุณยังอยากจะใช้ Floppy disk อยู่หรือเปล่า คราวที่แล้วจำถึงคุณสมบัติได้ไหมคุณสมบัติที่เราสนใจคือ Storage Capacity ความจุเท่าไหร่ที่เราคิดว่าเหมาะสมกับความต้องการการใช้งาน Storage Capacity ตัวแรก Storage ที่เป็น secondary storage หลัก ๆ คือ Hard disk เป็นตัวเก็บข้อมูลถาวรไฟดับก็ไม่เป็นไร มี secondary disk storage ตัวไหนบ้างที่ไฟดับข้อมูลหาย ไม่มีหรอก ยังไง Primary คือ Ram แล้ว Cash ถือเป็น Primary หรือไม่ แต่มันก็ทำงานเหมือน Primary Storage เหมือน Primary Memory จะบอกมันก็ไม่เกี่ยวกันเลยก็คงไม่ใช่ ถ้าเราบอกว่า Memory มันมี Primary Secondary บางแห่งอาจจมี Tertiary เคยได้ยินหรือป่าวอันดับสาม ตติยภูมิ ไล่ไปก็จะมี ปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิก็มี อย่างหนังสือบางเล่มตัวมีเดีย เช่น พวก CD Floppy Disk คือพวก Storage ที่เคลื่อนย้ายได้ เป็น Portable หรือ external บางทีก็เรียกได้เหมือนกัน แต่บางตำราก็เหมาหมดเป็น Secondary Storage

คือปกติถ้า Storage ที่เป็น Disk แน่นอนคือ Storage ที่เก็บข้อมูลถาวรถ้าเก็บแล้วหายคือเก็บข้อมูลไว้ที่เมมโมรี่ คุณสมบัติอันหนึ่งคือเรื่องของ Access Time เข้าถึงข้อมูลได้เร็วหรือช้า ที่นี คราวที่แล้วที่ผมพูดถึงมี Access Time และก็มี Transfer Rate คุณเข้าใจว่ายังไงได้ลองไปทำความเข้าใจหรือยังว่ามันคืออะไร หัวข้อคือ Access Time แต่ในนี้พูดถึง Transfer rate ไม่ได้พูดถึง Access Time คุณเข้าใจว่าไง อันหนึ่งเข้าถึงข้อมูลอีกอันหนึ่งถ่ายโอนข้อมูล ไม่เหมือนกันแต่สัมพันธ์กัน อย่างฮาร์ดดิสหมุน ด้วยความเร็วในการหมุนของฮาร์ดดิสมีผลต่อแอกเสสไทม์ ถ้าเราไปดูเสปคของฮาร์ดดิสที่มีความเร็ว 5400 กับ 7200 แอก ต่างกัน คือฮาร์ดดิสที่มีความเร็วสูงการเข้าถึงขอมูล ณ จุดนั้น ก็จะเร็วตาม ส่วนการทรานเฟอร์ มันก็ต้องเกี่ยวกับระบบบัส การรับส่งข้อมูลเป็นการสื่อสารแบบหนึ่งในระหว่างอุปกรณ์ สังเกตุไหมว่าหน่วยความจำที่อยู่ใกล้ ซีพียู คือ Register มา Cash มา RAM มา Hard Disk แล้วก็ไป CD

สังเกตุไหมว่า หน่วยความจำที่อยู่ใกล้ซีพียู ความจุน้อยความเร็วสูงแต่ถ้าอยู่ไกลความจุมากความเร็วต่ำ จริง ๆ แล้วซีดีมีความจุมากกว่าฮาร์ดดิส ฮาร์ดดิสใช้กี่ก้อน 1 ก้อน แต่ซีดีคุณมีได้กี่แผ่นได้เยอะกว่า 1 แผ่น วันก่อนผมถ่ายวีดีโอไว้ในเทป แล้วผมก็แปลงไฟล์เป็น .AVI ไฟล์ประมาณ 7 GB คราวนี้จะ Copy ไปไว้ในที่ที่อื่นแต่ทำไม่ได้ ก็เลยต้องใช้พาติชั่นเมจิกช่วยนิดหน่อยเลย Copy ได้ ทราบหรือไม่ว่าทำไมผมไม่สามารถ Copy ไฟล์ได้ เพราะ Windows Memory มันรู้จักแค่ 4 GB คือ 2 ยกกำลัง 32 ก็คือ 4 GB ถ้าระบบโฟล์เป็น FAT 32 ก็จะก๊อปไฟล์ได้ไม่เกิน 4 GB ก็เลยต้อง Create Partition เป็น NTFS ก็เลย ก๊อปได้มากกว่า 4GB ได้

ให้ไปดู Hard Disk ตัวเองว่ามีโครงสร้างอย่างไร ตกลงเราใจความหมายของ Disk Cash ก่อนหน้านั้นเรามีคำว่า Cash Memory อันนี้ Disk Cash พอเข้าใจความหมาย แล้วมีคำว่า Buffer เราได้ยิน Buffer ที่ไหนบ้าง Hard Disk เขาเรียกว่า Buffer เขาไม่ได้เรียกว่า Cash หรือปริ้นเตอร์ก็มีบัฟเฟอร์ หลัก ๆ คือมันเป็นที่พัก ด้วยหลักที่ว่าพักแล้วอาจจะมีความสะดวกรวดเร็วในการเข้าถึง เดี๋ยวนี้ Hard disk เริ่มมีจำหน่ายเป็น Hard Disk เอกเทอนอล ที่เราไม่ต้องซื้อ Hard Disk Internal แล้วต้องมาซื้อกล่อง คุณสมบัติมากขึ้นแต่ราคาถูกลง ส่วนเรื่องความเร็ว ก็ลองเทียบกันดู ส่วนเรื่องราคาเดี๋ยวนี้ Hard disk แบบ External เดี่ยวนี้ราคาถูกลง วันก่อนผมไปดู Hard Disk 1 TB ก็ราคาไม่ ถึงหมื่น สมัยก่อนซื้อ Hard Disk 30 MB ราคา แปดพัน เดี๋ยวนี้ 1 TB ราคาไม่ถึงหมื่น

เมื่อไหร่คุณจะมี package Hard Drive ภายนอก หรือว่ามีแค่ Flash Drive ก็พอ หรือขึ้นอยู่กับปริมาณข้อมูล อย่าง Hard Disk 120 GB เราจะเก็บโปรแกรมเยอะหรือไม่ หลัก ๆ แล้ว Hard Disk ที่อยู่ประจำเครื่องเราจะเก็บอะไร ก็มี Program กับ DATA แล้ว Data ที่เราไม่ได้ใช้เลยจะอยู่ที่ Hard Disk หรือป่าว เราจะเก็บไว้หรือไม่ เอาเป็นว่าถ้าโปรแกรมที่เราไม่ใช้เลย อย่างสองปีใช้ครั้งเราจะเก็บไว้หรือป่าว แต่ถ้าพื้นที่เราเหลือก็ไม่มีปัญหาถ้าไม่ทำให้ Performance ลดลง

เมื่อ Floppy Disk หายไปแล้วอะไรมาแทน ก็มี CD DVD Flash Drive แล้วแต่กรณี ถ้าเมื่อก่อน Software ที่มากับหนังสือก็จะเป็น Floppy Disk เดี๋ยวก็จะเป็น CD ถ้าเป็น เกมส์ CD ก็อาจจะหลายแผ่น ก็ต้องเป็น DVD ถ้าให้นักศึกษาส่งงานส่ง Project ก็ต้องมี CD ข้อมูลของ Project ต่อมา Optical Disk จะเป็นข้อมูลดิสที่เป็นตัวซี ดิสกลม ๆ พูดถึงซีดีทำงานโดยการบันทึกข้อมูล 0 กับ 1 มันเก็บ Digital Binary พอแสงกระทบ มันจะยังไงมันมีสะท้อนกับไม่สะท้อน สะท้อนเป็นหนึ่ง ไม่สะท้อนกลับเป็น ศูนย์ มันจะมีตัวเซ็นเซอร์รับแสง ว่ามีแสงเข้ามาหรือเปล่า ถ้าไม่มีแสงเป็นศูนย์ถ้ามีเป็นหนึ่ง

ตรงนี้เป็นส่วนที่ต่างจาก Hard disk Hard disk เราแบ่งเป็น Track เป็น Sector แต่ซีดีม้วนมาจากด้านใน สังเกตุจากการที่เรา write แผ่น ซีดี จะเริ่มจากด้านใน ออกมายังด้านนอกเราสามารถไรท์แผ่นซีดีได้กี่ครั้งขึ้นอยู่กับการไรท์ครั้งแรก เราจะสั่งให้เป็นแบบมัลติเซกชั่น เมื่อไหร่เราควรจะเป็นมัลติเซกชั่นถ้าเราไรท์ไว้ใช้เองก็ควรจะเป็นหลาย ๆ เซกชั่นแต่ถ้าไรท์ให้คนอื่นไรท์ก็ปิดไปเลย แต่ละเซกเตอร์มันก็จะไปเรื่อย ๆ นี่คือที่มันต่างกันอยู่ ซีดีรอมคือแผ่นที่มีข้อมูล Media อยู่ด้านในจะเรียกว่า ซีดีรอม แต่แผ่นที่เป็นแผ่นเปล่าจะเรียกว่า CDR CDRW คราวนี้ Drive ความสามารถในการ Transfer ขึ้นอยู่กะตัวไดรท์ เพราะไดรท์มีอินเตอร์เฟทที่เชื่อมอยู่กับระบบและความสามารถของไดรท์มันอ่านได้เร็วแค่ไหนมันหมุนได้เร็วหรือ Transfer ได้เร็วขึ้นอยู่กับตัวไดรท์ Transfer ความเร็วเป็น 48 X หรือ 50 กว่า ส่วนใหญ่ Note Book ความเร็วจะต่ำกว่า PC นิดหน่อย ยกตัวอย่างเช่น Hard disk ของ Note book ความเร็วรอบส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 5400 ส่วน PC จะอยู่ที่ 7200

CD ที่มีความจุ 700 MB ถึง 800 MB แต่ปกติอยู่ที่ 700 MB อยู่ที่ 80 นาที ถ้าอัด Audio ซีดีก็มีมากมาย หรืออย่าง CDR จะWrite ก็มีหลาย Format ก็ขึ้นอยู่กับ Drive ของเราที่จะไรท์ อย่างเช่นถ้าเราจะซื้อเครื่องเล่น เราก็ต้องดูเสปคว่ามันอ่านแผ่นอะไรได้บ้าง อย่างเช่นเมื่อก่อนเครื่องเล่นจะอ่านได้แต่ Audio อย่างเดียวถ้าเราเอาแผ่นหนังใส่เข้าไปก็จะอ่านไม่ได้ DVD เมื่อสมัยแรกย่อมาจากคำว่า Digital Video Disk เป็นแผ่นสำหรับภาพยนต์ หลังจากนั้นการใช้งานหลากหลายขึ้น เขาก็เลยเปลี่ยน Video มาเป็น Versatile ส่วน Blueray ปัจจุบันเป็นของค่ายของ Sony HDDVD เป็นของ Toshiba แต่ Toshiba ก็ยอมแพ้ไปแล้ว

ปัจจุบันถ้าพูดถึง DVD ที่มีความจุถึงก็จะนึกถึง Blue ray อย่างเดียว ทำไม CD มาเป็น DVD แล้วก็มาเป็น Blue Ray เพราะอะไร ถ้ามองกันเรื่องหนังก็เพื่อที่จะให้คุณภาพ สี เสียง และภาษาที่ได้มากขึ้น ถ้าเรามีจอทีวีที่บ้าน 7 นิ้ว แล้วมาเปิด CD กับ DVD ก็ไม่ต่างกัน ถ้าจอใหญ่ขึ้นความสามารถของเครื่องเล่นและแผ่นก็ต้องดีขึ้น CD และ DVD มีสองหน้าแต่ส่วนใหญ่เราจะใช้แค่หน้าเดียว ในแต่ละหน้าจะบันทึกข้อมูลได้ 2 Layer ถ้าบันทึกข้อมูลหน้าเดียวสูงสุด 4.7 GB อันนี้เป็นแบบ DVD 5 ถ้า 8.5 GB จะเป็น DVD 9 ต่างกันอย่างไร 5 กับ 9 ความจุ 9 จะจุได้มากกว่าภาพ Video ความละเอียดจะดีกว่า ปกติส่วนใหญ่ Blue ray จะประมาณ 50 GB ใช้หน้าเดียว มี 2 Layer

คราวนี้เวลาเราไปซื้อแผ่น CDR เราจะเลือกซื้อ + R หรือ – R ถ้าเป็นสมัยก่อน – Rจะใช้สำหรับ Write หนัง เพราะเครื่องเล่มตามบ้านส่วนใหญ่จะอ่านแต่แผ่นที่เป็นประเภท – R ส่วน + R จะใช้สำหรับ Write ข้อมูล เปิดอ่านใน Computer แต่สมัยนี้เครื่องอ่านสามารถอ่านได้หมดทั้ง +R และ –R เทปหลัก ๆ จะใช้ Backup เพราะเก็บข้อมูลได้เยอะราคาถูก จริง ๆ เทปก็มีมาตรฐานเยอะแบบพื้น ๆ ก็คือ DAT ถ้าจะซื้อเทปก็ต้องดูว่า มีมาตรฐานอะไรมีทั้งแบบ DAT มีทั้ง DLT มีหลายตัว ความจุประมาณ 40 – 80 GB ถ้า Write ต่อเทปก็ได้ไม่น้อย ถ้าจะ Backup ขนาด 1 TB เราก็ต้องมีตัวที่สามารถใส่ Tab ได้เยอะ ๆ คือตัว Automatic Tape Loader เทปเก็บข้อมูลแบบซีเควนเชียล ตามลำดับ เลยเหมาะสำหรับการเบคอัฟถ้าเราเอาเทปมาทำอย่างอื่นก็คงไม่เหมาะ

พวก Hard disk CD เข้าถึงแบบ Direct แต่เทปต้องทำงานม้วนตามลำดับ Storage ตัวต่อไป PC CARD PCMCIA แต่ปัจจุบันจะเรียก PC Card ถ้าจะเพิ่มความสามารถของ PC ก็ต้องซื้อ Card มาเสียบเพิ่ม เช่น Lan Card , TV Card เป็นต้น ถ้าเป็น NB ก็ต้องเป็นแบบ PC CARD ส่วนใหญ่ราคาค่อนข้างสูง อย่างเช่นเครื่อง Notebook ที่ไม่มี Wireless Lan ก็ต้องไปซื้อมา PC Card มาเสียบ ราคาประมาณ 4000 บาท ก็ไม่คุ้ม

ต่อไปเป็น Storage ขนาดเล็กอื่น ๆ ยี่ห้อดัง ๆ ก็มี Sandisk ส่วน Compaq Flash ก็ใหญ่ขึ้นมาหน่อย Card แต่ละอย่างต่างกันอย่างไร ถ้าให้ตัดสินใจเลือกในสิ่งที่ดีที่สุดจะเลือกอะไร ถ้าเป็น SD Card ก็จะใช้ในกล้อง Digital มากที่สุด เช่น Cannon Panasonic Samsung ถ้า XD Card เฉพาะกล้อง Fuji และ Olympus ถ้า Compaq Flash ก็จะเป็นกล้อง Cannon รุ่นใหญ่หน่อย Memory Stick ก็จะเป็นของ Sony เป็นหลัก ส่วนใหญ่ถ้าจะเอามาใช้ใน PC หรือ Note Book ก็ต้องใช้ Card Reader

ถ้าจะบอกว่า Flash Memory Card ของข้าพเจ้าเสปคเป็นอย่างไร เช่น ความจุสูง Transfer Rate Access Time ราคาถูก แต่ถ้าขนาดเล็กเกินไปก็ไม่ดีหายง่าย บางครั้งก็ใส่แล้วจม Card Reader ไปเลย เดี๋ยวนี้กล้องถูก ๆ ก็สามสี่พัน SD Card ดี ๆ หน่อยก็หลายพัน บางที Card กับกล้อง ราคาเท่ากัน สมัยก่อน ซื้อกล้องเขาแถม Card มาให้ให้ 8 MB แล้วมันทำอะไรได้บ้าง ก็ถ่ายได้ 2 รูป ถ้ากล้องละเอียด ๆรูปหนึ่งก็ประมาณ 3 – 4 MB

Flash Memory Card ทำงานอย่างไร จำเป็นหรือไม่ที่เราต้องมี Card Reader เช่น Notebook คิดว่าจำเป็นหรือไม่ ถ้ามีก็สะดวก ถ้าไม่มีก็ต้องต่อสายจากล้องเอา Flash Drive ปัจจุบันมีความจุเท่าไหร่ เมื่อสมัยก่อน 64 GB ก็มี แต่ราคาหลายหมื่นบาท จริงๆ แล้วอะไรที่มา แทน Floppy Disk บางส่วนคือ CD บางส่วนคือ Flash Drive ถ้าเราจะกลับไปใช้ชีวิตแบบที่ไม่มี Flash Drive ต้องได้

เช่นข้อสอบผมจะออก ถ้าคุณกลับไปใช้ชีวิตแบบไม่มี Flash Drive คุณจะใช้ชีวิตแบบใดให้รู้สึกว่ามีความสะดวกสบายเหมือนเดิม ขาดมันไม่ได้เลยเหรอ มันดีขนาดนั้นเลยเหรอ ต้องใช้ชีวิตอยู่ให้ได้นะ แต่ถ้ามันมีอยู่แล้วในปัจจุบันเราก็ยอมรับว่ามันสะดวก แต่เราก็ต้องอยู่ได้ Smart Card เป็น Storage ชนิดหนึ่ง เก็บไว้ในชิป Smart Card มีสองแบบ แบบที่มี Processor กับ ไม่มี Processor ดูลายก็พอดูออกว่ามีหรือไม่มี แบบที่ไม่มีราคาประมาณ 30 กว่าบาท Smart Card ที่มี Processor ถือว่าเป็น Computer หรือไม่ มี หน่วยความจำ มี Input Output Storage ครบ ถือว่าเป็น Computer หรือไม่ สรุปคือไม่เป็นเพราะตัวมันเองทำงานไม่ได้ต้องใช้เครื่องอ่าน Smart Card

Micro film เดี๋ยวนี้ก็เลิกใช้แล้ว เพราะเดี๋ยวนีสามารถ Scan เป็น Image เก็บเป็น File อายุการใช้งานของ Micro film ได้เป็นร้อยปี แต่ก็ขึ้นอยู่กับการเก็บด้วยทั้งอุณภูมิ ความชื้น มีผลเหมือนกัน แต่มีข้อแม้ต้องขึ้นอยู่กับตัว high quality media เช่นถ้า Princo จริงก็อายุอาจจะนานหน่อย ถ้าของปลอมอายุจะสั้น บทต่อไปก็จะเป็นรายละเอียดแนะนำขนาด Hard disk ที่ควรจะใช้ในแต่ละที่ ก็เป็นแค่ตัวอย่างไม่ได้หมายความว่าถ้าไม่ทำตามเขาแล้วจะผิด อย่าง Mobile Hard Disk ก็มีขนาด 100 GB Power User 1.5 TB

ปัจจุบัน Hard disk 1 ก้อน ปัจจุบันมีขนาด 1.5 TB ถ้าคุณมี PC คุณจะมี Hard Disk 1 ก้อน หรือ 2 ก้อนดี จะซื้อ 1 TB ก้อนเดียว หรือ 500 GB 2 ก้อน จะทำเป็น Raid ดีไหม Raid 0 ก็ได้ มี Hard Disk 2 ก้อน ช่วยอะไรได้บ้าง ความเร็วสูงขึ้นไหม 2 ก้อนแบบแยกต่างหาก กับ2 ก้อนทำเป็น raid มีคนบอกว่าทำเป็น raid จะเร็วขึ้น คือเราก็อยากจะได้คือ 1 ความเร็ว 2 คือน่าเชื่อถือ

large business แนะนำให้ใช้ 40 TB เขามี Network Storage Server มี เป็น SAN (Storage Area Network) อย่างลาดกระบังเราก็ไม่ใหญ่พอที่จะใช้ SAN ใช้เป็น NAS (Network Attached Storage) มีบริษัทใครใช้ SAN บ้าง (CAT Telecom มี) เพื่อประสิทธิภาพควรใช้ SAN อย่างลาดกระบัง ก็ไม่ใช้งานอะไรมากมายก็ไม่จำเป็นต้องมี เดี๋ยวหลังเบรคจะพูดในภาพรวม ทุกคนต้องช่วยกัน ไหน ๆ ก็สรุปทีเดียวเลยแล้วกัน

Break.................................

ISC Chapter 5 Input

ISC Ch5. Input อุปกรณ์รับเข้า
Lecture in Class


Input เป็นเทคโนโลยีรับเข้า โดยรับจากสิ่งแวดล้อมเข้าสู่คอมพิวเตอร์
สิ่งที่นำเข้าสู่คอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น
 ข้อมูล - - - ข้อมูลที่นำเข้าเป็นข้อมูลดิบ, ภาพที่เกิดจากการสแกน, เสียงผ่านไมโครโฟน, วิดีโอผ่านกล้องวิดีโอ
 คำสั่ง
สิ่งเหล่านี้นำเข้าสู่ Memory ของคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็น ram หรือ ฮาร์ดดิสก์ อย่างไรก็ตามเริ่มต้นเก็บไว้ที่ memory ก่อนแล้วค่อยเก็บไว้ที่ฮาร์ดดิสก์

***กล้องดิจิตอล เป็นอุปกรณ์อินพุท เนื่องจากนำภาพเข้าสู่คอมพิวเตอร์
***ไมโครโฟน เป็นอุปกรณ์อินพุท เพราะนำเสียงเข้าระบบ
***หนังสือบางเล่มกล่าวว่า เซ็นเซอร์ เป็นอุปกรณ์อินพุทด้วย
***ข้อมูล Input ดีก็ทำให้ output มีประสิทธิภาพด้วย
***ความถูกต้อง และรวดเร็ว มีความสำคัญที่สุดสำหรับข้อมูล เช่น การบันทึกข้อมูลราคาด้วย Bar Code จะเหมาะสมกว่าการบันทึกข้อมูลด้วย Keyboard ซึ่งจะช่วยลดข้อผิดพลาดของข้อมูล สะดวก รวดเร็ว และข้อมูลที่ได้มีความน่าเชื่อถือ อีกด้วย


อุปกรณ์ Input แบ่งออกเป็น
• Keyboard (เป็นอุปกรณ์ input ถ้ามีการใช้งานไม่คล่องจะทำให้ช้าลง)
Cordless keyboard - - - อุปกรณ์ที่ใช้ต่อพ่วงระยะใกล้ ถือเป็น wireless อย่างหนึ่ง ซึ่งมีทั้งตัวส่งและตัวรับ ในปัจจุบันมีคีย์บอร์ดที่เป็นบลูทูธและอินฟราเรด ข้อดี คือ ไม่เกะกะ ดูสวยงาม และได้ระยะที่ไกลขึ้น ข้อเสีย มีราคาแพง
• Mouse
เมาส์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันเป็น Optical mouse เป็นเมาส์ที่มีผิวมันสะท้อนแสง ดังนั้นจึงต้องมี mousepad มาวาง และมีเมาส์แบบใหม่ เรียกว่า laser mouse เป็นเมาส์ที่มีราคราแพง
• Trackball (มักจะอยู่บนคีย์บอร์ดหรืออุปกรณ์)
• Touchpad ปัจจุบันมีการพัฒนาสามารถ scroll เลื่อนหน้าได้
• Touch Screen ส่วนมากใช้กับ Kiosks
• Digital Pen
• Game controller เป็นอุปกรณ์ในการเล่นเกมให้เหมือนจริง
• Voice Input เป็นการนำเสียงผ่านลำโพง และมีอีกเทคโนโลยี คือ Voice Recognition การรู้จำเสียง เช่น โทรศัพท์มือถือที่สามารถโทรออกด้วยเสียง ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีนี้ได้มีการพัฒนาก้าวหน้าถึงขั้นจำว่าใครพูดด้วย (รู้เจ้าของเสียงพูด)
• Digital camera เป็นอุปกรณ์ที่นำภาพ และวิดีโอเข้าสู่คอมพิวเตอร์ มีขนาดเล็ก กะทัดรัดพกพาได้ สะดวก หลักการพิจารณาเลือกซื้อ ได้แก่ ค่าความละเอียด ความละเอียดของภาพ เป็นคุณสมบัติชนิดหนึ่งที่ทำให้ราคากล้องนี้แตกต่างกันออกไป โดยความละเอียดพื้นฐานปัจจุบันอยู่ที่ 7 ล้านพิกเซล
• Scanner คือ อุปกรณ์ต่อเชื่อมคอมพิวเตอร์แบบกราฟิก ที่มีหน้าที่ ในการเปลี่ยนแปลงภาพต้นฉบับ (รูปถ่าย ตัวอักษรบนหน้ากระดาษ ภาพวาด) ให้เป็นข้อมูล เพื่อให้คอมพิวเตอร์ สามารถนำข้อมูลดังกล่าว มาใช้ประโยชน์ ในการแสดงผลที่หน้าจอ ทำให้สามารถแก้ไข ตกแต่งเพิ่มเติม และจัดเก็บข้อมูลได้ แบ่งออกเป็น

- Flatebed Scanner สแกนเนอร์แบบตั้งโต๊ะที่ปัจจุบันเราเห็นกันได้ทั่วไป สำหรับสแกนวัตถุสะท้อนแสง (Reflective) เช่น เอกสาร ภาพถ่าย เป็นต้น ส่วนการสแกนวัตถุโปร่งแสง (พวกสไลด์ ฟิล์ม หรือแผ่นใส) นั้นจำเป็นต้องซื้อออปชั่นเพิ่มเติม (บางรุ่นบางยี่ห้อก็อาจจะขายพร้อมออปชั่นนี้เลย) สแกนเนอร์ชนิดนี้เหมาะสำหรับกลุ่มผู้ใช้โฮมยูส และสำนักงานออฟฟิศทั่วไป
- Sheetfed Scanner สแกนเนอร์ชนิดนี้จะมีลักษณะเด่นของถาดหรือช่องป้อนกระดาษ เพื่อให้สามารถสแกนเอกสารในปริมาณมาก ๆ ได้สะดวกและรวดเร็ว ซึ่งส่วนใหญ่วัตถุที่จะสแกนจะเป็นเอกสาร หรือกระดาษเรียบบางส่วนใหญ่ เพื่อให้สามารถป้อนกระดาษผ่านเครื่องสแกนเนอร์ไปได้ โดยเฉพาะสนับสนุนงานด้าน OCR เป็นอย่างดี เนื่องจากช่วยให้จัดเก็บเอกสารและข้อมูลจากเอกสารได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น
- Drum Scanner เป็นสแกนเนอร์ที่อาศัยเทคโนโลยีล้อหมุนที่ให้คุณภาพสูง และมีราคาแพง ซึ่งสแกนเนอร์ชนิดนี้จะใช้อุปกรณ์ PhotoMultiplier Tubes (PMTs) แทนการใช้ CCD จึงให้ผลลัพธ์ด้าน Dynamic range ดีมาก การสแกนจะต้องผนึกติดบนวงล้อที่เรียกว่า Drum เมื่อสแกนจะหมุนดรัมอย่างรวดเร็วพร้อมกับเคลื่อนอุปกรณ์ PMTs เหมาะสำหรับองค์กร สำนักงานขนาดใหญ่ที่ต้องการสแกนอย่างรวดเร็ว และได้คุณภาพสูง
- Handheld Scanner เป็นสแกนเนอร์มือถือที่ในช่วงแรก ๆ ได้บุกตลาดบ้านเราอยู่หลากรุ่นหลายยี่ห้อ และมีราคาถูก แต่ปัจจุบันไม่มีให้เห็น และไม่เป็นที่นิยมกันอีกต่อไป เนื่องจากต้องสแกนโดยอาศัยการเคลื่อนจากมือของผู้ใช้ ซึ่งในบางครั้งอาจจะทำให้สัดส่วนของภาพที่ได้ผิดเพี้ยน หรือไม่สมบูรณ์ อีกทั้งให้ความละเอียดคมชัดที่น้อย ประกอบกับในช่วงหลัง ๆ นี้สแกนเนอร์แบบตั้งโต๊ะมีราคาค่อนข้างถูกมากแล้ว จึงทำให้สแกนเนอร์แบบมือถือเลือนหายไปโดยปริยาย

• Optical reader - - - ให้นึกถึงตัวอักษรที่อยู่บนเช็ค
• Barcode reader การใช้งานบาร์โค้ด เนื่องจาก ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและรวดเร็ว (Universal Product Code – UPC เป็นมาตรฐานรหัสที่ไม่ซ้ำกันในแต่ละบาร์โค้ด) สำหรับเลขเพี้ยนเกิดจาก บริเวณที่มีบาร์โค้ดยับ บู้บี้
• RFID เป็นการอ่านข้อมูลผ่านคลื่นวิทยุ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ Active ได้ไกลกว่า และใช้แบตเตอรี่ และ Passive ติดกับสิ่งของ
• POI (Point Of Sale) เครื่องแคชเชียร์ในร้านค้า
• Terminal เป็นส่วน Input ของระบบ ในการกดเอทีเอ็ม Output คือ สลิป และถ้าเราไม่เอา สลิป ในส่วนที่แสดงผลเป็น Output
• Biometric Input เช่น เครื่องสแกนลายนิ้วมือ ซึ่งเป็นการระบุ Identify (เป็นการระบุตัวตน เช่น การใส่ user name) และ Authenticate (เป็นการพิสูจน์ว่าเป็นบุคคลนั้นจริง เช่น การใส่รหัสผ่าน) นอกจากนี้ยังมีการนำไปประยุกต์ใช้กับเครื่องโน้ตบุ๊ก เป็นต้น

Wednesday, July 9, 2008

Summerize Sound Clip Chapter 5

DCM Summerize Sound Clip
Chapter 5: Multiplexing and Data Compression


ในช่วงท้ายของบทที่ 4 เราได้พูดถึงรูปแบบการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน 2 รูปแบบ นั่นก็คือ การเชื่อมต่อแบบ Point-to-point และ การเชื่อมต่อแบบ multipoint

การเชื่อมแบบ Point to Point จะเป็นการเชื่อมต่อโดยใช้สาย 1 เส้น ในการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ฝั่งส่ง เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ฝั่งรับ หากเราต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้ง 2 ฝั่งสามารถรับส่งข้อมูลได้พร้อมๆ กัน จำเป็นจะต้องมีสาย 2 เส้น โดยเส้นหนึ่งจะใช้สำหรับการส่งข้อมูลระหว่างฝั่งส่งไปยังฝั่งรับ และอีกเส้นหนึ่งใช้สำหรับการส่งข้อมูลระหว่างฝั่งรับไปยังฝั่งส่ง

การเชื่อมต่อแบบ Multipoint เป็นการเชื่อมต่อที่ใช้สาย 1 เส้นเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นผู้ส่งข้อมูลได้มากกว่า 1 เครื่อง ซึ่งประโยชน์ที่ได้รับคือ ทำให้ประหยัดสายนำสัญญาณไปได้ โดยสามารถแชร์สายนำสัญญาณ 1 เส้นในระหว่างคอมพิวเตอร์ที่ต้องการส่งข้อมูลได้มากกว่า 1 เครื่อง

ในบทนี้เราจะมาพูดถึงอีกเทคนิคหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ในการแชร์สายนำสัญญาณระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ส่งข้อมูลได้มากกว่า 1 อุปกรณ์พร้อมๆ กัน เรียกว่า การทำ Multiplexing

เนื้อหาที่จะพูดในบทนี้
1. เนื้อหาทั่วไปของการทำ Multiplexing
2. เทคนิคของการทำ Multiplexing หลักๆ มีอยู่ 3 วิธีด้วยกัน คือ Frequency Division Multiplexing, Time Division Multiplexing และ Statistical – Time Division Multiplexing

ในกรณีของการเชื่อมต่อแบบ point to point สายนำสัญญาณ 1 เส้น จะเอาไว้ใช้ส่งสัญญาณจากเครื่องที่เป็นผู้ส่งข้อมูลไปยังเครื่องที่เป็นผู้รับข้อมูลเท่านั้น ถ้าเราต้องการจะให้เครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่อง สามารถส่งสัญญาณเข้าไปในสายนำสัญญาณเส้นเดียวกัน นั่นหมายความว่า ช่องนำสัญญาณจะต้องนำส่งข้อมูลจากเครื่องหลายๆ เครื่องเข้าไปในช่องสัญญาณได้พร้อมๆ กัน

วิธีการที่จะทำให้เราสามารถแชร์สายนำสัญญาณระหว่างเครื่องที่เป็นผู้ส่งข้อมูลหลายๆ เครื่องพร้อมกันได้ เราเรียกว่า วิธีการ Multiplexing ซึ่งเป็นวิธีการอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้เราสามารถที่จะแชร์ช่องนำสัญญาณ หรือสายนำสัญญาณได้ นอกเหนือจากการเชื่อมต่อแบบ multipoint ที่ได้พูดไปในบทที่ 4 โดยวิธีการ Multiplexing มี 3 วิธี

ภาพสไลด์ที่ 4 ในไฟล์เสียง เป็นการทำ Multiplexing ในการทำสื่อสารข้อมูล กับการทำ Multiplexing ในระบบของการส่งจดหมาย

ในภาพจะเห็นว่า มีจดหมายหรือสิ่งของที่ต้องการส่งจาก 3 แหล่งด้วยกัน แทนที่จาก 3 แหล่งจะใช้รถขนพัสดุคนละคนกัน ขับไปบนถนนคนละเส้นกัน เพื่อไปให้ถึงจุดหมายอีกฝั่งหนึ่ง แทนที่จะเป็นอย่างนั้น พัสดุจาก 3 แหล่ง ก็ถูกนำมารวมไว้ในรถคันเดียวกัน เมื่อไปถึงจุดหมายปลายทางก็นำพัสดุแต่ละชิ้นออกจากตัวรถ แล้วนำส่งไปยังจุดหมายปลายที่ที่ถูกต้อง สำหรับพัสดุแต่ละชิ้น

ตรงนี้จะเหมือนกับการสื่อสารข้อมูลที่เราสามารจะแชร์ตัวรถ แล้วก็ตัวถนนร่วมกันได้ ระหว่างผู้ส่ง 3 แหล่งในที่นี้ และผู้รับ 3 จุดในที่นี้ สามารถจะแชร์ช่องสัญญาณหรือสายนำสัญญาณไปยังในเส้นเดียวกันได้

วิธีการ Multiplex

Frequency Division Multiplexing (FDM)

หลักการ คือ การส่งข้อมูลโดยการใช้สัญญานอนาล็อกที่มีความถี่แตกต่างกัน แล้วก็ส่งไปในสายนำสัญญาณเส้นเดียวกัน เนื่องจากว่าสัญญาณมีความถี่ต่างกัน จึงไม่รบกวนกัน ทำให้เราสามารถส่งสัญญาณจากหลายๆ แหล่งเข้าไปในช่องสัญญาณเดียวกันได้ โดยไม่รบกวนกัน

กระบวนการในการรวมข้อมูล หรือสัญญาณจากหลายๆ แหล่ง ส่งเข้าไปยังช่องนำสัญญาณเดียวกัน เราเรียกว่า กระบวนการ Multiplexing โดยอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ดังกล่าว เรียกว่า Multiplexor

เมื่อสัญญาณที่มาจากหลายๆ แหล่ง และใช้ความถี่แตกต่างกัน เดินทางเข้ายังในช่องนำสัญญาณ แล้วไปยังอีกฝั่งหนึ่งก็จะมีอุปกรณ์ที่เป็นคู่กัน เรียกว่า demultiplexer ที่ทำหน้าที่แยกสัญญาณไปสู่จุดหมายปลายทางที่ต้องการต่อไป

ภาพที่แสดงให้เห็นถึงการเชื่อมต่อทั่วไป โดยใช้กระบวนการ Multiplexer ซึ่งในภาพนี้คำว่า FDM เป็นชื่อย่อของ Frequency Division Multiplexing

เนื่องจากโดยทั่วไป อุปกรณ์ multiplexer มีความสามารถในการรับ และส่งข้อมูลได้ ดังนั้นในอุปกรณ์ multiplexer เครื่องหนึ่งๆ โดยปกติจะสามารถทำได้ทั้งการทำ multiplexing เมื่อต้องทำหน้าที่เป็นผู้ส่งข้อมูล และสามารถจะทำหน้าที่ในการ demultiplexing เมื่อรับข้อมูลเข้ามาได้ ซึ่งโดยทั่วไปจะเรียกอุปกรณ์เหล่านี้ว่า multiplexor

ภาพสไลด์ที่ 6 ในไฟล์เสียง
ในภาพนี้เราอาศัยอุปกรณ์ multiplexor เพื่อรวมข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์ ส่งไปในสายนำสัญญาณเช่นเดียวกัน เมื่อไปถึงปลายทางก็จะมีอุปกรณ์ multiplexor อีกตัวหนึ่งทำหน้าที่แยกสัญญาณซึ่งมาจากคอมพิวเตอร์ให้ไปออก ในภาพนี้ก็คือเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในขณะที่สัญญาณโทรศัพท์ผ่านเข้ามา ตัว multiplexor ก็จะทำหน้าที่แยกสัญญาณให้ไปออกที่ระบบโทรศัพท์

หลักการ Frequency Division Multiplexing เป็นหลักการที่ใช้ในระบบ ADSL ซึ่งจะพูดในบทอื่นๆ ต่อไป แต่ทั้งนี้ก็ต้องเข้าใจด้วยว่า การเชื่อมต่อโดยใช้ multiplexor นั้น ไม่ได้จำเป็นว่าจะต้องใช้กับ Frequency Division Multiplexing เท่านั้น โดยการเชื่อมต่อด้วยตัว multiplexor ทุกแบบจะต้องมีอุปกรณ์ที่เหมือนกันทั้งฝั่งส่ง และฝั่งรับ โดยทางฝั่งส่ง อุปกรณ์ multiplexor จะทำหน้าที่รวมสัญญาณเข้ามา และส่งไปยังช่องนำสัญญาณเดียวกัน ส่วนทางฝั่งรับ ก็ต้องทำหน้าที่แยกสัญญาณออกเพื่อส่งไปยังจุดหมายที่ถูกต้องต่อไป

ภาพด้านล่าง (ในสไลด์ที่ 6) จะแสดงให้เห็นว่า ช่องนำสัญญาณประกอบไปด้วยสัญญาณที่มีความถี่แตกต่างกัน 2 ความถี่ แต่ละความถี่มาจากแหล่งข้อมูลที่ไม่เหมือนกัน อย่างในภาพนี้ Channel ที่ 1 มาจากสัญญาณโทรศัพท์ใช้ความถี่ 4 KHz ในการส่งสัญญาณข้อมูล ในขณะที่ Channel ที่ 2 ที่เราเรียกว่า Data signal (ในภาพนี้) เป็นสัญญาณที่นำข้อมูลมาจากคอมพิวเตอร์ ซึ่งใช้ความถี่ที่แตกต่างจากอันแรก ก็จะทำให้สัญญาณทั้ง 2 อันไม่รบกวนกัน แม้ว่าจะส่งไปในสายนำสัญญาณเส้นเดียวกันก็ตาม

การใช้วิธีการ Multiplexing ลักษณะอย่างนี้ ทำให้เราสามารถแบ่งสายนำสัญญาณซึ่งเดิมทีเป็น 1 ช่องสัญญาณ (หมายความว่า ใช้รับหรือส่งจากเครื่องหนึ่ง ไปยังอีกเครื่องหนึ่งที่อยู่คนละฝั่งได้) ให้มีช่องสัญญาณเพิ่มขึ้นได้

โดยการใช้หลักการของ Frequency Division Multiplexing นั้นช่องนำสัญญาณที่เคยเป็น 1 ช่องต่อ 1 สาย ก็เสมือนว่ามี 2 ช่อง แต่ยังใช้สายเส้นเดียวกันอยู่ โดยช่องที่ 1 เอาไว้ส่งสัญญาณทางโทรศัพท์ ส่วนช่องที่ 2 เอาไว้ส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ โดยการทำ multiplexing แบบนี้ ก็ทำให้ 1 ช่องสัญญาณกลายมาเป็นหลายช่องสัญญาณได้ เพื่อใช้ส่งข้อมูลจากแหล่งที่แตกต่างกัน ไปสู่จุดหมายปลายทางที่แตกต่างกัน

ตัวอย่างการใช้งาน Frequency Division Multiplexing ในปัจจุบัน
1. ระบบการกระจายคลื่นวิทยุ และโทรทัศน์ จะใช้กันมาก
2. ระบบ Cable TV
3. ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่เป็นระบบอนาล็อก

ทั้งนี้ Frequency Division Multiplexing ถือเป็นเทคนิค Multiplexing ที่เก่าแก่ที่สุด ใน 3 วิธีที่กล่าวถึงนี้

ข้อเสีย คือ มีประสิทธิภาพในการทำงานต่ำ เนื่องจากการใช้ประโยชน์จาก bandwidth ของช่องสัญญาณนี้ไม่ดีนัก เมื่อเปรียบเทียบกับแบบอื่น (รายละเอียดจะพูดในชั้นเรียนอีกทีหนึ่ง)

Time Division Multiplexing

วิธีการนี้แทนที่เราจะใช้สัญญาณอนาล็อกที่มีความถี่ที่แตกต่างกัน เพื่อจะส่งไปในสายเส้นเดียวกันได้ ดังเช่นกรณีของ Frequency Division Multiplexing

แต่ในกรณีของ Time Division Multiplexing ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ต่างกัน จะถูกส่งไปโดยใช้ความถี่เดียวกัน ถ้าเป็นสัญญาณอนาล็อก หรือส่งไปด้วยสัญญาณดิจิตอล โดยในกรณีนี้จะไม่มีการแบ่งความถี่ แต่ข้อมูลจากแหล่งต่างๆ กันนี้สามารถแชร์สายเส้นเดียวกันได้โดยการแบ่งในลักษณะของเวลา ที่เรียกว่า Time Division ซึ่งจะเป็นการส่งข้อมูลสลับกันไป

วิธีการทำ Time Division Multiplexing สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทย่อยๆ คือ
1. Synchronous Time Division Multiplexing
2. Stratistical หรือ Asynchronous Time Divesion Multiplexing

Synchronous Time Division Multiplexing
ตัวอย่างของการใช้ ได้แก่ ระบบวงจรคู่สายเช่า E1 Services, ระบบโทรศัพท์ ISDN

จากภาพแสดงหลักการทำงาน ของเทคนิค Synchronous Time Division Multiplexing ในขณะที่เทคนิค Frequency Division Multiplexing จะใช้สัญญาณอนาล็อกที่มีความแตกต่างกันในการนำข้อมูลจากแหล่งกำเนิดข้อมูลต่างกัน เพื่อให้ส่งเข้าไปสายเส้นเดียวได้

ส่วน Time Division Multiplexing จะไม่อาศัยความถี่ที่ต่างกันในการนำข้อมูล แต่จะอาศัยการแบ่งช่วงเวลาในการส่งข้อมูล เรียกว่า time slot เพื่อใช้ในการส่งข้อมูลจากแหล่งกำเนิดข้อมูลที่แตกต่างกันสลับกันไป

จากภาพในสไลด์ที่ 10 ในไฟล์เสียง แต่เป็นสไลด์ที่ 11 ใน handout เรามีแหล่งกำเนิดข้อมูลที่เป็นที่มาของข้อมูล 4 อุปกรณ์ด้วยกัน โดยอุปกรณ์ทั้ง 4 อาจจะเป็นคอมพิวเตอร์ อาจจะเป็นอุปกรณ์เครื่องข่าย อย่างเช่น เราท์เตอร์ หรือเป็นอุปกรณ์อื่นๆ ที่เป็นแหล่งกำเนิดข้อมูลได้

จากภาพจะเห็นได้ว่าข้อมูลจะถูกส่งเข้ามาที่ Multiplexor และเก็บพักไว้ในหน่วยความจำ ซึ่งเรียกว่า buffer จะเห็นว่าข้อมูลจากอุปกรณ์แต่ละตัวจะถูกเก็บไว้ใน buffer ของตัวเอง หลังจากนั้นข้อมูลจาก buffer จะถูกส่งเข้าไปในสายนำสัญญาณ โดยอุปกรณ์ multiplexor จะเป็นตัวกำหนดว่าช่วงเวลาใดข้อมูลจากอุปกรณ์ใดจะถูกส่งเข้าไปในสายนำสัญญาณ จากภาพจะเห็นว่า ข้อมูลจากอุปกรณ์ที่ 1 จะถูกส่งไปก่อน แล้วตามด้วยข้อมูลจากอุปกรณ์ที่ 2, 3 และ 4 ตามลำดับ

แต่ละอุปกรณ์จะได้รับการ assign ช่วงเวลา หรือ Time slot ที่คงที่ โดยในกรณีที่ข้อมูลจากอุปกรณ์แต่ละตัวไม่สามารถส่งได้หมดภายในครั้งเดียว ก็จะทยอยส่งมาในช่วง Time slot ถัดไป จากภาพจะเห็นว่าหลังจากที่ข้อมูลจากอุปกรณ์ที่ 1, 2, 3 และ 4 ส่งครบแล้ว ก็จะวนกลับมาให้อุปกรณ์ที่ 1 ส่งข้อมูลต่อไปได้

ด้วยวิธีนี้ก็สามารถทำให้สายนำสัญญาณเส้นเดียวกันสามารถส่งข้อมูลจากอุปกรณ์หลายๆ ตัวได้ จริงๆ แล้วไม่พร้อมกัน แต่เสมือนว่าพร้อมกัน เนื่องจากช่วง Time slot ที่อุปกรณ์แต่ละตัวได้รับการ assign ค่อนข้างสั้น ดังนั้นอุปกรณ์แต่ละตัวก็จะได้รับสิทธิ์ในการส่งโดยที่ไม่ต้องรอให้อุปกรณ์ตัวแรกส่งข้อมูลหมดก่อน เพราะว่าจะมีการแบ่งสลับกันไป

อย่างเช่น ถ้าอุปกรณ์ที่ 1 จะส่งข้อมูล 10 K ก็ไม่ต้องให้อุปกรณ์ที่ 1 ส่งข้อมูลหมดทั้ง 10 K ก่อนแล้วถึงจะส่งข้อมูลจากอุปกรณ์ที่ 2 นั่นเป็นเพราะว่าข้อมูลที่ได้รับมาจากแต่ละอุปกรณ์จะถูกซอยย่อย ทีละนิดๆ ทำให้ทุกอุปกรณ์ได้รับสิทธิ์ในการส่งโดยที่ไม่ต้องรอให้อุปกรณ์แรกทำการส่งข้อมูลเสร็จก่อน

ที่กล่าวมานี้คือหลักการของ Synchronous Time Division Multiplexing

ทั้งนี้ เมื่อข้อมูลถูกส่งออกไปถึงอีกฝั่งหนึ่ง ก็จะมีอุปกรณ์ที่เป็น multiplexing ที่มีลักษณะเหมือนกัน ทำหน้าที่ demultiplexing โดยข้อมูลจากอุปกรณ์ 1 ก็จะถูกส่งไปยังอุปกรณ์ปลายทางที่เป็นคู่ของมัน ข้อมูลจากอุปกรณ์ 2 ก็จะถูกส่งไปยังอุปกรณ์ปลายที่เป็นคู่ของมัน ดังนั้นข้อมูลจากฝั่งส่งของเครื่องใด ก็จะถูกส่งไปยังเครื่องรับปลายทางที่เป็นคู่ของมัน

จากภาพในสไลด์ที่ 11 ในไฟล์เสียง เป็นการแสดงการทำ multiplexing และ demultiplexing ด้วยวิธี Synchronous Time Division Multiplexing จากภาพจะเห็นว่า aaa เป็นข้อมูลจากอุปกรณ์ส่งเครื่องที่ 1, bbb เป็นข้อมูลจากอุปกรณ์ส่งเครื่องที่ 2 และ ccc เป็นข้อมูลจากอุปกรณ์ส่งเครื่องที่ 3 โดยในที่นี้อาจจะเป็นคอมพิวเตอร์ก็ได้

จะเห็นว่าเมื่อผ่านการ multiplexing แล้ว ข้อมูลจากแต่ละแหล่งก็จะถูกส่งสลับกันไป เมื่อมาถึงฝั่งรับ ก็จะเกิดกระบวนการ demultiplexing ขึ้น โดยตัว multiplexor ที่ทำ demultiplexing นี้ ก็จะเลือกเฉพาะข้อมูลจาก a มาส่งออกให้กับอุปกรณ์ตัวที่ 1 ข้อมูลจากอุปกรณ์ตัวที่ 2 ที่เป็น b ก็จะถูกส่งไปยังอุปกรณ์ 2 ที่ฝั่งรับ ข้อมูลจากอุปกรณ์ตัวที่ 3 ที่แทนด้วย c จะถูกออกไปยังอุปกรณ์ตัวที่ 3 ที่ฝั่งรับ ดังนั้นก็จะเสมือนว่าข้อมูลจากอุปกรณ์ที่ 1, 2 และ 3 จะถูกส่งไปยังอุปกรณ์ฝั่งรับที่เป็นคู่ของมันตามลำดับ

ปัญหาของ Synchronous Time Division Multiplexing เกิดขึ้นเมื่อ อุปกรณ์บางตัวในบางขณะเวลาอาจจะไม่ได้ทำการส่งข้อมูล ซึ่งการส่งแบบ Synchronous Time Division Multiplexing ช่วงเวลา หรือ Time slot ในการส่งข้อมูล จะถูก fix ไว้สำหรับอุปกรณ์แต่ละตัว เพราะฉะนั้นถึงแม้ว่าอุปกรณ์ตัวนั้นจะไม่ได้ทำการส่งข้อมูล ช่วงเวลาดังกล่าว ก็ไม่สามารถนำไปใช้ให้อุปกรณ์ตัวอื่นส่งข้อมูลได้

จากภาพในสไลด์ที่ 14 ในไฟล์เสียง จะเห็นว่า อุปกรณ์ตัวบนสุดเป็นอุปกรณ์ตัวเดียวที่จะทำการส่งข้อมูล ส่วนอุปกรณ์ตัวที่ 2,3 และ 4 ที่เขียนว่า Idel นั้นจะไม่มีการส่งข้อมูลในขณะนั้น ถึงแม้ว่าจะเป็นอย่างนั้นก็ตาม Time slot ที่กำหนดไว้ให้กับอุปกรณ์ที่ 2, 3 และ 4 ก็จะไม่มีการส่งข้อมูลในช่วงเวลาดังกล่าว คืออุปกรณ์ตัวแรกที่มีข้อมูลอยู่ ไม่สามารถใช้ช่วงเวลาที่อุปกรณ์อื่นไม่ได้ส่งข้อมูลนั้นมาส่งข้อมูลให้กับตัวเองได้ ก็จะทำให้เกิดการสูญเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ นี่คือเป็นปัญหาที่ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของ Synchronous Time Division Multiplexing อาจจะต่ำได้ เมื่ออุปกรณ์หลายๆ อุปกรณ์ไม่มีการส่งข้อมูลมาพร้อมๆ กัน

นั่นเป็นที่มาที่ทำให้เกิดวิธีการ Time Division Multiplexing ขึ้นอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งเราเรียกว่า Statistical Time Division Multiplexing

Statistical Time Division Multiplexing

สำหรับวิธีการนี้ Time slot ที่ assign ให้กับอุปกรณ์แต่ละตัวจะไม่ถูก fix เอาไว้ แต่จะขึ้นอยู่กับแต่ละอุปกรณ์ว่ามีข้อมูลที่ต้องการส่งหรือไม่ หากอุปกรณ์ใดไม่มีข้อมูลที่ต้องการจะส่ง ช่วง Time slot ของอุปกรณ์นั้นก็จะถูก assign มาให้อุปกรณ์อื่นๆ ที่มีข้อมูลที่ต้องการจะส่งในขณะนั้น มาใช้ส่งข้อมูลแทน ด้วยวิธีนี้ทำให้เราสามารถใช้ประโยชน์จากสายนำสัญญาณได้เต็มที่มากขึ้น

อย่างเช่นในภาพ สไลด์ที่ 16 ในไฟล์เสียง จะเห็นได้ว่า อุปกรณ์ตัวที่ 1 และ 3 มีข้อมูลที่ต้องการจะส่ง แต่อุปกรณ์ตัวที่ 2 และ 4 ไม่มีข้อมูลที่จะส่งในขณะนั้น ตัว multiplexor ก็จะ assign ช่วงเวลาหรือ Time slot ให้กับอุปกรณ์ตัวที่ 1 และ 3 เท่านั้น ทำให้ไม่มีช่วงเวลาว่าง (Idle) ไม่มีข้อมูลส่ง ทำให้การใช้ประโยชน์จากสายนำสัญญาณเกิดประโยชน์สูงสุด คือไม่มีช่วง Idel หรือช่วงเวลา time slot ที่ว่างไว้

แต่เนื่องจากว่า Time slot ของการส่งแบบ Statistical Time Division Multiplexing จะไม่มีการ fix เวลาเอาไว้กับอุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่ง ดังนั้นในการส่งข้อมูลโดยวิธีนี้ จะต้องส่ง Address หรือหมายเลขของอุปกรณ์ไปกับข้อมูลด้วย เพื่อให้ฝั่งรับ หรืออุปกรณ์ multiplexor ที่ฝั่งรับสามารถบอกได้ว่าข้อมูลแต่ละชุดต้องส่งไปยังอุปกรณ์ปลายทางหมายเลขใด

Tuesday, July 8, 2008

สรุปเนื้อหาวิชา ISC Chapter1 และ Chapter2

สรุปเนื้อหาวิชา ISC Chapter1 และ Chapter2

ISC Chapter1: Introduction to Computers

1. ***คุณลักษณะของข้อมูล หรือสารสนเทศที่มีคุณภาพ ***
1. Accurate : มีความถูกต้องแม่นยำ
2. Complete : บริบูรณ์/ครบถ้วน –ข้อมูลจะต้องมีความสมบูรณ์มีเนื้อหาครบถ้วน
3. Econimical : ประหยัด
4. Flexible : เปลี่ยนแปลงได้/ปรับได้/ แก้ไขง่าย/ ยืดหยุ่น
5. Reliable : เชื่อถือได้, ความเชื่อถือได้ (reliability)
6. Relevant : ตรงประเด็น/ เกี่ยวเนื่อง, ความเกี่ยวเนื่อง (Relevancy)
7. Simple : ง่าย/ ธรรมดา
8. Timely : ทันเหตุการณ์/ เกิดขึ้นเหมาะสมกับเวลา, ความทันเหตุการณ์ (Timeliness)
9. Verifiable : ซึ่งพิสูจน์ความจริงได้/ ตรวจสอบได้/ ยืนยันได้, Verifiablility การพิสูจน์ความจริงได้/ การตรวจสอบได้

2. ข้อมูล (Data)
ลำดับขั้นของความรู้
1. data คือตัวตั้งต้น เป็นวัตถุดิบที่ยังไม่ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ ประมวลผล
2. Information (สารสนเทศ) คือการนำข้อมูลมาประมวลผล จนได้ข้อสรุป สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
3. Knowledge (องค์ความรู้) คือ เมื่อมีการเรียนรู้ ตีความ และทำความเข้าใจกับสารสนเทศ ก็จะกลายเป็นองค์ความรู้
4. Wisdom คือ สิ่งที่ผ่านการประมวลผลจากองค์ความรู้ และนำไปสู่การตัดสินใจที่เหมาะสม

ข้อมูล (data) ที่นำมาประมวลผลเป็นสารสนเทศ (information) ต้องผ่านกระบวนการเรียกว่าระบบสารสนเทศ (Information System) ซึ่งประกอบด้วย
• hardware
• software
• data
• people
• Procedure – ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

3. ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
 Input
- sound (Micro phoneX
- Data, Text
- Picture (scanner, camera)
 Output - การเอาข้อมูลที่ประมวลผลแล้วนำเสนอต่อผู้ใช้
 Storage (Media, Device)
 Process (CPU, Memory)
 Communication

4. USB Flash Drive(ชื่อเต็ม)
คือ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล ที่คนส่วนใหญ่มักจะเรียกกันว่า thumb drive ข้อมูลที่เก็บไว้มีความสะดวกในการพกพา (Portable) ติดตั้งโปรแกรมและรันโปรแกรมจาก flash drive ได้ทันที ราคาไม่แพง ความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลทำได้เร็ว หรือการเข้าถึงข้อมูลก็ทำได้เร็ว

5. ข้อดี-ข้อเสียของการใช้คอมพิวเตอร์

ข้อดี
- Speed – สามารถทำงานได้รวดเร็ว
- Reliability – ผลลัพธ์ที่ได้มีความน่าเชื่อถือ
- Consistency – ข้อมูลถูกต้อง แม่นยำ
- Storage – สามารถเก็บหน่วยความจำได้มาก
- Communications – ความสามารถในการติดต่อระหว่างเครื่องได้ง่าย

ข้อเสีย
- Violation of Privacy – การละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น ซอฟท์แวร์
- Public Safety – ระบบความปลอดภัย และรักษาความลับในอินเทอร์เน็ตมีความน่าเชื่อถือน้อย
- Impact on Labor Force – ผลกระทบต่อตลาดแรงงาน เนื่องจากความต้องการมีจำนวนน้อยลง
- Health Risks – มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ ทั้งสายตา และข้อมือ
- Impact on Environment – มีผลต่อสิ่งแวดล้อมในด้านการผลิต, การใช้งาน และทำลาย

6. ความแตกต่างระหว่าง Internet กับ World Wide Web
Internet : โครงข่ายใยแมงมุม ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก เป็นเสมือนสาธารณูปโภคพื้นฐานอย่างหนึ่ง เหมือนกับระบบน้ำ หรือไฟฟ้า
World Wide Web : เป็นบริการอย่างหนึ่งบนอินเทอร์เน็ต

7. ประเภทของคอมพิวเตอร์ (แบ่งตามหน้าที่การใช้งาน)
 Personel Computer (desktop)
 Mobile Computers and Mobile Devices
 Game Console
 Servers
 Mainframes
 Supercomputers
 Embedded Computer มีหน้าตาไม่เหมือนคอมพิวเตอร์ทั่วไป แต่ฝังตัวในอุปกรณ์ต่าง เช่น รถยนต์ ตู้เย็น


ISC Chapter 2: The Internet and World Wide Web

1. web browser
- Microsoft Internet Explorer
- Firefox
- Netscape
- Opera
- Safari

2. microbrowser เป็นเบราเวอร์ขนาดเล็ก มีขนาดไม่ใหญ่ ใช้ใน smartphone หรือคอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก ความสามารถในการประมวลผลและหน่วยความจำน้อย

3. เว็บไซต์แบ่งเป็น 12 ชนิด
- Portal อย่างเช่น Sanook.com - News
- Informational - Business/Marketing
- Educational - Entertainment
- Advocacy - เว็บไซต์เกี่ยวกับให้ความเห็นเฉพาะทาง
- Blog
- WiKi - Social Network
- Content Aggregator - Personal

4. เว็บไซต์ที่มีคุณภาพประกอบด้วย
- Affiliation – มีการระบุว่าเป็นเว็บที่เกี่ยวข้องกับอะไร (มีความเป็นกลาง)
- Audience – มีกลุ่มเป้าหมายของผู้ใช้งาน
- Authority - มีความน่าเชื่อถือของข้อมูล
- Content – ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำ ไม่ผิดพลาด ตรงประเด็น
- Currency – ข้อมูลที่นำเสนอต้องทันสมัยตลอดเวลา
- Design – รูปแบบดูง่ายเข้าใจง่าย
- Objectivity - วัตถุประสงค์ของเว็บไซต์ต้องชัดเจน

MIT Chapter1 Organizational Performance : IT Support and Applications (sound lecture)

MIT Chapter1
Organizational Performance : IT Support and Applications
sound lecture in class


บทที่ 1 จะมาพูดเรื่องความสำคัญของไอที ซึ่งในที่นี้จะ assume ว่าคนเรียนไม่ได้จบไอทีมา ซึ่งวัตถุประสงค์ในการเรียนบทที่ 1 จะประกอบด้วย
การอธิบายเศรษฐกิจในยุคดิจิตอลว่าคืออะไร บริษัทต่างๆ องค์กรต่างๆ ทั้งรัฐและเอกชน ต้องได้รับแรงกดดันจากสิ่งต่างๆ อย่างไรบ้าง แล้วไอทีจะเข้าไปช่วยได้อย่างไร นอกจากนี้จะคุยเรื่องบทบาทของไอทีในองค์กร ว่ามีอย่างไรบ้าง และเราเรียนไอทีไปเพื่ออะไร

Opening Case
Chip war Intel vs AMD


มีบริษัทแห่งหนึ่งที่ทำเกี่ยวกับงานไอที ได้ไปค้นพบว่าคอมพิวเตอร์ชิปต่างๆ ที่เป็น CPU โดยเฉพาะของอินเทลเวลาใช้งานแล้วจะกินไฟมาก ทำให้มีการสิ้นเปลือง จึงได้มีการปรับปรุง เปลี่ยน CPU จากอินเทลไปเป็น AMD ซึ่งทำให้ประหยัดเงิน โดยเฉพาะค่าไฟ ทำให้บริษัทได้กำไรมากขึ้น และหลังจากนั้น ก็มีชิปใหม่ๆ ออกมา ซึ่งกินไฟน้อยกว่า AMD ประมาณ 20% ซึ่งทำให้องค์กรต่างๆ สามารถประหยัดเงินค่าไฟไปได้อีกมาก

นอกจากนี้ก็ยังได้นำเครื่องมือในส่วน Collaboration หรือ การทำงานร่วมกัน ผ่านอินเทอร์เน็ตมาในการทำงานด้วย ทำให้บริษัทมีผลกำไรมากขึ้น

Digital Economy หรือเศรษฐกิจยุคใหม่ หรือ เศรษฐกิจยุคใหม่
สิ่งที่มาเปลี่ยนโลกเมื่อสัก 10 ปีที่แล้ว ก็คือ ดิจิตอล หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (อีคอมเมิร์ซ) ซึ่งก็คือการทำธุรกิจผ่านอินเทอร์เน็ต โดยปัจจัยที่ให้เกิดเศรษฐกิจยุคใหม่ขึ้นมานั้น จะต้องอาศัย e-Business, Collaboration และ Information Exchange มาประกอบเข้าด้วยกัน
1. e-Business การที่ e-business มาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงก็เพราะว่าทำให้วงจรธุรกิจเร็วขึ้นกว่าเดิม ซึ่งการค้าขายผ่านอินเทอร์เน็ตถือเป็นปัจจัยหลักของเศรษฐกิจยุคดิจิตอล
2. Collaboration การทำงานร่วมกัน (Collaboration) ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปโดยผ่านอินเทอร์เน็ต จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากคนที่อยู่ในองค์กร และต่างองค์กรสามารถสื่อสาร ทำงานร่วมกัน สืบค้นข้อมูลได้โดยง่าย โดยไม่ต้องไปหากัน ไม่ต้องไปอยู่ที่เดียวกัน ไม่ต้องเดินทาง
3. Information Exchange ข้อมูลต่างๆ สามารถจัดเก็บ หรือส่งผ่านกันได้ง่าย รวดเร็ว

Transaction คือ การทำกิจกรรมทางธุรกิจ เช่น ไปฝากเช็คที่ธนาคาร 1 ใบ, การไปซื้อตั๋วหนัง เป็นต้น

Case Study: Diamonds Online (ธุรกิจค้าพลอย)
ความเป็นมา มีชาวอเมริกันคนหนึ่ง ชื่อ ดอน โคเจนส์ เดินทางมาใช้ชีวิตอยู่ในเมืองไทยตั้งแต่อายุ 15 อยู่ที่จังหวัดจันทบุรี ก็ได้มีความสนใจธุรกิจค้าพลอยของเมืองจันทบุรี ซึ่งถือเป็นตลาดที่ใหญ่ในระดับโลก แล้วก็พบว่าเป็นธุรกิจที่มีการตั้งราคาที่แปลกมาก เนื่องจากราคาของพลอยที่ขุดขึ้นมาจากเหมือง จนกระทั่งไปอยู่บนสร้อยคอ หรือแหวน มีราคาเพิ่มขึ้นถึง 1,000% เขาก็เลยสนใจ จึงได้มาทำธุรกิจนี้ โดยการไปซื้อพลอยที่หน้าเหมืองในเมืองจันทบุรี แล้วก็ส่งไปขายที่อเมริกาบ้านเกิด โดยตอนแรกใช้วิธีการลงโฆษณา และรับสั่งทาง FAX คล้ายๆ กับการขายตรง เพื่อตัดพ่อค้าคนกลาง ทำให้ไม่ต้องบวกกำไรมากขึ้นไปเรื่อยๆ และตัวเขาเองก็จะได้กำไรเยอะ

ปรากฏว่าในปีแรกๆ ที่ทำ มียอดการสั่งซื้อผ่าน FAX Order เข้ามาถึง 250,000 ดอลล่าร์ จนกระทั่งปี 1998 เป็นยุคที่อินเทอร์เน็ตบูมขึ้นมา จึงได้ไปตั้งเว็บไซต์ชื่อว่า Thaigem.com ขึ้นมา แล้วก็ขายผ่านอินเทอร์เน็ต ปรากฏว่ายิ่งรวยยิ่งกว่าเก่า มียอดขายถึง 4.3 ล้านดอลล่าร์ในปี 2001 โดยเขาคิดกำไรที่ 20-25% เท่านั้น เป็นการขายที่อาศัยกำไรน้อย แต่ขายเป็นจำนวนมาก ต้นทุนในการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซต่ำ เพราะเสียแค่ค่าเช่าโฮสต์ เงินก็จ่ายผ่านอินเทอร์เน็ต สามารถขายได้ทั้งในเชิงธุรกิจ (business) เช่น โรงงานมารับซื้อไปเจียระไนต่อ และลูกค้าทั่วไป (Consumer) ที่ซื้อไปทำเครื่องประดับของตัวเอง เป็นการขายทั้งแบบ B2C และ B2B ทำให้ได้กำไรมาก

ทุกคนที่อยู่ในธุรกิจ ลูกค้ารายย่อย องค์กร ไม่ว่าจะอยู่ในธุรกิจอะไรก็ต้องใช้ไอทีเข้ามาช่วยทั้งนั้น (ในตาราง 1.2 หน้า 7 จะบอกว่าปัจจุบันเราเอา ไอทีไปใช้อะไรบ้าง เช่น เอามาใช้คำนวณงานยากๆ ที่มีรายการธุรกรรมเยอะๆ เป็นต้น)

เศรษฐกิจยุคเก่า และเศรษฐกิจยุคใหม่
เมื่อหลายปีก่อนการถ่ายรูปมีขั้นตอนประมาณ 6-7 ขั้นตอน ตั้งแต่การไปซื้อฟิล์มที่ร้าน จากนั้นก็ต้องเอาฟิล์มใส่ในกล้อง ซึ่งก็ยุ่งยากพอสมควร ทีนี้ก็ไปเที่ยวแล้วก็ถ่ายรูป เสร็จแล้วก็ต้องเอาฟิล์มไปล้าง แล้วก็เอารูปกลับมาดู ทีนี้ใครต้องการรูปอะไรบ้างก็ต้องไปร้านถ่านรูปเพื่ออัดรูปอีกครั้ง พอได้แล้วก็เอารูปใส่ซอง ส่งจดหมายไปให้เพื่อน ซึ่งกว่าจะได้ก็นาน

แต่ปัจจุบันกลับกันแล้ว เพราะเราใช้กล้องดิจิตอลถ่ายภาพ ซึ่งเร็วกว่าเยอะ ถ่ายแล้วเห็นรูปได้เลย ขั้นตอนทุกอย่างสามารถเสร็จสิ้นได้ภายในวันเดียว ซึ่งเมื่อก่อนถ้าเอากระบวนการถ่ายภาพดิจิตอลมาพูดคงจะไม่ค่อยเข้าใจกัน แต่เดี๋ยวนี้เรากลับไม่รู้แล้วว่าวิธีถ่ายภาพโดยการใช้ฟิล์มต้องทำกันยังไง

จะเห็นได้ว่าวงจรธุรกิจจะเกิดขึ้นเร็วขึ้น ได้เงินเร็วขึ้น ซึ่งนี่คือสิ่งกระทบ และทำให้เกิดธุรกิจแบบใหม่ ดังนั้นการที่นำไอทีเข้าไปช่วยในธุรกิจ ก็มีความหวังได้ว่าจะทำให้การทำธุรกิจต่างๆ มีความรวดเร็วมากขึ้นกว่าเดิม รับเงินเร็วขึ้น ซึ่งนี่คือความสำคัญของการนำไอทีเข้าไปช่วยในธุรกิจ

เรามาดูอีกคำหนึ่ง Business Model เป็นคำศัพท์ทั่วไป ไม่ใช้ศัพท์ทางไอที
Business Models คือ วิธีการในการทำธุรกิจให้มีรายได้ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า ขั้นตอนการทำธุรกิจมีอะไรบ้าง เช่น ตั้งราคาสินค้า ให้บริการลูกค้า จัดการทรัพยากร หรือต้นทุนอย่างไร สิ่งเหล่านี้เราเรียกว่า Business Models เช่น

Business Model ของ Nokia คือ การทำโทรศัพท์ และขายโทรศัพท์ โดยการออกแบบผลิตโทรศัพท์แล้วขาย จากนั้นก็ได้เงิน
Business Model ของสถานีโทรทัศน์ คือ ออกอากาศให้ประชาชนได้ชมฟรี ไม่เสียสตางค์ และมีรายได้จากการขายโฆษณา และคอนเท็นต์
Business Model ของ Google คือ ทำ search engine ให้คนค้นหาข้อมูล แต่ตอนหลังเริ่มมีการให้บริการที่หลากหลาย มีความซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งบริการบางอย่างให้ใช้ฟรี บางอย่างเสียเงิน

ดังนั้นเราควรจะไปศึกษา Business Model ขององค์กรของตัวเอง เพราะคนที่ทำไอทีมักจะลืมคำนี้ ไม่รู้ว่าตัวเองขายอะไร คือยังไม่มี Model ธุรกิจ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ จะขายอะไร ขายให้ใคร รายได้มาจากไหน ต้นทุนเท่าไหร่ ดังนั้นคนที่ทำ e-commerce มักจะไม่ค่อยประสบความสำเร็จ นั่นเป็นเพราะมัวแต่ไปคิดถึงเรื่องเทคโนโลยีว่าจะใช้อะไร แต่ลืมคิดถึง Business Model ของตัวเอง

ยุคดิจิตอล ทำให้เกิด Business Model ใหม่ๆ เพิ่มขึ้น จากเดิมที่ไม่คิดว่าจะทำได้ เพราะข้อจำกัดของ สถานที่ เวลา ปริมาณ ข้อมูล การส่งของ การชำระเงิน แต่ในปัจจุบันที่เป็นยุคดิจิตอล ทำงานด้วยคอมพิวเตอร์สามารถทำได้แล้ว มี Business Model เกิดใหม่ขึ้นทุกวัน เช่น

Name You Own Price ลูกค้าเป็นคนกำหนดราคาเอง เช่น การท่องเที่ยว บริษัททัวร์ ที่ผู้ซื้อสามารถเป็นผู้ตั้งราคาของตั๋ว หรือราคาที่พักที่ต้องการได้เอง อย่างเช่นที่ priceline.com เป็นต้น

Reverse Auction การประมูล แต่เดิมนั้นการประมูลจะเป็นแบบอยู่ในห้องให้ใครต้องการประมูลเท่าไหร่ก็เสนอขึ้นมา แต่เมื่อมีการใช้อินเทอร์เน็ต ก็ทำให้การประมูลทำได้รวดเร็วขึ้น ได้ราคาที่ต่ำสุดกว่าการเปิดซองปกติ

Affiliate Marketing การทำตลาดแบบไม่ต้องทำเอง มีบุคคลที่ 3 มาช่วยทำ เป็นธุรกิจนายหน้า เช่น จะทำโฆษณาอะไรสักอย่าง ก็ไม่ต้องไปโฆษณาเอง แต่มีคนมาช่วยทำ หรือที่เราเรียกว่า Agent จะไปจัดหาคนซื้อมาทำให้ แล้วถ้าขายได้ก็จะแบ่งเปอร์เซ็นต์ เป็นค่านายหน้าไป ซึ่งค่าคอมมิชชั่นบางทีก็เกิน 100% จากราคาสินค้า และการติดโฆษณาในแต่ละแห่ง เจ้าของสินค้าก็จะสามารถดูได้ว่าเป็นของใคร มาจากใคร เพื่อจะได้จ่ายให้ค่านายหน้ากลับไปให้ได้ถูกคน

E-MarketPlace and Exchanges ตลาดกลางออนไลน์ เป็นการเช่าแผงหน้าร้านเหมือนกับการขายของตามปกติ แต่เป็นการเช่าหน้าแผงบนเว็บไซต์แทน แล้วก็มีคนเข้ามาซื้อ มีของวางขายมากมาย ถ้าคุณเป็นเจ้าของตลาด ก็มีคนมาเช่าแผง อย่างเช่น tarad.com เป็นต้น จึงทำให้เกิดตลาดขึ้นโดยที่ผู้ซื้อ ผู้ขาย และเจ้าของตลาด ต่างนั่งอยู่บนหน้าจอ ส่วน Exchange จะมีทั้งการซื้อและขาย เช่น Stock Exchange of Thailand ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งจะมีทั้งผู้ซื้อและผู้ขายเข้ามาแลกเปลี่ยนหุ้นกัน

Electronic Aggregation เป็นการซื้อกันเป็นกลุ่ม โดยการทำแบบปกติ อาจจะยาก แต่ถ้าทำบนออนไลน์ จะง่ายกว่า โดยการประชาสัมพันธ์ออกไปว่ามีใครสนใจจะซื้อสินค้าในแบบเดียวกันนี้บ้าง ก็มารวมกลุ่มกัน เพื่อจะได้ไปต่อรองราคาเพื่อขอส่วนลด เช่น การไปซื้อตำรา หากต้องการส่วนลดมากก็ต้องรวมกันซื้อหลายๆ คน โดยรวมตัวกันบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งจริงๆ แล้ว คนเหล่านั้นก็ไม่รู้จักกัน แต่สามารถรวมตัวกันเพื่อขอส่วนลดได้

ในการทำธุรกิจ องค์กรต่างๆ ได้รับแรงกดดัน (Pressure) อยู่หลายด้าน ซึ่งก่อให้เกิดความยุ่งยากในการทำงาน เช่น สิ่งแวดล้อม สภาพองค์กร และเทคโนโลยี โดยองค์กรธุรกิจต่างๆ ก็พยายามเปลี่ยนแปลง ต่อสู้ เพื่อเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส และหาหนทางแก้ไข ต่อสู้ ซึ่งมีวิธีหลายวิธีที่สามารถนำมาใช้ในการต่อสู้ทางธุรกิจได้ในปัจจุบัน แต่วิธีหนึ่งที่สำคัญ คือ ไอที นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าเรามาเรียนก็เพราะว่าเราจะเอาไอทีเข้ามาช่วยบริหารงาน

Three Types of Business Pressures
แรงกดดันหลักๆ ในการทำธุรกิจ มีอยู่ 3 อย่างด้วยกัน ได้แก่

1. Market Pressures (ความกดดันด้านการตลาด)
Global Economy and strong competition เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตามเศรษฐกิจของโลก มีอะไรแย่ที่ไหน ก็จะกระทบไปทั่วโลก มีการแข่งขันกันสูง เพราะทุกชาติสามารถแข่งขันกันได้ เกิดการค้าเสรี
Workforce ค่าจ้างแรงงานที่แตกต่างกัน ประเทศไหนมีค่าจ้างแรงงานต่ำ ก็จะมีการไหลเข้าไปลงทุนในประเทศนั้น เป็นต้น หรือขาดแคลนแรงงานก็ไปเอาแรงงานจากต่างชาติมา
Powerful Customer ลูกค้าปัจจุบันเก่งกว่าเก่าเยอะ เพราะมีข้อมูล ราคา การแข่งขัน ลูกค้ารู้หมดว่าใครขายอะไรที่ไหน ซึ่งทำให้ลูกค้ามีอำนาจการต่อรองมากกว่าเดิม ผู้ขายก็จะขายของยากขึ้น มีอุปสรรคมากขึ้น

2. Technology Pressures (ความกดดันด้านเทคโนโลยี)
Innovation and Obsolescence มีเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นเรื่อยๆ ทั้งทางด้านไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เพราะฉะนั้นเมื่อเกิดขึ้นเร็ว และหายไปเร็วด้วย ดังนั้นจึงมีสินค้าใหม่ๆ ออกมาวางจำหน่ายอยู่เรื่อยๆ แต่ก็จะหายไปจากตลาดเร็วขึ้นด้วย ซึ่งทำให้ product life cycle สั้นลง ถ้าไม่หาของใหม่ๆ มาขาย ก็จะกลายเป็นสินค้าตกรุ่นไป ซึ่งนี่คือผลกระทบจากการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีที่มีความรวดเร็ว
Information Overload มีข้อมูลข่าวสารอยู่บนอินเทอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก จึงทำให้เกิดความสับสน ทั้งคนซื้อ และคนขาย ทำให้ตัดสินใจยากขึ้นเพราะไม่รู้ว่าข้อมูลไหนที่จริง ข้อมูลไหนเท็จ ซึ่งก็เป็นอุปสรรคอย่างหนึ่ง

3. Societal Pressures (ความกดดันทางด้านสังคม)
Government Regulation and Deregulation กฎหมายหรือ พรบ. ใหม่ๆ ที่ออกมา รวมทั้งที่เลิกใช้ไป ก็มีผลทำให้สินค้าบางอย่างขายได้ บางอย่างขายไม่ได้ ต้องมีการจัดระบบกันใหม่อยู่ตลอดเวลา อย่างเช่น การยกเว้นภาษีอากรในบางเรื่อง สนับสนุนเรื่องน้ำมัน เป็นต้น
ผู้ก่อการร้าย ทั้งที่เป็นผู้ก่อการร้ายตัวจริง และผู้ก่อการร้ายทางอินเทอร์เน็ต เช่น แฮกเกอร์ มีอยู่เต็มไปหมด
จริยธรรม มีการทำผิดศีลธรรม จริยธรรมมากขึ้น เกิดการโกงกันมากขึ้นบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งก็ทำให้เกิดผลกระทบเช่นเดียวกัน

Organizational Responsesเมื่อเกิดแรงกดดันเหล่านี้ขึ้น องค์กรต่างๆ จะแก้ไขอย่างไร
1. Strategic Systems มีการปรับปรุงแผนกลยุทธ์เพื่อทำให้ขายได้มากขึ้น เพื่อกินส่วนแบ่งทางการตลาดได้มากขึ้น
2. Customer Focus องค์กรต่างๆ พยายามใช้เทคนิคต่างๆ เพื่อจะดึงลูกค้าให้อยู่กับเราด้วยความพอใจนานที่สุด เพื่อที่จะไม่เสียลูกค้าไปให้กับคู่แข่ง โดยจะมีการนำ CRM มาใช้ เพื่อช่วยจัดการบริหารลูกค้า และให้ลูกค้าอยู่กับเราและมีความพอใจมากที่สุด
3. make to order การขายแบบผลิตตามสั่ง โดยแต่เดิมการขายจะเป็นการขายสินค้าที่เราผลิตขึ้นมา แล้วก็พยายามจะยัดเยียดขายให้หมดด้วยการโฆษณา แต่สมัยนี้จะกลับกัน โดยเป็นการขายสินค้าจะผลิตออกมาตามที่ลูกค้าสั่ง ไม่ทำเกินจากที่สั่ง ทำตามแบบที่ลูกค้าต้องการ และทำออกมาพอดี ซึ่งทำให้ของไม่เหลืออยู่ในคลังสินค้า
4. Mass Customization เป็นขั้นตอนที่ต่อเนื่องมาจากขั้นที่ 3 โดยเมื่อลูกค้าสั่งสินค้ามา ซึ่งก็จะมีสเปคที่หลากหลาย จึงต้องพยายามหาทางผลิตสิ่งที่ลูกค้าสั่งมา ให้ผลิตได้เป็นจำนวนมาก และให้ได้ในราคาถูก ซึ่งแต่เดิมนั้นเราผลิตตามใจชอบ ก็สามารถควบคุมต้นทุนได้ แต่ถ้าผลิตตามที่ลูกค้าสั่งมาก็จะควบคุมต้นทุนไม่ได้ อย่างกรณีของ Dell ที่ผลิตคอมพิวเตอร์ตามสเปคที่ลูกค้าสั่ง ในจำนวนที่ลูกค้าสั่ง ไม่ได้ทำเกิน แต่บริษัทอื่นผลิตตามสเปคที่ตัวเองคิดว่าดี แล้วก็พยายามที่จะขาย ซึ่งจะกลับกัน โดยสิ่งที่ Dell พยายามทำคือ การขายแบบ Make to Order แล้วก็พยายามผลิตให้ได้เป็นจำนวนมาก เพื่อให้มีต้นทุนในราคาถูก
5. E-Business and E-Commerce ปัจจุบันองค์กรต่างๆ ได้นำ E-Business และ E-Commerce เข้ามาเป็นกลยุทธ์ในการทำงาน แทบจะทุกบริษัทจะต้องมีเว็บไซต์ โดยนอกจากมีเว็บไซต์เพื่อให้ข้อมูลแล้ว ยังต้องขายสินค้าหรือบริการผ่านอินเทอร์เน็ตให้ได้ด้วย เพราะคนอื่นๆ เขาทำกัน ซึ่งทำให้วงจรธุรกิจหมุนเวียนไปเร็วขึ้น



Doing Business in the Digital Economy
Digital Economy ที่ได้กล่าวไปแล้ว เราจะมาพูดถึงให้ลึกขึ้นว่ามีความหมายอย่างไร โดยในรายละเอียดแล้วก็คือว่า เศรษฐกิจในยุคปัจจุบันมีพื้นฐานจากการใช้ digital economy และระบบสื่อสารข้อมูล (communicate) เช่น Internet, Intranet, extranets, คอมพิวเตอร์, ซอฟต์แวร์, และสิ่งอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี เพราะฉะนั้นจึงมีชื่อเรียกต่อไปอีกว่า Internet economy (เศรษฐกิจยุคอินเทอร์เน็ต) หรือ new economy (เศรษฐกิจยุคใหม่) หรือ web economy

ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น? นั่นเป็นเพราะว่า ถ้าเรามีสินค้า หรือการซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ต จะมี platform อันเดียวกัน ใครๆ ก็รู้ว่าการซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตใช้เว็บ browser อย่างไร ไปหาสินค้าได้ที่ไหน ไปดูเว็บไซต์บริษัทต่างๆ ได้ ทุกคนรู้เหมือนกันหมดทั่วโลก กลายเป็นมาตรฐานทั่วโลก นอกจากการซื้อของขายของแล้ว ยังสามารถสื่อสาร ทำงานร่วมกัน สืบค้นข้อมูล หาข้อมูลต่างๆ ได้ ทำอะไรก็ง่ายไปหมด

และสิ่งที่คนพยายามทำขึ้นอีกอย่างคือ พยายามทำกิจกรรม สินค้า บริการ ให้เป็นดิจิตอล อะไรก็ได้ที่ convert เป็นดิจิตอลได้ ให้ทำให้หมด เช่น หนังสือถ้าเป็นกระดาษอาจจะขายได้ยาก มีต้นทุนสูง ก็ทำให้เป็น e-book ซึ่งอยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์ ก็จะทำให้ขายง่ายขึ้น, หนังวิดีโอ แทนที่จะเป็นม้วน เป็นแผ่น ก็ใช้การดาวน์โหลดมาดูแทน, นิตยสารดังๆ ก็สามารถเป็นสมาชิกได้ทางอินเทอร์เน็ต อ่านได้จากอินเทอร์เน็ต, โทรทัศน์ วิทยุ ก็มีการกระจายเสียง และคอนเท็นต์บนอินเทอร์เน็ต สามารถดูได้ทั่วโลก นอกจากนี้โปรแกรมซอฟต์แวร์ เกม เพลง ก็ไม่จำเป็นต้องตั้งแผงขาย สามารถให้ดาวน์โหลดไปได้เลย ส่วนเงินก็สามารถแปลงให้อยู่ในรูปของดิจิตอลได้

ธุรกรรมทางการเงิน ซื้อ ขาย เช่า เงินสดจำนวนมาก ลูกค้าเริ่มเชื่อใจว่าสามารถส่งเงินผ่านอินเทอร์เน็ตในรูปแบบของดิจิตอลได้ แต่บางอย่างก็ยังไม่สามารถทำได้ แต่อะไรที่ทำได้ต้องรีบทำ โดยเฉพาะธนาคาร ถ้าสามารถทำกิจกรรมทางการเงิน หรือธุรกรรมต่างๆ ผ่านหน้าเว็บเบราเซอร์ได้โดยที่ไม่ต้องเดินไปธนาคาร ก็จะดี นอกจากเงินสดเท่านั้นเองที่เป็นอุปสรรคของกิจกรรมทางการเงิน

ดังนั้นจึงมีคนลดการใช้เงินสดในหลายๆ วิธี ทั้งการออกบัตรสมาร์ทการ์ด, สมาร์ท Purse, เดบิต, เครดิตการ์ด เป็นต้น ซึ่งก็พยายามทำกันทุกรูปแบบ อีกทั้งการที่เงินอยู่ในรูปแบบของดิจิตอลยังมีความสะดวก รวดเร็วมากกว่า ต้นทุนการบริหารเงินสดไม่ว่าจะเป็นเหรียญหรือแบงก์มีมากกว่า เพราะฉะนั้นถ้าเราซื้อและขาย ทำธุรกรรมทางการเงินด้วยเงินที่เป็นดิจิตอล จะมีการหมุนเวียนของกระแสเงินในระบบสูงขึ้น

คำจำกัดความของ Electronic Business
คำนี้จะมีความหมายมากกว่าคำว่า e-Commerce หรือที่เรียกว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นการซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ต แต่ e-business ไม่จำเป็นต้องเป็นการซื้อขายเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการบริการ การให้คำปรึกษา การทำงานร่วมกันระหว่างพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจ

เปรียบเทียบ New Economy กับ Old Economy
จากตารางในหนังสือ จะเป็นการเปรียบเทียบว่าธุรกิจเก่า กับธุรกิจใหม่มีความแตกต่างกันอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นการทำราชการ เป็นเจ้าของธุรกิจ ก็ลองมาดูว่าเราสามารถทำให้เป็นธุรกิจใหม่ได้หรือไม่
ตัวอย่าง
1. การขายหนังสือ เมื่อก่อนจะซื้อหนังสือก็เดินไปที่ร้าน หรือไม่ก็โทรศัพท์ให้เอาหนังสือมาส่งให้ แต่การซื้อหนังสือแบบใหม่ ก็เข้าไปที่เว็บไซต์ของสำนักพิมพ์ หรือของร้านค้า แล้วก็สั่งซื้อ
2. การลงทะเบียนเรียน จากเดิมก็ต้องไปที่มหาวิทยาลัย หรือโรงเรียน จากนั้นก็ต้องกรอกแบบฟอร์ม เข้าคิว แต่แบบใหม่ก็เข้าไปที่เว็บไซต์เพื่อลงทะเบียน
3. การถ่ายรูป ก็เป็นการใช้กล้องดิจิตอล แทนการถ่ายภาพด้วยฟิล์ม
4. การซื้อน้ำมัน จากเดิมก็ไปเติมน้ำมัน แล้วจ่ายด้วยเงินสดหรือบัตรเครดิต แต่แบบใหม่จะใช้ความเร็วในการชำระเงินมากขึ้น โดยทำแค่โบกบัตรผ่านเครื่องอ่านเท่านั้น คล้ายๆ blue wave ของธนาคารกรุงเทพ
5. ตั๋วเดินทางต่างๆ ก็เปลี่ยนไป โดยเปลี่ยนจากเงินสด เป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์แทน
6. การซื้อของแบบที่คนไม่ต้องผ่าน Cashier โดยปกติเราซื้อของก็ต้องให้สแกนแล้วจ่ายเงิน แต่แบบใหม่จะแค่เข็นรถเข็นไปแล้วก็จะอ่านจาก RFID ซึ่งเป็น barcode ที่อ่านด้วยสัญญาณวิทยุทำให้มีความรวดเร็วมากขึ้น จากนั้นก็ชำระเงินด้วยบัตรเครดิตที่จุดชำระเงิน แล้วก็เข็นรถเข็นต่อไป ซึ่งกระบวนการต่างๆ สามารถทำได้โดยไม่ต้องผ่าน Cashier ทำให้สามารถใช้บริการได้เร็วขึ้น

Information System คืออะไร
ระบบสารสนเทศ แต่ก่อนก็คือระบบคอมพิวเตอร์ แต่ปัจจุบันก็เป็น Information system แต่จริงๆ ก่อนที่จะมีคอมพิวเตอร์เรามีระบบที่เรียกว่า การจัดการสารสนเทศ อยู่แล้ว ก็คือเวลาเลือกตั้ง หรือทำอะไรก็ตามที่มีข้อมูลเยอะๆ ก็ต้องเอามาประมวลผลอยู่แล้ว เช่น ต้องนับคะแนนเลือกตั้ง ซึ่งก็เป็นระบบสารสนเทศเหมือนกันแต่ปัจจุบันจะเป็นการทำด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ไม่ค่อยมีใครทำด้วยมือกันแล้ว

ระบบสารสนเทศ ก็เอาข้อมูลที่เป็น Input เป็นข้อมูลดิบมาประมวลผลให้เป็น Output ที่เป็นตัวเลข รายงาน ภาพกราฟิก เสียง ก็ได้ ระหว่างที่ Input จะเป็น output ก็จะเป็นการ process ทำการบวก ลบ คูณ หาร เปรียบเทียบ อันนี้ก็คือระบบ information system สามารถทำด้วยมือได้ แต่ตอนนี้ไม่มีใครทำแล้ว

ส่วนประกอบหลักของระบบประมวลผลสารสนเทศโดยใช้คอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย 6 ส่วนหลักๆ ด้วยกัน คือ Hardware, Software, Data, Network, Procedures (กระบวนการต่างๆ) และ People โดยจะขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไม่ได้ และทั้งหมดนี้เราเอามาสร้างสิ่งที่เรียกว่า application (โปรแกรมประยุกต์) หรือ ระบบงาน

เมื่อก่อนนี้ไม่ต้องมี Network แต่สมัยนี้ต้องมี Network เพิ่มเข้ามาอีก 1 ตัว เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องต่อ network ไม่อย่างนั้นก็ไร้ประโยชน์ นั่นคือสาเหตุที่เราต้องมาเรียนวิชา DCM

Application หรือโปรแกรมประยุกต์ หรือโปรแกรมที่นำมาใช้ทางธุรกิจ คือ โปรแกรมที่นำมาใช้เพื่อประมวลผลเฉพาะกิจ อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีให้เลือกใช้หลายอย่างมาก ตั้งแต่การค้าปลีก การค้าส่ง การผลิต การบริหารงานทรัพยากรบุคคล การตลาด สื่อต่างๆ ซึ่งจะสังเกตได้ว่าทุกกิจกรรมมีคอมพิวเตอร์ใช้งานทั้งนั้น ไม่มีอะไรที่ทำด้วยมืออีกแล้ว

แต่ว่าเราลองไปดูว่า ต่อให้ไอทีดีอย่างไรก็ต้องมีสิ่งที่เรียกว่า IT Failures

ตัวอย่างเช่น

1. การล่มสลายของธุรกิจ dot com ในช่วงปี 2000-2001 ซึ่งธุรกิจ e-commerce เกือบจะพังไปในช่วงนั้น เว็บไซต์มีการปิดตัวกันมากมาย
2. เว็บไซต์ของ Disney ที่ทำแล้วก็ไม่สำเร็จ
3. บริษัทไนกี้ทำเว็บไซต์แล้วขาดทุน 400 ล้านเหรียญ
4. AT&T บริษัทโทรคมนาคมในอเมริกา ในปี 2004 เกิดอยากจะทำระบบบริหารงานความสัมพันธ์ลูกค้า (CRM) ก็ไปซื้อระบบมาซึ่งมีราคาแพงมาก แล้วก็พังไป

ทำไมถึงต้องมาเรียนไอทีกัน
1. ไอทีเป็นส่วนสำคัญในองค์กร ทุกบริษัทต้องมี และนั่นก็ทำให้งานด้านไอทีมีเยอะขึ้น
2. ไอทีช่วยลดจำนวนพนักงานที่เป็นระดับผู้บริหารระดับกลางให้ลดลง เนื่องจากมีเครื่องมือต่างๆ มาช่วยได้
3. มีการเปลี่ยนบทบาทหน้าที่ของผู้บริหาร โอนงานให้ลูกน้องทำได้มากขึ้น
4. สามารถปรับปรุงคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
5. ช่วยให้คนพิการมีโอกาสมากขึ้น
6. ต่อต้านอาชญากรรม
7. เรียนไอทีแล้วมีแนวโน้มว่าจะรวยขึ้น ดูจากคนรวยอันดับต้นๆ ของโลก

Thursday, July 3, 2008

Summarize Sound Lecture Chapter 4

สรุปไฟล์เสียง Data Communication
Chapter 4: Making Connection (Summary)

ในบทที่ 3 เราได้พูดถึงการส่งข้อมูลโดยอาศัยสัญญาณอนาล็อก และดิจิตอลไปแล้ว ซึ่งในระบบสื่อสาร อุปกรณ์ในระดับ Physical Level จะประกอบด้วย อุปกรณ์ส่งข้อมูล อุปกรณ์รับข้อมูล และสื่อที่ใช้นำสัญญาณ

อุปกรณ์ส่ง จะทำหน้าที่ในการแปลง data ให้อยู่ในรูปแบบ signal ไม่ว่าจะเป็นแบบอนาล็อก หรือดิจิตอล ก็ตาม ในขณะที่อุปกรณ์รับ ก็จะทำหน้าที่รับสัญญาณแล้วแปลงให้กลับไปเป็นข้อมูล (data) เหมือนเดิม ส่วนสื่อ จะทำหน้าที่เป็นตัวนำสัญญาณจากฝั่งส่ง ไปยังฝั่งรับ

ในบทที่ 4 จะมาพูดถึงอุปกรณ์เหล่านี้ ที่ทำงานในระดับ Physical Layer ว่าในทางปฏิบัติ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ต่างๆ มีชื่อเรียกว่าอะไร และมีมาตรฐานอะไรที่เกี่ยวข้องบ้าง

นี่คือหัวข้อต่างๆ ที่จะพูดถึงในบทที่ 4
1. Modems และประเภทต่างๆ ของโมเด็ม
2. วิธีการรับส่งข้อมูลโดยที่ไม่ต้องอาศัยโมเด็ม เช่น ADSL โดยอาศัยระบบ ISDN
3. มาตรฐานในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์รับส่งข้อมูล เช่น โมเด็ม
4. รูปแบบของการส่งสัญญาณที่เรียกว่า Asynchronous และ Synchronous
5. รูปแบบของการเชื่อมต่อต่างๆ ในระดับของ Physical Level

เริ่มต้นเรามาดูอุปกรณ์ที่เรียกว่า Modems กันก่อน
อย่างที่รู้กันอยู่แล้วว่าคำว่า Modem ย่อมาจาก Modulation/Demodulation เป็นอุปกรณ์ที่ถ้าอยู่ในฝั่งส่ง จะทำหน้าแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบของสัญญาณ อนาล็อก แต่ถ้าอยู่ในฝั่งรับ จะทำหน้าที่แปลงสัญญาณอนาล็อกที่ได้รับให้เป็นข้อมูลเหมือนเดิม ซึ่งโดยปกติโมเด็ม จะสามารถทำหน้าที่รับและส่งได้พร้อมๆ กัน

ตามที่ได้กล่าวไปแล้วไปในบทที่ 2 ว่า รูปแบบการแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบของสัญญาณอนาล็อก สามารถทำได้โดยการปรับเปลี่ยนคุณสมบัติของสัญญาณอนาล็อก เช่น Amplitude, Frequency, Phase หรือปรับเปลี่ยนหลายๆ อย่างไปพร้อมๆ กัน

โมเด็มในปัจจุบันที่ใช้งานกับสายโทรศัพท์ตามบ้าน ปกติมีความเร็วในการรับ-ส่งสัญญาณสูงสุดที่ 56 Kbps

คุณสมบัติโดยทั่วไปของโมเด็ม ได้แก่ Auto Answer, Auto Dial, Auto Disconnect และ Auto Redial

Auto Dial คือ ตัวโมเด็มสามารถต่อสายโทรศัพท์ได้โดยตัวมันเอง โดยที่เราไม่ต้องสั่งให้หมุนหมายเลขโทรศัพท์
Auto Answer คือ ถ้าเป็นกรณีของโมเด็มที่ตั้งอยู่ แล้วผู้ใช้ในฝั่งตรงข้ามโทรเข้ามา จะสามารถรับสายได้โดยอัตโนมัติ

นี่เป็นคุณสมบัติของโมเด็มโดยพื้นฐานทั่วไปที่วางจำหน่ายในท้องตลาดปกติ

นอกจากนี้ โมเด็มยังมีความสามารถที่เราเรียกว่า Connection Negotiation โดยเป็นความสามารถที่อาจจะเรียกว่า Backward compatibility โดยโมเด็มได้ผลิตออกมาจำหน่ายและมีมาตรฐานพัฒนากันมาเรื่อยๆ ตั้งแต่ 10-20 ปีที่ผ่านมา ดังนั้นในท้องตลาดปัจจุบันจึงมีโมเด็มที่เป็นมาตรฐานล่าสุดที่เรียกว่า V.90 แต่ในขณะเดียวกันผู้ใช้โมเด็ม อาจจะมีจำหนึ่งที่ใช้ในรุ่นที่พัฒนามาก่อนโมเด็ม V.90

ความสามารถของโมเด็มโดยทั่วไป คือ สามารถคุยหรือเชื่อมต่อกับโมเด็มที่มีมาตรฐานต่ำกว่าได้ โดยกระบวนการตรงนี้เมื่อเราได้หมุนหมายเลขโทรศัพท์ โมเด็มทั้ง 2 ฝั่งจะมีการติดต่อ แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน โดยจะเชื่อมต่อกันด้วยความเร็วสูงสุดที่โมเด็มทั้ง 2 ฝั่งจะรองรับได้ โดยคุณสมบัตินี้เรียกว่า Connection Negotiation

นอกจากนี้โมเด็มยังมีความสามารถในการทำ Data compression คือ การลดขนาดของข้อมูลก่อนที่จะส่งไปยังสายโทรศัพท์ รวมทั้งมีความสามารถในการตรวจสอบความผิดพลาด (Error correction) ของการรับ-ส่งข้อมูล และปรับแก้ข้อผิดพลาดในการรับ-ส่งข้อมูลนั้นได้ โดยคุณสมบัติ 2-3 ประการที่กล่าวมานี้ เป็นคุณสมบัติเสริมของโมเด็มโดยทั่วไปที่มีวางจำหน่ายในตลาด

ส่วนหน้าที่หลักของโมเด็ม ก็คือการแปลงข้อมูลให้เป็นสัญญาณ และแปลงสัญญาณกลับไปเป็นข้อมูล (Modulation/Demodulation) แต่ฟังก์ชั่นต่างๆ เหล่านี้ ที่เห็นในสไลด์ที่ 4 ก็เป็นฟังก์ชั่นเสริม ที่มีประโยชน์เมื่อนำโมเด็มไปใช้ในเชิงปฏิบัติ โดยโมเด็มส่วนใหญ่ที่วางจำหน่ายอยู่ จะมีคุณสมบัติเหล่านี้เป็นมาตรฐานอยู่แล้ว

รูปแบบของโมเด็มที่มีจำหน่าย ถ้าจำแนกออกมาทางลักษณะทางกายภาพ จะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1. Internal Modem ซึ่งจะมี 2 แบบ คือ แบบเป็น Card เพื่อมาเสียบติดตั้งกับคอมพิวเตอร์ และแบบที่เป็น chip modem ที่ฝังตัวติดตั้งมากับเมนบอร์ด
2. External Modem เป็นโมเด็มที่เป็นกล่องแยกออกมาต่างหากจากเครื่องคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้องมีสาย cable ในการเชื่อมต่อระหว่าง External Modem กับคอมพิวเตอร์ โดยในสมัยก่อนรูปแบบการเชื่อมต่อจะผ่าน Serial Port แต่ปัจจุบันสามารถรองรับการเชื่อมต่อผ่าน USB Port ได้

โมเด็มที่มีการใช้งานส่วนใหญ่อยู่ในปัจจุบัน เรียกว่า 56K Modem โดยมีลักษณะการทำงานที่แตกต่างจากโมเด็มปกติ ซึ่งโมเด็มปกตินั้นจะมีหน้าที่อยู่ 2 อย่างขึ้นยู่กับว่า จะทำหน้าที่รับสัญญาณ หรือส่งสัญญาณ ถ้าส่งสัญญาณก็ทำหน้าที่ในการแปลงข้อมูลให้สัญญาณอนาล็อก ถ้ารับสัญญาณ ก็จะทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณอนาล็อกให้เป็นข้อมูลเหมือนเดิม โดยไม่ว่าจะเป็นการรับ หรือส่ง โมเด็มจะทำงานกับสัญญาณที่เป็นอนาล็อก

แต่ในกรณีของโมเด็มที่เป็น 56K modem ลักษณะการทำงานจะแตกต่างกันออกไป โดยที่ทั้งฝั่งส่ง และฝั่งรับ จะมีความแตกต่างกัน อย่างในภาพ (สไลด์ที่ 5) โมเด็มที่อยู่ในฝั่งส่งของ user จะเป็นโมเด็มที่ทำงานคล้ายคลึงกับโมเด็มมาตรฐานที่มีมาก่อนหน้านั้น แต่สำหรับ Modem V.90 ที่อยู่ในฝั่งของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต จะเป็นโมเด็มที่เป็นแบบ ดิจิตอล โมเด็ม (จริงๆ แล้วไม่ใช่โมเด็ม) โดยจะเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ แปลงข้อมูลให้เป็นสัญญาณดิจิตอล และแปลงสัญญาณดิจิตอลให้เป็นข้อมูลเหมือนเดิม นั่นคือเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ Data Encoding นั่นเอง

ดังนั้นลักษณะสำคัญของโมเด็ม 56K ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน คือ ลักษณะของโมเด็มทั้ง 2 ฝั่ง จะแตกต่างกัน โดยปกติโมเด็มที่ฝั่ง User จะทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณอนาล็อกให้เป็น Data กลับไปกลับมา ในขณะที่ฝั่งของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจะเป็นโมเด็มในลักษณะของ ดิจิตอล โมเด็ม

ในปัจจุบันมีมาตรฐานของโมเด็ม 56K อยู่ 2 มาตรฐานด้วยกัน นั่นคือ
1. มาตรฐาน V.90
2. มาตรฐาน V.92 (จะใหม่กว่า V.90)

ทั้ง V.90 และ V.92 จะมีลักษณะสำคัญ คือ จะมีความเร็วอยู่ 2 ขนาดด้วยกัน โดยจะมีความเร็วที่เรียกว่า Upstream และ Downstream

ความเร็ว Upstream คือ ความเร็วจากผู้ใช้ที่ต่อกับสายโทรศัพท์ส่งไปยังผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
ความเร็ว Downstream คือ ความเร็วจากฝั่งผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตส่งมายังผู้ใช้บริการตามบ้าน

ในโมเด็ม 56K ความเร็วของ Upstream และ Downstream จะไม่เท่ากัน โดยโมเด็ม มาตรฐาน V.90 จะมี ความเร็ว Upstream สูงสุดอยู่ที่ 33.6 Kbps มีความเร็วแบบ Downstream สูงสุดที่ 56 Kbps ส่วนโมเด็มมาตรฐาน V.92 จะมีความเร็ว Upstream สูงสุดที่ 48 Kbps และมีความเร็วแบบ Downstream สูงสุดที่ 56 Kbps

ความเร็วในแบบสูงสุด (Maximum) จะเป็นไปได้เมื่อสายส่ง หรือสายโทรศัพท์อยู่ในสภาพที่ดีมากๆ ซึ่งในทางปฏิบัติจะไม่ค่อยเกิดขึ้นนัก ส่วนใหญ่ความเร็วทั้ง Upstream และ Downstream จะมีความเร็วที่ต่ำกว่าความเร็วสูงสุดตามที่กล่าวมา

Modem Alternatives
นอกจากจะใช้โมเด็มในการรับ-ส่งสัญญาณแล้ว ยังมีวิธีการอื่นที่สามารถใช้รับส่งสัญญาณได้ด้วย ได้แก่

E1 Services เป็นรูปแบบหนึ่งของการให้บริการวงจรคู่สายเช่า หรือ Leased Line โดยในระบบของ E1 Line สามารถรับ-ส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็ว 2 Mbps สามารถรวม (combine) ทั้ง Voice และ Data เข้าไปในภายในสายส่งอันเดียวกันได้

โดยปกติการเชื่อมต่อด้วยบริการ E1 สามารถทำได้ด้วยการใช้สาย Twisted Pair หรือใช้สาย Coaxial Cable เพื่อที่จะรองรับการให้บริการ E1 Services อุปกรณ์ทั้งฝั่งส่งและฝั่งรับ ต้องเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงข้อมูลให้เป็นสัญญาณ digital โดยอุปกรณ์เหล่านี้จะเรียกว่า CSU/DSU

ในภาพ (ตามสไลด์ที่ 9) จะเป็นลักษณะการเชื่อมต่อโดยใช้ E1 Services โดยจะเห็นว่าตรง Label จะเขียนว่า T1 ซึ่งคือมาตรฐานการรับส่งข้อมูลด้วยวงจรคู่สายเช่า ที่ใช้อยู่ในแถบอเมริกาเหนือ ซึ่งจะคล้ายกับที่ใช้อยู่ในประเทศไทย และยุโรป ซึ่งในภาพจะเห็นว่าทั้งฝั่งรับและฝั่งส่ง จะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า CSU/DSU อยู่ ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับรูปแบบการเชื่อมต่อโดยใช้สายโทรศัพท์ ก็จะเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แทนตัวโมเด็มนั่นเอง เพียงแต่ว่าโมเด็มทำหน้าที่ในการแปลงข้อมูลไปเป็นสัญญาณอนาล็อก แต่ CSU/DSU จะทำหน้าที่ในการแปลงข้อมูลไปเป็นสัญญาณดิจิตอล และแปลงสัญญาณดิจิตอลกลับมาเป็นข้อมูล

ISDN เป็นการใช้สายโทรศัพท์ที่เราเรียนว่า สายโทรศัพท์ในระบบ ISDN บางครั้งก็เรียกว่า เป็นสายโทรศัพท์ในระบบดิจิตอล ซึ่งการใช้สายโทรศัพท์ในแบบ ISDN ได้ จะต้องมีอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณ ซึ่งเรียกว่า ISDN Modem

หรือในกรณีที่ใช้สายโทรศัพท์เพื่อใช้บริการที่เรียกว่า DSL หรือ ADSL ก็จะต้องใช้อุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงสัญญาณ ซึ่งจะเรียกว่า DSL Modem (จะพูดถึง ISDN และ DSL อีกครั้งในบทที่ 12)

Interface Standards
จากที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่าในการรับส่งข้อมูลเราจำเป็นจะต้องอาศัยอุปกรณ์ในการแปลงสัญญาณ ไม่ว่าจะเป็นโมเด็ม หรืออุปกรณ์ที่เรียกว่า CSU/DSU ก็ตาม ทีนี้เพื่อให้ข้อมูลสามารถส่งจากอุปกรณ์ เช่น คอมพิวเตอร์ไปยังอุปกรณ์ที่เรียกว่า โมเด็ม หรือ CSU/DSU จะต้องมีมาตรฐานในการเชื่อมโยงระหว่างอุปกรณ์ทั้ง 2 ส่วนนี้เข้าด้วยกัน เพื่อให้ข้อมูลสามารถเดินทางไปยังโมเด็ม แล้วให้โมเด็มแปลงข้อมูลแล้วส่งสัญญาณไปตามสาย

ในระบบสื่อสาร เรามีชื่อที่เรียกว่าแทนอุปกรณ์ที่เป็นต้นกำเนิดของข้อมูล เช่น คอมพิวเตอร์ หรือปลายทางของข้อมูล เช่น พรินเตอร์ ว่าเป็นอุปกรณ์ประเภท DTE (Data Terminal Equipment) ในขณะที่อุปกรณ์ที่ช่วยในการแปลงสัญญาณ เพื่อใช้ในการส่งข้อมูล เช่น โมเด็ม จะเรียกว่าเป็นอุปกรณ์ประเภท DCE (Data Circuit Terminating)

ในภาพจะเห็นว่าระหว่างอุปกรณ์ประเภท DTE และ DCE จะต้องมีสายเคเบิลเชื่อมต่อกัน เพื่อให้สามารถส่งข้อมูลถึงกันได้

Interface Standard ที่ใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์ประเภท DTE และ DCE จะมีหน่วยงานที่ออกมาตรฐานต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ส่วนหนึ่ง เช่น หน่วยงาน ITU ที่เป็นหน่วยงานหลักที่มีบทบาทในการออกมาตรฐานของโมเด็ม, EIA, IEE, ISO และ ANSI

มาตรฐานในการเชื่อมต่อ หรือ Interface แบบ standard นั้น มีข้อกำหนดคุณสมบัติต่างๆ เป็น 4 ส่วนด้วยกัน ได้แก่
1. Electrical Component ข้อกำหนดในเชิงไฟฟ้า ระดับของสัญญาณตั้งแต่ระดับใด ถึงระดับใด แทนข้อมูล 1 และระดับใด ถึงระดับใด แทนข้อมูล 0 โดยทั้งฝั่งส่งและฝั่งรับจะต้องใช้มาตรฐานทางไฟฟ้าอย่างเดียวกัน เพื่อให้การส่งและรับข้อมูลสามารถสื่อสารกันได้อย่างเข้าใจ สามารถแปลงข้อมูลที่ส่งไปได้ และเพื่อไม่ให้อุปกรณ์รับและส่งเกิดความเสียหาย อันเนื่องมาจากระดับของสัญญาณที่สูงเกินขนาด

2. Mechanical Component เช่น ขนาด รูปทรงของส่วนที่เป็น connector เช่น DB-9, DB-25 ที่ใช้มาตรฐานของ RS-232 ซึ่งจะใช้ใน Serial Port ของคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อทำให้อุปกรณ์ที่ผลิตตามมาตรฐานนี้สามารถเชื่อมต่อเข้ากันได้

3. Functional Component เช่น การกำหนดการเชื่อมต่อระหว่าง DTE และ DCE ต้องมีสายกี่เส้น แต่ละเส้นใช้ทำอะไรได้บ้าง ตัว connector มีกี่ PIN และแต่ละ PIN ใช้ส่งสัญญาณใดบ้าง

4. Procedural Component เป็นกระบวนการติดต่อระหว่าง DTE และ DCE จะต้องมีขั้นตอนในการติดต่ออย่างไร ซึ่งจะเป็นข้อกำหนด หรือมาตรฐานในการติดต่อระหว่างอุปกรณ์ DTE และ DCE

มาตรฐาน Serial Port ถือว่าเป็นมาตรฐานที่เราใช้สำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลในโหมดที่เรียกว่า Serial Data Transmission โดยในระบบของ Serial Data Transmission จะใช้สายแค่คู่เดียวในการส่ง หรือถ้าเป็นการส่ง และการรับ ก็จะใช้สาย 2 คู่ ดังนั้นเมื่อเป็นการส่ง และการรับที่ใช้สายคู่เดียวจึงส่งข้อมูลได้ทีละ bits เท่านั้น

ในขณะที่การส่งแบบ Parellel Transmission จะมีจำนวนเส้นในการส่งหลายๆ เส้น จึงทำให้เราสามารถส่งข้อมูลได้พร้อมๆ กัน ทีละหลายๆ bits
Serial Port ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า มาตรฐาน EIA-232 หรือ RS-232 เป็นมาตรฐานที่เก่ามากแล้ว แต่ก็ยังมีการใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน โดยเป็นมาตรฐานในการเชื่อมต่อกับระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งอุปกรณ์อื่นๆ และโมเด็ม อีกทั้งยังมีการกำหนดชื่อมาตรฐานย่อยๆ ลงไปอีก เช่น
1. Electrical Componet จะเป็นมาตรฐาน V28
2. Mechanical Componet จะเป็นมาตรฐาน ISO 2110
3. Function Component จะเป็นมาตรฐาน V24
4. Procedural component จะเป็นมาตรฐาน V24

ทั้งนี้มาตรฐานย่อยๆ อย่าง V28, ISO 2110 และ V24 ซึ่งเมื่อนำเข้ามาประกอบกัน จะเป็นมาตรฐานที่เรียกว่า RS-232 หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า EIA-232

นอกจากมาตรฐาน RS-232 แล้ว ยังมีมาตรฐานในการเชื่อมต่ออื่นๆ อีก เช่น FireWire และ USB

Firewire เป็นมาตรฐานที่เพิ่งจะมีการพัฒนามาเมื่อไม่นานมานี้ ลักษณะเด่นของ Firewire คือ สามารถเชื่อมต่อ และรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง สามารถรับ-ส่งข้อมูลได้สูงถึง 3.2 Gbps โดย Firewire จะมีใช้กันในอุปกรณ์ที่เป็นวิดีโอ เช่น กล้องดิจิตอล comcorder เพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกล้องวิดีโอกับอุปกรณ์อื่นๆ เช่น คอมพิวเตอร์

USB เป็นมาตรฐานที่สามารถรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง โดย USB 1.0 มีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลที่ 12 Mbps ในขณะที่ USB 2.0 มีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลที่ 480 Mbps

Asynchronous and Synchronous Connection

ปัญหาหนึ่งที่มีความสำคัญในระบบการสื่อสารข้อมูล คือ จะทำให้อย่างไรให้อุปกรณ์ส่ง และอุปกรณ์รับมีจังหวะการส่ง-รับที่สอดคล้องกันได้ ไม่เช่นนั้นอาจจะทำให้การรับ-ส่งข้อมูลเกิดความผิดพลาดได้ โดยการควบคุมจังหวะการรับ-ส่งข้อมูลให้สอดคล้องกัน เรียกว่า กระบวนการ Synchronization

ซึ่งถ้าเราจำแนกตามกระบวนการ หรือกลไกลที่จะทำให้เกิดการ Synchronization ระหว่างฝั่งส่ง กับฝั่งรับนั้น สามารถแยกรูปแบบการเชื่อมต่อออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ Asynchronous Connection และ Synchronous Connection

Asynchronous Connection คือ ในรูปแบบการเชื่อมต่อแบบนี้ การส่งข้อมูลในแต่ละครั้ง จะส่งได้ครั้งละ 8 bits โดยที่ก่อนจะส่งข้อมูล bits แรก จะต้องส่ง bits ที่เรียกว่า Start bits ไปก่อน แล้วพอจบ bits สุดท้าย จะต้องส่ง bits ที่เรียกว่า stop bits ไป ดังนั้นการส่งข้อมูลในแต่ละชุด จะประกอบด้วยจำนวนข้อมูล 10 bits โดยเริ่มจาก bits ที่เรียกว่า start bits แล้วตามด้วยชุดข้อมูลอีก 8 bits แล้วตบท้ายด้วย stop bits ซึ่งนี่เป็นรูปแบบการส่งข้อมูลแบบ Asynchronous Connection

1 ชุดข้อมูลหรือ 1 block จะประกอบด้วย bits ทั้งหมด 10 bits โดยเป็นข้อมูล หรือ Data ที่ต้องการส่ง 8 bits ซึ่งใน 8 bits ของ Data นี้ เราสามารถให้ bits สุดท้ายเป็น parity bits ซึ่งเป็น bits ที่เอาไว้สำหรับตรวจสอบความผิดพลาด ในการรับ-ส่งข้อมูล

ในขณะที่การรับส่งข้อมูลแบบ Synchronous Connections จะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป โดยสิ่งที่เห็นได้ชัดคือ ใน 1 block หรือ 1 ชุดข้อมูล จะประกอบด้วยไปด้วยข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ มีจำนวน bits ที่มากกว่า 8 bits ค่อนข้างมาก โดยปกติเป็นในระดับพันๆ บิท ขึ้นไป ซึ่งขนาดของ block ที่มีการส่งแบบ Synchronous จะมีขนาดใหญ่กว่า Asynchronous ค่อนข้างมาก

ข้อดีของการส่งแบบ Synchronous คือ ทำให้เราสามารถส่งข้อมูลได้เร็วกว่าแบบ Asynchronous และทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลดีกว่าแบบ Asynchronous

Connection Types
ในการเชื่อมต่อระหว่างฝั่งส่ง กับฝั่งรับ เราสามารถจำแนกรูปแบบการเชื่อมต่อได้ตามทิศทางในการรับส่งข้อมูล ได้ 3 แบบ ได้แก่
1. Half Duplex ระหว่างฝั่งส่ง และรับ สามารถส่งข้อมูลระหว่างกันได้ แต่ไม่สามารถรับ-ส่งข้อมูลได้พร้อมกัน ในเวลาเดียวกัน อย่างเช่นในระบบของ วิทยุ ที่เรียกว่า Walky Talky ที่จะไม่สามารถส่ง และรับข้อมูลไปพร้อมๆ กันได้ ต้องมีการสวิทซ์ กลับไปกลับมา
2. Full Duplex สามารถส่งและรับข้อมูลไปพร้อมๆ กัน ในเวลาเดียวกัน
3. Simplex เป็นรูปแบบของการสื่อสารทางเดียว คือมีฝั่งส่ง และฝั่งรับ ข้อมูลจะวิ่งจากฝั่งส่ง ไปยังฝั่งรับเท่านั้น ทางฝั่งรับไม่สามารถส่งข้อมูลกลับไปยังฝั่งส่งได้

นอกจากนี้ยังสามารถจำแนกการเชื่อมต่อได้ตามจำนวนจุด หรือตามจำนวนอุปกรณ์ที่มาเชื่อมต่อกับสายนำสัญญาณ โดยสามารถจำแนกออกมาได้เป็น 2 ลักษณะคือ การเชื่อมต่อแบบ Point-to-Point Connection และ การเชื่อมต่อแบบ Multipoint Connection

Point-to-Point Connection คือ มีอุปกรณ์ 2 อุปกรณ์ แล้วมีสายนำสัญญาณเชื่อมระหว่าง 2 อุปกรณ์นี้เข้าด้วยกัน

Multipoint Connection คือ เป็นกรณีที่มีสายนำสัญญาณเส้นเดียว แต่เชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์หลายๆ อุปกรณ์ ซึ่งอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านั้น จะแชร์สายนำสัญญาณเส้นเดียวกันนั้นในการแลกเปลี่ยนข้อมูลเข้าด้วยกัน

Tuesday, July 1, 2008

Grammar Practise ชุดที่ 2

แบบฝึกหัดทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษ

1. "I got an 'A" on the examination."
"You must be proud....yourself."

a. for
b. with
c. by
d. of


2. "Have you completed your homework?"
"No, but I....to."

a. should
b. ought
c. must
d. had better


3. "bob cannot work the problem."
"He probable needs to blush...on his algebra."

a. up
b. off
c. down
d. over


4. "Must we finish it?"
"Yes, we...."

a. will do
b. have to
c. should to
d. had to


5. "Where are Johnsons?"
"They drove into town... a good time."

a. for having
b. to have
c. so they will have
d. for have


6. "why did he leave?"
"He left...he had to study."

a. because of
b. despite
c. because
d. in spite of


7. "What is Jerry doing now?"
"He has a job....the staff of a large newspaper."

a. at
b. in
c. on
d. for


8. "I go to bed late at night."
"Well, what time do you get...bed in the morning."

a. up from
b. off of
c. down off
d. out of


9. "Does Frank speak English well?"
"Yes, he...it in this class since October."

a. studies
b. has studied
c. is studying
d. has been studied


10. "Some places accept cheques."
"But....take only cash."

a. some other
b. others ones
c. other one
d. others




Answers:

1.d 2.b 3.a 4.b 5.b 6.c 7.c 8.d 9.b 10.d