Thursday, August 7, 2008

MIT Assignment : Business Model

รายงานเรื่อง Business Model ของการค้าบนอินเทอร์เน็ต
จัดทำโดย นางสาวศศิธร นามงาม รหัสประจำตัว 51066621
อาจารย์ผู้สอน อ. ชัชชัย สาริมาน
รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา Managing Information Technology
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551
แขนงวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
วันที่ส่ง 7 สิงหาคม 2551


Perfumeforrent.com
ร้านเช่า แลกเปลี่ยน ประมูล น้ำหอมแบรนด์เนม


Perfume Daily Shop ร้านขายน้ำหอมแบรนด์เนม ที่มีเคาเตอร์หน้าร้านอยู่ในห้างสรรพสินค้ารายใหญ่ และช้อปปิ้งมอลล์ ทั่วประเทศกว่า 10 สาขา ต้องการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าให้สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่นิยมการใช้น้ำหอมแบรนด์เนมได้หลาย segment มากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่ชื่นชอบการใช้น้ำหอมหลายกลิ่น หลายแบรนด์ แต่มีทุนทรัพย์จำกัด, กลุ่มลูกค้าที่ชอบเปลี่ยนน้ำหอม เปลี่ยนกลิ่นกายไปเรื่อยๆ ตามสภาพอารมณ์ในแต่ละวัน หรือในแต่ละสถานการณ์ รวมไปถึงกลุ่มลูกค้าที่ต้องการแลกเปลี่ยนน้ำหอมกับผู้อื่น หรือต้องการประมูลน้ำหอมหายาก เพื่อเก็บสะสม หรือเพื่อนำมาครอบครองในราคาย่อมเยา

ดังนั้น Perfume Daily Shop จึงได้เพิ่มช่องทางการบริการทางออนไลน์เพิ่มขึ้นมาจากการขายน้ำหอมในหน้าร้านปกติ เพื่อตอบสนอง และจับกลุ่มลูกค้าให้มากขึ้น โดยได้เปิดเว็บไซต์ perfumeforrent.com ขึ้นมา เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้กับบริษัทมากขึ้น

Perfumeforrent.com Concept

Perfumeforrent.com เกิดขึ้นมาจากแนวคิดที่ว่า คนทุกคนคงไม่สามารถซื้อน้ำหอมแบรนด์เนม กลิ่นที่ตัวเองชอบได้ทุกขวด และกว่าที่จะใช้น้ำหอมขวดนั้นหมดก็ต้องใช้เวลาหลายเดือน หลายปี ซึ่งผู้ใช้เองก็จะรู้สึกเบื่อกับกลิ่นน้ำหอมที่ใช้อยู่เป็นประจำได้

อีกทั้งถ้าน้ำหอมขวดที่ซื้อมาเมื่อนำมาใช้แล้วกลับไม่ถูกใจ จะนำไปเปลี่ยนคืนก็ไม่ได้ จะให้ใครไปก็เสียดาย จะขายต่อให้คนอื่น ก็ลำบาก สุดท้ายกลายเป็นว่าเงินที่ใช้ซื้อน้ำหอมขวดนั้นก็ต้องเสียเปล่า และต้องเก็บไว้ในตู้อยู่เช่นเดิม ไม่สามารถทำอะไรให้งอกเงยขึ้นมาได้ นอกจากเดินหน้าไปร้านขายน้ำหอมแล้วเลือกซื้อขวดใหม่ กลิ่นใหม่ที่คิดว่าถูกใจมาแทน

นอกจากนี้ลองคิดดูว่า จะมีน้ำหอมสักกี่ขวดที่คุณใช้จนหมด เหลือทิ้งเก็บไว้ในตู้อยู่กี่ขวด ถ้าเป็นนักสะสมน้ำหอม สะสมขวดน้ำหอมคงจะชอบใจที่มีน้ำหอมเก็บไว้เป็นที่ระลึก แต่ก็ใช่ว่าทุกคนที่ใช้น้ำหอมจะมีลักษณะนิสัยที่ชอบสะสมน้ำหอมไปด้วย

ด้วยเหตุนี้ perfumeforrent.com เว็บไซต์ที่มุ่งให้บริการในแบบ B2C (Business to Customer) จึงกำเนิดขึ้นมา เพื่อให้เป็นแหล่งเช่าน้ำหอมแบรนด์เนม แลกเปลี่ยน และประมูลน้ำหอมให้กับผู้ที่ใช้น้ำหอมอยู่เป็นประจำ แต่เบื่อความจำเจกับน้ำหอมกลิ่นเดิมๆ ต้องการเปลี่ยนกลิ่นไปเรื่อยๆ แต่ไม่มีทุนทรัพย์มากพอที่จะซื้อน้ำหอมทุกกลิ่น ทุกขวด ก็สามารถมาเช่าใช้ได้

อีกทั้งยังเป็นแหล่งให้กับผู้ที่ต้องการแลกเปลี่ยนน้ำหอมที่เหลือกับผู้อื่น เพื่อให้ได้มีน้ำหอมกลิ่นใหม่ แบรนด์ใหม่ที่แตกต่างไปจากที่ใช้ หรือเป็นกลิ่นที่กำลังต้องการ ส่วนผู้ที่ต้องการขายน้ำหอมขวดเดิมที่เหลือใช้ หรืออาจจะเก็บไว้หลายปี ไม่คิดจะสะสม ก็สามารถนำมาประมูลซื้อขายในตลาดกลางได้

บริการต่างๆ บนเว็บไซต์เหล่านี้ ล้วนเป็นการเพิ่มศักยภาพให้กับธุรกิจขายน้ำหอม ที่มีหน้าร้านกระจายอยู่ในหัวเมือง และแหล่งชุมชนต่างๆ เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ให้มีบริการที่ครอบคลุม และตอบโจทย์กับความต้องการของผู้บริโภคได้ในทุกระดับ

Business model of perfumeforrent.com

1. สินค้าและบริการ
บริการให้เช่า แลกเปลี่ยน และประมูลน้ำหอม จะเน้นสินค้าที่เป็นน้ำหอมแบรนด์เนมของแท้เท่านั้น ราคาน้ำหอมแต่ละขวดที่นำมาให้บริการมีต้นทุนไม่เกิน 2,500 บาท ในเบื้องต้นของการเปิดให้บริการจะคัดสรรน้ำหอมที่ได้รับความนิยมเป็นจำนวนมากมาให้บริการก่อน โดยข้อมูลเหล่านี้จะมาจากยอดขายหน้าร้าน การสำรวจสถิติ การสอบถามจากร้านค้าอื่นๆ และผู้บริโภค

2. กระบวนการให้บริการ
นโยบายของการให้บริการบนเว็บไซต์ perfumeforrent.com นั้น ผู้เข้ามาใช้บริการทุกคนจะต้องเป็นสมาชิกกับทางเว็บไซต์ และต้องมีการชำระเงินค่าประกันสินค้า จำนวน 5,000 บาท ให้กับทางเว็บไซต์ก่อน ถึงจะมีสิทธิเข้ามาขอเช่าน้ำหอมจากทางเว็บไซต์ได้ โดยเงินประกันค่าสินค้าทางเว็บไซต์จะคืนให้ภายใน 2 เดือน หลังจากหมดอายุสมาชิกรายปี และสมาชิกรายนั้นแสดงความจำนงว่าไม่ต้องการต่ออายุสมาชิกอีก

โดยการเช่าน้ำหอมนั้น สมาชิกสามารถเช่าได้ครั้งละไม่เกิน 2 ชนิด ซึ่งแต่ละชนิดจะสามารถเลือกได้ว่าต้องการเช่า 7 วัน หรือ 15 วัน คิดอัตราค่าเช่า 300 บาทต่อชนิด สำหรับการเช่า 7 วัน และ 500 บาทต่อชนิด สำหรับการเช่า 15 วัน ซึ่งผู้ที่ต้องการเช่าสามารถสั่งจองผ่านเว็บไซต์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง 7 วัน สามารถรับสินค้าได้ภายใน 3 วัน โดยจะมารับที่เคาเตอร์ที่อยู่ใกล้ที่สุด หรือจะให้จัดส่งทางไปรษณีย์ก็ได้

ส่วนการคืนสินค้าเมื่อครบกำหนด ผู้เช่าสินค้าจะต้องคืนสินค้าให้กับทางร้านภายใน 3 วันหลังจากหมดเวลาการเช่า โดยจะส่งคืนทางไปรษณีย์ หรือจะมาคืนที่เคาเตอร์หน้าร้านที่อยู่ใกล้บ้านที่สุดก็ได้ ซึ่งสินค้าที่นำส่งกลับมาจะต้องไม่ชำรุด เสียหาย หากสินค้าเกิดการชำรุด เสียหาย เช่น ขวดแตก หัวฉีดน้ำหอมเสียหาย ขวดเป็นรอย เป็นต้น ผู้เช่ารายนั้นจะต้องซื้อน้ำหอมขวดนั้นในราคาเต็มของสินค้าทันที

น้ำหอมแต่ละขวดที่ส่งมอบให้กับลูกค้า จะมีการติดสติกเกอร์ลายน้ำที่เมื่อลอกออกแล้วจะเกิดการฉีกขาดทันทีทุกขวด เพื่อป้องกันการลักลอบนำน้ำหอมไปใช้เกินกว่าความจำเป็น เก็บกักตุน และเป็นการตรวจสอบความซื่อสัตย์ของลูกค้าแต่ละรายที่เช่าสินค้าไปด้วย

ในส่วนการแลกเปลี่ยนนั้น เป็นบริการที่ปิดให้สมาชิก และบุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่สมาชิกสามารถแลกเปลี่ยนสินค้ากันได้ภายในเว็บไซต์แห่งนี้ โดยจะมีการนำสินค้าซึ่งก็คือน้ำหอมที่ต้องการแลกเปลี่ยนขึ้นไปโพสต์เอาไว้บนเว็บ พร้อมเบอร์ติดต่อ หากมีใครสนใจจะแลกเปลี่ยนสินค้ากันก็สามารถติดต่อกันได้โดยตรง หรือจะคุยกันผ่านเว็บไซต์ก็ได้ โดยจะมีเว็บบอร์ดสำหรับการติดประกาศในหัวข้อต่างๆ ซึ่งต่อไปในอนาคตบริการส่วนนี้จะขยายสินค้าออกไปในวงกว้างมากขึ้น มีการจัดหมวดหมู่ประเภทสินค้าที่ต้องการแลกเปลี่ยน รองรับการแลกเปลี่ยนทั้งในแบบ B2B และ B2C ซึ่งบริการในส่วนนี้ทางเว็บไซต์จะเปิดให้บริการฟรี ไม่คิดค่าใช้จ่าย

ในส่วนการประมูล เป็นบริการที่ให้สมาชิกนำน้ำหอมเหลือใช้ หรือเก่าเก็บ หรืออาจจะเป็นน้ำหอมใหม่แกะกล่อง ออกมาประกาศ และตั้งราคาประมูลในตลาดกลางแห่งนี้ได้ โดยสมาชิกในเว็บไซต์ และคนทั่วไปที่มาสมัครใช้บริการในส่วนนี้สามารถประมูลสินค้าที่ตัวเองต้องการกลับไปได้ รวมทั้งยังสามารถนำสินค้ามาโพสต์เพื่อตั้งราคาประมูลได้ด้วย โดยบริการในส่วนนี้ทางเว็บไซต์ก็จะมีสินค้าพิเศษนำมาร่วมประมูลด้วยเช่นกัน ซึ่งบริการในส่วนนี้ในอนาคตจะมีการเพิ่มหมวดหมู่สินค้าให้มากขึ้น เพื่อรองรับสินค้าและความต้องการที่หลากหลายของผู้ที่เข้ามาใช้บริการให้เกิดความพึงพอใจอย่างสูงสุด

3. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มผู้ชาย และผู้หญิง ที่นิยมการใช้น้ำหอมแบรนด์เนม โดยในเบื้องต้นจะเน้นจับกลุ่มคนวัยทำงาน อายุ 21-40 ปี เป็นหลัก

4. แหล่งสินค้า
สินค้าที่นำมาให้บริการ จะมีทั้งที่มาจากเจ้าของเว็บไซต์เอง, สมาชิก และบุคคลทั่วไป ที่เข้ามาใช้บริการในเว็บไซต์ โดยสินค้าที่มาจากทางเจ้าของเว็บไซต์ซึ่งเป็นสินค้าที่มีอยู่ในหน้าร้านอยู่แล้ว หรืออาจจะมีการหาสินค้ามาเพิ่มเติมด้วยนั้นจะมีราคาไม่เกิน 2,500 บาทต่อขวด มีน้ำหอมให้เลือกในเบื้องต้น 20 ชนิด และจะขยายเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ โดยเฉลี่ยจะมีสินค้าเพิ่มขึ้นเดือนละ 5-10 ชนิด

น้ำหอมแบรนด์เนมที่จะถูกคัดเลือกนำมาให้บริการ ได้แก่ Alexander McQueen, Anna Sui, Aramis, Azzaro, Benetton, Burberry, Bvlgari, Cacharel, Calvin Klein, Carolina Herrrera, Cavalli, Cerruti, Chanel, Chloe , Chopard, Christian Lacroix , Clinique, Dana, Davidoff, Diesel, Dior, DKNY, Dolce & Gabbana, Donna Karan, Dunhill, Elizabeth Arden, Emanuel Ungaro, Emporio Armani, Enigma, Escada, Estee Lauder

Fendi, Ferrari, Ghost, Giorgio Beverley Hill, Givenchy, Gres, Gucci, Guerlain, Guy Laroche, Halston, Hermes, Hugo Boss, Iceberg, Inis, Issey Miyake, Jaguar, Jasper Conran, Jean Patou, Jean Paul Gaultier, Joop, Juicy Couture, Kenzo, La Perla, Lacoste, Lancome, Lanvin, Laura Biagiotti, Lolita Lempicka, Marc Jacobs, Matthew Williamson, Miss Morabito

Miss Sixty, Morgan, Moschino, Narciso Rodriguez, New Launched, New Scentsations, Nina Ricci, Oscar de La Renta, Paco Rabanne, Paloma Picasso, Paul Smith, Pierre Cardin, Police, Prada, Puma, Ralph Lauren, Revlon, Rimmel, Rochas, Roxy, Salvador Dali, Sean John, Storm, Sun Care, Ted Baker, Thierry Mugler, Tommy Hilfiger, Trussardi, Valentino, Van Clef & Arples, Vanderbilt, Vera Wang, Versace, Viva Box, Vivienne Westwood, Worth และ Yves Saint Laurent

5. ต้นทุนค่าใช้จ่าย
ต้นทุนของการให้บริการ ประกอบไปด้วย ค่าน้ำหอม, ค่าจัดส่ง, ค่าโฮสติ้ง, ค่าจดโดเมนเนม, ค่าสติกเกอร์สำหรับปิดปากขวดเพื่อป้องกันการทุจริต, ค่ากล่องบรรจุน้ำหอม เพื่อป้องกันไม่ให้สินค้าเสียหายระหว่างการจัดส่ง, เครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องสำหรับการดูแลลูกค้าออนไลน์, ค่าพรินเตอร์แบบ Dot Metrix สำหรับพิมพ์เอกสารการเช่าสินค้า, ค่าเงินเดือนพนักงาน 2 คน สำหรับดูแลลูกค้าออนไลน์โดยเฉพาะ (แต่ในเบื้องต้นอาจจะดูแลเองไปก่อน), ค่าตู้วางสต็อกสินค้า 1 ใบ และ ค่ากระดาษพิมพ์แบบฟอร์มการเช่าสินค้า ดังนั้นต้นทุนสำหรับการเริ่มบริการทางด้านออนไลน์ พร้อมเงินหมุนเวียนในร้านค้าออนไลน์แห่งนี้ ควรจะมีไม่น้อยกว่า 1.5 แสนบาท

6. ราคาค่าบริการ/การจัดส่ง/การชำระเงิน
ค่าสมาชิกกับทางเว็บไซต์ : ฟรี
ค่าประกันสินค้า : 5,000 บาทต่อราย เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่เกิดจากการเช่าน้ำหอมแล้วไม่ส่งคืนร้านค้า
การเช่าน้ำหอม : ครั้งละไม่เกิน 2 ชนิด
ระยะเวลาในการเช่า : 7 วัน หรือ 15 วัน
อัตราค่าเช่า : 300 บาทต่อชนิด สำหรับการเช่า 7 วัน และ 500 บาทต่อชนิด สำหรับการเช่า 15 วัน
ช่องทางการสั่งจอง: เว็บไซต์ perfumeforrent.com, โทรศัพท์ และ เคาเตอร์หน้าร้าน
การจัดส่งสินค้า : ลูกค้าจะได้รับสินเค้าภายใน 3 วันหลังการสั่งจอง โดยสามารถมารับสินเค้าได้ที่เคาเตอร์ที่อยู่ใกล้ที่สุด หรือจัดส่งทางไปรษณีย์
การชำเงิน : โอนเงินผ่านธนาคาร, จ่ายผ่านบัตรเครดิต, จ่ายผ่านโทรศัพท์มือถือ, paysbuy, paypal, thaiepay เป็นต้น



แผนการโฆษณาและการตลาด

Keyword สำคัญที่จะนำมาใช้ในการโฆษณา และการทำตลาด คือ เช่า, น้ำหอม, Perfume, แลกเปลี่ยน, ประมูล, Exchange, Auction, Rent, Perfume bottles, แลกน้ำหอม, เช่าน้ำหอม เป็นต้น

ในส่วนแผนการตลาดและโฆษณาที่จะนำมาใช้โปรโมทเว็บไซต์ จะประกอบไปด้วย
1. การทำ banner ที่จะนำไปติดในส่วนบนของหน้าเว็บไซต์
2. การแลกลิงก์กับเว็บไซต์ที่มีชื่อเสียง และในกลุ่มพันธมิตรที่รู้จัก
3. เข้าไปเพิ่มชื่อเว็บไซต์ในฟรีเว็บไซต์ไดเร็กทอรี่ชื่อดัง เช่น google.com, yahoo.com, msn.com เป็นต้น และควรจะเข้าไปเพิ่มชื่อเว็บไซต์ในฟรีเว็บไดเร็กทอรี่ให้ได้มากที่สุด
4. เข้าไปสมัครในเว็บบอร์ดหรือฟอรั่มต่างๆ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเว็บไซต์ และที่มีเนื้อหาไม่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ โดยเลือกสมัครกับฟอรั่มหรือเว็บบอร์ดที่ดังๆ มีคนเข้ามาใช้บริการเป็นจำนวนมาก จากนั้นก็ขยันใส่คอมเม็นต์ต่างๆ เข้าไป และสร้าง signature ของตัวเองเอาไว้ เพื่อให้แต่ละคอมเม็นต์ที่โพสต์ไปนั้นมีชื่อเว็บไซต์ หรือสโลแกนที่ใช้ติดไปด้วยทุกครั้ง ซึ่งจะทำให้คนรู้จักมากขึ้น
5. นำเทคโนโลยี RSS เข้ามาติดบนเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถติดตามความเคลื่อนไหวของเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้น
6. นำเว็บไซต์ไปสมัครใช้บริการกับ Google AdSense เพื่อนำโฆษณาจาก Google มาติดที่หน้าเว็บไซต์เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับเว็บไซต์เพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง แต่ในขณะเดียวกันก็ใช้ Google AdWords ด้วย เพื่อเพิ่มโอกาสในการแสดงหน้าเว็บไซต์ให้อยู่อันดับต้นๆ ด้วยคีย์เวิร์ดต่างๆ ที่เลือกเอาไว้
7. ส่ง Email Newsletter หรือจดหมายข่าวต่างๆ ไปให้กับสมาชิก และฐานลูกค้าเดิมที่ได้จากการขายหน้าร้าน
8. สร้าง Widget หรือโปรแกรมขนาดเล็กขึ้นมาโดยจะเป็นเกมเกี่ยวกับน้ำหอม ใช้เล่นเพื่อคลายเครียด ยามว่าง ซึ่ง Widget ดังกล่าวจะเปิดให้ผู้ที่สนใจโหลดไปติดตั้งที่เครื่องของตัวเองได้ จากนั้นทางเว็บไซต์ก็สามารถส่งข้อมูลข่าวสาร ความเคลื่อนไหวต่างๆ ผ่าน Widget นั้นได้ด้วย
9. ใช้ Viral Marketing หรือการทำการตลาดแบบปากต่อปาก เข้ามาช่วยในการทำตลาด และโปรโมทเว็บไซต์ให้เป็นที่รู้จัก โดยสร้างเป็นเกมทายใจ หรือเกมให้ตอบคำถามว่าคุณชอบน้ำหอมแบบไหน หรือน้ำหอมแบบไหนถึงจะเหมาะกับบุคลิกของคุณ เป็นต้น จากนั้นก็นำไปสร้างกระแสในเว็บบอร์ดดังๆ อย่างพันธุ์ทิพย์ หรือตามเว็บไซต์ชื่อดังต่างๆ ให้คนได้เข้ามาลองเล่น ซึ่งจะเป็นการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักได้อีกทางหนึ่ง
10. ทำการตลาดผ่าน Social Network เช่น hi5.com, myspace.com, bloggang.com, blogspot.com, facebook.com เป็นต้น ด้วยการเข้าไปสมัครเป็นสมาชิก แล้วนำบทความ เรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับน้ำหอม รวมทั้งบริการของทางเว็บไซต์ไปเผยแพร่เอาไว้ในเว็บไซต์ social network เหล่านี้ โดยการลงเนื้อหาแต่ละแห่ง ต้องให้เหมาะสมกับลักษณะของสังคมนั้นๆ ด้วย เพื่อไม่ให้เกิดการต่อต้านจากสังคม ซึ่งจะทำให้เสียชื่อแบรนด์ได้
11. ทำสติกเกอร์โฆษณาเว็บไซต์ติดไว้ตามเคาเตอร์ที่เป็นหน้าร้านปกติ
12. ทำคูปองลดราคาค่าเช่าน้ำหอม ให้กับลูกค้าที่มาซื้อสินค้าจากหน้าร้านปกติ ส่วนบนเว็บไซต์ก็ทำคูปองลดราคาการซื้อน้ำหอม โดยผู้ที่สนใจสามารถพิมพ์คูปองออกมา แล้วนำไปใช้เป็นคูปองส่วนลดการซื้อน้ำหอมที่หน้าร้านปกติได้

ทั้งนี้ตำแหน่งการวางโฆษณา หรือแบนเนอร์ต่างๆ บนหน้าเว็บไซต์จะยึดจากหลักของ “แผนที่ความร้อนแรง” ตามภาพข้างล่าง



"แผนที่ความร้อนแรง" นี้แสดงให้เห็นการจัดตำแหน่งที่ดีที่สุดบนหน้าเว็บไซต์ โดยสีจะไล่จากสีส้มเข้ม (ประสิทธิภาพสูงสุด) ไปยังสีเหลืองอ่อน (ประสิทธิภาพต่ำสุด) เมื่อปัจจัยอื่นๆ เหมือนกัน โฆษณาที่อยู่เหนือรอยต่อของหน้าจะมีประสิทธิภาพสูงกว่าโฆษณาที่อยู่ช่วงล่างรอยต่อของหน้า โดยโฆษณาที่อยู่ใกล้กับเนื้อหาหลัก และ Navigation bar มักจะมีประสิทธิภาพสูง เนื่องจากผู้เข้ามาที่เว็บไซต์จะมุ่งความสนใจไปยังพื้นที่ส่วนนั้นของหน้าเว็บกันเป็นส่วนมาก

ปัจจัยสู่ความสำเร็จ
เนื่องจากบริการให้เช่าน้ำหอม ยังไม่มีใครเปิดให้บริการ จึงถือว่าเป็นธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตทางการตลาดสูงมากสามารถนำเสนอให้กับผู้บริโภคทั้งในกลุ่มที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นประจำ และกลุ่มลูกค้าทั่วไปที่ไม่ได้ใช้อินเทอร์เน็ต ให้รู้จักกับบริการในรูปแบบใหม่ที่จะนำเสนอสู่ตลาด และยังสามารถตอบโจทย์ในเรื่องความต้องการของผู้บริโภค และสภาวะทางเศรษฐกิจที่ผู้บริโภคต้องใช้เงินกันอย่างประหยัดมากขึ้น แต่ได้สินค้าที่ดี ตรงกับความต้องการ น่าพึงพอใจในราคาเหมาะสมมาใช้งานได้

นอกจากนี้เว็บไซต์ยังเป็นการเพิ่มช่องทางการขายให้เพิ่มขึ้นจากธุรกิจเดิมที่มีอยู่ได้อีกทางหนึ่ง โดยการนำสินค้าที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น มีโอกาสในการขายสินค้ามากขึ้น ขยายฐานลูกค้าให้เพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม โดยที่ไม่ต้องลงทุนสูง และยังมีโอกาสขยายบริการออกไปสู่ตลาดต่างประเทศ รวมไปถึงการขยายไลน์สินค้า ด้วยการสร้างน้ำหอมแฮนด์เมดแบรนด์ไทย ที่มีลักษณะเฉพาะตัวให้ก้าวไกลสู่ตลาดต่างประเทศได้ต่อไป

สโลแกนของเว็บไซต์
Perfumeforrent.com ผู้ให้บริการเช่า แลกเปลี่ยน ประมูล น้ำหอมแบรนด์เนมรายแรกของโลก

โครงร่างหน้าเว็บไซต์ perfumeforrent.com

ISC Assignment : Notebook Specification

รายงานวิชา Information System Concepts
อาจารย์ผู้สอน รศ.ดร. จันทร์บูรณ์ สถิตวิริยวงศ์
หัวข้อ Hardware Specification
ผู้ส่ง ศศิธร นามงาม รหัส 51066621
วันที่ส่ง 1 กรกฎาคม 2551

Notebook Specification

การเลือกโน้ตบุ๊กเพื่อนำมาใช้งาน จะต้องมีองค์ประกอบในหลายๆ ส่วนที่นำมาใช้ในการพิจารณาเลือกซื้อ อาทิ วัตถุประสงค์การใช้งาน, หน่วยประมวลผล, หน่วยความจำ, น้ำหนัก, ขนาดหน้าจอ, แบตเตอรี่, ขนาดฮาร์ดดิสก์,ความสามารถในการแสดงผล, การรองรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ เพื่อขยายความสามารถในการทำงาน, ไดร์ฟสำหรับการอ่านแผ่นซีดี และความสามารถในการรองรับเทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารต่างๆ เช่น บลูทูธ, Wi-Fi เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงระบบปฏิบัติการที่จะนำมาใช้ด้วย

วัตถุประสงค์ของการใช้งาน
สำหรับการเลือกซื้อโน้ตบุ๊กในครั้งนี้ จะเน้นการใช้งานทั่วไป เช่น งานเอกสาร การใช้งานอินเทอร์เน็ต การใช้งานในเชิงมัลติมีเดีย ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม และการใช้งานในเชิงกราฟิก ในกรณีที่มีการตกแต่งภาพด้วยโปรแกรม Adobe Photoshop โดยตัวเครื่องจะต้องมีขนาดที่พกพาได้สะดวก ไม่ใหญ่มากนัก น้ำหนักเบา เพื่อให้เหมาะกับลักษณะการทำงานที่ต้องมีการเคลื่อนที่ เดินทางอยู่เสมอ

หน่วยประมวลผล
จากการที่เทคโนโลยีมีการปรับเปลี่ยนอยู่เสมอ จึงทำให้มีหน่วยประมวลผลรุ่นใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม ทั้งในแง่ความเร็ว และความสามารถในการรองรับการทำงานที่มากขึ้นกว่าเดิม อีกทั้งยังได้มีการออกแบบ ปรับปรุง และพัฒนาสถาปัตยกรรมในรูปแบบใหม่ๆ ให้กับหน่วยประมวลผล เพื่อให้เหมาะกับลักษณะการทำงานของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป สามารถประหยัดพลังงานได้มากกว่าเดิม แต่มีราคาที่ไม่ได้ขยับสูงขึ้นจากเดิมที่วางขายในท้องตลาดมากนัก

หน่วยประมวลผลที่ผลิตขึ้นมาใช้งานกันโน้ตบุ๊ก หลักๆ แล้วจะมีอยู่ 3 ค่าย คือ อินเทล (Intel) เอเอ็มดี (AMD) และ ทรานเมต้า (Transmeta) แต่ที่ได้รับความนิยมมากในท้องตลาด มีผู้ผลิตโน้ตบุ๊กนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในตัวเครื่องกันมากจะเป็นของค่ายอินเทล เพราะเชื่อในเสถียรภาพและมีชื่อเสียงในการผลิตหน่วยประมวลผลสำหรับโน้ตบุ๊กมานาน ผู้บริโภคส่วนใหญ่ให้การยอมรับ

การเลือกซื้อโน้ตบุ๊กในปัจจุบันนั้น ควรจะนำเรื่องการประหยัดพลังงาน กินไฟต่ำ เข้ามาพิจารณาด้วย โดยหน่วยประมวลผลที่เป็นแบบ Ultra Low Voltage จะกินไฟที่ประมาณ 10-17 วัตต์ ในขณะที่หน่วยประมวลผลรุ่นปกติ จะกินไฟที่ประมาณ 34-35 วัตต์

ทั้งนี้ หน่วยประมวลผลที่ควรจะเลือกใช้ในปัจจุบันนั้น หากเลือกใช้หน่วยประมวลผลของค่ายอินเทล ควรจะเป็นรุ่น Intel Core 2 Duo ที่มีความเร็ว 2.0 GHz เป็นอย่างต่ำ มีหน่วยความจำชนิดแคช (Cache Memory) ระดับ 2 ไม่น้อยกว่า 2 MB มี Front Side Bus (FSB) ขนาดไม่น้อยกว่า 533 MHz หรือจะเลือกใช้ AMD Turion ที่เป็นสถาปัตยกรรมแบบ 64 bit ความเร็วอย่างต่ำ 2.0 GHz ก็ได้เช่นกัน

หน่วยความจำ
อุปกรณ์ส่วนนี้ถือเป็นชิ้นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพราะเป็นส่วนที่ต้องจดจำทั้งชุดคำสั่ง ผลลัพธ์จากการประมวลผล เป็นแหล่งเก็บข้อมูลชั่วคราว และยังเป็นส่วนสำคัญในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งปัจจุบันหน่วยความจำในเครื่องควรจะเป็นแบบ DDR2 SDRAM ขนาด 1GB ขึ้นไป ส่วนความเร็วของหน่วยความจำนั้นไม่ควรน้อยกว่า 533 MHz แต่ถ้าใช้ระบบปฏิบัติการ Microsoft Vista ควรจะมีอย่างน้อย 2 GB เพื่อช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้รวดเร็วมากขึ้น โดยเครื่องโน้ตบุ๊กที่เลือกนั้น ควรจะต้องมีช่องเพื่อขยายหน่วยความจำหลัก (Main Memory) ไม่น้อยกว่า 1 ช่อง และหน่วยความจำหลักต้องขยายได้ไม่น้อยกว่า 4 GB

น้ำหนัก
สำหรับการใช้งานที่ต้องมีการเดินทาง เคลื่อนที่อยู่เสมอ ควรเลือกเครื่องมีที่น้ำหนักเบา ไม่ควรเกิน 2 กิโลกรัม

หน้าจอ
หน้าจอมีส่วนสำคัญกับเรื่องน้ำหนักโดยรวมของตัวเครื่อง ยิ่งมีหน้าจอใหญ่ เครื่องก็จะยิ่งหนักตามไปด้วย ซึ่งขนาดหน้าจอที่เหมาะกับการใช้งานในแบบพกพานั้น ไม่ควรเกิน 14 นิ้ว และควรเป็นจอแบบ LCD TFT Wide Screen เพื่อจะได้ขยายมุมมองการมองให้เพิ่มขึ้น ความละเอียดอย่างน้อย 1,024x800 pixel

แบตเตอรี่
แบตเตอรี่ค่อนข้างมีความสำคัญกับการใช้งานที่ต้องมีการเดินทาง เคลื่อนที่อยู่เสมอ โดยการเลือกแบตเตอรี่นั้น ควรจะเลือกที่มีความจุสูง ซึ่งจะมีหน่วยเป็นมิลลิแอมป์ (mAh) ยิ่งมีจำนวนมิลลิแอมป์มาก ยิ่งใช้งานได้นาน แต่บางทีก็จะเรียกกันเป็น cell เช่น 4 cell, 6 cell, 8 cell เป็นต้น ยิ่งมีจำนวน cell มาก ก็ยิ่งใช้งานได้นาน เพราะสามารถเก็บประจุไฟฟ้าไว้ได้มาก

หน่วยเก็บข้อมูล (Storage)
หน่วยเก็บข้อมูลชนิดติดตั้งภายใน หรือที่เรียกกันว่า ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) นั้น มีขนาดความจุมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ราคาไม่ได้ปรับขึ้นตามมากนัก โดยโน้ตบุ๊กที่ใช้ในปัจจุบันควรจะมีความจุอย่างต่ำ 80 GB มีความเร็วรอบไม่น้อยกว่า 5400 rpm มีการเชื่อมต่อแบบ SATA (Serial Advanced Technology Architecture) หรือดีกว่า ซึ่งความจุในระดับ 80 GB นี้ถือเป็นมาตรฐานของโน้ตบุ๊กรุ่นใหม่ๆ ไปแล้ว และเป็นขนาดความจุที่ค่อนข้างเพียงพอกับการใช้งานทั่วไป แต่สำหรับคนที่ใช้งานในเชิงรูปภาพ หรือไฟล์มัลติมีเดียเป็นจำนวนมาก ควรจะเลือกฮาร์ดดิสก์ที่มีขนาดความจุมากกว่านี้

อุปกรณ์สื่อสารข้อมูล
พอร์ตสำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอก ถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการเลือกซื้อโน้ตบุ๊ก โดยควรจะมีพอร์ต USB 2.0 อย่างน้อย 4 พอร์ต, มีพอร์ตสำหรับเชื่อมต่อเครือข่าย LAN ความเร็วอย่างน้อย 100 Mbps, สามารถรองรับการเชื่อมต่อกับเครือข่ายแบบไร้สาย (WLAN) โดยต้องสามารถรองรับเทคโนโลยี 802.11b/g ซึ่งมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายไร้สายด้วยความเร็วไม่ต่ำกว่า 54 Mbps เป็นอย่างต่ำ

มีพอร์ต Video Output เช่น S-Video, VGA และ DVI สำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์แสดงผลภายนอก เช่น จอภาพ, โปรเจคเตอร์ เป็นต้น, มีพอร์ต Firewire สำหรับต่อกล้องวิดีโอ, มีโมเด็ม (Modem) แบบ Built-in โดยรองรับการเชื่อมต่อที่ความเร็ว 56 Kbps มาตรฐาน V.92, ช่องสำหรับเสียบ PC Card หรือ Express Card, ช่องสำหรับอ่านการ์ดต่างๆ (Card Reader) และมีเทคโนโลยีบลูทูธ (Bluetooth) หรือ Infrared แบบ Built-in

การ์ดแสดงผล
สำหรับในส่วนนี้หากเป็นการใช้งานด้านกราฟิกมากๆ เล่นเกมออนไลน์ ควรจะเลือกรุ่นที่มีชิปกราฟิก (Graphic Processing Unit - GPU) แยกต่างหาก มีหน่วยความจำในตัว ไม่ควรเลือกรุ่นที่เป็นชิปกราฟิกแบบ on board เพราะจะต้องแชร์หน่วยความจำกับระบบโดยรวม ทำให้การทำงานในเชิงกราฟิกล่าช้า

Module Bay Devices
อุปกรณ์ในส่วนนี้สำหรับโน้ตบุ๊กนั้น คงหนีไม่พ้นไดร์ฟสำหรับการอ่านแผ่น โดยปัจจุบันควรเลือกที่เป็น DVD +/-RW/ +/-R DL Drive ที่รองรับการอ่าน และเขียนข้อมูลลงแผ่น DVD และควรมีโปรแกรมสำหรับการเขียนแผ่น DVD และโปรแกรมสำหรับชมภาพยนตร์ อย่าง Cyberlink PowerDVD มาให้ด้วย

แป้นพิมพ์
แป้นพิมพ์ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตัวเลข ปุ่มฟังก์ชั่น และมี Pointing Device แบบ Track Point หรือ Point Stick หรือ Touch Pad มากับตัวเครื่อง

เสียงและลำโพง
มีลำโพงแบบ Stereo ที่สนับสนุนระบบเสียงแบบ 3D ติดตั้งภายใน โดยอยู่ในตำแหน่งที่มือไม่บังขณะใช้งาน และมีไมโครโฟนในตัว

ระบบปฏิบัติการ
Microsoft Windows XP Professional with Service Pack 2 และต้องรองรับการใช้งาน Microsoft Windows Vista โดยมีลิขสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมาย

โน้ตบุ๊กที่เลือก
ตามวัตถุประสงค์การใช้งานข้างต้น บวกเข้ากับสเป็กโน้ตบุ๊กที่เหมาะกับการใช้งานตามที่ได้กล่าวมาแล้ว เมื่อนำมาพิจารณาร่วมกัน จึงเลือกซื้อ Fujitsu LifeBook S6410 ซึ่งมีคุณสมบัติดังนี้


หน่วยประมวลผล (CPU):
หน่วยประมวลผลแบบ Intel Core 2 Duo รุ่น T8100 มีความเร็ว 2.16 GHz มีหน่วยความจำชนิด chche ขนาด 3MB มี Front Side Bus ที่ความเร็ว 800 MHz ใช้ชิปเซ็ตอินเทล GM965 Express และมีชิปเซ็ตสำหรับการเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สาย

ระบบปฏิบัติการ (OS):
Genuine Windows Vista Home Premium

หน้าจอ (Display):
หน้าจอขนาด 13.3 นิ้ว สามารถรองรับรายละเอียดในระดับ 1280x800 pixels

การ์ดแสดงผล (GPU):
ชิปกราฟิกแบบติดตั้งภายใน รุ่น GMA X3100 โดยจะแชร์หน่วยความจำกับระบบกลางสูงสุดที่ 384 MB

Drive:
Dual Layer DVD Super Multi Writer

หน่วยเก็บข้อมูล (Harddisk):
ความจุ 160GB มีการเชื่อมต่อแบบ SATA

หน่วยความจำหลัก (RAM):
มีความจุขนาด 1 GB พร้อมด้วยหน่วยความจำ Intel Turbo Memory อีก 1 GB เพื่อช่วยเพิ่มความเร็วในการทำงานให้กับตัวเครื่อง

อุปกรณ์สื่อสารข้อมูล:
-Bluetooth v2.0+EDR, Infrared IrDA
-มีการติดตั้งสเตอริโอไมโครโฟนมาในตัวเครื่อง
-กล้องดิจิตอลความละเอียด 1.3 ล้านพิกเซล พร้อมไมโครโฟน
-มีระบบ Fingerprint Recognition Technology เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการเข้าใช้เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก โดยผู้ใช้จะต้องยืนยันความเป็นเจ้าของด้วยการสแกนลายนิ้วมือก่อน

แบตเตอรี่:
แบตเตอรี่แบบ ลิเธียม อิออน ขนาด 6 Cell 5800 mAh สามารถใช้งานได้นานกว่า 3 ชั่วโมง

น้ำหนัก:
ประมาณ 1.9 กิโลกรัม

ราคา:
49,900 บาท (ยังไม่รวม VAT)

นอกจากคุณสมบัติของตัวเครื่องที่เหมาะกับลักษณะของการใช้งานแล้ว วัสดุที่นำมาใช้ประกอบเป็นตัวเครื่องยังทำจากแม็กนีเซียม ซึ่งมีความทนทาน แต่มีน้ำหนักเบา จึงทำให้เครื่องโน้ตบุ๊กมีความแข็งแรงมากกว่าขึ้น ใช้งานได้ยาวนานขึ้น ไม่ต้องกังวลกับการตกหล่น ที่อาจจะทำให้ตัวเครื่องเสียหาย

เทคโนโลยี ที่มาพร้อมคุณภาพ และดีไซน์ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของ Fujitsu นั้น ยังสามารถตอบโจทย์ในด้านอารมณ์ ความรู้สึก และความภาคภูมิใจเมื่อหยิบจับใช้งาน ให้กับผู้เป็นเจ้าของได้อีกด้วย โดยโน้ตบุ๊กของ Fujitsu ถือเป็นแบรนด์ที่เชื่อถือได้ มีชื่อเสียงในทางที่ดีมายาวนาน โดยจะได้รับการออกแบบมาอย่างดี ทั้งในส่วนระบบการทำงานภายใน และรูปลักษณ์ภายนอก ตัวเครื่องมีทั้งความบาง ทนทาน น้ำหนักเบา เหมาะกับการพกพา ผลิตจากวัสดุที่มีคุณภาพ อีกทั้งยังมีรูปลักษณ์ที่ดูทันสมัยอยู่เสมอ แม้เวลาจะผ่านไปนานหลายปีแล้วก็ตาม

Wednesday, August 6, 2008

DCM Summerize Chapter7: Local Area Network

Preclasss_บทที่ 7 Local Area Network

หัวข้อที่จะศึกษา
ท ลักษณะโดยทั่วไปของเครือข่าย LAN (Introduction)
ท ประเภทของ LAN โดยจำแนกตามรูปแบบการเชื่อมต่อที่เรียกว่า Topology (LAN Topologies)
ท ประเภทของ LAN โดยจำแนกตามบทบาทของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อในเครือข่าย LAN นั้นๆ (LAN Categorized by Computer Roles)
ท โปรโตคอล ที่เรียกว่า Media Access Control Protocol ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ องค์ประกอบหนึ่งในมาตรฐานเครือข่าย LAN ที่ใช้ในปัจจุบัน (Media Access Control Protocols)

Introduction
ท LAN ย่อมาจาก Local Area Network เป็นเทคโนโลยีเครือข่ายที่ถูกออกแบบมาให้ใช้สำหรับการเชื่อมต่อในระยะทางที่ไม่ไกลนัก ระยะทางที่ไม่ไกลนัก จะครอบคลุมพื้นที่ในระดับของห้อง ของชั้น ของอาคาร หรือแม้แต่อาคารที่ใกล้เคียงกัน ก็สามารถใช้เทคโนโลยีเครือข่าย LAN ในการเชื่อมต่อได้
ท มีขีดความสามารถในการรับ-ส่งได้ในความเร็วสูงๆ และมีข้อผิดพลาดในการรับ-ส่งข้อมูลต่ำ
ท เครือข่าย LAN เป็นสิ่งที่เติบโตมาพร้อมกับความก้าวหน้าและการผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ที่มีการใช้งานมากขึ้นและมีราคาที่ถูกลงจึงทำให้เกิดความต้องการเชื่อมต่อเครื่องพีซีเหล่านั้นเข้าด้วยกัน จึงเป็นที่มาที่ทำให้การเชื่อมต่อ LAN ได้รับความนิยมนับจากจุดนั้นเป็นต้นมา

จำแนกประเภทของฟังก์ชัน หรือ จุดประสงค์ของการใช้เครือข่าย LAN แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
ท เป็นการใช้เครือข่าย LAN เพื่อ share ทรัพยากร (Resource Sharing) โดยเฉพาะทรัพยากรที่มีราคาแพง เช่น การแชร์ฮาร์ดดิสก์ ในอดีตฮาร์ดดิสก์มีราคาแพงจึงทำให้ต้องมีการแชร์, พรินเตอร์ โดยเฉพาะเครื่องเลเซอร์พรินเตอร์ การใช้งานแรกๆ จึงเป็นการแชร์ทรัพยากรที่มีราคาแพง
ท เป็นสื่อกลางในการแชร์ Information และ Data (Information and Data sharing) เช่น การพัฒนา Database Applications, Web, Intranet และ Video on Demand จึงเป็นจุดประสงค์ที่เริ่มมีความสำคัญในระยะหลัง
ท เป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสาร (Communication) เช่น รูปแบบโปรแกรมหรือ Application ที่รันบนเครือข่าย LAN เพื่อรองรับรูปแบบดังกล่าว อาทิเช่น E-Mail, CSCW (Computer Supported Collaborative Work) เช่น ซอฟท์แวร์ที่เป็น workflow ต่างๆ, Web board, IP Telephone

ลักษณะโดยทั่วไปของเครือข่าย LAN
ท ใช้งานในพื้นที่ที่มีระยะทางไม่ไกลมากนัก
ท เป็นเครือข่ายที่ผู้ใช้ หรือเจ้าของอาคารเป็นเจ้าของเครือข่าย LAN ที่ถูกติดตั้งขึ้น ซึ่งแตกต่างจากเครือข่าย WAN และ MAN ซึ่งโดยปกติผู้ใช้บริการจะไม่ได้เป็นเจ้าของเครือข่าย แต่เป็นผู้เช่าเครือข่ายนั้น
ท ถูกออกแบบมาให้เป็น Shared medium technology นั่นคือถูกออกแบบมาเพื่อให้เชื่อมต่อในรูปแบบ Multipoint-Connection แต่แนวโน้มในปัจจุบันเริ่มเปลี่ยนไป เนื่องจากการใช้งานแบบ Multipoint-Connection เริ่มลดลง เริ่มนำอุปกรณ์มาใช้ในการเชื่อมต่อกันโดยที่ไม่ต้อง Shared Medium กันมากขึ้น แนวโน้มการ Shared medium คงลดลง
ท มีความเร็วในการเชื่อมต่อสูง
ท ตัวอย่างเช่น Ethernet, Token Ring

ประเภทของการเชื่อมต่อ (LAN Topology)
เป็นรูปแบบของการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน เรียกว่า Topology โดยเกี่ยวข้อง 2 ลักษณะ คือ Physical Topology และ Logical Topology

ท Physical Topology เป็นรูปแบบการเชื่อมต่อทางกายภาพ คือเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งเชื่อมต่อโดยใช้สาย เชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งในลักษณะอย่างไร
ท Logical Topology การส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหลือว่ามีการกระจายข้อมูลไปเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นอย่างไร

รูปแบบหลักๆ ของ LAN Topology
ท Bus
ท Tree
ท Star
ท Ring
ท Broadcast (wireless)

ภาพหน้า 8 ความแตกต่างระหว่าง Physical Topology และ Logical Topology
ภาพบน ทาง Physical Topology เรียกว่า Bus Topology เนื่องจากใช้สายเพียงเส้นเดียว สายเส้นนั้นจะเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหลือทั้งหมด
ภาพล่าง ทาง Physical Topology เรียกว่า Star Topology การเชื่อมต่อประเภทนี้จะมีอุปกรณ์ เช่น Hub เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่ออยู่ 1 ตัว คอมพิวเตอร์ต่างๆ จะเชื่อมโยงเข้าหา ผ่าน Hub ซึ่งเป็นศูนย์กลาง

แต่การส่งข้อมูล (Logical Topology) ทั้งสองมีการส่งข้อมูลแบบเดียวกัน ถึงแม้มีการเชื่อมต่อที่แตกต่างกัน ทั้งสองมีการส่งข้อมูลเหมือนกัน สังเกตจาก ลักษณะข้อมูลที่ส่งออกมา โดยเครื่อง A ส่งข้อมูลออกมาสู่ระบบเครือข่าย จะถูกส่งต่อไปยังเครื่องอื่นๆ ที่เหลือทั้งหมด รวมทั้งเครื่องที่ส่งเอง เช่นเดียวกับภาพด้านล่าง ที่เครื่อง A ส่งข้อมูลยัง Hub แล้ว Hub กระจายข้อมูลต่อไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย

Bus/Tree Topology
ทั้งสองมีลักษณะที่ใกล้เคียงกัน
ท Bus Topology มีลักษณะ Physical: Bus, Logical: Bus
ท Tree Topology มีลักษณะ Physical: Tree, Logical: Bus
ทั้งสองลักษณะเป็นการเชื่อมต่อโดยอาศัย Coaxial Cable

ภาพหน้า 10 ภาพบนเป็นการเชื่อมต่อของ ระบบเครือข่าย LAN ที่ใช้ Bus Topology ในลักษณะการเชื่อมต่อจะมีสายโคแอกเชียลอยู่เส้นหนึ่ง แล้วเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะเชื่อมต่อในเครือข่ายนี้จะ Tap เชื่อมต่อ LAN Card ของแต่ละเครื่อง เข้ากับสายโคแอกเชียลแต่ละเส้นได้โดยตรง

ในขณะที่การเชื่อมต่อแบบ Tree Topology (ภาพล่าง) จะเชื่อมต่อระหว่าง LAN Card ของแต่ละเครื่อง ไปยังสายโคแอกเชียลแต่ละเครื่องนั้น จะทำผ่านสายโคแอกเชียลอีกเส้นหนึ่ง (network card ไม่ได้เชื่อมต่อเข้ากับสายโคแอกเชียลโดยตรงเหมือน Bus)

ทั้งสองมีการรับ-ส่งข้อมูลแบบ Bus เหมือนกัน หมายความว่าเมื่อเครื่องใดเครื่องหนึ่งส่งข้อมูลไปยังเครือข่าย เครื่องอื่นๆ ที่อยู่ในเครือข่ายที่อยู่ในบัสเดียวกันก็จะได้รับข้อมูลด้วย (ดูภาพเพิ่มเติมการรับ-ส่งข้อมูลแบบบัส หน้า 12)

Star Topology
ุ Star-wired Bus Topology
มีลักษณะ Physical: Star, Logical: Bus

ภาพหน้า 15 เป็นการเชื่อมต่อแบบ Star-wired Bus Topology ในทางกายภาพจะมีการเชื่อมต่อผ่านอุปกรณ์ศูนย์รวม นั่น คือ Hub อุปกรณ์แต่ละตัวจะมีสายเชื่อมมาสู่ Hub โดยการเชื่อมต่อแบบนี้มี Logical แบบ Bus เนื่องจากเมื่อเครื่องใดเครื่องหนึ่งส่งข้อมูลมายัง Hub ข้อมูลจะถูกกระจายไปยังทุกเครื่องที่ต่อกับ Hub ตัวนั้น
และการกระจายข้อมูลก็จะมีลักษณะเหมือน Bus Topology

ุ Star-wired Ring Topology
มีลักษณะ Physical: Star, Logical: Ring
ภาพหน้า 18 ความแตกต่างระหว่าง Star-wired Bus Topology และ Star-wired Ring Topology คือ Logical Topology ที่แตกต่างกันเพราะการเชื่อมต่อทั้งสองทางกายภาพทั้งสองแบบเหมือนกัน คือ Star โดยแบบที่ Logical Topology แบบ Ring หมายความว่า เมื่อมีการส่งข้อมูลจากเครื่องใดในระบบเครือข่าย ข้อมูลจะวิ่งไปยังเครื่องถัดไป เครื่องถัดไปเมื่อได้รับข้อมูลแล้ว ก็จะส่งไปยังเครื่องถัดมา การส่งข้อมูลจะเป็นลักษณะการส่งเป็นทอดๆ จนกว่าข้อมูลจะถูกส่งไปยังเครื่องที่เป็นต้นกำเนิดของข้อมูล

ภาพหน้า 20 เป็นการเชื่อมต่อแบบ Star Topology คือมีอุปกรณ์เชื่อมโยงกลาง 1 ตัว อุปกรณ์ที่เหลือก็จะเชื่อมโยงมายังอุปกรณ์ตัวนั้น แต่ในกรณีนี้อุปกรณ์ที่เป็นศูนย์รวมในการเชื่อมต่อ มีชื่อเรียกเฉพาะว่า Multi-Station Access Unit (MAU) แทนที่เรียกว่า Hub

ภาพหน้า 21 การเชื่อมต่อทางกายภาพแบบ Star ทำให้การรับส่งเป็นแบบ Ring ได้ โดยอยู่ที่การทำงานของ Multi Station Access Unit (MAU) ตัว MAU ทำหน้าที่ในการควบคุมการรับส่งข้อมูล เพื่อให้ลำดับการรับส่งข้อมูลเป็นแบบ Ring Topology (จากภาพ) เมื่อข้อมูลส่งเข้าไปยัง MAU/ MAU ก็จะส่งข้อมูลไปยัง port ถัดไป ซึ่งทำให้เครื่องที่อยู่ถัดไปได้รับข้อมูล และข้อมูลก็จะวกกลับมายังอุปกรณ์เป็นต้นกำเนิดเหมือนเดิม ในกรณีที่ port บาง port ไม่มีคอมพิวเตอร์เชื่อมอยู่ MAU จะทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อทางเข้า-ออกของข้อมูลเพื่อที่จะทำให้การรับ-ส่งข้อมูลในวงแหวน เป็นเส้นทางที่ครบในวง ไม่ว่าข้อมูลจะส่งมาจากอุปกรณ์ใดก็ตาม สุดท้ายกจะส่งมายังเครื่องที่เป็นต้นกำเนิดของข้อมูล

Broadcast Topology
มีลักษณะ Physical: No physical cable, Logical: Point-to-point, Star

อาจจะไม่จัดว่าเป็น Topology เนื่องจากไม่มีการเชื่อมต่อทางกายภาพ เนื่องจากเป็นผลจากการใช้คลื่นวิทยุเป็นสื่อในการเชื่อมต่อข้อมูล การรับ-ส่งข้อมูลเป็นแบบ Point-to-point และ Star

การรับ-ส่งแบบ Point-to-point หมายความว่าอุปกรณ์ 2 ตัวต้องการเชื่อมต่อกัน แลกเปลี่ยนข้อมูลกันโดยตรง ในขณะที่การรับส่งแบบ Star ต้องมีการเชื่อมต่อผ่านอุปกรณ์อีกตัวหนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่คล้าย Hub แต่ในที่นี้เรียกว่า access point หรือ AP ซึ่งเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ผ่าน Wireless หรือ คลื่นวิทยุ นอกจากนี้ยังใช้ access point ในการเชื่อมต่อระหว่างกลุ่มเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้คลื่นวิทยุ หรือ Wireless กับ เครือข่ายหรือกลุ่มเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้สายเคเบิล

การเชื่อมต่อแบบออกเป็น 2 รูปแบบ คือ
ุ A single cell (ภาพหน้า 24) (มี 1 service set) คือ มี access point 1 ตัว แล้วอุปกรณ์ต่างๆ ก็จะติดต่อผ่าน access point ตัวนี้
ุ Multiple-cell (ภาพหน้า 25) มี access point หลายตัว ระหว่าง access point อาจจะเชื่อมต่อกันในเครือข่ายโดยใช้สายก็ได้ หรือเชื่อมต่อกันโดยใช้คลื่นวิทยุก็ได้

ประเภทของ LAN โดยจำแนกตามบทบาทของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อในเครือข่าย LAN นั้นๆ (LAN Categorized by Computer Roles)

โดยปกติเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อในเครือข่าย LAN จะมีบทบาทใน 2 ลักษณะ คือ เป็น client และ server บทบาทในการเป็น Client คือ คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นเป็นผู้ใช้บริการในเครือข่าย ในขณะที่บทบาทของ server คือ ให้บริการเครือข่ายบางอย่างกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหลือที่ทำหน้าที่เป็น Client

สามารถจำแนกตามบทบาทได้ 2 ลักษณะคือ
ุ Peer-to-Peer LAN
(ภาพหน้า 28) เป็นเครือข่ายที่มีขนาดเล็ก มีค่าใช้จ่ายติดตั้งต่ำ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในลักษณะนี้จะเป็นได้ทั้ง Client และ Server ในเครื่องเดียวกัน (จากภาพ) เป็นการเชื่อมต่อแบบ Peer-to-Peer โดยเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นได้ทั้ง Client และ server โดยเซิร์ฟเวอร์ในที่นี้คือ การใช้บริการพรินเตอร์ ให้กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ โดยให้เครื่องอื่นส่งงานมายังเครื่องเซิร์ฟเวอร์เพื่อให้สามารถพิมพ์งานได้

ข้อดีของการใช้งานประเภทนี้ คือไม่มีความจำเป็นที่ต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเซิร์ฟเวอร์โดยเฉพาะ ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง และการดูแลรักษาก็สามารถทำได้ง่าย

ข้อเสีย คือ reliability เนื่องจากคอมพิวเตอร์ที่ใช้เป็นเซิร์ฟเวอร์มีปัญหา หรือไม่ได้เปิดเครื่อง จะทำให้ network service ที่ให้กับคอมพิวเตอร์อื่น หยุดทำงานไปด้วย นอกจากนี้ยังมีปัญหาด้าน Security มี 2 ประเด็นคือ ด่นกายภาพ คือ เครื่องต้องทำหน้าที่เป็นทั้ง Client และ Server ทำให้ต้องติดตั้งในพื้นที่ใช้งาน ทำให้ไม่มีมาตรการในแง่ของความปลอดภัยในเชิงกายภาพได้ ทำให้ความปลอดภัยรูปแบบนี้ต่ำกว่า Server-based LAN ประการที่สอง คือ ซอฟท์แวร์ที่ใช้ในระบบปฏิบัติการ มีความปลอดภัยน้อยกว่า ซอฟท์แวร์ที่ใช้ในระบบปฏิบัติการใน Server-based LAN

ุ Server-based LAN
(ภาพหน้า 30) มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกออกแบบให้ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์โดยเฉพาะ เครื่องเซิร์ฟเวอร์จะไม่มีผู้ใช้เข้ามาใช้งานโดยตรง เป็นเครื่องที่ใช้บริการ Network Service กับคอมพิวเตอร์ที่เหลือที่ทำหน้าที่เป็น Client

ประเภท Server ที่มีให้บริการใน Server-based LAN
เซิร์ฟเวอร์แต่ละประเภทให้บริการแตกต่างกัน เช่น
ท File server
ให้บริการ File Service กับเครื่องอื่นๆ File Service คือ คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นสามารถเข้ามาอ่านข้อมูล ที่อยู่บน File server ได้ สามารถเขียนข้อมูลและบันทึกลงในฮาร์ดดิสก์ของ File server ได้ และสามารถลบข้อมูลที่อยู่ใน File server ได้

ข้อดี คือ ผู้ใช้สามารถแชร์ไฟล์ระหว่าง ผู้ใช้ที่แตกต่างกันได้ สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลโดยผ่านทาง File server

(ภาพหน้า 33) ภาพอธิบายในเชิง conceptual ของ File server การใช้ File server จะทำให้เครื่อง Client 2 เครื่องนี้ เห็น File server เห็นข้อมูลที่อยู่ในฮาร์ดดิสก์ของ File server เสมือนปรากฏหรือเก็บไว้ใน Local disc ของตัวเอง อย่างไรก็ตาม ความสามารถของ File server ทำให้ผู้ดูแลระบบสามารถกำหนดระดับการเข้าถึงไฟล์ที่ติดตั้งหรือเก็บอยู่ในไฟล์เซิร์ฟเวอร์ได้ กำหนดให้ผู้ใช้บางคนไม่สามารถ access ไฟล์บางไฟล์ได้ หรือผู้ใช้บางคนไม่สามารถลบข้อมูลได้ ขึ้นอยู่กับขีดความสามารถที่ติดตั้งอยู่ที่ File server และการกำหนดของผู้ดูแลระบบ

ท Database server
(ภาพหน้า 34) เป็นภาพที่แสดงให้ความแตกต่างระหว่าง File server กับ Database server อย่างย่อๆ File server ให้บริการข้อมูลใน ระดับไฟล์ (File) Database server ให้บริการข้อมูลในระดับ record หรือ เฉพาะบางส่วนที่อยู่ใน file ทำให้ปริมาณการส่งข้อมูลในเครือข่ายที่มีการร้องขอ โดยใช้ database server นั้น ปริมาณที่ถูกส่ง ผ่านเครือข่ายจะมีปริมาณที่น้อยกว่าส่งผ่านเครือข่ายโดยใช้ File server เนื่องจากต้องส่งข้อมูลมาเป็นก้อนทีละ file แต่ Database server สามารถดึงเฉพาะไฟล์ไปสู่ Client ได้

ท Print server
(ภาพหน้า 35) เป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายกับพรินเตอร์ ทำให้ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถส่งงานและพิมพ์งานโดยที่เครื่องพรินเตอร์ไม่ได้ติดต่อทางกายภาพกับเครื่องนั้น (จากภาพ) ผู้ใช้ที่ Client PC สามารถที่จะส่งงานออกมาพิมพ์ยังพรินเตอร์เครื่องนี้ได้ ผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า Print server ลักษณะอาจเป็นอุปกรณ์อื่นๆ (ดังภาพ) หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อในระบบเครือข่าย แล้วทำการเซตตัวระบบปฏิบัติการเพื่อให้ทำหน้าที่เป็น Print server ก็ได้

ท Remote Access Server
(ภาพหน้า 36) อาจจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องที่ได้รับการผลิตมาเพื่อทำหน้าที่ Remote Access Server โดยเฉพาะก็ได้ ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมเครือข่าย LAN ในหน่วยงานกับผู้ใช้ที่เชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายภายในจากนอกออฟฟิศ อาจจะเชื่อมต่อผ่านทางสายโทรศัพท์ปกติ ใช้โมเด็มหมุนเข้ามาในลักษณะเดียวกับ เวลาเราเชื่อมต่อเข้ากับ ISP หรือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ลักษณะการใช้งานประเภทนี้มีประโยชน์ เช่น พนักงานที่ยู่นอกบริษัทและต้องการที่จะเชื่อมต่อกับเครือข่ายที่อยู่ภายในบริษัท อาจจะเพื่อรับส่งข้อมูลเข้าสู่ฐานข้อมูลที่อยู่ภายในบริษัท

ในการเชื่อมต่อประเภทนี้ ต้องมี Remote Access Server เป็นตัวคอยรับการเชื่อมต่อจากผู้ใช้ผ่านสายโทรศัพท์และโมเด็ม ในอีกฝากหนึ่ง Remote Access Server ต้องมีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายภายใน ก็จะทำให้ผู้ใช้ภายนอกหมุนโทรศัพท์เข้ามาที่ Remote Access Server สามารถเชื่อมโยงไปยังทรัพยากรต่างๆ ที่เหลือที่อยู่ในเครือข่าย LAN ขององค์กรได้

ท Other servers (Fax server, E-mail server, Web server, Directory server, DHCP server, Authentication server)

เครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์จะทำหน้าที่เป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับซอฟท์แวร์ที่ติดตั้งและรันอยู่บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เครื่องเซิร์ฟเวอร์ 1 เครื่องอาจจะทำหน้าที่มากกว่า 1 ประเภทก็ได้ โดยทำการรันโปรแกรมหลายๆ โปรแกรมไว้เครื่องเดียวกัน

Remote Access Control Protocols
ในบทที่ 6 ได้พูดถึงฟังก์ชันที่สำคัญ 3 ประการ ของ Data link layer 1 ใน 3 นั่นคือ การทำ Medium Access Control Protocols เป็นวิธีการที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมเข้ากับสายเคเบิล หรือ สื่อนำสัญญาณเส้นเดียวกันได้ และสามารถแชร์สายเส้นเดียวกันในการรับส่งข้อมูลกันได้ (เป็นโปรโตคอลที่ใช้ร่วมกับการเชื่อมต่อในลักษณะ Multipoint connection) ซึ่งระบบเครือข่าย LAN ในสมัยแรกที่นำมาใช้มีการเชื่อมต่อแบบ Multipoint Connection ทั้งสิ้น

กฎเกณฑ์ในการควบคุมที่อุปกรณ์ใดจะได้สิทธิ์ในการใช้สื่อนั้นส่งข้อมูล มี 2 ลักษณะ

ท Contention-based protocols
เป็นรูปแบบที่ใช้ในเครือข่าย LAN ตามมาตรฐาน Ethernet รูปแบบของ Medium Access Control Protocols ที่เป็นลักษณะ contention-based protocols ซึ่งใช้ในเครือข่าย Ethernet มีชื่อเรียกว่า CSMA/CD ย่อมาจาก carrier sense multiple access with collision detection ลักษณะการทำงาน คือ จะเริ่มจากที่ เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์หรือ workstation จะทำการส่งข้อมูล จำเป็นต้องทำการตรวจสอบก่อนว่า ณ ขณะเวลานั้นๆ เครื่องอื่นใช่สื่อหรือสายส่งข้อมูลอยู่หรือไม่ เป็น step ที่เรียกว่า carrier sense ถ้าพบว่า ไม่มีเครื่องอื่นเครื่องใดกำลังใช้สื่อในการส่งข้อมูล เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นก็สามารถส่งข้อมูลมาภายในสายได้ ด้วยวิธีนี้ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์แชร์สายเส้นเดียวกันในการรับส่งข้อมูลได้ แต่ถ้าหากเครื่องคอมพิวเตอร์ต้องการส่งข้อมูลแล้วเช็คแล้วว่างสายไม่ว่าง เนื่องจากมีเครื่องอื่นใช้สายในการส่งข้อมูล เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นก็ต้องจำเป็นที่จะต้องรอจนกว่าสายจะว่าง

ปัญหาคือ เครื่องคอมพิวเตอร์มากกว่า 1 เครื่องจะส่งข้อมูลในเวลาที่ใกล้เคียงกัน ในกรณีนี้หากตรวจสอบสัญญาณที่วิ่งอยู่ภายในสาย เมื่อไม่พบว่าเครื่องคอมพิวเตอร์กำลังส่งข้อมูลอยู่ คอมพิวเตอร์ทั้งสองเครื่องก็จะส่งมาในสายพร้อมๆ กัน สัญญาณที่ส่งมาจากเครื่องหนึ่งก็ทำให้รบกวนการส่งสัญญาณของเครื่องอื่นๆ ก็จะทำให้การรับ ส่งข้อมูลมีความผิดพลาดไม่สามารถที่จะส่งข้อมูลต่อไปได้ กระบวนการนี้เรียกว่า collision detection คือ ในระหว่างที่เครื่องใดเครื่องหนึ่งกำลังส่งข้อมูล ต้องมีการตรวจสภาพของสัญญาณที่วิ่งอยู่ในสายด้วย ในกรณีที่มีเครื่องอื่นส่งสัญญาณออกมาพร้อมๆ กัน เครื่องคอมพิวเตอร์จะ check สัญญาณที่ผิดปกติไปจากเดิม ที่เรียกว่า สามารถ check สิ่งที่เกิด collision ที่จะเกิดขึ้น เมื่อเครื่องแต่ละเครื่อง check แล้วว่าเกิด collision ขึ้น ก็จะหยุดส่งข้อมูลโดยทันที หลังจากนั้นแต่ละเครื่องก็จะรอไปในระยะเวลาหนึ่งและพยายามทำการส่งข้อมูลใหม่อีกครั้ง แต่ระยะเวลาในการรอของแต่ละเครื่องแตกต่างกัน เพื่อจะไม่ให้เกิดการชนกันในรอบถัดไป

ท Round robin (token passing) protocols
เป็น Protocols ที่ใช้ในเครือข่าย LAN ที่เรียกว่า Token ring LANs เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะส่งข้อมูลได้ก็ต่อเมื่อได้รับเฟรมข้อมูลที่มีลักษณะเฉพาะ หรือเรียกว่า Token frame โดย Token frame จะถูกส่งต่อจากเครื่องหนึ่งไปยังเครื่องถัดๆ ไป เป็นลักษณะเป็นวง คือเครื่องแรกส่ง Token ไปให้เครื่องที่สอง เครื่องที่สองส่งต่อให้เครื่องที่สามหมุนเวียนกันแบบนี้ จนกว่าเครื่องใดเครื่องหนึ่งมีความต้องการจะส่งข้อมูล และได้รับ Token เครื่องนั้นก็จะทำการ ส่งข้อมูลออกมา แทนที่จะส่ง Token หมายความว่า เครื่องที่ต้องการจะส่งเมื่อได้รับ Token แล้ว ก็จะทำการเก็บ Token Frame นั้นไว้ ก็ส่งข้อมูลออกมาแทน หลังจากนั้น frame ข้อมูล ก็จะส่งต่อไปยังเครื่องปลายทาง เมื่อ Frame นั้น ฟอร์เวิล์ดมายังเครื่องต้นทางแล้ว เครื่องที่ที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลไปจะทำการ generated Token Frame ขึ้นมาใหม่ เพื่อทำการส่งกลับเข้ามาในระบบเครือข่าย ด้วยวิธีทำให้มีเครื่องใดเครื่องหนึ่งเท่านั้น ที่จะทำการส่งข้อมูล เพราะว่า ในระบบเครือข่ายหนึ่งๆ จะมี Token frame ได้เพียง 1 frame เท่านั้น

(ภาพหน้า 43) เป็นการทำงานของ Token Passing Protocols ในภาพเครื่อง B เป็นเครื่องที่มีความต้องการจะส่งข้อมูล ใน Step ที่ 1-3 เป็น step ที่ปกติเนื่องจากยังไม่มีเครื่องใดที่ต้องการส่งข้อมูล Token frame (สี่เหลี่ยมเล็กๆ) จะถูกถ่ายเวียนไปในคอมพิวเตอร์เครื่องต่างๆ ที่อยู่ภายในเครือข่าย

Step 1 Token frame ไปยังเครื่อง A เนื่องจากว่า เครื่อง A ไม่มีข้อมูลที่จะส่ง
Step 2 เครื่อง A ก็จะทำการ Forward ไปให้เครื่อง B
Step 3 จากภาพเครื่อง B มีความต้องการจะส่งข้อมูล
Step 4 แทนที่เครื่อง B จะส่ง Token frame เข้าสู่ระบบ ก็ส่ง Frame ข้อมูล (ซึ่งเป็นสี่เหลี่ยมยาวๆ) กลับออกมาสู่ระบบเครือข่าย
Step 5 Frame ข้อมูล เมื่อเดินทางไปถึงเครื่องปลายทาง คือ เครื่อง M เครื่อง M เมื่อได้รีบข้อมูลแล้วจะ Copy ข้อมูลเก็บไว้ จากนั้นก็จะ Forward Frame ไปเรื่อยๆ
Step 6 Forward Frame ข้อมูลไปเรื่อยๆ จนไปถึง เครื่อง B ซึ่งเป็นเครื่องที่ส่งข้อมูลนี้ออกมา
Step 7 เครื่อง B เมื่อได้รับข้อมูลที่ตัวเองส่งออกไปแล้ว ก็จะทำการ Generate Token Frame ขึ้นมาใหม่ ส่งเข้าระบบเครือข่าย เพื่อเปิดโอกาสให้ เครื่องอื่นได้ใช้สิทธิ์ในการส่งข้อมูลต่อไป

IEEE Standards
เนื่องจากว่าในระบบเครือข่าย LAN แต่ละเครือข่ายต้องมีการกำหนดรายละเอียดในด้านต่างๆ เป็นจำนวนมาก อย่างเช่น ลักษณะของ connector ที่ใช้, รูปแบบของสายเคเบิล, สเปกของสายเคเบิล ตลอดจนถึง Medium access control protocols ลักษณะของ Frame ใน Data link layer ต้องแบ่งเป็น block แต่ละ block ควรจะมีข้อมูลอะไรบ้าง องค์ประกอบของรายละเอียดในข้อมูลเหล่านี้จะเป็นสิ่งระบุในมาตรฐาน LAN โดยมาตรฐาน LAN ที่ใช้ในปัจจุบัน กำหนดขึ้นโดยหน่วยงานที่ชื่อ IEEE ภายใต้ชื่อ IEEE 802

มาตรฐานของ LAN จะ require คุณสมบัติ หรือ specification ของอุปกรณ์ที่ทำงานในระดับ Physical Layer และ ระดับ Data link layer โดย Data link Layer ภายใต้มาตรฐาน IEEE802 ได้ทำการแบ่งเป็นเลเยอร์ย่อยหรือที่เรียกว่า sublayer โดยประกอบด้วย Logical link control sublayer (LLC sublayer) และ Medium access control sublayer (MCC sublayer)

Medium access control sublayer จะหน้าที่ควบคุมการใช้สื่อต่างๆ ระหว่างเครื่องต่างๆ ก็คือเป็น sublayer ที่ สนับสนุน media access control protocol นั่นเอง

(ภาพหน้า 45) จากภาพแสดงให้ดูว่าในมาตรฐาน LAN แบ่งฟังก์ชันในระดับ data link layer เป็น 2 layer

IEEE802 เป็นกลุ่มมาตรฐานเครือข่าย LAN อย่างเช่น IEEE802.3, IEEE802.5 ภายใต้มาตรฐานเหล่านี้ก็จะมีการกำหนดองค์ประกอบของแต่ละ frame ข้อมูล เพื่อที่จะให้มีความแตกต่างกันแต่ละมาตรฐาน ทำให้ข้อมูลที่อยู่ในมาตรฐานหนึ่งไม่สามารถส่งเข้าเครือข่ายอีกมาตรฐานหนึ่งโดยตรงได้ ต้องมีการ convert หรือ แปลง frame ข้อมูลก่อน

(ภาพหน้า 47) แสดงให้เห็นถึงองค์ประกอบของ Ethernet frame (ภาพบน) และ Token ring frame (ภาพล่าง) จะเห็นว่าองค์ประกอบทั้งสองมีความแตกต่างกัน

มาตรฐาน IEEE802.3 เป็นมาตรฐานของ Ethernet LAN มาตรฐานเริ่มต้นของ Ethernet คือ มีความเร็ว 10 Mbps จากนั้นก็มี Fast Ethernet หรือ ชื่อเป็นทางการคือ IEEE802.3u เป็นมาตรฐานที่มีความเร็ว 100 Mbps จากนั้นก็ได้มีการพัฒนาอีกขั้น เรียกว่า Gigabit Ethernet หรือชื่อเป็นทางการคือ IEEE802.3z ซึ่งมีความเร็วที่ 1 Gbps หรือ 1000 Mbps และปัจจุบันมีความเร็วที่ 10 Gbps

(ภาพหน้า 52) จากภาพเป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อ Ethernet มีนิยามอยู่ 2 คำคือ Network diameter และ collision domain

Network diameter คือ ระยะทางสูงสุดในเครือข่ายระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องใดๆ จากภาพบนซ้าย Network diameter คือ 200 เมตร เนื่องจากเครื่องซ้ายเชื่อมต่อกับ Hub มีระยะทางของสาย 100 เมตร และเครื่องขวาเชื่อมต่อกับ Hub มีระยะทาง 100 เมตร ดังนั้นระยะทางความห่างของเครื่อง 2 เครื่อง สูงสุดคือ 200 เมตร

ภาพบนขวา เป็นการเชื่อมต่อโดยใช้ Hub จำนวน 3 ตัว ระยะทางสูงสุดของเครื่องในเครือข่ายนี้ก็จะเป็น 100 เมตรของเครื่องซ้าย บวก 50 เมตร บวก 50 เมตร และ 100 เมตรของเครื่องขวา ระยะทางความห่างสูงสุดก็จะเป็น 300 เมตร

Maximum Network Diameter ของ 10BASE-T เป็นมาตรฐานที่ส่งในความเร็ว 10Mbps โดยการใช้สาย Twisted pair ระยะทางสูงสุดจะถูกจำกัดที่ 500 เมตร ระยะห่างระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์แบ Hub สูงสุด 100 เมตร Hub กับ Hub สูงสุด 100 เมตร ในระยะเครื่องต่อเครื่องมี Hub อยู่คั่นกลางได้ไม่เกิน 4 ตัว เพราะฉะนั้นทำให้ Maximum Network Diameter อยู่ที่ 500 เมตร ข้อจำกัดเหล่านี้เกิดจากใช้ Hub ในการเชื่อมต่อ ซึ่งแตกต่างจากการใช้ Switch, Router ในการเชื่อมต่อ

ส่วนคำว่า Collision domain คือเป็นคำที่ใช้เรียกกลุ่มของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันโดยอาศัยอุปกรณ์ Hub จะเรียกกลุ่มเหล่านั้นว่าอยู่ใน Collision domain บริเวณเดียวกัน เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ใน Collision domain เดียวกันจะไม่สามารถส่งข้อมูลในเวลาเดียวกันได้

IBM Token Ring
มีชื่อมาตรฐานทางการว่า IEEE802.5 มาตรฐานเบื้องต้นคือ มีความเร็วที่ 4, 16, 100 Mbps ถึงแม้ว่า IBM Token Ring มีคุณสมบัติบางประการที่ดีกว่า Ethernet แต่ Ethernet มีผลิคภัณฑ์ที่ออกวางจำหน่ายเป็นจำนวนมากและมีราคาถูกกว่าToken Ring เพราะฉะนั้นในปัจจุบัน ระบบที่มีการใช้งานในเครือข่ายจึงเป็น Ethernet ส่วนใหญ่

Friday, August 1, 2008

Summerize Chapter 6: Errors, Error Detection, and Error Control

Summerize sound Lecture
Chapter 6: Errors, Error Detection, and Error Control


What is Data Link Layer?

1. การส่งข้อมูล  Data Link Layer จะรับข้อมูลจาก Network Layer และส่งต่อไปยัง Physical Layer
การรับข้อมูล  Data Link Layer จะรับข้อมูลจาก Physical Layer และส่งต่อไปยัง Network Layer
2. Data Link Layer จะเกี่ยวข้องกับการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ 2 อุปกรณ์ ทั้งฝั่งส่ง และฝั่งรับจะต้องใช้กฎ กติกา หรือที่เรียกว่า Protocol เดียวกัน จึงจะสามารถสื่อสารถึงกันได้
3. Function หลัก ๆ ของ Data Link Layer มี 3 ส่วน คือ
 Message Delineation - เป็นตัวบอกให้ฝั่งรับทราบว่าเมื่อไรเป็นจุดเริ่มต้นของข้อมูลที่ส่ง และเมื่อไรเป็น
จุดสิ้นสุดของข้อมูลแต่ละ block ที่ส่ง [พูดแล้วใน Ch4]
 Error Control -
 Media Access Control - ควบคุมการใช้สื่อ ซึ่งจะมีความสำคัญในกรณีที่อุปกรณ์มีการเชื่อมต่อแบบ
Multipoint Connection
4. ปัจจัยที่ส่งผลให้การรับส่งข้อมูลมีความผิดพลาด หรือไม่ถูกต้องเสมอไป คือ
 สัญญาณรบกวน
 Cross Talk

Noise and Errors

5. Noise ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เพราะอยู่ในทุกๆที่ทั่วๆไปในสภาพแวดล้อม
6. กรณีที่มีสัญญาณรบกวนอยู่มาก จะทำให้สัญญาณที่ได้รับมีความผิดพลาด หรือผิดเพี้ยนไปจากสิ่งที่ส่งมาจากฝั่งส่ง ทำให้การรับข้อมูลผิดพลาดได้
7. รูปแบบของความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในระบบสื่อสารมี 2 แบบ
 ข้อมูลที่ส่งมาไปไม่ถึงฝั่งรับ มีการสูญหายของข้อมูล
 ข้อมูลไปถึงฝั่งรับ แต่ตัวข้อมูลมีการผิดพลาด เช่น ส่ง 1 แต่ detect เป็น 0
8. กระบวนการสื่อสาร ต้องมีกระบวนการตรวจสอบความผิดพลาดของข้อมูล เนื่องจากข้อมูลที่ผิดพลาดเพียงเล็กน้อย อาจส่งผลได้อย่างมากมายมหาศาลได้ และไม่สามารถนำไปประมวลผลได้ เช่น ข้อมูลการควบคุมเครื่องจักร ข้อมูลทางการเงินต่างๆ ข้อมูลที่เป็นส่วนหนึ่งของ file binary
9. กระบวนการในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลมี 2 ส่วน คือ กระบวนการ Detect Error ซึ่งเมื่อ Detect เจอจะทำอย่างไร
 บางระบบอาจจะทิ้งข้อมูลไป และไม่ได้นำมา process ต่อ
 บางระบบอาจจะมีกระบวนการต่อมา นำไปสู่การรับข้อมูลที่ถูกต้องต่อไป
10. Noise แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
 White Noise - เป็น Noise ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปกติจะเกิดขึ้นเนื่องจากธรรมชาติ ในบรรยากาศ หรือ
จากการทำงานของอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบ computer หรือระบบสื่อสารข้อมูล สามารถลดทอนได้ โดยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า Filter ผลของ Noise มีอย่างต่อเนื่องจาก และระดับปริมาณของ Noise ค่อนข้างสม่ำเสมอตลอดเวลา
 Impulse Noise - เป็น Noise ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว เป็นช่วงเวลาสั้นๆ แต่มีขนาดของสัญญาณรบกวน
ค่อนข้างจะสูงมาก หรือเรียกว่า spikes เช่น การจุดระเบิดของเครื่องยนต์ หรือหัวเทียน เมื่อมีการสตาร์ทเครื่อง ก็จะเกิดแรงดัน หรือกระแสงไฟฟ้าปริมาณมาก ๆ ในช่วงเวลาสั้น ๆ ระบบสื่อสารเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการรับส่งข้อมูล เนื่องจากขนาดของกำลังของสัญญาณรบกวนค่อนข้างจะสูง และทำการแก้ไข หรือกำจัดได้ยาก หากมีการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงๆ ส่งผลให้จำนวน bit ที่เกิด error ติดต่อกันได้จำนวนหลายๆ bit เรียกว่า burst Error หรือ Multiple Bit Error [Detect หรือ Correct ได้ยากกว่า error เพียง bit เดียว ที่เรียกว่า Single Bit Error]
11. ปัจจัยอื่นๆ ทีส่งผลให้การรับส่งข้อมูลผิดพลาดได้ คือ
 Cross Talk - การรบกวนที่เกิดจากช่องส่งสัญญาณ หรือสัญญาณที่ผู้ใช้ใช้ส่งเข้าไปตามสายซึ่งอยู่ใกลักัน
ตัวสัญญาณของผู้ใช้รายหนึ่ง ก็จะไปเป็นสัญญาณรบกวนของผู้ใช้อีกรายหนึ่ง

Error Prevention

12. Error Prevention เป็นวิธีการป้องกันการเกิดสัญญาณรบกวน
13. เป็นวิธีการที่เกี่ยวข้องกับการเลือกใช้อุปกรณ์ทาง Physical Layer ที่มีคุณภาพที่ดี หรือปรับเพิ่มอุปกรณ์บางอย่างในระบบ เพื่อทำให้ลดผลการทำให้เกิด Error ในระบบการสื่อสารข้อมูล เช่น
 ใช้วิธีการ Shield เพื่อลดผลของสัญญาณรบกวนไม่ให้เข้ามารบกวนสัญญาณที่ใช้ส่งข้อมูล
 ใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น Line Conditioning หรือ Equalization
 ใช้สื่อที่มีคุณภาพที่ดีขึ้น เปลี่ยนสายที่เก่า เป็นสายใหม่ ใช้อุปกรณ์ที่มีระดับการรบกวนของสัญญาณต่ำ ก็ทำให้การรับส่งข้อมูลมีการผิดพลาดน้อยลง
14. สรุปอุปกรณ์ที่จะช่วยป้องกันสาเหตุของการ Error ในระบบการสื่อสารข้อมูล



Error Detection

15. Error Detection เป็นกระบวนการใช้ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่จัดส่ง ซึ่งเป็น function ที่อยู่ในระดับ Data Link Layer
16. หลักการทำ Error Detection คือ ในการส่งข้อมูลนอกจากตัวข้อมูลที่ต้องการจัดส่งแล้ว ยังจำเป็นต้องมีข้อมูลที่ต้องจัดส่งเพิ่มเติมในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งไปให้ฝั่งรับ เพื่อให้ฝั่งรับสามารถนำข้อมูลที่เพิ่มเติม ประกอบกับข้อมูลที่จัดส่งมาตรวจสอบความสอดคล้องต้องกัน จึงจะตรวจสอบได้ว่าข้อมูลที่จัดส่งมีความผิดพลาดหรือไม่
17. วิธีการทำ Error Detection อย่างง่ายๆ คือ Parity Check
18. Parity Check เป็นการ add bit เพิ่มอีก 1 bit ในข้อมูลที่ต้องการจัดส่ง [Parity Bit] ซึ่งอาจจะเป็น 1 หรือ 0 ก็ได้ ขึ้นอยู่กับรูปแบบของ Parity Check ที่ต้องการใช้ คือ
 Even Parity Check - เป็นการเพิ่มค่า Parity Check โดยข้อมูลที่มีค่า = 1 + parity bit แล้วได้เป็น
เลขคู่
 Odd Parity Check - เป็นการเพิ่มค่า Parity Check โดยข้อมูลที่มีค่า = 1 + parity bit แล้วได้เป็น
เลขคี่



19. ข้อดี/ข้อเสียของการทำ Parity Check
ข้อดี
 ง่าย
ข้อเสีย
 ไม่สามารถจะใช้ในการตรวจสอบความผิดพลาดที่เกิดขึ้นเมื่อมีจำนวน bit ที่เกิด error มากกว่า 1 bit ในแต่ละ block ข้อมูลได้
** Parity Check สามารถใช้ check error ที่เกิดขึ้น เมื่อมีจำนวน bit ที่เกิด error ขึ้นอย่างมาก 1 bit ในแต่ละ block ข้อมูลเท่านั้น ถ้าจำนวน bit ที่เกิด error ในแต่ละ block ข้อมูล มีมากกว่า 1 bit ประสิทธิภาพในการตรวจสอบความผิดพลาดที่ต่ำมาก **
20. ในระบบการสื่อสารโดยทั่วไป รูปแบบที่เกิด Error ส่วนมากจะเป็นแบบ Multiple Bit Error หรือ Burst Error ดังนั้นวิธีการทำ Parity Check จึงไม่เป็นที่นิยมใช้ในการตรวจสอบความผิดพลาดของการรับส่งข้อมูล
21. โดยปกติจะใช้วิธีการที่เรียกว่า Citric Relevancy Check

Error Correction

22. Error Correction เป็นกระบวนการถัดจากการทำ Error Detection
23. โดยปกติในระบบการสื่อสาร จะมีกระบวนการที่ต่อเนื่องจาก Error Detection ที่สามารถทำได้อยู่ 3 แบบคือ
 Do Nothing - หลังจากเกิด Error แล้ว ไม่ทำอะไรเลย ทิ้งข้อมูลที่ได้
รับมาที่มีข้อผิดพลาดทิ้งไป และไม่นำมา process ต่อ
 Return an error message to the transmitter - ส่งข้อมูล หรือ message ไปยังฝั่งส่ง ให้ส่งข้อมูลที่
ผิดพลาดกลับมาใหม่
 Fix the error - ทำการปรับเปลี่ยน หรือแก้ไขข้อมูลผิดที่ฝั่งรับเอง โดย
ไม่ต้องพึ่งพาการ re-transmition จากฝั่งส่ง
24. Error Control: Do Nothing
 หากข้อมูลที่ได้รับมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น อุปกรณ์รับก็จะทิ้งข้อมูลนั้นไป โดยไม่นำมา process ต่อ และไม่ดำเนินการใดๆ ที่จะส่งข้อมูลกลับไปยังฝั่งส่ง เพื่อให้จัดส่งข้อมูลมาใหม่ โดยโอนความรับผิดชอบไปให้ protocol ในระดับ Layer ที่สูงกว่า Data Link Layer ดำเนินการแทน
25. Error Control: Return an error message to the transmitter
 ส่งข้อมูล หรือ message ไปยังฝั่งส่ง ให้ส่งข้อมูลที่ผิดพลาดกลับมาใหม่ โดยมีรูปแบบในการจัดส่ง message อยู่ 3 รูปแบบ คือ
 Stop-and-wait ARQ [Automatic Repeated Request]
 เป็นวิธีการที่ฝั่งส่งทำการส่งข้อมูลไป 1 ชุด และรอจนว่าจะได้รับ message จากฝั่งรับว่าข้อมูลที่ส่งไปนั้น ถูกต้องหรือไม่ ดังนั้นข้อมูลที่จะได้รับจากฝั่งรับ มี 2 แบบ คือ
o Positive Acknowledgement (ACK) - เพื่อบอกว่าข้อมูลที่ส่งไปถูกต้อง
o Negative Acknowledgment (NCK) - เพื่อบอกว่าข้อมูลที่ส่งไปผิดพลาด
** ฝั่งส่งเมื่อส่งข้อมูลไปแล้ว จึงทำการหยุดที่จะรอ ACK หรือ NCK [เป็นที่มาของ Stop and Wait] ถ้าได้รับ ACK จากฝั่งรับ จึงจะจัดส่งข้อมูลชุดถัดไป แต่ถ้าได้รับ NCK จึงจะจัดส่งข้อมูลชุดเดิมไปใหม่ **
** Stop and wait เป็นวิธีการง่ายๆ แต่มีข้อเสีย คือ ระหว่างที่ฝั่งส่งรอผลจากฝั่งรับ ฝั่งส่งไม่สามารถจะใช้เวลาที่รอในการจัดส่งข้อมูลชุดถัดไปได้ ทำให้สูญเสียประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลไปเยอะ ทำให้เวลาในรอนาน แต่เวลาที่จัดส่งจริงๆ สั้น ดังนั้นจึงไม่ได้ใช้ประโยชน์จากช่องสัญญาณได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ **

 Go-back-N ARQ
 เป็นวิธีการที่ช่วยแก้ปัญหาของ Stop and wait ซึ่งเป็นวิธีการที่แตกต่างจาก Stop and wait คือ ฝั่งส่งไม่จำเป็นต้องรอผลจากฝั่งรับ สามารถทยอยส่งข้อมูลถัดไป โดยไม่จำเป็นต้องรอ ACK หรือ NCK ทีละ frame เพื่อทำให้ไม่ต้องสูญเสียเวลาที่รอไปโดยเปล่าประโยชน์ ทำให้สามารถส่งข้อมูลชุดถัดไปได้เลย
 ฝั่งรับสามารถ Acknowledgment ข้อมูลหลายๆ frame พร้อมกันได้


จากภาพ
o Section A ส่งข้อมูล frame ที่ 2 1 0 ไป โดยไม่ต้องการ Acknowledgement จาก Section B
o เมื่อ Section B ส่ง ACK3 กลับมา หมายความว่า ข้อมูลถูกต้อง และสามารถส่งข้อมูล 3 ต่อไปได้ ซึ่งก็คือ ข้อมูลที่อยู่ก่อนข้อมูล 3 คือ 2 1 0 ถูกต้อง
 หากพบ error ฝั่งรับจะ rej frame ที่ error ให้ฝั่งส่ง และฝั่งส่งจะต้องเริ่มส่งข้อมูลใหม่ โดยเริ่มจาก frame ที่พบ error เป็นต้นไป



จากภาพ
o Section A จัดส่งข้อมูล frame ที่ 6 5 4 ไปยัง Section B
o Section B พบ error ในข้อมูลที่ 5 จึงส่ง REJ5 เพื่อ Acknowledge ให้ Section A ทราบว่า ข้อมูล 5 มีความผิดพลาดเกิดขึ้น
o Section A จึงต้องจัดส่งข้อมูลไปใหม่ โดยเริ่มตั้งแต่ข้อมูลที่พบ error คือ 6 5 [ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า Go-back-N คือการเริ่มส่งข้อมูลใหม่ โดยเริ่มจากจุดที่มีข้อผิดพลาด ถึงแม้ว่า frame ที่ 6 จะเป็นข้อมูลที่ถูกต้องก็ตาม]

 Selective-reject ARQ
 เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งแตกต่างจาก Go-back-N คือ การจัดส่งเฉพาะข้อมูล frame ที่ผิดพลาดเท่านั้น



จากภาพ
o Section A จัดส่งข้อมูล frame ที่ 6 5 4 ไปยัง Section B
o Section B พบ error ในข้อมูลที่ 5 จึงส่ง REJ5 เพื่อ Acknowledge ให้ Section A ทราบว่า ข้อมูล 5 มีความผิดพลาดเกิดขึ้น
o Section A จัดส่งข้อมูลเฉพาะ frame ที่ error เท่านั้น และตามด้วยข้อมูล frame ถัดไป คือ 7 5

DCM Chapter 2 : Fundamental of Data and signals

DCM Chapter 2 : Fundamental of Data and signals

ถ้าพูดถึงพื้นฐานของการสื่อสาร การสื่อสารข้อมูลคือเราต้องมีข้อมูลก่อน ในกลไกของระบบการสื่อสารข้อมูลนี้ ตัวที่มันจะส่งข้อมูลไปได้ต้องอาศัยผ่านทางสิ่งที่เรียกว่า Signal หรือ สัญญาณ คือองค์ประกอบพื้นฐานของในระบบการสื่อสาร และเป็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่เราเรียกว่า data และ signal บทนี้ก็จะเป็นการพูดถึงสิ่งเหล่านี้ คำว่า data ในที่นี้ หมายถึง ข้อมูลในรูปแบบที่จะสามารถเก็บในระบบคอมพิวเตอร์ แล้วก็จะส่งผ่านเข้าไปในระบบของการสื่อสารข้อมูลได้ ในข้อมูลในรูปแบบนี้เราเรียกว่า digital data เราไม่ได้พูดถึงรูปแบบอื่น เช่นข้อมูล ไม่ว่าจะเก็บอยู่ในรูปแบบใด ๆ ข้อมูลที่จัดเก็บในคอมพิวเตอร์เบื้องต้น เป็นข้อมูลประเภทเป็นตัวเลข จากตัวเลขมาก็เริ่มมีการจัดเก็บเป็นตัวอักษร เดิมทีที่เป็นตัวเลขเพราะว่าคอมพิวเตอร์จะพิมพ์เป็นเครื่องมือในการคำนวณตัวเลข แล้วมีตัวอักษร แล้วมีรูปภาพ และมี VDO ตามมาในปัจจุบันก็คอมพิวเตอร์ใช้เก็บข้อมูลได้หลาย ๆ รูปแบบ ทุกรูปแบบสุดท้ายก็มีการจัดเก็บเป็นหน่วยพื้นฐานที่เราเรียกว่า binary (เลขฐานสอง) คือระบบที่คอมพิวเตอร์สามารถจัดเก็บได้

ข้อมูล binary คือ เลขฐานสอง ส่วนเลขฐานสิบ คือแต่ละหน่วยเป็นค่าตั้งแต่ 0 ถึง 9 ถ้าเลขฐานสอง มีแค่ 0 และ 1 ในระบบคอมพิวเตอร์ การจัดเก็บข้อมูลจะเก็บในลักษณะของเลขฐานสอง ด้วยเหตุผลที่ว่าอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดเก็บสามารถจัดเก็บแล้วได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือจัดเก็บในรูปแบบของเลขฐานสอง คือข้อมูลนี้ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลอะไรก็แล้วแต่ เราก็มีวิธีที่จะแปลงให้อยู่ในรูปเลขฐานสองเพื่อให้สามารถจัดเก็บในระบบคอมพิวเตอร์ได้

คำว่า signal ให้ยกตัวอย่างว่า signal ส่งอย่างไร เมื่อเราพูดถึงสัญญาณต้องมีปริมาณหรือมีอะไรบางอย่างที่เราวัดได้หรือสามารถจะเปลี่ยน และควรจะต้องเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา ถ้าเกิดว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลง เราก็ไม่น่าจะเรียกว่าสัญญาณ เช่นสัญญาณ ไฟเขียว – ไฟแดง ก็มีการเปลี่ยนแปลง ในการเปลี่ยนแปลงก็เป็นตัวส่งข้อมูลข่าวสาร ในการเปลี่ยนแปลงสามารถบอกอะไรบางอย่างกับเราได้

สัญญาณในระบบสื่อสารปัจจุบันมีอยู่ด้วยกัน 3 รูปแบบ
แบบแรก กับแบบที่สามธรรมดาจะต้องอาศัยสายในการนำสัญญาณ ยกเว้นแบบที่สามในบางลักษณะมันอาจจะสามารถจะส่งไปในอากาศได้ ส่วนใหญ่ของการใช้สัญญาณส่งควบคู่กับสายที่นำสัญญาณแสง แต่แบบที่สองเราสามารถส่งไปได้โดยใช้ ไปในอากาศคือคลื่นวิทยุ อย่างแบบที่สามมีทั้งส่งไปในสาย และแบบที่ไม่ต้องใช้สาย อย่างที่ในการที่เราจะส่งข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ต้องส่งโดยตัวอาศัยตัวสัญญาณที่เหมาะสมในการ carry หรือนำตัวข้อมูลนั้นไป คำว่าสัญญาณที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับว่าตัวที่นำพาสัญญาณเป็นอะไร สัญญาณที่ส่งไปก็จะต้องมีลักษณะที่เหมาะกับที่จะส่งผ่านไปในตัวนำสัญญาณที่เราเรียกว่าช่องนำสัญญาณ (Transmission media) จะพูดถึงในบทต่อไป สัญญาณนี้เป็นไปได้ทั้ง สัญญาณ analog และสัญญาณ digital
ข้อมูลที่เป็น Analog เช่น เสียงพูด เป็น Analog หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่เราพูดใส่โทรศัพท์ โทรศัพท์ต้องมีกระบวนการหรือ chip ภายในที่แปลงเสียง analog ให้เป็น Digital ก่อนถึงจะสามารถส่งไปในระบบที่จะส่งเป็น digital ได้
สัญญาณที่เราพูดถึง 2 ประเภท คือ สัญญาณที่เป็น analog กับสัญญาณที่เป็น digital

คำถาม สัญญาณที่เป็น analog กับสัญญาณที่เป็น digital ต่างกันอย่างไร
มีคุณลักษณะ 2 ประการ ที่บอกถึงความแตกต่างคือ
1. ระดับของสัญญาณ สัญญาณ Digital มี 2 ระดับของสัญญาณที่แตกต่างกัน เหมือน switch ไฟ ที่มีแค่เปิดกับปิด แต่ switch ไฟ บาง switch ไฟสามารถปรับความสว่างได้ ว่าสว่างมากขึ้นหรือสว่างน้อยลง ไฟสามารถจะปรับต่อเนื่องขึ้นลงได้ ถ้าเปิดกับปิดก็เหมือนกับสัญญาณ digital จริง ๆ สัญญาณ digital อาจจะมีมากกว่า 2 ระดับก็ได้แต่ว่า จำนวนระดับของมันจะมีจำนวนที่จำกัด ถ้าเป็น analog จะมีห้วงของระดับสัญญาณต่ำสุดและสูงสุด แต่ระหว่างสูงสุดกับต่ำสุด มันจะเป็นค่าใดๆ ก็ได้
2. เมื่อมีการแปลงระดับของสัญญาณ ในกรณีของ digital จะมีการเปลี่ยนในลักษณะที่ก้าวกระโดด เช่น เปิด-ปิด เปิดสว่าง – ปิดก็มืด ถ้าเป็น analog การเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างต่อเนื่องกัน ไม่สามารถจะกระโดดได้ การต่อเนื่องจะช้าหรือเร็วก็แล้วแต่ แต่ว่าเราปรับความสว่าง-หรือมืดแบบทันทีไม่ได้ ขึ้นอยู่กับว่าถ้าปิดเร็วก็จะมืดเร็ว แต่ว่าจะมีการเปลี่ยนจากสว่างมามืดต่อเนื่อง นี่คือคุณสมบัติที่แตกต่างประการที่สอง ของ digital กับ analog

ในระบบสื่อสารมีปัจจัยหลัก 2 ปัจจัยที่ทำให้มีผลต่อข้อมูล ซึ่งถ้าเป็นไปได้ในการสื่อสารเราต้องการ 3 สิ่ง นั้นคือความถูกต้อง ความเร็ว และระยะทาง เราอยากได้ 3 สิ่งนี้คือ ความถูกต้อง ความเร็ว(หมายถึง ปริมาณข้อมูลที่ส่งได้ต่อช่วงเวลาที่เท่ากัน) กับระยะทาง คือส่งได้ไกล ธรรมดาแล้วตัวที่เป็นตัวจำกัดให้ไม่สามารถเพิ่มขึ้นไปพร้อม ๆ หรือเพิ่มขึ้นมากๆ ได้ ปัจจัยหลัก ๆ ก็มีด้วยกัน คือ สิ่งที่เราเรียกว่า
1.สัญญาณรบกวน
2.เมื่อสัญญาณไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใด ๆ ก็ตาม เมื่อส่งผ่านไปไกลๆ ความเข้มของสัญญาณ หรือกำลังของสัญญาณจะลดลงเรื่อยๆ
อันดับแรก สัญญาณรบกวน คือ สัญญาณใดๆ ก็แล้วแต่ที่ไม่ใช่ สัญญาณที่ carry หรือส่งข้อมูลที่เราต้องการ เมื่อสัญญาณจากที่อื่นมารบกวนสัญญาณของเราก็จะทำให้เกิดผลบางอย่าง เช่น ถ้าเป็นเสียง เราจะได้ยินเสียงที่ปลายทางมีเสียงรบกวน ถ้าเป็นโทรทัศน์ เราเปิด TV มาดูภาพก็อาจจะไม่ชัดเจน ถ้าเป็นข้อมูล ก็หมายถึงข้อมูลที่ได้รับก็อาจจะมีความผิดพลาดแตกต่างจากข้อมูลที่ส่งมาก็คือมี error เกิดขึ้นในการรับ-ส่งข้อมูลได้

การรบกวนเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา แต่ว่าอาจจะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก หรือหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยปกติถ้าสัญญาณเป็น digital ถ้าปริมาณของสัญญาณที่รบกวนมีไม่มาก เราสามารถที่จะลบหรือกรองหรือกำจัดสัญญาณรบกวนออกไปได้โดยสมบูรณ์หรือเกือบสมบูรณ์ แต่ในกรณีของสัญญาณ analog เป็นเรื่องยากกว่าที่เราจะกำจัดตัวสัญญาณรบกวนออกจากสัญญาณ Analog ที่เป็นอย่างนั้นเราก็คงจะมองเห็นได้แล้วว่า เนื่องจากสัญญาณ Digital มีระดับที่แตกต่างกัน เมื่อมีสัญญาณรบกวนเข้ามา เราสามารถที่จะแยกความแตกต่างระหว่างสัญญาณรบกวนกับสัญญาณที่แท้จริงได้ โดยเฉพาะถ้าสัญญาณรบกวนมีปริมาณที่ไม่สูงนัก

ที่นี้ก็เรารู้ว่าตรงนี้สัญญาณที่แท้จริงควรจะเป็นสัญญาณระดับ X ระดับที่แท้จริงควรจะเป็นระดับ Y แบบนี้ แล้วเราขาดกลไกในการกรองสัญญาณ เราก็สามารถสร้างสัญญาณใหม่ ให้แต่ต่างจากสัญญาณรบกวนได้ นั้นคือแบบภายใต้เงื่อนไขที่ว่าสัญญาณรบกวนมันจะต้องมีปริมาณไม่มากจนเกินไป เช่น ถ้าเป็นกรณีนี้ เราสามารถกำจัดสัญญาณรบกวนออกไปได้ เพราะว่ามีปริมาณน้อยมาก แต่ตรงนี้ไม่ได้เพราะ เราไม่สามารถบอกได้ว่าสัญญาณจริงเป็นระดับไหนกันแน่ เพราะว่าสัญญาณในช่วงเวลานี้มีสัญญาณปริมาณมากเมื่อเทียบกับกำลังในระดับที่ส่งข้อมูล ซึ่งถ้าเป็นกรณีนี้ก็มีผลในลักษณะซึ่งใกล้เคียงหรือแตกต่างกับสัญญาณ Analog คือหมายความว่ามันไม่สามารถที่จะ clean up ตัวสัญญาณรบกวน หรือไม่กำจัดสัญญาณรบกวนออกไปจากสัญญาณ digital ได้ ถ้าสัญญาณรบกวนมีปริมาณไม่มาก เราจะเข้าใจลักษณะตรงนี้ได้ดี ถ้าเกิดว่าบ้านเราดูทีวีผ่านดาวเทียม หรือผ่าน cable TV

คำว่า cable TV หมายถึง ผ่านดาวเทียมแต่ว่าเสียตังค์ ที่เค้าเรียกว่า cable TV เพราะอะไร เพราะประเทศในอเมริกา หรือยุโรป จะมีการบริการผ่านสาย cable จริงๆ วิ่งมาที่บ้าน ที่ต้องเสียเงิน หรืออย่าง เช่น IBC เป็น cable TV แต่จริง ๆ แล้วการส่ง ส่วนใหญ่อาศัยผ่านคลื่นวิทยุ ไม่ได้อาศัย cable แต่เราเรียก cable TV แต่ปัจจุบันเดี๋ยวนี้เราใช้ผ่านดาวเทียม เช่น True vision หรือของ samart ก็เหมือนกัน ซึ่งภาพที่ได้จะชัดแจ๋ว เพราะข้อมูลมันเป็น digital มา แต่ถ้าเกิดว่า ฝนตก ภาพจะ freeze หรือขาดหายไป

คำว่า freeze หมายความว่า เวลาที่เราดู TV ภาพหลายๆ ภาพจะส่งต่อมาเรื่อยๆ ถ้าสัญญาณผิดพลาดไป ก็ต้องเอาภาพล่าสุดมาฉายบนจอ แต่ลักษณะนี้นี้จะไม่เกิด ถ้าเราดู TV ด้วยเสาอากาศด้วยปกติ เป็นแบบสัญญาณ analog ซึ่งก็จะเป็นอีกลักษณะหนึ่งคือ ภาพอาจจะมีสัญญาณรบกวน แต่จะไม่มีการ freeze บางช่วงอาจมีหิมะเยอะ นั้นคือเป็นลักษณะของ Analog และเป็น digital สัญญาณ digital นี้ถ้าเกิดว่าถ้าสัญญาณรบกวนเยอะ ข้อมูลจะเสียไปเลย แต่ analog ก็คือว่าถ้าสัญญาณรบกวนน้อย ข้อมูลจะถูกต้องเกือบ 100 % แต่สัญญาณ Analog ก็คือสัญญาณรบกวนน้อยก็จะเห็น noise นิดหน่อย แต่ถ้าสัญญาณรบกวนมากคุณภาพก็จะลดลงไปเรื่อย ๆ แต่จะไม่มีกรณีภาพหายไปเหมือนกับ Digital

เมื่อกี้เราพูดถึงว่าระบบคอมพิวเตอร์หรือในระบบสื่อสาร สุดท้ายข้อมูลไม่ว่าจะมีรูปแบบใด ก็ต้องสามารถจะจัดเก็บในรูปแบบของข้อมูล binary คือข้อมูล digital ได้ เพื่อให้สามารถทำการจัดเก็บ ประมวลผล และส่งผ่านเครือข่ายได้ ถ้าเป็นตัวเลขจากเลขฐานสิบ ก็แปลงเป็นเลขฐานสอง แต่ถ้าเป็นข้อมูลตัวอักษร ตัวอักษรที่เราเขียนอยู่บนกระดาษต่างๆ เมื่อเราต้องการจัดเก็บในคอมพิวเตอร์ เราจำเป็นต้องแทนมันด้วยรหัส เราเรียกว่า CODE กระบวนการในการ match หรือแปลง จากตัวอักษรให้เป็นรหัสที่สามารถจัดเก็บ และประมวลได้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ เราเรียกว่า Character encoding ซึ่งก็จำเป็นจะต้องมีมาตรฐาน มาตรฐานก็จะทำให้เราจัดเก็บหรือสร้างข้อมูลตัวอักษรด้วยโปรแกรมหนึ่งก็สามารถจะใช้อีกโปรแกรมหนึ่งในการนำไปประมวลผล หรือใช้งานต่อไปได้ คือตัวอย่างของรหัสที่มีการใช้งานตั้งแต่อดีตมา คือ ASCII, EBCDIC (คือเป็นมาตรฐานระบบคอมพิวเตอร์ ของ IBM เครื่องประเภทเมนเฟรม ) นอกจาก ASCII และ EBCDIC ก็มีรหัสตัวอักษรอีกชุดหนึ่งที่มีการใช้งานมากขึ้นเราเรียกว่า UNICODE

ASCII เป็นรหัสที่เราเห็นเป็นรหัสที่มีความยาว 7 Bit คือประกอบไปด้วยจำนวน binary จำนวน 7 ตัวด้วยกัน คือซึ่งรหัสชุดหนึ่งจะประกอบไปด้วยตัวเลข binary จำนวน 7 Bit Bit ที่ 6 จะอยู่ขวาสุด ตำแหน่งแรกสุดของข้อมูลใน binary เราจะเรียกว่า Bit ที่ 0 เราไม่เรียกว่า Bit ที่ 1 เพราะฉะนั้น A ก็จะเป็นข้อมูลที่จัดเก็บเป็น code ในคอมพิวเตอร์ คือ 1000001 หรืออย่างเช่น NARISARA (ภาษาไทยเราก็ match ได้ แต่ต้องไม่ใช่ด้วยรหัส ASCII) ถามว่าต้องใช้ข้อมูลจำนวนกี่ Bit คำตอบคือ ต้องดูว่ากี่ตัวอักษร แต่ละตัวอักษรใช้ 7 Bit ดังนั้นต้องใช้ทั้งหมด 56 Bit

ในตัวอย่างเราใช้รหัสASCRII เป็นแบบ 7 Bit แต่ส่วนใหญ่ปัจจุบันที่เราใช้รหัส ASCII แบบ 8 Bit แต่ว่าตัวอักษรภาษาอังกฤษ ตัวเล็กตัวใหญ่ ตัวเลขมันจะเขียนแทนด้วย 7 Bit แทนอักขระ ได้ 128 อักขระตัวอักษร เพราะ 7 Bit ที่แตกต่างกันมีได้ 128 คือ 27 (สองยกกำลังเจ็ด) ถ้า 28 จะได้ 256 เป็นรหัส ASCII แบบ 8 bit 128 ตัวแรกกับ 128 ตัวหลัง ซึ่งธรรมดาจะเป็นตัวเลขพวก graphic ส่วนภาษาไทยจะใช้ 128 ตัวหลัง ซึ่งจะเท่ากับตัวอักษรภาษาไทย เนื่องจากภาษาไทยมีอักขระประมาณ 70-80 (รวมพยัญชนะ อักขระ วรรณยุกต์) ซึ่งจะเพียงพอที่จะบรรจุใน 128 ตัวหลัง

ในปัจจุบัน จะมี Character encoding standard ใหม่ซึ่งเราเรียกว่า UNICODE เช่น ถ้าเราเปิด web หน้าภาษาไทย แต่ตัวหนังสือไม่เป็นภาษาไทย เราจะแก้ไขโดยการเปิด Character encoding แล้วเลือก UNICODE หรือภาษาไทย TIS 620 หรือ window 874-- 2 อันนี้ก็ใกล้เคียงกันมาก 2 อันนี้ก็อาศัยหลักที่เมื่อกี้อธิบายให้ฟัง--- UNICODE คืออะไร ---western คือ ภาษาอังกฤษโดยทั่วไป---ISO 8859— UNICODE คือ การแปลงตัวอักษรเป็นข้อมูล binary เหมือนกับ ASCII เพียงแต่ UNICODE สามารถมีความยาวของรหัสเกินมากกว่า 7 - 8 Bit ได้ สามารถจัดเก็บได้ถึง 16 Bit เพื่อทำให้เราสามารถแทนอักขระ หรือภาษาที่มีอยู่ในโลกนี้ได้ทั้งหมด อย่างภาษา จีน หรือ ญี่ปุ่น จะไม่สามารถใช้เหมือนภาษาไทยได้ เพราะภาษาจีน และ ญี่ปุ่น มีอักขระเกินร้อยตัว หรือรวมกัน 256 ก็ไม่พอ จึงต้องใช้ UNICODE ถึงจะแทนได้หมด คือว่าใน code อย่างเช่น ถ้าเราดูที่ ASCII ใน code มีการกำหนดแค่รหัส 1 -2 -3- 4 -A-B-C มีหมด แต่ UNICODE จะยาวหมดเลย มีตั้งแต่ ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาไทย มีภาษาในโลกทั้งหมดได้ เพราะฉะนั้นถ้าเรามีโปรแกรมที่พิมพ์หรือ FONT ที่พิมพ์ ภาษาใดก็ตามเราสามารถจะเขียนเอกสารซึ่งใน 1 หน้า มีทุกภาษาในโลกได้ คือ UNICODE แต่ถ้าใช้ รหัสภาษาไทยแบบ TIS 620 หรือ window 874 ในหน้า web เราก็จะมีแค่ 2 ภาษา คือภาษาอังกฤษและไทย เพราะฉะนั้นหลายๆ ครั้งใน e-mail หรือ web บางทีเปิดมาภาษาไทยเราอ่านไม่รู้เรื่อง เพราะว่าอาจจะเขียนการส่งในรูปของ UNICODE พอเปิดมาใช้ assume ว่ามันเป็นอักขระเขียนด้วย window 874 หรือ TIS 620 ก็อ่านไม่รู้เรื่อง เป็นคนละมาตรฐานเหมือนกันกับลองเปรียบเทียบตัวอักษร A ของ ASCII กับตัวอักษร A ของอีกรหัสมาตรฐานนึง ก็เป็นคนละรหัสกัน เพราะฉะนั้นเราเอาโปรแกรมนึงเขียนขึ้นมาโดยการใช้รหัส ASCII เราเอาข้อมูลนี้ไปเปิดด้วยอีกโปรแกรมนึงที่อ่านด้วยรหัส EBCDIC มันก็จะเป็นตัวอักษรที่ออกมาไม่รู้เรื่องไม่เข้าใจ

ข้อมูลประเภทอื่น ๆ เช่น รูปภาพหรือ ภาพ VDO ก็มีมาตรฐานหรือวิธีการจัดเก็บเหมือนกัน แต่กระบวนการหรือการแปลงข้อมูล อย่างเช่น ภาพ video ไปเป็นข้อมูล Digital ที่จัดเก็บในคอมพิวเตอร์นั้น เป็นกระบวนการที่ซับซ้อนกว่าการแปลงข้อมูลตัวอักษรให้เป็นข้อมูล Digital

นอกเหนือจากสัญญาณรบกวนแล้ว ปัจจัยที่มีผลต่อความถูกต้อง ความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล ระยะทางที่สามารถจะส่งข้อมูลไปได้ ก็คือเรื่องของการลดทอน การสูญเสียกำลังของตัวสัญญาณ เมื่อส่งไปไกล ๆ เช่น เวลาที่ใช้ไฟฉายส่องไป แสงวิ่งไปได้ระยะทางนึง แสงก็หายไป เนื่องจากมีการลดทอน ทำให้กำลังลดลงเรื่อยๆ กำลังนี้เราสามารถจะระบุหน่วยกำลังของสัญญาณได้ 2 แบบด้วยกัน
แบบแรกคือระบุหน่วยของกำลังไฟเป็น WATT (วัตต์ )เช่น มือถือ 2 WATT คือกำลังสัญญาณที่มีหน่วยเป็นวัตต์ อีกอันคือ เป็นหน่วยที่เราเรียกว่า หน่วย Decibel (เดซิเบล) เป็นหน่วยของเสียงคือ เป็นหน่วยของการเปรียบเทียบระหว่างอัตราส่วนอย่างเช่น กำลังของสัญญาณหนึ่ง หารด้วยอีกกำลังหนึ่ง dB = 10 log10 (P2 / P1) ก็จะได้เป็นหน่วย Decibel ผลของการที่เราแสดงหน่วยของสัญญาณเป็นเดซิเบล ทำให้เรากำหนดสัญญาณได้ง่าย เช่น จากจุด A ไป จุด B เป็น -10dB หมายถึงว่า กำลังจากสัญญาณ A เมื่อเดินทางไป จุด B กำลังจะลดลง – 10dB ถ้ากำลังที่จุด A เป็น 5 dB ไปถึงจุด B มันก็จะกลายเป็น -5 dB ก็คือ ลบไป 10 dB ในตัวอย่างนี้ที่เห็นว่าเป็น + 20 dB เพราะว่าเรามีอุปกรณ์ซึ่งเพิ่มกำลัง อุปกรณ์ทวนสัญญาณ หรือขยายสัญญาณ ทำให้กำลังมันเพิ่มขึ้น และส่งจาก B ไป C กำลังก็ลดลงเพราะว่าสัญญาณส่งไปในระยะทางไกล ๆ กำลังก็จะลดลงไปเรื่อย ๆ เพราะฉะนั้นโดยรวมจากจุด A ไปยังจุด B กำลังลดลง -5 dB

โดยสรุปสัญญาณรบกวน และการลดทอนของสัญญาณเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความถูกต้อง ความเร็ว ระยะทางไกล คือเป็นปัจจัยที่ทำให้ไม่สามารถได้ความถูกต้องตามที่เราต้องการ ความเร็วตามที่เราต้องการ และระยะทางตามที่เราต้องการ

ที่นี้เรามาพูดถึงสัญญาณ Analog ซึ่งจะใช้ในการสื่อสารข้อมูล มีคุณสมบัติของสัญญาณที่สำคัญ 3 ประการ ด้วยกันคือ
– Amplitude
- Frequency
- Phase

Amplitude คือ ระดับสูงสุดหรือต่ำสุดของสัญญาณ เมื่อมีการ swing มากคือมีการ Amplitude สูง ถ้า swing น้อย ๆ Amplitude ก็จะต่ำ เหมือนกับคลื่น มีคลื่นได้การกระเพื่อมของคลื่น ถ้ากระเพื่อมมาก Amplitude สูง ถ้ากระเพื่อมน้อย Amplitude ต่ำ ถ้าเป็นเสียง เสียงที่ดังคือเป็นเสียงที่มี Amplitude สูง
Frequency ความถี่มีหน่วยเป็น Hz บางทีเราเรียกว่า Cycle per Second (หรือรอบต่อวินาที) คือสัญญาณ analog ที่มันครบ 1 รอบ ถ้าได้ 2 รอบต่อวินาที หมายถึง มีความถี่เป็น 2 Hz มีคำที่เกี่ยวข้องกับ Frequency คือ เรื่องของ Spectrum กับ Bandwidth

Spectrum คือสัญญาณบริสุทธิ์ เป็นสัญญาณที่มีความถี่เดียว แต่สัญญาณที่ปรากฏหรือใช้งานในทางปฏิบัติมันจะประกอบไปด้วยหลาย ๆ ความถี่มาผสมกัน เพราะฉะนั้นสัญญาณนึงอาจจมีความถี่ต่ำ 1 Hz - 3 Hz Spectrum คือช่วงของความถี่ของสัญญาณที่เป็นองค์ประกอบของสัญญาณช่วงนั้นๆ เช่น ถ้าเอา 3 สัญญาณมารวมกัน สัญญาณที่เกิดจากการรวมกัน Spectrum ช่วงของมันจะอยู่ในช่วง 1-3 Hz นั้นคือความหมายของคำว่า Spectrum เช่นเสียงพูดของคนเรา เมื่อเราวิเคราะห์ออกมาก็จะประกอบไปด้วย ความถี่ต่าง ๆ หลายๆ ความถี่ผสมกันอยู่

Bandwidth คือ ผลต่างระหว่างความถี่สูงสุด กับ ความถี่ต่ำสุด เช่น 3 อันนี้มารวมกัน ความถี่สูงสุดคือ 3 Hz ความถี่ต่ำสุดคือ 1 Hz แล้ว 3 – 1 คือ 2 Hz ก็คือคำว่า Bandwidth ความกว้างของผลต่างระหว่างความถี่สูงสุดกับความถี่ต่ำสุดที่อยู่ในสัญญาณนั้น ๆ Bandwidth ของสัญญาณสัมพันธ์กับ Bandwidth ของช่องสื่อสารหรือ transmission media เช่น สายคลื่นวิทยุBandwidth ของสัญญาณเหมือนความกว้างของรถ Bandwidth ของช่องสื่อสารเหมือนกับความกว้างของถนน ถ้าถนนแคบรถก็ไปไม่ได้ สัญญาณก็ส่งผ่านไปไม่ได้ หรือส่งผ่านไปได้ก็มีความเสียหาย นั่นคือความหมายของคำว่า Bandwidth

คำสุดท้ายคือคำว่า Phase ถ้าเราดูตัวสัญญาณ Analog เราจะเห็นว่า มันมีรอบของมันจากศูนย์ขึ้นไปจนถึงจุดสูงสุด จากนั้นลงมาศูนย์ใหม่ และลงมาถึงจุดต่ำสุดและกลับขึ้นไปใหม่ นี่คือเราเรียกว่าครบ 1 รอบ

Phase ของสัญญาณก็คือว่า เป็นตัวที่เราใช้อ้างอิงว่ามันอยู่ ณ จุดไหนใน 1 รอบของการเปลี่ยนแปลง เพราะฉะนั้นเมื่อเราพูดถึง Phase เราก็ระบุตำแหน่งด้วย เช่น เราบอกว่า Phase ของสัญญาณมีค่าเท่าไร คือเราต้องระบุเวลาด้วย เช่น ณ เวลานี้ มี Phase เท่ากับ 90 องศา สัญญาณถัดมาอยู่ที่ 270 องศา เพราะฉะนั้น 180 องศาคือผลต่างของ Phase ที่เกิดความเปลี่ยนแปลง ณ จุดนั้น เช่นเดียวกันถ้า phase นี้ 90 องศา แต่ถัดมาคือ 180 องศา Phase มันเกิดกระโดดที่ 90 องศา การกระโดดคือ Phase change การกระโดดของ Phase เราสามารถนำมาใช้ในการส่งข้อมูลได้ ธรรมดาตัวสัญญาณไม่มีการกระโดด แต่ถ้าเราบังคับให้มันกระโดด ที่ฝั่งรับเรา sent หรือ check ว่าเกิดการกระโดด เราก็จะรู้ว่าข้อมูลที่ส่งมาเป็น 0 หรือ 1 เช่นเป็น 0 ไม่กระโดด 1 กระโดด ทำให้เรานำมาปรับใช้ในการส่งข้อมูลได้

อันนี้อาจจะไม่เกี่ยวกับระบบของการสื่อสารข้อมูล แต่เราใส่เข้ามาให้เกิดความสมบูรณ์ คือในการที่เราส่งข้อมูล Analog เช่น เสียงหรือภาพ โดยการใช้สัญญาณ Analog ก็คือกลไกในส่ง กระจายคลื่นวิทยุหรือโทรทัศน์นั้นเอง คือระบบโทรทัศน์หรือวิทยุที่เราใช้ในปัจจุบันที่เราเรียกว่าเป็น ระบบ Analog คือว่าเราใช้ข้อมูล Analog โดยที่ไม่มีการแปลงเป็น Digital เอาข้อมูล Analog แล้วก็มา keyword สัญญาณ analog แล้วก็ส่งคลื่นวิทยุออกไป เราจะไม่พูดถึงในรายละเอียด

กระบวนการที่ส่งข้อมูล Analog โดยการใช้สัญญาณ Analog ก็จะมีรูปสัญญาณที่แตกต่างกัน ที่เราเรียกว่า
- Amplitude modulation วิทยุ AM
- Frequency modulation วิทยุ FM
ที่นี้เราจะพูดถึงการส่งข้อมูล Digital สามารถโดยใช้สัญญาณ Digital หรือ โดยใช้สัญญาณ Analog เราจะใช้สัญญาณ Digital หรือ Analog ขึ้นอยู่กับสื่อหรือตัวกลาง (Transmission media) ที่เราใช้ Transmission media ในที่นี้หมายถึงอะไร ก็หมายถึง สาย Cable หรือ อากาศ เราจะใช้สัญญาณเป็นแบบ digital หรือแบบ Analog นี้ขึ้นอยู่กับ Transmission media นั้นๆ ว่าออกแบบมาเพื่อใช้ในการส่งสัญญาณประเภทไหน

ที่นี้เรามาดูในกรณีที่เราใช้สัญญาณ Digital ในการส่งข้อมูลกันก่อน ก็มีวิธีการต่างๆ มากกว่า แต่วิธีที่ได้พูดไปใน preclass lecture คือวิธีการที่เราเรียกว่า NRZ-L (ย่อมาจาก Non-Return to Zero Level) ในวิธีการนี้ สัญญาณ digital ที่เราใช้มีด้วยกัน 2 ระดับ คือสัญญาณระดับต่ำ และสัญญาณระดับสูง เช่น ในช่วงเวลาที่เราส่งข้อมูล ในกรณีนี้ 1 จะใช้แทนในระดับสัญญาณต่ำหรือสูงก็ได้ ขอให้มันกลับกันนั่นเอง ตัวอย่าง 1 แทนในระดับสัญญาณต่ำ 0 แทนในระดับสัญญาณสูง ให้เรานึกว่าภาพว่ามีแกนหนึ่งเป็นเวลา ระบบนี้ส่งข้อมูลที่ความเร็ว 1 Bit ต่อ 1 วินาที หมายถึง การส่งแต่ละ Bit นั้นคือการส่ง 1Bit ใช้เวลา 1 วินาที เส้นประคือ 1 วินาที 2 วินาที 3 วินาที …. แต่ละ bit ใช้เวลาในการส่ง 1 วินาที

เพราะฉะนั้นในวินาทีแรกถ้าดูที่ NRZ-L เราส่งข้อมูล 1 ในระดับของสัญญาณจะเป็นระดับสัญญาณต่ำ ถ้าเป็นข้อมูลการส่งโดยการใช้สัญญาณไฟฟ้า สัญญาณไฟฟ้าที่วิ่งอยู่ในสายที่เชื่อมระหว่างจุด 2 จุดก็จะเป็นระดับสัญญาณต่ำในระยะเวลา 1 วินาที ถ้าในระยะเวลา 1วินาที ถ้าฝั่งรับมีอุปกรณ์ซึ่งวัดระดับสัญญาณได้ก็จะวัดระดับสัญญาณได้ว่ามีระดับต่ำ วินาทีถัดไป ส่งข้อมูล 0 เพราะฉะนั้นฝั่งส่งก็จะยกระดับของสัญญาณเป็นระดับสูง คงไว้แบบนี้เป็นอีกเวลา 1 วินาที เป็นแบบนี้ไปเรื่อย ๆ นั้นคือวิธีการที่เราสามารถจะส่งข้อมูลโดยการใช้การเปลี่ยนของระดับสัญญาณ Digital ได้ ฝั่งรับก็จะต้องมีอุปกรณ์ ซึ่งรับสัญญาณในแต่ละช่วงเวลาได้ เพื่อให้แปลงกลับไปเป็นข้อมูล 0 หรือ 1 ได้เหมือนกับต้นทาง นั้นคือ NRZ-L

ถ้าจะส่งข้อมูล NARISARA ในรหัส ASCII อันดับแรกต้องแปลงให้เป็นรหัส ASCII ต้องแปลงแต่ละ Bit ให้เป็นในรูปของสัญญาณ คือเป็นวิธีการในการส่งของมูลพื้นฐาน ในทางปฏิบัติจริงๆ อาจจะเป็น บวก และ ลบ ก็ได้ ในภาพนี้คือเส้นดำแนวนอนเป็นสัญญาณระดับ 0 ในกรณีนี้ เป็นตัวอย่างระดับต่ำ ในทางปฏิบัติ 1 อาจจะแทนด้วยสัญญาณไฟฟ้าเป็น ลบ0 แทนด้วยสัญญาณไฟฟ้าเป็นบวก คำว่า ลบ กับ บวก ก็คือ ไฟมันวิ่งสลับตำแหน่งกัน คือสายไฟฟ้าโดยทั่วไปสัญญาณมันจะเป็นคู่ กระแสไฟฟ้าจะวิ่งในสายเส้นหนึ่ง และย้อนกลับไปอีกเส้นหนึ่ง เพื่อให้ครบวงจร ที่เห็นเขียนอยู่เส้นเดียวจริง ๆ แล้วข้างในมี 2 เส้น คือเส้นหนึ่งให้ไฟฟ้าส่งไปที่ฝั่งรับ และส่งย้อนกลับมา

ในตัวอย่างก็ NRZ-L ยกตัวอย่างเช่น การส่งผ่านทาง Serial Port ซึ่งปัจจุบันใช้น้อยลงไปเยอะ บางทีเราเรียกว่า RS-232 Serial Port แต่เดิมมีการใช้งานมาก ปัจจุบันเรามี port USB เข้ามา ทำให้การใช้ Serial Port ลดน้อยลง Serial Port เป็นตัวอย่างที่มีการส่งผ่านข้อมูล ผ่าน Serial Port มันจะแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปของแบบสัญญาณโดยอาศัย มาตรฐานของการ encoding ที่เราเรียกว่า NRZ-L เป็นการส่งข้อมูลโดยใช้สัญญาณ digital แบบพื้นฐาน ถ้าเราเปรียบเทียบกับอันที่สองคือ NRZ-I คือมันต่างกันอย่างไร

NRZ-L และ NRZ-I ต่างกันอย่างไร อันแรกเราใช้ลำดับของสัญญาณ อันที่สองเราใช้การเปลี่ยนแปลงของระดับสัญญาณ คือในการส่ง 0 นี่สัญญาณไม่มีการเปลี่ยนแปลงระดับ แต่ถ้าส่ง 1 เมื่อไรจะมีการเปลี่ยนแปลง คือมันไม่ใช่ตัวระดับที่เป็นตัวสื่อถึง 0 กับ 1 แต่ว่ามันคือการเปลี่ยนหรือไปเปลี่ยน ที่เป็นตัวสื่อถึงกับส่งข้อมูล 0 หรือการส่งข้อมูล 1 อย่างเช่น ในกรณีนี้เราเปลี่ยนจากระดับสูงมาต่ำ หมายถึง 1 เปลี่ยนจากต่ำไปสูงคือ 1 สูงมาต่ำคือ 1 แต่ถ้า 0 จะไม่มีการเปลี่ยน ถ้าเป็น 0 อยู่แล้วก็จะเป็น 0 ต่อไป ถ้าเป็นต่ำก็จะเป็นต่ำต่อไป

(NRZ-I ) I หมายถึงการ invert (การเปลี่ยน) สองอันแรกคือวิธีการพื้นฐาน วิธีที่ซับซ้อนขึ้นมาคือ ตัวอย่างที่เราเรียกว่า Manchester encoding จะเป็นวิธีการที่ซ้ำซ้อนขึ้นมา ใช้ในการส่งข้อมูลที่ต้องการใช้ความเร็วสูง เช่นการส่งผ่านข้อมูลในสาย LAN ในการแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณ digital โดยอาศัย encoding ที่เป็น Manchester encoding นี้คือ เป็นตัวอย่างใช้ในมาตรฐานการส่งผ่านสาย LAN PORT นี่คือตัวอย่างระบบที่เรารู้จักการส่งเป็นอย่างดี ที่ใช้การส่งสัญญาณเป็น Digital เช่น LAN USB Port Serial Port RS-232 DV Port ที่ เรียกอีกอย่างว่า Firewire Digital Video Port เป็น Port ที่ใช้ส่งผ่านข้อมูล Video

ปัญหาของ NRZ-L และ NRZ-I คือ ถ้าข้อมูลเป็น 0 ต่อเนื่องกันนาน ๆ ระดับก็จะนิ่งไปเรื่อย หรือว่าเป็น NRZ-L ไม่ว่าจะเป็น 0 หรือ 1 ก็แล้วแต่ ถ้าเป็น 1 ต่อเนื่องกันไป ระดับสัญญาณจะเป็นระดับที่คงที่ พอมันคงที่แล้วเกิดอะไรขึ้น ในระบบสื่อสารการ Sync ระหว่างฝั่งส่งและฝั่งรับเป็นสิ่งสำคัญ คำว่าการ sync คือ ฝั่งส่งและฝั่งรับจะต้องรู้ช่วงเวลาในการส่งแต่ละ Bit เพราะฝั่งรับจะต้อง check ในแต่ละช่วงเวลา ถ้าฝั่งรับ check เร็วไป หรือ check ช้าไป ก็ข้อมูลก็จะผิดพลาดทำให้จังหวะของการส่ง และการรับไม่ Sync กัน ซึ่งถ้าสัญญาณ เป็นสัญญาณที่เสมอกันตลอดมันไม่มีจุดที่จะ Sync กันได้ คือจังหวะของการรับและส่งถูกกำหนดด้วยการเคาะ อุปกรณ์ 2 ตัวเดินยังไงก็ไม่มีมันตรงกัน ถ้าสัญญาณนิ่ง ๆ มันก็เคาะตามจังหวะของมันไปเรื่อย ๆ จนสุดท้ายมันไม่ตรงกัน ถ้าเกิดว่ามันมีการเปลี่ยนสัญญาณบางจุด จุดนี้จะเป็นเหมือนกับให้มัน Sync ให้ตรงกันได้ NRZ มีข้อเสีย ก็เพื่อทำ NRZ-I เข้ามาซึ่งมีข้อดีอยู่อย่างคือ อย่างเช่นถ้าเป็น 1 ก็จะสลับไปเรื่อยไม่มีปัญหา แต่ถ้าเป็น 0 ก็ยังมีปัญหาอยู่ แต่ถ้าเป็น NRZ- L ไม่ว่าจะเป็น 0 หรือ 1 ก็จะต่อเนื่องกันไป สัญญาณจะเป็นระดับไม่นิ่ง และว่าจะเห็นว่ามันมีการขึ้นลง เป็นระยะๆ จังหวะที่มันเปลี่ยน มันสามารถ Sync ระหว่างต้นทางกับปลายทางได้ เป็นจุดอ้างอิงได้ ทำให้จังหวะของการส่งและรับสัมพันธ์กัน

ระบบสื่อสารในบางระบบจำเป็นต้องใช้สัญญาณ Analog ระบบสื่อสารบางระบบที่เราจำเป็นต้องใช้ สัญญาณ Analog ในการสื่อสารข้อมูล ในส่งข้อมูลเช่น การส่งข้อมูลในสายโทรศัพท์ ซึ่งสายโทรศัพท์ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ส่งข้อมูลที่เป็นสัญญาณDigital หรือการส่งข้อมูลโดยใช้คลื่นวิทยุ โดยธรรมชาติเป็นสัญญาณ Analog อยู่แล้ว ในบางกรณี การส่งข้อมูลโดยใช้สัญญาณ Analog การส่งข้อมูลโดยสัญญาณ analog จะอาศัยการปรับเปลี่ยนคุณสมบัติ 1 ใน 3 หรือ เป็น combination ของมันเพื่อใช้ในการส่งข้อมูล ซึ่งเทคนิคในการส่งข้อมูลโดยใช้สัญญาณ Analog นี้เราจะใช้กลไกที่เราเรียกว่า กระบวนการ modulation ซึ่งทำให้คุณสมบัติบางด้านของสัญญาณ Analog ปรับเปลี่ยนไปตามข้อมูลที่เราต้องการจะส่ง

ก็จะมีวิธีการด้วยด้วยกัน 3 วิธีการหลัก ซึ่งแต่ละวิธีการก็จะทำให้เกิดผลของการปรับเปลี่ยนคุณสมบัติในด้านของ Amplitude Frequency และในด้านของ Phase การส่งข้อมูลด้วยสัญญาณ Analog เดิมทีเริ่มด้วยการสร้างตัวสัญญาณ Analog เริ่มต้นที่เราเรียกว่า Carrier wave ขึ้นมา ซึ่ง Carrier wave มีผลทางด้านที่สับเปลี่ยนไปตามช่วงของเวลา เช่นกระบวนการส่งโดยใช้กลไกที่เราเรียกว่า Amplitude modulation ผลของมันก็คือ จะทำให้ Amplitude ของตัว Carrier signal หรือของสัญญาณ Analog มันมีการเปลี่ยนแปลงไปตามข้อมูลที่เราต้องการจะส่งในแต่ละช่วงของเวลา

เช่น เราส่งข้อมูลเป็น 4 ช่วง แต่ละช่วงเวลา เราส่งข้อมูลทีละ Bit ซึ่งในกรณีนี้ bit นึงมีผลทำให้สัญญาณ analog ที่ส่งออกไปในช่วงเวลานี้ Amplitude ต่ำ ถ้าส่ง 0 Amplitude จะสูง จะเห็นว่าแต่ละช่วงเวลา Amplitude ก็จะขึ้นๆ ลงๆ ย้ำอีกครั้งว่า Amplitude ในที่นี้หมายถึง ความสูงต่ำของมัน ไม่ใช่ค่าในเวลาใดเวลาหนึ่ง จะเห็นว่ามีการ swing มากและ swing น้อยแตกต่างกัน เป็นลักษณะการส่งข้อมูลของสัญญาณ analog โดยอาศัยกลไก ที่เราเรียกว่า Amplitude Modulation ซึ่งเมื่อสัญญาณ Analog ไปถึงปลายทางก็จะทำการตรวจวัดระดับของ Amplitude ในแต่ละช่วงเวลา ทำให้สามารถจะแปลงสัญญาณที่รับกลับไปเป็นข้อมูล อย่างเช่น กรณี 10 01 กลไกเกิดขึ้นในลักษณะที่เราเรียกว่า Amplitude Modulation

ในอัตราของการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติ อย่างเช่น ในกรณีการเปลี่ยนแปลงของ Amplitude นี้ อัตราของการเปลี่ยนแปลงมีชื่อเรียกเฉพาะว่า Baud – มีคำว่า baud rate กับ Bit rate นี่คือเท่ากัน baud rate คืออัตราของการเปลี่ยนแปลง เช่น ช่วงเวลานี้คือ 1วินาที เพราะฉะนั้น Amplitude นี่จะเปลี่ยนแปลงในอัตราสูงสุด คือ 1 ครั้งต่อวินาที คือเปลี่ยนแปลงสูงสุดทุก 1 วินาที ซึ่งกรณีนี้จะเท่ากับ bit rate คือ ในแต่ละช่วงเวลาเราส่งข้อมูล 1 bit ต่อวินาที ในกรณีนี้ baud rate กับ Bit rate จะเท่ากัน ในกรณีอื่น ที่ทำให้ baud rate กับ Bit rate นี้ไม่เท่ากัน ก็คือในกรณีของ Amplitude modulation นี่ เราสามารถมีระดับของ Amplitude มากกว่า 2 ระดับก็ได้ เช่น มี 4 ระดับ เพราะฉะนั้นในแต่ละช่วงเวลาที่มันส่ง แทนที่ในกรณีที่แล้วส่งทีละ bit แต่ในกรณีนี้ ส่งทีละ 2 bit เพราะว่า Amplitude มี 4 ระดับ ระดับที่ 1 อาจแทนข้อมูล 0, 1 เพราะฉะนั้นในแต่ละระดับแทนข้อมูลทีเดียว 2 bit เพราะฉะนั้น ในกรณีนี้ คือช่วงเวลานี้ยังเป็น 1 วินาทีเหมือนเดิม แต่ว่าถ้าใช้ 4 ระดับ ก็จะทำให้ส่งแต่ละครั้ง จะส่งได้ทีละ 2 bit เพราะฉะนั้นในกรณีนี้ baud rate เป็น 1 แต่ bit rate เป็น 2 สองเท่าของ baud rate คือ ความแตกต่างระหว่าง baud rate กับ Bit rate

baud rate คือตัว Carrier หรือตัว Analog signal ในกรณีนี้คือมีอัตราการเปลี่ยนของ Amplitude เปลี่ยนบ่อยแค่ไหนอีกครั้งต่อ 1 วินาที แต่ bit rate คือจำนวน bit ที่ส่งจริงๆ เป็นจำนวนกี่ bit ต่อ 1 วินาที ถ้าระดับ Amplitude มีแค่ 2 ระดับ baud rate กับ Bit rate จะเท่ากัน แต่ถ้าระดับ Amplitude ใช้ 4 ระดับ เพราะฉะนั้น 1 ใน 4 ระดับ ก็จะแทน 2 bit เพราะฉะนั้นส่งข้อมูลแต่ละครั้งในกรณีหลังนี้ ก็จะเหมือนกับส่งได้ทีละ 2 bit ความเร็วหรือ bit rate จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า

เพราะฉะนั้นถ้าเราใช้จำนวนระดับที่เพิ่มขึ้น แทนที่จะใช้ 4 ระดับที่ต่างกันเป็น 8 ระดับ คือเราจะส่งได้พร้อมกันครั้งละพร้อมกัน 3 bit เพราะมี 8 ระดับก็จะเป็น 000 001 100 001 011 010 110 111 อัตราการเปลี่ยนของ Amplitude ก็ยังเหมือนเดิม เพียงแต่ว่าระดับของสัญญาณ analog แต่ละระดับนี้จะแทนข้อมูล 3 bit อัตราการเปลี่ยนของ Amplitude ก็เหมือนเดิมแต่ทีนี้ แต่ละช่วงเวลามันจะส่งข้อมูลทีละ 3 bit ในกรณีสุดท้าย bit rate จะเป็น 3 เท่าของ Baud rate นี่คือวิธีการของการเพิ่มความเร็ว แต่เราไม่สามารถจะเพิ่มความเร็วขึ้นไปเรื่อย ๆ ด้วยวิธีการนี้ เพราะยิ่งจำนวนระดับ Amplitude ที่ต่างมีจำนวนมากขึ้น ความแตกต่างของ ระดับAmplitude ที่ใกล้กันก็จะแคบลง คือระดับสูงสุดของมันถูกกำหนดโดยกำลังส่ง ถ้าเราซอย Amplitude เป็นหลายระดับ แต่ละระดับก็จะอยู่ใกล้กันมากขึ้น โอกาส มีความผิดพลาดมากขึ้น ทำให้เราไม่สามารถเพิ่มความเร็วขึ้นไปเรื่อยได้ ในทางกลับกันก็มี Frequency modulation ซึ่งกลับกัน ในกรณีนี้คือ ระดับ Amplitude เท่ากันตลอด แต่ความถี่ของสัญญาณเปลี่ยนไป ในกรณีนี้คือมีความถี่ต่ำ กับความถี่สูง ถ้าส่งสัญญาณความถี่ต่ำ เมื่อเราต้องส่งต่ำ ส่งสัญญาณความถี่สูง เมื่อเราต้องส่งสูง ก็เช่นเดียวกับ Amplitude modulation ถ้าเราต้องการความเร็วในการส่งเพิ่มมากขึ้นโดยที่อัตราการเปลี่ยนแปลงความถี่ยังคงเหมือนเดิม เราก็สามารถจะซอยความถี่ให้มันมีหลายระดับมากขึ้นไปด้วย

อาจารย์ สรุปว่าวันนี้เรียนไรบ้าง
-DATA
-การจัดเก็บข้อมูลข้อมูลตัวอักษร ที่เราเรียกว่า Character Coding
-ปัจจัยต่อ ความถูกต้อง ความเร็ว สัญญาณรบกวน การลดทอนของสัญญาณเกิดขึ้นโดยตามธรรมชาติของสัญญาณไม่ว่าจะเป็นประเภทใด ๆ

ต่อด้วย file เสียง week 4#
- กระบวนการส่งข้อมูลโดยสัญญาณที่เราจะส่งได้อาจจะเป็นสัญญาณ Digital หรือ สัญญาณ Analog ตัวอย่างของระบบที่ใช้ Digital ในการส่ง เช่น LAN, USB Port, Serial Port ตัวอย่างของระบบที่ใช้ Analog อยากให้เราพูดถึงการ Modulation ทำได้โดยการปรับเปลี่ยนสัญญาณ Analog ได้แก่ Amplitude Modulation Frequency modulation

Phase Modulation คืออาศัยการเปลี่ยนแปลงสัญญาณ เราเรียกว่าเป็นการเปลี่ยน Phase โดยปกติสัญญาณ Analog จะมีการขึ้นลงอย่างต่อเนื่อง อันนี้คือเป็นการจงใจให้เกิดความไม่ต่อเนื่อง การเปลี่ยน โดยการเปลี่ยน Phase บางครั้งเราจะเรียกว่า Phase shift คือ Phase หรือตำแหน่งของสัญญาณมันเปลี่ยนแปลงไปไม่ได้ต่อเนื่องอย่างที่ควรจะเป็น เช่นการเปลี่ยนจาก เช่น เช่นเดียวกับหลักการของ Amplitude และ Frequency Modulation เราสามารถส่งข้อมูลได้ทีละมากกว่าครั้งล่ะ 1 บิต เช่นกรณีนี้คือการเปลี่ยน Phase ใน 4 ระดับ ด้วยกัน ทำให้การเปลี่ยนแต่ละครั้งแทนข้อมูลได้ครั้งละ 2 บิต ทำให้การส่งแต่ละครั้งส่งข้อมูลที่ความเร็วสูงขึ้นได้

Quadrature Amplitude Modulation คือการใช้เทคนิค Amplitude Modulation โดยใช้ 4 Phase กับ 2 Amplitude ที่แตกต่าง ทำให้ได้ 16 ระดับที่แตกต่างกันทำให้เราสามารถส่งข้อมูลได้ทีละ 4 บิต
วิธีการ Modulation ที่ใช้ในทางปฏิบัติเราจะใช้หลาย ๆ วิธีมาผสมกัน คืออาศัยการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติมากกว่า 1 วิธีพร้อม ๆ กันก็จะทำให้เราส่งข้อมูลได้ครั้งละมากขึ้น

อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการ Modulation ในทางปฏิบัติ คืออุปกรณ์ที่เราเรียกว่า Modem โมเด็มก็คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนข้อมูลเป็นสัญญาณอนาล็อกอีกฝั่งหนึ่งก็ทำหน้าที่แปลงสัญญาณอนาล็อกให้เป็นข้อมูล โดยโมเด็มจริง ๆ ทำหน้าที่ 2 อย่างในเครื่องเดียวกันคือการทำหน้าที่ในการ Modulation กับ Demodulation (คือการเปลี่ยนสัญญาณอนาล็อคที่ได้รับให้เป็นข้อมูลดิจิตอล) Model ย่อมาจากคำว่า Mod กับ Demod

เราจะเพิ่มอัตราหรือข้อมูลในการส่งได้อย่างไร ?
ใช้ความถี่ในการส่งให้เร็วขึ้น ทำให้ช่วงเวลามันแคบลง เวลาที่ส่งในแต่ละบิตที่น้อยลงหรือการเพิ่มระดับความแตกต่างของสัญญาณให้มากขึ้น เช่นการใช้ 4 ระดับ แทน 2 ระดับ

สัญญาณบางอย่างเป็นลักษณะแบบ Analog เช่น สัญญาณเสียงหรือภาพวีดีโอโดยข้อมูลเหล่านี้เราจะต้องแปลงให้อยู่ในรูปของตัวเลขก่อนอุปกรณ์ที่ทำฟังก์ชั่นนี้เราเรียกว่า Codec ย่อมาจาก Coder/Decoder อุปกรณ์ Codec ที่เราเห็นอาจจะเป็น BOX หรืออยู่ในลักษณะ Ship ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในตัวอุปกรณ์ เช่นเครื่องบันทึกเสียงหรือโทรศัพท์มือถือที่เป็นดิจิตอล อุปกรณ์เหล่าก็จะมีฟังก์ชั่น Code/Decode อยู่ภายใน เช่นเวลาที่เราพูดเข้าไปเสียงของเราก็จะถูกแปลงให้อยู่ในรูปของสัญญาณ Binary

เทคนิคการแปลงข้อมูล Analog ให้เป็นข้อมูล Digital ได้กระบวนการที่เกิดขึ้นได้จะมีอยู่ 2 กระบวนการ คือ sampling ที่เราเรียกว่าการทำ Snapshot กับการ Quantization

ข้อมูลหรือสัญญาณอนาล็อค คอมพิวเตอร์ไม่สามารถจัดเก็บข้อมูลได้ทุก ๆ เสี้ยววินาทีได้ก็จะเก็บเป็นช่วงเวลานี่ก็คือการ Sampling ก็คือการเก็บสัญญาณทุก ๆ ช่วงเวลาที่ถูกกำหนดยิ่งการ sampling ถี่เท่าไร ลักษณะสัญญาณ Digital ที่ได้ ก็จะใกล้เคียงกับของเดิมมากขึ้น แต่ถ้ามีการ sampling ถี่เท่าไร ก็จะทำให้ File ที่จัดเก็บมีขนาใหญ่ขึ้นตามไปด้วย ข้อมูลได้จาก sampling ก็จะถูกนำไปเข้ากระบวนการ quantization คือการเอาความสูงไปเทียบกับระดับต่าง ๆ เช่น เรามีระดับสัญญาณที่แตกต่างกัน 16 ระดับ คือ 0-15 แต่ละระดับก็จะถูกแปลงเป็นสัญญาณขนาด 4 บิต หลังจากนั้นก็จะนำเอาความสูงที่ sampling ได้มาเทียบระดับว่าใกล้เคียงกับระดับไหน ข้อมูลตัวนั้นก็จะถูกจัดเก็บอยู่ในลักษณะข้อมูล Binary ยิ่งความระเอียดในการ sampling มากขึ้นก็จะทำหน้าข้อมูลที่ได้ใกล้เคียงกับข้อมูลจริงมากยิ่งขึ้น แต่ก็จะได้ขนาดของข้อมูลที่ใหญ่ขึ้น

เมื่อข้อมูลอนาล็อคถูกแปลงเป็นดิจิตอลแล้วข้อมูลที่ได้ก็จะสามารถส่งผ่านไปในระบบสื่อสารแบบดิจิตอล เช่นเดียวกับการสื่อสารข้อมูลในลักษณะอื่น ๆ

DCM Chapter 1

DCM ครั้งที่ 1 : 4 June 08
Lecture in Class

สวัสดีครับ
...........สนทนาธรรมกับนักศึกษาในห้องเรียน......................
มีใครไปปฐมนิเทศ มีใครไปบ้าง ไปกันหมดหรือ
ได้เรียนวิชาอะไรไปแล้วบ้าง ISC หรือ เคยเรียนหนังสือครั้งสุดท้ายเมื่อไร เรียนทางด้านไอทีหรือไม่ ทำงานด้านไอที ภาคนี้จะเรียน 3 วิชา อาจารย์จะดูแลทางด้านวิชาการ เข้าใจว่ามีอาจารย์ที่เป็นที่ปรึกษาอยู่แล้วคือ ..........
ถ้ามีปัญหาหรือมีข้อสงสัยก็สามารถสอบถามอาจารย์ที่ปรึกษาหรือติดต่อที่ผมก็ได้ นอกจากเรื่องเงินที่มีปัญหา...

พอทราบหรือไม่ว่ามีเว็บไซต์ E-Learning ทุกคนคงทราบ ให้ download slide จากเว็บไซต์ได้
Password จะใช้ได้ในสัปดาห์หน้า ยังเปลี่ยนไม่ได้ ให้เก็บ password ให้ดี

ในเว็บไซต์ e-Learning ในวันสองวันจะขึ้น บทที่ 2 ให้อ่านเนื้อหาได้ จะเป็นบทย่อๆ มี Slide พร้อมบทบรรยายสั้น ๆ ประมาณ 30 นาทีของแต่ละบท ที่จะใช้สอนในสัปดาห์ต่อๆ ไป ให้ไปเปิดฟังเปิดอ่านกันก่อนและก่อนเริ่มเรียน จะมี QUIZ flash 10 ข้อ ไม่เป็นทางการเท่าไหร่

เรื่องที่จะแจ้งต่อไป คือ วัตถุประสงค์ทั่วไปของวิชานี้ เป็นวิชาที่ปูพื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับระบบสื่อสารและระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ให้มีความเข้าใจ จะมีการ Review เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เครือข่ายที่มีการใช้งานกันอยู่ในปัจจุบันกับเทคโนโลยีที่เป็นเครือข่ายภายในอาคารที่เราเรียกว่า LAN และเทคโนโลยีที่อยู่ภายนอกที่เรียกว่า WAN โดยเป็นเทคโนโลยีหลักๆ ที่ใช้งานกันในปัจจุบัน

ถ้าเรา Combine ความรู้ 1 และ 2 สิ่งที่เราจะไปสู่ก็คือเป้าหมายอันที่ 3 เราอยู่ในฐานะผู้มีอำนาจในการตัดสินใจในการใช้งบประมาณ (16:57นาที) หรือผู้มีส่วนสำคัญตัดสินใจในด้านเทคนิค จัดซื้อจัดหา รวมไปจนถึง การ Implement อุปกรณ์ต่างๆ บนเครือข่าย ก็น่าจะเพียงพอในพื้นฐานในขณะนี้ เป็นจุดเริ่มของการนำไปสู่การประกอบการทำงานใน Function ต่าง ๆ ที่ได้พูดถึง แต่อาจจะไม่เพียงพอกับงานที่เป็น Technical มากนักในการ แก้ปัญหา หรือการปรับ Tune ก็ต้องไปหาความรู้ความเข้าใจเพิ่มเติม

และนี้ก็เป็นเนื้อหาภาพรวมที่เราจะเรียนในวิชานี้ 14-15 ครั้งด้วยกัน นี้เป็นหลักเกณฑ์ในการให้คะแนน ๆ ของวิชานี้จะแบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนที่ 1 ข้อสอบปลายภาค ส่วนที่เป็นข้อสอบ Mid term 15% และ รายงานและ Quiz 25% ตำราที่ผมพูดถึงเป็นหลัก ที่ขีดเส้นใต้เป็นตัวงาน.... Data communication and Computer networking ก็มีตัวแทนนักศึกษาที่รวบรวม มีที่ซื้อแล้วใช่ใหม๊ มีตัวแทนของบริษัทเค้ารับสั่งซื้อเป็น Contact ในไทย .......

สนทนาธรรมเรื่องการซื้อตำรา&ยืมจากรุ่นพี่..... เล่มที่สองได้สั่งซื้อจากห้องสมุดไปแล้ว นอกจากนี้จะเป็นข้อมูลจากเว็บไซต์นิตยสารด้านไอทีที่มีเนื้อหา section ที่เกี่ยวข้องกับทางด้านเครือข่าย networking แนะนำให้ไปดูเคร่าๆ ว่าแต่ละอันเกี่ยวข้องกับอะไร ในสัปดาห์ต่อๆ ไปเราจะมีให้ออกมา present หาข่าวมา Present หน้าชั้น เป็นกลยุทธ์ ในการเรียน ประมาณ 5-10 นาที เป็นข่าวที่เกี่ยวกับ network เป็นอุปกรณ์ทางด้านเครือข่ายใหม่ หรือว่าเป็นสินค้า production ใหม่ ๆ เทคโนโลยีเครือข่ายใหม่ (26:11) การสื่อสารใหม่ ๆ เป็นเนื้อหาที่คนในที่นี้ สามารถพอจะเข้าใจได้ ดีพอสมควร ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นเนื้อหาที่ฟังเป็นเทคนิคเยอะเกินไป 5-10 นาที เราน่าจะเริ่มตั้งแต่สัปดาห์ที่สามเป็นต้นไป ให้เวลาสัปดาห์หน้าอีกสัปดาห์นึง แนะนำว่าให้จับฉลากก่อน จับคู่ก่อน คนได้ก่อนให้ไปเลือกหัวข้อมาแบ่งเป็น set ในห้องนี้มีกี่คน 56 คน ก็จะมีเท่ากับ 27 กลุ่ม 15 สัปดาห์ๆ ละ 2 กลุ่ม หัวข้อมาก่อนจะได้ไม่ซ้ำกัน โอเคไหม๊ครับมีคำถามเกี่ยวกับเรื่องนี้ใหม๊

เอกสารตำรา คะแนนต่างๆ ในแง่ของ Assignment ผมจะเลือกของการเป็น กรณีศึกษาแล้วให้หาข้อมูลกลับมารายงาน การ present อันแรกไม่ต้องละเอียดมาก 5-10 นาที เป็นเรื่องของ product ใหม่ๆ อย่าไปเอาเนื้อหาหรือพื้นฐานจากหนังสือมาอธิบาย อ่านตามนิตยสาร ข่าว กฎ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับไอที(กสช)ได้ การให้ใบอนุญาตการสื่อสาร การ Convergence โทรศัพท์เบอร์เดียว ความคืบหน้าด้านเทคโนโลยี มีคำถามไหม๊ครับ ข้อสอบยังไม่ต้องถาม

(คำถามจากนักศึกษา : วันสอบมันติดกันทั้ง 3 วิชา ) ผมไม่แน่ใจว่าเค้ากำหนด Midterm และ Final แล้วหรือยัง เป็นวันธรรมดาหรือเสาร์อาทิตย์ ....... โอเคไหมครับ ไม่ทราบว่า slide ได้ลองเอาไปอ่านดูแล้วหรือยัง นี้เป็นเนื้อหาหัวข้อที่เราจะเรียน วันนี้ เมื่อกี้ทดลองโปรแกรมจะบันทึกการสอน แต่ไม่ดีเท่าไหร่

บทแรกเรามาพูดเรื่องทั่วๆ ไป เครือข่ายและเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูล ที่เราพูด 2 คำ คือ การสื่อสารข้อมูลกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์มันต่างกันอย่างไรบ้าง เทคโนโลยีการสื่อสารและเทคโนโลยีเครือข่ายมันเหมือนกันไหม๊ การสื่อสารกับเครือข่ายมันเหมือนกันไหม สื่อสารมันเป็นอย่างไร (นักศึกษาตอบ : การสื่อสารต้องมี protocol ) ถ้าเครือข่ายมันเป็นอย่างไร ใครว่าเหมือนกันยกมือขึ้น มันต่างกันอย่างไร

เครือข่ายเป็นอุปกรณ์ แล้วการสื่อสารเป็นอะไร เทคโนโลยีสื่อสารและเทคโนโลยีเครือข่ายมันต่างกันอย่างไร เครือข่ายหมายถึงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (นักศึกษาตอบ: การสื่อสาร มีภาษาเพื่อการสื่อสารระหว่างต้นทางปลายทาง ภาษาไทยกับภาษาไทย เครือข่ายเป็นเหมือนเครื่องขยายเสียงหรือลำโพง)

หลับตานึกถึงเทคโนโลยีสื่อสาร เรานึกถึงอะไร อันดับแรก มือถือ เครือข่ายเรานึกถึงอะไรอันดับแรก สาย LAN คอมพิวเตอร์ การสื่อสารคืออะไร การสื่อสารคือต้องมีข้อมูล หรือสารสนเทศ คนเราสื่อสารกันรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง คนเราสื่อสารคุยกันเป็นการสื่อสาร เราเรียกว่า เป็นแบบ face to face คนเราไม่เจอหน้ากันก็อยากสื่อสารกัน นี้เป็นบทบาทของการสื่อสารด้วยเทคโนโลยี เพราะเราอยู่ไกลเราต้องการเทคโนโลยีการสื่อสาร ๆ จะทำให้เราเอาชนะข้อจำกัดบางอย่าง อย่างเช่นเวลาเราคุยกัน ตะโกนกันไม่ได้ไกล 50 เมตร ก็ไม่ได้ยินแล้ว เช่นโทรศัพท์จะเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารอย่างหนึ่ง ทำให้เราสามารถจะคุยกันได้

การสื่อสารในปัจจุบันมีการขยายออกไป สำหรับคนสื่อสารกับคน คนสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออาจจะเป็นคอมพิวเตอร์สื่อสารกับคอมพิวเตอร์ ไอ้คนสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออาจจะเป็นคอมพิวเตอร์สื่อสารกับคอมพิวเตอร์ถ้าเราจะขยายความเป็นการสื่อสารข้อมูล คนกับคนสื่อสารกันด้วยเสียง รวม ๆ แล้วเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารทำให้คนกับคนสามารถสื่อสารกันได้ อยู่ไกลกันสามารถพุดคุยกันได้ รวมถึงโทรทัศน์วิทยุด้วย นี้เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารทางเดียว นี้เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อจะให้คนสื่อสารกันได้

เครือข่ายคอมพิวเตอร์คือ คำว่าเครือข่ายต้องมีเครื่องหลายๆ เครือข่าย คุณมีเครือข่ายดีอย่างไร มีประโยชน์อย่างไร โทรศัพท์เป็นตัวอย่างของเครือข่าย เรามีโทรศัพท์เครื่องเดียวเราคุยกับใครก็ได้ ประโยชน์ของเครือข่าย คุยกับใครก็ได้ในโลก ถ้าไม่มีเครือข่ายเราจะคุยกันได้คนสองคน อันนี้คือเครือข่าย นัยของมันการเชื่อมโยงถึงกันได้หมด จะเป็นเครือข่ายของบริษัท เชื่อมโยงระหว่างบริษัทได้ ถ้าเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จะสามารถแลกเปลี่ยน ติดต่อกันได้หมด 2x2 เป็น 4.... คือเครือข่าย

network effect เป็นศัพท์ที่ Data e-Commerce ไม่มีอะไรที่เกี่ยวข้องกัน technical เป็นมูลค่า มูลค่าที่เรามีเครือข่าย เราทำธุรกิจอย่างหนึ่ง แล้วเราทำอีอย่างหนึ่ง ประกอบกันได้ ส่วนต่าง ๆ ก็จะทวีคูณขึ้นมา effect การมีเครือข่าย เรามีโทรศัพท์เครื่องหนึ่ง โทรศัพท์นี้ ใครมีโทรศัพท์บ้านที่เป็น Intercom อันใหญ่ๆ อยู่บ้านเดียวกันใช้โทรศัพท์แบบนี้ บ้านหลาย ๆ ชั้น จะมีสายภายใน จากเดิมที่คุยกันได้ไม่กี่คน เป็นคุยกันได้ทั่วโลก นี้เป็นมูลค่า (44:29) ที่สูงกว่าที่สามารถเชื่อมต่อติดต่อบุคคลได้จำนวนมากขึ้น

ประโยชน์ของการมีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ก็เช่นเดียวกัน อินเทอร์เน็ต ใช่ใหม๊ ที่เรามีเครื่องๆ เดียว ทำให้เราสามารถไปเอาข้อมูลที่ไหนก็ได้ นี้เป็นประโยชน์ของเครือข่าย ซึ่งคำว่าเครือข่ายต้องมีเทคโนโลยีที่ทำให้คอมพิวเตอร์แลกเปลี่ยนข้อมูลได้ ก็คือการสื่อสาร เทคโนโลยีการสื่อสารทำให้คอมพิวเตอร์สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลให้กันได้ คอมพิวเตอร์ที่ต่อเชื่อมเทคโนโลยีการสื่อสารที่เหมาะสมทำให้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันได้ทั้งหมด นี้เราเรียกว่าเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เหมือนกับเรามีเครือข่ายระบบขนส่งสินค้า ก็ต้องมี ถนนเป็นเทคโนโลยีการสื่อสาร สร้างการแลกเปลี่ยนเพื่อส่งสินค้าได้

เครือข่ายคอมพิวเตอร์กับเทคโนโลยีการสื่อสารเหมือนกันไหมครับ ไม่เหมือนกัน ถ้าเป็นคำถามว่าข้อที่ ๑ เทคโนโลยีการสื่อสารกับเทคโนโลยีเครือข่ายมันเกี่ยวข้องกันอย่างไร ข้อที่ ๒ ประโยชน์การเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายเป็นประโยชน์อย่างไร ยกตัวอย่าง ประโยชน์ในภาพกว้างไม่ใช่อธิบายรายละเอียด ในชีวิตประจำวันเรานี้เกี่ยวข้องกับเครือข่าย อย่างไรบ้าง ควรจะยกตัวอย่างระบบขนส่งมวลชน มีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไหม เกี่ยวข้องกับเครือข่ายไหม เช่นรถไฟฟ้าควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ แต่ละสถานีต้องมีเครือข่ายเชื่อมโยงกัน Super market มีเครือข่ายไหม Check stock คิดเงิน การสื่อสาร เช่นการใช้ โทรศัพท์ e-Mail ฯลฯ

ผมจะจัดซื้ออุปกรณ์ที่ไม่มีตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย ก็มีตัวแทนจำหน่ายที่ใกล้ที่สุดอยู่ออสเตรเลีย เมื่อเช้า sale ที่ออสเตรเลียเค้าก็เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายมา demo product ที่จริงจะเห็นหน้ากันก็ได้ นี่เป็นการสื่อสาร มีใครทำงานโรงงาน เป็นสาวโรงงาน ไม่มีหรือ โรงพยาบาล จำแนกเป็น สองส่วน ด้วยกัน คือ ระบบ Operation เช่น ระบบบัญชี ต้องมีเครือข่าย เวลาจ่ายตังค์ แล้วจึงไปรับยา มีการเชื่อมโยงเครือข่าย มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ข้อมูลเวชระเบียน การศึกษา มีเว็บ e-learning บันเทิง ซื้อตั๋ว เกมส์ออนไลน์ แวดวงธุรกิจ มีเครือข่าย ที่ออฟฟิศ มี เครือข่าย LAN (นักศึกษาตอบ local area network) คิดว่าแทบทุกออฟฟิศจะมีสาย LAN เป็นเครือข่ายภายใน จะมีขนาด ความซับซ้อนเพียงใดขึ้นอยู่กับขนาดของหน่วยงาน เครื่องใช้ไฟฟ้า มีเครือข่ายอะไร ถ้าเลือกเครื่องไฟฟ้าจะเลือกอย่างเดียวจะเลือกอะไร เครื่องใช้ไฟฟ้าจะเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอย่างไร
โทรทัศน์บางรุ่นเชื่อมต่อได้ มีเทคโนโลยีใหม่ เช่นมีกล้องวีดีโอ สามารถส่งข้อมูลเข้าไปดูในทีวีได้เลยผ่านทาง Ultra wire ความเร็วสูง ทีวีต่อเครื่องเล่นวีดิโอได้ เครื่องเสียงอะไรต่าง ๆ ข้อมูลเป็นดิจิตอล ตู้เย็นต่อเครือข่ายได้หรือไหม (นักศึกษา ต่อได้ สั่งอาหารไปที่ร้าน) สั่งอาหารของกินไปที่ร้าน แต่ถ้าเชื่อมโยงกับ RFID กับ RFID ตู้เย็นมี RFID ต่อกับSuper market ต่อกับอินเทอร์เน็ตๆ ก็จะรู้หมดว่าคนนี้กินอะไร รู้พฤติกรรมการกิน หมดเลย ถ้าต่อทีวีก็จะรู้หมดว่าดูรายการอะไร นี่คือเครือข่าย

เคยได้ยินมานานแล้วสังคมสารสนเทศ เป็นสังคมที่การใช้สารสนเทศเพื่อใช้ในการตัดสินใจ มีคนทำงานที่บ้านไหม โปรแกรมเมอร์ทำงานที่บ้านได้ไหม ไม่ต้องเสียค่ารถ ช่วงนี้มีการรณรงค์เพราะน้ำมันแพง ผมอาจจะสอนที่บ้าน หรือใส่ซีดีมา ผ่านเครือข่ายดีกว่า... เปลี่ยนแปลงรูปแบบทางธุรกิจ เกิดธุรกิจใหม่ๆ ยกตัวอย่างได้ใหม๊ เป็นผลเทคโนโลยีของเครือข่าย ธุรกิจที่เปลี่ยนแปลง อย่าง e-Commerce เป็นธุรกิจใหม่และธุรกิจเดิมประกอบกิจการเป็น e-Commerce ครับ e-Banking ขายหนังสือผ่านออนไลน์ ใช้ประโยชน์จากเครือข่าย e-Commerceคืออะไร (01:02:30)

e-Commerce กับเครือข่ายมีความสัมพันธ์กันอย่างไร ธุรกิจใหม่ที่เกิดขึ้นจากเครือข่าย อย่างเช่น หวยออนไลน์ หวยเป็นอาชีพที่มีมานาน เดิมเป็นกระดาษ เป็นธุรกิจใหม่ อย่าง Google ได้ เป็นธุรกิจใหม่ ขายเพลงผ่านเครือข่าย เช่าพื้นที่บน Server (Web Hosting) ... มันต้องเป็นธุรกิจที่มีรายได้ มีธุรกิจอะไรใหม่ๆ เป็นตัวแทนจำหน่าย agency มีผลต่อการดำเนินชีวิตอย่างไร ชีวิตคุณเปลี่ยนไปในลักษณะไหน ที่เป็นรูปธรรม ทำให้ประหยัดอะไร การดำเนินชีวิตคุณ เดิมไปตลาดเดี๋ยวนี้ไม่ต้องไป เมื่อก่อนส่งจดหมายด้วยไปรษณีย์ เดี๋ยวนี้ผ่านออนไลน์

ผมได้รับโทรเลขมาเป็นฉบับส่งท้าย มีคนส่งมาให้ Format คงจำได้ ซองสีอะไร เท่าที่ผมจำความได้ เป็นสีเขียวอ่อน กระดาษ เดี๋ยวนี้ไม่เหมือนของเดิม ที่เป็นข้อความ ความสวยงาม น่าจะคิดให้เหมือนของเดิม ที่เป็นของโบราณ Font สมัยใหม่ เวลาที่พิมพ์น่าจะพิมพ์ขึ้นๆ ลง แบบเดิม ข้อความพิมพ์จากคอมพิวเตอร์ ตัวเลขของเดี๋ยวนี้ก็ต่างไปเยอะ ก็อย่างนี้การสื่อสารช่วยแก้ปัญหาหลายอย่างและก็มีปัญหาที่เกิดจากการใช้งานด้วยเหมือนกัน

เช่นแก้ปัญหาอะไรบ้าง เช่นการแก้ปัญหาการใช้พลังงานได้ ทำให้การจัดการต่าง ๆ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในส่วนของกระบวนการการผลิตหรือกระบวนการขนส่ง ช่วยได้ ทำให้ประมาณการได้ว่าใช้วัตถุดิบจำนวนเท่านั้นเท่านี้ มันน่าจะจัดการด้านขนส่งทำให้ออกได้ตรงเวลา ของเสียลดลง ปัญหาที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีเครือข่าย เช่น ไวรัส ขยะจากเทคโนโลยี อุปกรณ์ การหลอกลวง ติดเกมส์ เค้าบอกว่ามีเครือข่ายไม่ทำให้คนคุยกันน้อยลง แต่คนกับคุยกันมากขึ้น อาจเป็นความจริง ที่ว่าคนจะเก็บตัวมากขึ้น จริงไม่จริงไม่รู้ อาจเป็นการคุยลับหลัง ใน You Tube มีคนโพสท์กันมีวีดิโอ อะไรนะ มีคนสองคนนั่งแชตกันอยู่ เป็นคนนั่งหันหลังคุยกัน น่าสนใจ มีคนจะทำวิจัยเรื่องนี้ไหม๊

นี้เป็นวิธีการสื่อสารสมัยโบราณ รูปบนซ้าย คนวิ่งคบเพลิง หมายถึงม้าเร็ว ถูกต้อง ไม่มีม้าก็วิ่งเอา อันต่อมาคือ อะไร ใช้เสียงไปได้ไกล มี relay อันที่สามคืออะไร สัญญาณควันไฟ แต่ละอันมีข้อดีข้อเสียอย่างไร อันแรก A คือข้อดี ข้อเสียใช้กากบาท ข้อดีคือ ถูกต้อง ข้อเสียคือช้า อัน B บนขวา ข้อดีคือเร็วกว่า ข้อเสียคืออาจจะมีความผิดพลาด ซีหล่ะ เร็ว ข้อเสีย ปริมาณข้อมูล คืออะไร อย่างเช่นวันนี้มีใครไม่มาบ้าง สมนึกไม่มา มีมากับไม่มา แต่ไม่รู้ว่าสมนึกไม่มาเพราะอะไร ควันไฟ ส่งได้แค่ว่าสมนึกมาหรือไม่มา ไม่มาเพราะอะไร ไม่รู้มีใครไม่มาบ้าง ปริมาณข้อมูลที่ส่งส่งได้จำนวนจำกัด แต่ว่าส่งได้เร็ว นั่นก็คือไกลหรือใกล้ มีปัญหาเรื่องความถูกต้อง ความผิดพลาดเรื่องเดียวกัน

4 ประเด็นที่สำคัญของระบบเทคโนโลยีการสื่อสาร ความถูกต้อง ความเร็ว ปริมาณข้อมูลและระยะทาง

ปริมาณข้อมูลนี่ โดยทั่วไปเทคโนโลยีปัจจุบันมันมีความสัมพันธ์กันข้อมูลส่งต่อกันมากขึ้น ทั้งสามสี่อย่าง มันมีความสัมพันธ์กัน ส่งให้ไกลและมีความถูกต้องด้วย ส่งให้มันถูกต้องด้วยก็ส่งให้มันใกล้ อะไรอย่างนี้ ปัจจัยที่สี่คือค่าใช้จ่าย Cost มาเกี่ยวข้อง USB Thump drive ความเร็วเท่าไร กี่บิต 20 M version 1.0 เป็นอุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ ความเร็วสูง มีราคาถูกมาก ถ้าไกลออกไปอย่าง ADSLเป็น factor ของเทคโนโลยีการสื่อสาร นี่เป็นเทคโนโลยีการสื่อสาร และนี่เป็นสรุปโดยย่อของการสื่อสาร ประวัติสำคัญในการพัฒนาระบบ ...

ถ้าเราจะพูดเรื่องการสื่อสารยุคใหม่ เราจะพูดถึงตัวเลข ตัวเลขทำให้เราส่งข่าวสารได้แม้ว่ามันจะในที่ไกลกันด้วยเวลาที่เร็วมาก ถ้าไม่มีโทรเลขเราจะทำอย่างไร วิธีการก็จะต้องใช้คนในการเดินทาง เราสามารถส่งได้ไกล เราก็มีโทรศัพท์ สมัยโบราณ เมื่อเรายกหูขึ้นมา operator จะสับสายให้ นั่งเป็นแถว เวลาต่อมาผลิตเป็นชุมสายอัตโนมัติ ไม่ต้องมีคน เรายกหูขึ้น ระบบมันจะต่อสายให้ Microwave เป็นย่านความถี่เดียวที่ใช้ในเตาไมโครเวฟ แต่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน มีอะไรอีกหล่ะ

1947 มีการผลิตวิทยุทรานซีสเตอร์ ทรานซีสเตอร์มีความสำคัญมาก เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของอุปกรณ์ไมโครชิพ
1982 เป็นดาวเทียม
1984 เป็น cellular phone
1990 เริ่มเอาระบบ LAN มาใช้
2000 เอาอินเทอร์เน็ตมาใช้ มีความถามอะไรใหม๊ครับ

ยูบิตคิวตัส คอมพิวติ้ง คืออะไร เป็นแนวคิดของนักวิทยาศาสตร์ พูดถึงในอนาคตคอมพิวเตอร์มันจะฝังตัวในสภาพแวดล้อม มีในทุกที่ในสภาพแวดล้อม ชีวิตปัจจุบันที่เป็นอยู่ไม่อยู่ในรูปของคอมพิวเตอร์ที่เราเห็น ปัจจุบันแนวโน้มก็จะเป็นอย่างนั้น เช่น เราเข้าไปในอาคารขึ้นรถไฟฟ้ามีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ฝังอยู่ เราใช้คอมพิวเตอร์โดยไม่รู้ตัว

เช่น แอร์มี Move eye เป็น sensor เมื่อคนเข้ามามันเร่งความเย็น มันมีคอมพิวเตอร์ฝังอยู่ เราเรียกว่าเป็นยูบิตคิวตัสคอมพิวติ้ง ตัวอุปกรณ์เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ไม่ได้เป็นอยู่ในรูปคอมพิวเตอร์เหมือนที่เราเห็น มันฝังอยู่รอบๆ ตัวเรา แอร์ ไฟฟ้า การส่องสว่าง ความปลอดภัย RFID เป็นชิพเล็กๆ สามารถจะสื่อสารกันได้ อนาคตเราเข้าไป Supermarket เอาของใส่ๆ แล้วเดินออกมาได้เลย ไม่ต้อง scan barcode ในขณะที่เดินออกไป อุปกรณ์จะรู้ว่าเราซื้ออะไรไป และจะสื่อสารกับบัตรเครดิตของเราหักเงิน นี่เป็นเป้าหมายของยูบิตคิวตัส คอมพิวติ้ง

โทรเลขเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคแรก ด้วยรหัสมอส สัญญาลักษณ์ที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ คือ 0 กับ 1 โทรเลขทำงานอย่างไร ไฟ –ฟ้าทำงานอย่างไร ไฟจากฟ้าคืออะไร ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า ทำไมมันมาจากฟ้า เราพูดถึงการไฟฟ้าเพียงพอ ทำไมจึงไฟฟ้า นึกถึงอะไร(01:45:22)

เบนจามิน แฟรงคลิน ที่อยู่ในธนบัตรของสหรัฐอเมริกา สายล่อฟ้า ล่อไฟฟ้าลงมา เค้าไปผู้ที่มีความสำคัญของสหรัฐอเมริกา มากกว่าการค้นพบวิทยาศาสตร์ เค้าเป็น (ฟังไม่ชัด)….State man เพราะว่าเค้าเป็นผู้มีบทบาทด้านการเมือง ในช่วงการก่อตั้ง Independence อเมริกา ขึ้น เป็นผู้มีบทบาททางด้านการเมือง ผลงานทางด้านวิทยาศาสตร์ คือเค้าเป็นผู้คนพบกระแสไฟฟ้า สัญญาลักษณ์ที่ใช้กับกระแสไฟฟ้า IEEE ……เป็นมาตรฐาน....ที่ออกโดยสมาคมวิชาชีพของสหรัฐอเมริกา คณะวิศวกรรมศาสตร์ สัญญาลักษณ์ เป็นรูปของว่าวและสายป่าน

ไฟฟ้ามีกี่ประเภท 2 ประเภท คือ ไฟฟ้ากระแสตรง กับ ไฟฟ้ากระแสสลับ ไฟฟ้าที่เป็นแบบนี้เราเรียกว่าเป็นไฟฟ้ากระแสตรง ตามบ้านเราเรียกว่ากระแสสลับ ต่างกันอย่างไร ไฟฟ้ากระแสตรงเราต้องต่อไฟและต้องมีสายไฟต่อหัวท้ายต่อหลอดไฟแล้วก็ต่อให้ครบวงจร ที่จริงไฟมันวิ่งจากขั้วลบมายังขั้วบวก ไฟก็คืออิเล็กตรอนมันวิ่งผ่านหลอดไฟมันจะเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานแสง นี่คือกระแสตรง ซึ่งมีขั้วบวกกับขั้วลบต่อกับแหล่งไฟซะอย่างไฟก็จะวิ่ง

ถ้าเป็นกระแสสลับมีปลั๊ก เอาปลั๊กต่อกับหลอดไฟเกิดอะไรขึ้น มันไม่มีขั้ว คำไม่มีขั้วคืออะไร การวิ่งจะสลับไปสลับมา คือวิ่งจากตรงนี้มาตรงนี้ อีกซะพักมันจะวิ่งกลับไปวิ่งกลับไป ที่นี้ไม่มีขั้วแต่จะมีสายหนึ่งเป็นสายมีไฟ อีกปลายหนึ่งเรียกว่าสายนิวท่อลคือสายไม่มีไฟ ให้คนเอานิ้วจิ้มสายไม่มีไฟ ก็มีโอกาสจิ้มสายที่มีไฟได้

ไฟฟ้ากระแสสลับอันตรายกว่ากระแสตรงเพราะว่าอะไร เพราะถ้าเราเอามือจิ้มแบบนี้ มัน Short แน่นอนแล้ว แต่ถ้าเป็นกระแสสลับ จิ้มนิ้วเดียวมันก็ Short ได้ แต่ถ้าเป็นไฟฟ้ากระแสตรง เอามือไปจิ้ม อันนี้ จิ้มสองอันไม่เป็นเพราะไฟมันอ่อนมาก แต่ถ้าไฟฟ้าแรงๆ ก็แล้ว ถ้าเป็นกระแสตรง จิ้มไป ไม่ครบวงจร ไฟไม่วิ่ง ไม่เป็นอันตราย แต่ถ้าเป็นกระแสสลับจิ้มแค่อันเดียว ถ้าเป็นสายมีไฟ ก็ Short ได้ ที่มัน Short ได้เพราะอะไร เพราะมีไม่ต้องวิ่งลบมาบวก บวกมาลบ มันวิ่งจากสายมีไฟ ไปลงสายนิวท่อลหรือ ลงบนพื้นได้เป็นอันตราย

อันตรายคือตรงนิ้วที่เราจิ้ม ร่างกายเราเป็นตัวนำไฟฟ้า เรายืนบนพื้น ไฟมันจะวิ่งผ่านตัวเราลงพื้น อีกวะพักจะวิ่งจากพื้น สลับไปสลับมา ไม่ว่ามันวิ่งในทิศทางไหนก็เป็นอันตรายต่อร่างกาย คืออันตรายของไฟฟ้ากระแสสลับ

เหตุผลก็คือว่าควรจะมีสายดิน เพราะอะไร มันเป็นไปได้ว่าไฟกระแสสลับมันจะรั่วมาหรือสายมันจะ Short มา กับตัวอุปกรณ์ ถ้าที่เป็นโลหะ ถ้าคุณไปจับไฟก็จะวิ่งจากอุปกรณ์ผ่านลงคุณได้ ถ้าโชคดีก็คือใส่รองเท้าหรืออะไรซะอย่างที่เป็นฉนวนกัน อาจจะไม่ Short เข้าใจนะ แต่ถ้ามีสายดิน สายดินหมายถึงอะไร ถ้า case ขออุปกรณ์ต่อสายดิน

ไฟฟ้าวิ่งมามันมีทางเลือกสองทางคือผ่านตัวเรา กับวิ่งผ่านเครื่องโดยตรง แต่มันจะวิ่งผ่านเครื่องง่ายกว่า ไฟจะวิ่งผ่านเครื่องไปจะไม่ Short เรา อันที่สอง จะทำให้ฟิวส์ตัด มันก็จะปลอดภัย เป็นความรู้ที่คุณรู้อยู่แล้วหรือเปล่า ส่วนใหญ่รู้อยู่แล้ว ใช่ไหม๊ ผมจะได้ข้ามไป ถ้าส่วนใหญ่ไม่ทราบผมจะ review ให้ มีใครรู้อยู่แล้ว จริงๆ แล้ว ตอนที่สมัยเมื่อ เค้าค้นพบอุปกรณ์ที่สร้างกระแสไฟฟ้า เค้าเรียกว่า generator ใครไปโรงไฟฟ้าอาจจะเห็นใช้ไหม อันใหญ่โรงไฟฟ้าพลังน้ำ น้ำมันจะวิ่งไปหมุน generator พอมันหมุนก็จะให้ไฟมา

generator มีสองแบบคือไฟกระแสตรงกับไฟกระแสสลับ ไฟกระแสตรงมันจะปลอดภัยกว่าเยอะ ตั้งแต่แรกที่มีการผลิตไฟฟ้าแล้วส่งไปตามบ้านเรือน คนผลิตเค้ารู้แล้วว่ามีอันตรายส่ง ในสหรัฐอเมริกามีสองบริษัทแข่งกัน แห่งหนึ่งผลิตไฟฟ้ากระแสตรง อีกแห่งผลิตกระแสสลับ ประโยชน์ของกระแสสลับ ก็คือไฟฟ้าเป็นเหมือนสัญญาณทุกอย่าง เวลาส่งไกลๆ กำลังมันจะตกลง

ไฟตกเคยได้ยินไหม กำลังไฟตกลงทำให้หลอดไฟมันหรี่ลง อุปกรณ์บางอย่างใช้งานไม่ได ถ้าเป็นกระแสสลับพอไปไกล มันสามารถใช้อุปกรณ์ทำให้กำลังไฟเพิ่มขึ้นได้ มันเรียกว่าหม้อแปลง ๆ ใช้ทำอะไร หม้อแปลงสามารถปรับระดับกำลังไฟได้ จะปรับขึ้น ปรับลง เวลาส่งส่งด้วยกำลังสูงจะได้ส่งได้ไกล ผ่านบ้านเรือนก็จะปรับลงมา ไฟฟ้ากระแสตรงจะปรับลำบาก ไฟฟ้าในโลกนี้ส่วนใหญ่ใช้กระแสสลับ Safety cut ช่วยได้อย่างไร เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในกรณีที่ไฟฟ้า Short คน

จริงๆ ปริมาณที่วิ่งผ่านคนไม่ทำให้ฟิวส์ขาดหรอก แต่มันมากพอให้เสียชีวิตได้ ฟิวส์ใช้ในการมีปริมาณไฟฟ้าเกินขนาด ถ้าไฟ Short คน Safety cut มันจะตัด มันเป็นการไหลของไฟฟ้าที่ผิดปกติ ไฟฟ้ามีสายมีไฟกับสายนิวท่อลใช่ไหม ธรรมดาไฟมันต้องวิ่งสลับสองสาย แต่ถ้าไฟ Short เป็นอย่างไร มัน Short ลงดิน มันมามันไม่ตัด Safety cut จะรู้ว่าเกิดการ Short ขึ้น เพราะฉะนั้นถ้าเราเอานิ้วสองนิ้วไปจิ้มปลั๊กไฟ Safety cut จะตัด ถ้าเอานิ้วเดียวจิ้ม safety cut ไม่ตัด มันไม่รู้ว่าไอ้ที่จิ้มเข้าไปเป็นพัดลม ปลั๊กไฟ หรือเป็นคน นิ้วจิ้มอันนึงถ้ามัน Short … safety cut จะตัดให้ ในภาพนี้เป็นอะไรเป็นถ่านไฟฉาย

นี่เป็นโทรเลข มีการเปลี่ยนแปลงไปเยอะ แต่หลักการของมันสามารถเข้าใจตั้งแต่การโทรคมนาคม โทรเลข การส่งข่าวสารได้ไกลๆ คืออาศัยส่งไปในรูปของกระแสไฟฟ้า เพราะว่ากระแสไฟฟ้าสามารถส่งไปได้ไกล สองคือส่งได้เร็ว นี่เป็นคุณสมบัติที่ต้องการส่งข่าวสารระยะไกลหรือการส่งข่าวสารในรูปของกระแสไฟฟ้า

โทรเลขก็คืออาศัยหลักการง่าย ๆ ของการควบคุมการไหลของกระแสไฟฟ้า ที่ฝั่งส่งมี Switch ที่ควบคุมการไหลของกระแสไฟฟ้า ที่ฝั่งรับมีอุปกรณ์ที่ตรวจวัดการไหลของกระแสไฟฟ้าได้ ไอ้จุดกับขีดๆ ช่วงการปิดกับเปิดก็คือว่า การไหลของกระแสไฟฟ้า ปิดสั้น ปิดนานจะขีด ถ้าอุปกรณ์ฝั่งรับ สมมติเป็นหลอดไฟๆ ก็จะปิดๆ นาน ฝั่งรับก็สามารถจะถอดรหัสได้ ถอดเป็นข้อความ ๆ นี้เป็นสิ่งที่เป็น code

code กับ symbol ต่างกันอย่างไร
symbol ก็คือ จุดกับขีด ถ้าเป็นข้อมูลดิจิตอลก็คือ 0 กับ 1 ถ้าเป็นภาษาอังกฤษก็คือ a b c ถึง z นี่คือ symbol แล้ว code คืออะไร รหัส แล้วรหัสคืออะไร code คือ กลุ่มของ symbol อย่างนี้ code นี้มีความยาว 3-4 ประกอบด้วยสัญญาลักษณ์ จำนวน 4 ตัว ที่เป็น 0 กับ 1 เช่นเป็น 0001 0010 นี้เป็นตัวอย่างของ code

ถึงแม้ว่าเราจะมี symbol แค่ 2 symbol เราสามารถสร้างเป็น code ที่แต่ต่างกันได้ ยิ่งความยาวของ code ยาวขึ้นมากเท่าไร เราก็ยิ่งจะมี code หลากหลายและแต่ต่างกันได้มาก อย่างเช่นใช้เลขฐานสอง code สองหลักจะมี code ที่แต่ต่างกันได้กี่ code 4 ใช่ไหม เพราะว่าเป็น 00 10 01 แล้วก็ 11 code ยาวขึ้นสามารถที่จะมีรหัสที่แต่ต่างกันได้ รหัสมอสก็คล้ายคลึงกัน

มอสมีใช้ในระบบสื่อสารและระบบคอมพิวเตอร์ จำแนกได้สองแบบคือ code ที่มีความยาวคงที่กับ code ที่มีความยาวไม่คงที่ รหัสมอสเป็น code ที่มีความยาวไม่คงที่ คือไม่เท่ากัน อย่างเช่น a มี สอง b มีสี่ แต่ code ส่วนใหญ่ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ในการแทนจำนวนสัญญาลักษณ์ที่เท่ากัน อย่างเช่น ASCII เราใช้ 8 bit หรือ 8 ตำแหน่ง นั่นคือคำว่า code กับคำว่า symbol

มีเว็บลิงค์ถ้าเราสนใจก็สามารถจะเข้าไปดูได้. IEEE visual museum.มีประวัติพื้นฐาน ข้างในมีแอนนิเมชั่น มีคำถามไหมครับ (นักศึกษาถาม ....) อันนั้นเป็นอีกเรื่องนึง มันเป็นเรื่องของการ switch เป็นเชื่อมต่อระหว่าง กรุงเทพ ไปยังจังหวัดอะไร นี่เป็นการเชื่อมต่อแบบ switch อันนี้หลังจาก switch เชื่อมต่อกันแล้วจะส่งกันได้อย่างไร การ switch ในพื้นฐานในระบบ manual ก็คือ ปิดกับเปิด มีคำถามไหมครับ เกี่ยวกับโทรเลข ไปทำเล่นที่บ้านไหม

โทรเลขก็คือ ข้อมูลที่ส่งคืออะไร คือข้อความ รหัสมอสแปลงข้อความเป็นรหัสมอส อีกฝั่งแปลงรหัสมอส เป็นข้อความ จากโทรเลขก็มาสู่โทรศัพท์ ๆ คืออะไร ต่างจากโทรเลขอย่างไร ก็เหมือนโทรเลข ใช้กระแสไฟฟ้า ไฟฟ้ากับเสียงต่างกันอย่างไร ไฟฟ้าไปไดไกลและไปได้เร็ว กว่าเสียง ถ้าต้องส่งเสียงไปได้ไกลทำได้ไหม

ในโทรศัพท์จะมีอุปกรณ์แปลงเสียงให้เป็นกระแสไฟฟ้า อีกฝั่งแปลงกระแสไฟฟ้าให้เป็นเสียง อุปกรณ์นี้คือไมโครโฟน ใช่ไหมที่อยู่ในโทรศัพท์ ไมโครโฟนแปลงเสียงให้เป็นไฟฟ้า หัวฝั่งก็แปลงไฟฟ้าให้เป็นเสียง หูฟังกับลำโพง มีหลักการทำงานที่เหมือนกัน เพียงแต่ขนาดที่ต่างกัน ถ้าใครสนใจก็เข้าไปที่เว็บไซต์ที่แสดงให้เห็นตรงนี้ ก็มีข้อมูลของโทรศัพท์เหมือนกัน นั่นคือเราพูดถึงเครื่องโทรศัพท์

แต่ในโทรศัพท์จริงมีระบบสื่อสารที่มีสัญญาณเสียงที่อยู่ในรูปของกระแสไฟฟ้ากับส่งไปยังส่งรับในรูปแบบการสื่อสารหลายๆ รูปแบบ สายนำไฟฟ้าอาจจะผ่านคลื่นวิทยุไป หรือผ่านหลายๆ เส้นทาง เป็นระบบที่สลับซับซ้อนระดับหนึ่ง อันนี้คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เราพูดถึงการสื่อสารในยุคแรก ๆ ที่ไม่มีคอมพิวเตอร์ จุดประสงค์เพื่อให้เราสามารถติดต่อสื่อสารหากันได้ แต่พอมามีคอมพิวเตอร์ผ่านไประยะหนึ่ง ก็เกิดพบว่ามันมีประโยชน์เอาการสื่อสารมาให้คอมพิวเตอร์เกิดการสื่อสารระหว่างกัน

คอมพิวเตอร์เกิดครั้งแรกเมื่อไร หลังจากเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง ได้นำคอมพิวเตอร์มาใช้ เพื่อการถอดรหัส เพราะการสื่อข่าวสารจะมีการเข้ารหัส อีกฝ่ายก็ต้องการที่จะถอดรหัส คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องมือในการเข้ารหัส หลังสงครามโลกมาก็ได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้กับกิจการอื่น เช่นการพาณิชย์ประมาณปี 1990 เริ่มมีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับ Modem อันนี้เป็นการใช้ช่องทางการสื่อสารระดับปกติเมื่อมีการนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ จากนั้นก็เริ่มมีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้เกิดความเป็นไปได้ในการให้บริการแบบออนไลน์

ธุรกิจออนไลน์หมายถึงอะไร อย่างไร ธุรกิจการบินจะต้องมีการจองตั๋วมีปัญหาอะไร มันจองซ้ำกันไมได้ ข้อมูลการจองจะต้องอยู่ในที่เดียวกัน หรือมีโควตาให้agent คนนี้ เอาตำแหน่ง ไม่เช่นนั้นต้องเอาระบบออนไลน์ ที่จองหรือขายตั๋วได้เลย โดยข้อมูลการจองอยู่ส่วนกลาง จึงไม่มีโอกาสจะจองซ้ำกัน มันจะเชื่อมโยงกันได้ คือบทบาทของระบบเครือข่าย ระบบคอมพิวเตอร์ที่เป็นส่วนกลางของข้อมุลทั้งหมด และอุปกรณ์ที่อยู่ตามร้านค้าต่าง ๆ ที่อยู่ตาม agent ต่าง ๆ ที่มีระบบเครือข่ายก็สามารถเช็คข้อมูลที่อยู่ในที่เดียวกันได้ เพื่อสามารถที่จะจองหรือที่นั่งของบริษัทนั้นๆ ดังเช่นที่อธิบายไปแล้ว คำพื้นฐานไม่ต่ำ 50%

มีข้อควรระวังเกี่ยวกับคำศัพท์ต่าง ๆ ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ บางคำอาจจะใช้ในความหมายที่แตกต่างกันได้ บางคำเราต้องดูวิธีการใช้งาน อย่างเรื่องเกี่ยวกับอะไรที่สามารถบอกได้ชัดเจน Personal Area network เป็น
เครือข่ายที่มีการเชื่อมต่อสั้นกว่า Local area network เช่น Bluetooth เป็นการเชื่อมต่อแบบไร้สาย อย่างข้อมูลพวกนี้ในไปดูที่ wikipedia ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาอังกฤษใช้กันทั่วโลก ผมเห็นว่ามีข้อมูลด้านเครือข่ายเข้าเพิ่มพอสมควร ตั้งแต่ 3 ปี ที่แล้ว ควรดูภาษาอังกฤษเพราะมีข้อมูลเยอะ ทราบใช่ไหม wikipedia..

metropolitan area network คือ network ที่อยู่ ระหว่าง LAN กับ WAN เช่นถ้าเป็น wireless เราอาจจะพูดถึง WIMAX Wi-Fi จะพูดถึง LAN หรือเป็น Metro Ethernet มีคำถามอะไรไหมครับ .....ที่มีให้บริการ จุดแบ่งแยกระยะทาง เป็นระยะที่ส่วนใหญ่ใช้งาน ….protocol เป็นคำถามที่ดีมาก ระบบทางด่วนข้อมูลมหาดไทย เป็น metropolitan หรือไม่ ยังไม่มีเคลียร์คัดเหมือนเมื่อก่อน ครือข่าย WAN MAN เป็นเครือข่ายภายนอกคนละเรื่องกันนะ

เครือข่ายภายใน Internal หรือ Intranet มันเหมือนกันไหม WAN MAN ไม่มีอะไรที่มีความสัมพันธ์โดยตรงนัก เพราะว่า ถ้าเราเป็นเครือข่ายภายในแต่ถ้ามีสาขาหรือออฟฟิศอยู่ทั่วประเทศหรือทั่วโลก แต่ว่าเป็นเครือข่าที่ใช่เฉพาะภายใน ก็เป็น Internal network ประกอบด้วยเครือข่าย LAN WAN MAN …..

Internal network กับ internet ต่างกันอย่างไร มีความสุขไหมมีเรียน Intranet ใช้ เทคโนโลยีของอินเทอร์เน็ต เช่นเอาเว็บ อีเมลล์ มาใช้ภายใน เรียกว่าอินทราเน็ต ..การสื่อสารด้วยสายไฟฟ้า มันมีความเร็วต่ำมากๆ จะไปได้ไกล ต้องผ่านอุปสรรค เช่น หม้อแปลงอาจทำให้ความเร็วตกลงได้ Fiber Optic เพื่อช่วยกระแสส่ง เพื่อเป็นการเซฟการติดตั้ง ก็อาจจะใช้เสาไฟฟ้าไปด้วยกันได้ เพราะประโยชน์ของ Fiber Optic คือไม่นำกระแสไฟฟ้า ไม่มีอันตรายไม่กระชากกับกระแสไฟฟ้า .... สนทนาธรรม.กับนักศึกษา เรื่องการถาม เรื่องการรับน้อง ...