Friday, August 1, 2008

MIT Chapter 2 IT Support Systems : Concepts and Management

MIT Chapter 2
IT Support Systems : Concepts and Management


วัตถุประสงค์ในการเรียน
• แยกประเภทระบบงาน Computer (กลุ่มของ Applications โปรแกรมประยุกต์ที่เอาไปใช้งานในหน้าที่ต่างๆ)
• ความเข้าใจเรื่อง Transaction Processing systems
• ระบบงาน Level ต่างๆในองค์กร ระดับบริหารงานต่างๆในองค์กรที่เป็นคนมีความเกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์อย่างไร (ภาพผังองค์กร) คนเกี่ยวข้องกับระบบต่างๆ อย่างไร
• การนำไอทีมาใช้ใน Supply Chain
• กล่าวถึงสถาปัตยกรรมและโครงสร้างพื้นฐาน คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร
• กล่าวถึงสถาปัตยกรรม Web base

Case Study_Fed Ex
เป็นบริษัทที่ส่งของไปยังสถานที่ต่างๆ เริ่มจากมีนักศึกษาชื่อ Fedderick Smith ทำpaper เกี่ยวกับ logistic คือ Fed Ex แล้วส่งให้อ. แต่ อ. ไม่ค่อยพอใจผลงานนี้เท่าไหร่ เค้าก็เลยไม่ค่อยพอใจเท่าไหร่ หลังจากนั้นจึงได้มีการเปิด Fed Ex ให้บริการ และติด 3 อันดับแรกของโลก การบริการของ Fed Ex คือพยายามทำตามความต้องการของลูกค้า คือ ส่งของให้เร็ว ให้ข้อมูลกับลูกค้า ถ้ามองด้าน IT ใช้ server แบบ realtime ที่ใหญ่ที่สุด ในแต่ละวันมี transaction 100 ล้านต่อวัน และ downtime ให้น้อยที่สุด

หลังจากนั้นจึงได้มีการนำ e-shipping เป็นชื่อเฉพาะที่ทาง Fed-Ex เอาเข้ามาใช้ เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการส่งของ
ผลทำให้เป็นอิเล็กทรอนิกส์ ผลที่ได้ คือ ทำให้ลดค่าใช้จ่ายและต้นทุนต่ำลง และการส่งของไปยังปลายทางได้เร็วขึ้น ส่งของได้จำนวนมากขึ้น ได้สตางค์มากขึ้น

Information System (ต้องการความเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดคุณค่ามากยิ่งขึ้น)
Data – ข้อมูลดิบที่ยังไม่ได้เอามาประมวลผล จะไม่ค่อยมีประโยชน์เท่าไหร่ในการบริหาร หรือคิดคำนวณ
Information – ข้อมูลที่เอามาประมวลผลทำให้มีความหมายมากขึ้น, จัดระเบียบและเอามาใช้งานอื่นๆ มากขึ้น
Knowledge – สามารถทำ 2 สิ่งแรก ให้เป็นภูมิปัญญาได้ โดยใช้แก้ปัญหาในการทำงาน เป็นตัวอย่างในการทำงาน มีประโยชน์กว่า 2 สิ่งแรก มีความสามารถเพิ่มไปอีกขั้น

สรุป – การประมวลผลจาก data เป็น information เรียกว่า Application program
การประมวลผลจาก information เป็น knowledge เรียกว่า Knowledge management system

การแบ่งประเภทระบบสารสนเทศ (Classication of Information Systems) แบ่งได้ 2 วิธีการดังนี้
(วัตถุประสงค์เพื่อแบ่งงานให้ทีมงาน เนื่องจากในแต่ละงานต้องมีพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน, เพื่อวางแผนงานล่วงหน้า สืบเนื่องจนถึงการตั้งงบประมาณ)
 แบ่งตามระดับโครงสร้างในองค์กร (Organization Level)


1. Personal and Productivity Systems
เป็นการแบ่งงานเบื้องต้นเช่น งานเขียนจดหมาย งานเอกสารต่าง อีเมล์ เป็นงานที่คนส่วนมากในองค์กรใช้
2. Transaction processing System (TPS) (ระบบสารสนเทศเพื่อการปฏิบัติงาน)
ระบบที่ทำเกี่ยวกับธุรกรรมขององค์กร เป็นกิจกรรมที่ฝ่ายธุรกิจเป็นคนทำ เพราฉะนั้น เป็นระบบที่คอมพิวเตอร์สนับสนุนธุรกรรมหลักขององค์กร (benefit business transaction) เป็นสิ่งที่ทำประจำ ต่อเนื่อง และมีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานพื้นฐานขององค์กร ธุรกรรมหลักขององค์กร เช่น การออกบิล การออกใบเสร็จ การเบิกจ่ายของจากคลังสินค้า แต่อย่างไรก็ตาม ธุรกรรมหลักของแต่ละองค์กรไม่เหมือนกัน เช่น ธนาคาร ธุรกรรมหลัก คือ การฝาก-ถอนเงิน การชำระดอกเบี้ย ธุรกรรมหลักขององค์กรรู้ได้จาก มีคนจำนวนมากทำกิจกรรมนี้ และมันเป็นการเข้าข้อมูลที่สำคัญขององค์กร เช่น การเข้าไปคิดกำไร ขาดทุนขององค์กร ไปตั้งเป้ายอดขาย และสุดท้ายหากหยุดกิจกรรมเหล่านี้จะไม่สามารถดำเนินกิจการขององค์กรต่อไปได้ เช่น ธุรกรรมหลักของ Fed-EX คือ การจัดของ ส่งของ ส่งไปยังที่ต่างๆ
3. Functional and Management Information system (ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ)
ข้อมูลหรือสารสนเทศที่ผู้บริหารนำไปตัดสินใจ สนับสนุนการตัดสินใจในแต่ละฝ่ายที่ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ เพิ่มประสิทธิภาพของงาน เพิ่มประสิทธิผลของงาน และเพิ่มการผลิต หรือ ใช้เพื่อการวางแผน การวัดประเมิน และกาควบคุม เช่นการตั้งราคาขาย หรือ ตัดสินใจเพิ่มกำลังการผลิตหรือไม่ บุคคลที่ใช้ จะเป็นหัวหน้าระดับกลาง โดยเอาข้อมูลเบื้องต้น หรือจาก transaction มาประมวลผล มีการรายงานเป็นสถิติ กราฟ

ตย. State of Texas - - กิจกรรมหลักคือ เก็บภาษี หลักจากเก็บได้ระยะหนึ่งมีผู้ที่หนีภาษีเยอะ และได้มีการจ้าง Auditor มาดำเนินงาน แต่ก็ไม่ได้ผลมากนัก ดังนั้นจึงมีการเปลี่ยนแปลงโดยนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ นั่นคือ เอา data minung และ data warehouse เข้ามาใช้ ทำให้เจอบริษัทหลายร้านที่ไม่จ่ายภาษี และเก็บภาษีได้เยอะขึ้น
+ NBA Dallas Mavericks- - - เอาไอทีเข้ามาใช้ในกิจกรรม เริ่มจากทำตั๋วด้วยบาร์โค้ดเพื่อเก็บสถิติ ทำให้สามารถออกโปรโมชั่น ออกราคาตั๋วได้ตรงกับสถิติที่เก็บไว้ ทำประชาสัมพันธ์ ทำการจองตั๋ว นอกจากนั้นยังสามารถเตรียมอาหารว่างไว้ขายได้ตรงกับจำนวนตั๋วที่เข้าชมได้ด้วย
4. Enterprise Systems (Integrated) (ระบบสารสนเทศเพื่อองค์กร)
เป็นระบบที่ใช้ในองค์กรทั้งหมด ตั้งแต่ 2 หน่วยงานย่อยขึ้นไป (ระบบข้ามแผนก) ถึงเรียกว่า Enterprise Systems เขียนโปรแกรมตาม business process (กระบวนการธุรกิจ) - - - เป็นการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งประกอบด้วยกิจกรรมหลายๆ อย่าง เช่น เช็คของ, จ่ายตังค์ รับบิลด์, ทำบัญชี, ทำของเข้าสต๊อก ซึ่งสิ่งเหล่านี้อยู่ในหลายๆ แผนก งานหลายอย่าง แต่ละกระบวนการไม่สามารถทำให้สำเร็จภายในแผนกเดียวได้ ดังนั้นโปรแกรมที่เขียนต้องเขียนให้ทุกแผนกทำได้

รูป figure 2.4

Process A ทำร่วมกัน 3 ฝ่าย เพราะฉะนั้นเวลาที่ข้ามหลายแผนก ระบบที่เขียนโปรแกรมก็เขียนโปรแกรมที่ทั้ง 3 แผนก สามารถระบบที่ข้ามแผนกจึงเรียกว่า Enterprise Information System แต่มีบางอันที่จบภายในแผนกเดียว (สีฟ้า = บริษัทเรา สีเขียว = Supplier สีเหลือง = customer)

บางครั้งก็ข้ามออกไปข้างนอก ซึ่ง (ดัง Process B,C,D) ส่วนที่ยื่นออกไปเรียกว่า Inter-Organization System แต่ถ้าอยู่ภายในเรียกว่า Enterprise Information System โปรแกรมที่อยู่ภายในหากมีจำนวนมาก เรียกว่า Enterprise Resource Planning คือโปรแกรมที่ใช้ในหลายๆ แผนก เป็นการเตรียมทรัพยากรให้หลายๆ แผนก ทั้งสองชนิดมีลักษณะคล้ายกัน ดังนั้น ERP เป็นโปรแกรมประเภทหนึ่งที่อยู่ใน EIS

*****โปรแกรมที่สนับสนุนการทำงานภายในองค์กรเรียกว่า Enterprise Information System
โปรแกรมที่ออกไปภายนอกองค์กร เรียกว่า Inter-Organization Systems
5. Inter-organization systems
โปรแกรมที่ออกไปภายนอกองค์กร IOS มีอีกชื่อว่า มักจะเป็นระบบที่รองรับ E-Commerce และ Supply Chain Management เนื่องจากการติดต่อ ระหว่างองค์กรมักจะเป็นผู้ที่ส่งสินค้าให้เรา (Supplier หรือ Upstream) รวมถึง ลูกค้า (Customer หรือ Downstream) ซึ่งทั้งสองเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทาน

สำหรับเทคโนโลยีหลักที่ใช้รองรับ คือ EDI (Electronic Data Interchange) คือ ระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งเอกสารหลักทางธุรกิจระหว่างองค์กร เช่น Purchase order (PO), Order Confirmation หรือเอกสารต่างๆ ที่ส่งกันระหว่างองค์กรเพื่อสั่งของซื้อของ แต่ในปัจจุบันพัฒนามาเป็น Internet EDI หรือ XML เพื่อจะส่งข้อมูลหลักๆ
(ระบบ EDI จะทำงานบนเครือข่าย VAN เป็นเครือข่ายเช่า มีความเป็นส่วนตัว สามารถส่งข้อมูลบนเครือข่าย WAN ได้ด้วยคุณภาพสูง ปลอดภัย และคุ้มค่ากับการลงทุนสำหรับองค์กรใหญ่ ส่วนองค์กรเล็กใช้ระบบ Internet-based EDI แทนได้ – เป็นจุดเริ่มต้นแนวคิดเอกสารมาตรฐานในการทำงานมาอยู่ในรูปของอิเล็กทรอนิกส์ เช่นพวกเอกสารซื้อของ, จ่ายเงิน เป็นต้น)

6. Global Systems
นึกถึงบริษัทข้ามชาติ บริษัทที่มีสาขาในหลายประเทศ หรือบริษัทที่ต้องติดต่อกับต่างประเทศ เช่น บริษืน้ำมัน ไอบีเอ็ม หรือ ธนาคารที่มีสาขาในต่างประเทศ คือ มีระบบที่ใช้งานทั่วโลก เป็นระบบที่พิเศษที่ใช้แต่ละสาขา เช่น ระบบการฝาก-ถอนเงิน หลายสกุล, ระบบภาษีที่แตกต่างกันในแต่ละที่ เป็นต้น
7. Very large and Special Systems
เป็นระบบพิเศษที่ไม่รู้จะจัดไว้ที่ใด เช่น ธนาคาร มีระบบฝาก-ถอนเงินที่ บริษัทอื่นๆ ที่ไม่ใช่ธนาคารก็ไม่สามารถใช้ระบบนี้ได้ จึงเรียกว่า ระบบพิเศษ และมีราคาแพง เนื่องจากหากผลิตน้อย คนใช้น้อย ราคาก็จะสูง

Ex. Western Petroleum เป็นบริษัทซื้อ-ขายน้ำมันดิบ วันละ 50,000 บาห์เรล มีลูกค้า 2,000 ราย เนื่องจากบริษัทนี้ไม่ค่อยมีกำไรเท่าไหร่ จึงหันมาใช้ระบบ Petroman (ระบบนี้เรียกว่า Special System) มาใช้ในการตัดสินใจการซื้อ/ขาย ขั้นตอนอัตโนมัติ เมื่อไหร่ควรซื้อ ควรขาย ช่วยบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยต่างๆ ผลที่ได้ คือ ใช้พนักงาน 38 คน แต่ได้กำไร 3,600 ล้าน (พนง. 1 คน / 62 ล้าน)

จากตัวอย่างแรกเป็นการนำซอฟท์แวร์บริหารการขายให้ได้กำไรมากที่สุดมาใช้ นอกจากใช้ในบริษัทค้าน้ำมันแล้ว ที่เห็นได้ชัดคือ ในสายการบิน และโรงแรม ซึ่งจะเห็นว่าตั๋วเครื่องบินหรือ ราคาห้องของโรงแรมในแต่ละช่วงเวลาไม่เท่ากัน เนื่องจากใช้ซอฟท์แวร์ตัวนี้เป็นตัวกำหนดราคา ดังนั้น การขายในราคาแพงที่สุดไม่ใช่เป็นการได้กำไรมากที่สุด

 แบ่งตามหน้าที่งาน (Type of Support)
1. Decision Support Systems (DSS)
เป็นระบบที่ช่วยในการตัดสินใจโดยใช้ระบบหลายๆ อย่างมาช่วยในการตัดสินใจ และการใช้ข้อมูลในการทำธุรกรรมมาตัดสินใจ ซึ่งการตัดสินใจทางด้านธุรกิจ จะใช้ข้อมูลเป็นหลัก เช่น ข้อมูลการขาย ข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลเศรษฐกิจ ข้อมูลดอกเบี้ย ไม่ใช่ความรู้สึก เช่น การตัดสินใจอนุมัติสินเชื่อ ก็นำระบบเข้ามาช่วยโดยกรอกข้อมูล เช่น ประวัติบริษัทก่อตั้งมากี่ปี รายได้เท่าไหร่ ประวัติพื้นฐาน อัตราเงินเฟ้อเป็นอย่างไร แล้วผลก็จะออกมา ซึ่งเป็นการอาศัยข้อมูลจาก transaction

เทคนิคการทำ เช่น การใช้สูตรคณิตศาสตร์, แบบจำลองทางธุรกิจ, ป้อนคำถาม , ให้ทางเลือกตัดสินใจ, ทำเหมืองข้อมูลโปรแกรมที่จำลองสถานการณ์จริง

2. Office Automation Systems (OAS)
เป็นการทำงานออฟฟิศทั่วไป เช่น Microsoft Ofice, E-mail เป็นต้น เป็นการใช้งานทุกระดับชั้น (จาก สามเหลี่ยม)

3. Knowledge Management Sytems (KMS)
เป็นระบบการจัดการองค์ความรู้ ที่ใช้ในทุกระดับในองค์กร คนที่ใช้ระบบนี้เรียกว่า Knowledge worker

ระดับบริหารงาน
Operational Managers

ระบบปฏบัติการ
Transaction Processing System

ลักษณะงาน
- Order Processing
- Fulfillment
- Material Movement
- Payroll
- POS

ระดับบริหารงาน
Data Worker

ระบบปฏบัติการ
- Knowledge Management Systems
- Office Automation Systems

ลักษณะงาน
- Simulation
- Program coding
- System support
- Word Processing
- Desktop Publishing

ระดับบริหารงาน
Middle Managers

ระบบปฏบัติการ
- Management Information System
- Decision Support System
- Intelligent Support Systems

ลักษณะงาน
- Sales Management
- Inventory Control
- Annual budget
- Production Scheduling Cost Analysis
- Pricing Analysis

ระดับบริหารงาน
Senior Manager

ระบบปฏบัติการ
Executive Support System

ลักษณะงาน
- 5 year sales trend
- Profit Planning
- 5 year budget forecasting Product development

Supply-Chain = ห่วงโซ่อุปทาน ประกอบด้วย Upstream (ต้นน้ำ, Supplier) Internal (ตัวเรา, producer) Downstream (ปลายน้ำ, customer) ต้นน้ำจะไม่มีที่สิ้นสุด
เช่น นมพร้อมดื่ม UHT Supplier คือ วัว เพราะนำน้ำนมวัวมาผลิตเป็นนมกล่อง ซึ่งถือได้ว่าเป็น first tier สำหรับ customer คือ ร้านค้าปลีก

Information System Infrastructure & Architecture
เหตุผลของการที่ต้องเรียนรู้เรื่องเรื่องนี้เนื่องจากการผลิตระบบต้องมีการออกแบบสถาปัตยกรรม และการวางแผนโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้

Infrastructure
ถ้าแปลตรงตัว เรียกว่า โครงสร้างพื้นฐานทางไอที (เป็นการผลิต Application มาให้ผู้ใช้) ประกอบด้วย สิ่งอำนวยความสะดวกทางกายภาพ การบริการ และการจัดการในการแบ่งปันทรัพยากรทางคอมพิวเตอร์ภายในองค์กร มี 5 ส่วนหลัก (จะขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไม่ได้) และเป็นโครงสร้างพื้นฐานในการผลิต Application คือ
1. คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์
2. การพัฒนาซอฟต์แวร์
3. เครือข่ายและการสื่อสาร - - - - คอมพิวเตอร์ถ้าไม่ต่อเครือข่ายก็ไม่มีประโยชน์
4. ฐานข้อมูล
5. การบริหารสารสนเทศส่วนบุคคล

Architecture (สถาปัตยกรรม)
การสร้างระบบไอทีก็เหมือนกับการสร้างบ้าน ให้นึกถึงการสร้างบ้าน ซึ่งต้องมีฐานราก เสาเข็ม หลังคา และคาน และก่อนสร้างบ้านก็ต้องสร้างแบบบ้านก่อน นั่นคือ การให้สถาปิกออกแบบนั่นเอง
เช่น การก่อสร้าง โอเปร่า เฮ้าส์ ที่ให้สถาปิกทั่วโลกออกแบบมา แต่เมื่อได้แบบที่ต้องการแล้ว ในด้านวิศวกรรมทำได้ยากมาก ทั้งโครงสร้างรวมถึงวัสดุด้วย

จากจุดนี้เองทำให้บริษัทใหญ่ๆ มีตำแหน่งงานใหม่เกิดขึ้น นั่นคือ IT Architect ซึ่งมีหน้าที่ในการวิเคราะห์ออกแบบโครงสร้างโปรแกรมต่างๆ ร่างโปรแกรมต่างๆ ให้มีลักษณะที่เหมาะกับผู้ใช้ รวมถึงสามารถใช้งานร่วมกับโปรแกรมอื่นๆ ได้ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มาจากการสอบถามผู้ใช้นั่นเอง เมื่อได้กระบวรการตามนี้แล้ว จึงค่อยลงมือ

ประเภทของสถาปัตยกรรมระบบสารสนเทศ (Classied by Hardware)
1. Mainframe environment กระบวนการประมวลผลทำที่คอมพิวเตอร์เมนเฟรม ผู้ใช้ทำงานผ่านตัว dumb terminals ซึ่งใช้ในการนำเข้าข้อมูล เปลี่ยนแปลงแก้ไข และเข้าถึงสารสนเทศที่อยู่คอมพิวเตอร์เมนเฟรม ต่อมาได้นำ PC มาใช้เป็น smart terminals สถาปัตยกรรมแบบนี้นิยมใช้ในระบบคอมพิวเตอร์แบบศูนย์กลาง
2. PC environment เป็นคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงานเป็นอิสระจากเครื่องอื่น แต่ละเครื่องสามารถเชื่อมโยงกันด้วยเครือข่าย ซึ่งนิยมใช้ในองค์กรขนาดเล็กถึงขนาดกลาง
3. Networked (distributed) environment ได้แก่
- การประมวลผลแบบกระจาย(Distributed processing) คือ การประมวลผลที่ทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นชนิดใดก็ได้ จะทำเพียงจุดเดียวหรือมากกว่าก็ได้
- การประมวลผลร่วม (Cooperative processing) คือ การประมวลผลแบบกระจายอีกแบบหนึ่ง แต่จะทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในที่สภาพทางภูมิศาสตร์แตกต่างกัน
- Client/Server
Client/Server Environment
Client/Server หรือ ลูกข่าย/แม่ข่าย มาจาก “ลูกค้า/ผู้ให้บริการ” เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่เครื่องหลายติดต่อกันด้วยเครือข่าย LAN หรือ WAN
Client (ลูกข่าย) คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานบนเครือข่าย เข้าไปใช้ขอแบ่งใช้งานทรัพยากรบนเครือข่าย
Server (แม่ข่าย) คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานอยู่บนเครือข่ายเดียวกับเครื่องลูกข่าย และให้บริการแก่เครื่องลูกข่าย
วัตถุประสงค์ของระบบนี้ เพื่อให้ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์สามารถใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ได้เต็มที่ วิธีนี้ทำให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดสามารถทำงานร่วมกันได้ จุดสำคัญคือ การแบ่งปัน ซึ่งเครื่องลูกข่ายจะขอแบ่งทรัพยากรจากเครื่องแม่ข่ายมาใช้งาน
สถาปัตยกรรมแบบนี้ทำให้การเข้าถึงข้อมูลขององค์กรทำได้หลายจุดบนเครือข่าย ซึ่งจะเปลี่ยนวิถีการทำงานของบุคลากรในองค์กร
หากต้องการเพิ่มมูลค่าของสถาปัตยกรรมให้สถาปัตยกรรมที่มีการเข้าถึงข้อมูลแบบข้ามประเทศ จะต้องทำเป็น สถาปัตยกรรมแบบระดับองค์กร (Enterprisewide computing) ซึ่งจะสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันได้

นอกจากนี้ยังมีการใช้ Web based Systems ซึ่งปัจจุบันได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น เป็นโปรแกรมที่ใช้ Web browser ให้ผู้ใช้ทำงาน และ web server ให้บริการด้านข้อมูลเป็นหลัก
แบ่งออกเป็น The internet, Intranet, Extranet, Corporate Portals, E-commerce Systems, Electronic Storefronts, Electronic Markets, Electronic Exchanges, M-Commerce, Enterprise Web
ความสัมพันธ์ระหว่าง Infrastructure & Architecture
1. การออกแบบเบื้องต้น – ให้ดูจาก Business needs หรือ ดูจากความต้องการของ User ก่อน
2. ออกแบบว่าเป็น Architecture (Software) อะไร Mainframe, Client/Server, Web-base
3. ออกแบบว่า Infrastructure (Hardware) ให้เหมาะสม ทั้ง 5 ส่วน ว่าควรใช้อะไรบ้าง
ดังนั้นทั้ง 3 จึงมีความสัมพันธ์กัน

ตย. A 100-branch Bank
ธนาคารเปิดใช้งานประมาณ 100 สาขาทั่วประเทศ มีบัญชีฝาก-ถอน 1 ล้านบัญชี มีคนมากู้ประมาณ 5 แสนบัญชี มีตู้เอทีเอ็ม 200 ตู้ มี transactionต่อวัน 5 หมื่น transaction ต่อวันสูงสุด 150,000 สามารถใช้งาน Internet banking ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ประมาณ 2 แสนคน

Architecture
จากข้อมูลข้างต้นทำให้วิเคราะห์ได้ว่า
• มีการใช้ mainframe OS (เนื่องจากมีสาขาเยอะ)
• นำ Transaction Processing systems เข้ามาใช้
• มี internet server เพื่อเชื่อมต่อข้อมูลกับ Mainframe ที่เก็บข้อมูลการใช้งานของลูกค้า (จากข้อมูลมีการทำธุรกรรมผ่านอินเทอร์เน็ตจึงจำเป็นต้องมีสิ่งนี้)
• มีการใช้ TCP IP Network เนื่องจากมีการใช้ต็เอทีเอ็ม
• ข้อมูลการทำธุรกรรมทางการเงินต้องรวมไว้ที่ไดที่หนึ่ง เพื่อให้การทำธุรกรรมจากที่ต่างๆ ทำได้สะดวกรวดเร็ว (Centralized database)

Infrastructure
เป็นการเขียนให้ 5 ข้อให้เป็นรูปธรรม โดยมีการใช้งานฮาร์ดแวร์อะไรบ้าง, เครือข่ายใช้อย่างไร, ฐานข้อมูลภาษาอะไร, เก็บข้อมูลได้ปริมาณเท่าไหร่ รวมถึงต้องใช้คนทำงานกี่คน

ตย. การรวมกันของ Chase Manhattan Bank และ Chemical Bank
ปัญหา – ธนาคาร 2 แห่งมารวมกัน มี 3 ปัจจัย
1. ธุรกิจ (เพื่อให้ใหญ่ขึ้น หรือ ล้างหนี้)
2. วัฒนธรรมองค์กร ต้องปรับให้เข้ากัน
3. IT Architecture เป็นเรื่องยุ่งยากที่สุด เพราะอาจเป็นคนละประเภทกัน
ทางแก้ไข – แบ่งเป็น 3 layer Support คนละด้าน สามารถปรับบางชั้น แล้วให้ชั้นอื่นที่ไม่กระทบสามารถทำงานต่อได้
ผล – จึงไม่เกิดปัญหาใด

สิ่งที่กำลังได้รับความนิยม (Emerging environment)
• Software as a service
• Utility computing
• Grid computing
• Mobile computing
• Virtualization computing
• Green IT

ตย. Wireless Pepsi (ในหนังสือ หน้า 61)
ในอเมริกามีการขายเป๋ปซี่ผ่านตู้หยอดเหรียญเป็นจำนวนมาก และมีการตั้งขายในสถานที่ต่างๆ ทั่วประเทศ และมีเครื่องเสียทำให้ลำบากในการซ่อม ซึ่งมีการนำเทคโนโลยีมาติดที่ตู้หยอดเหรียญ ทำให้ทราบได้ว่าชิ้นส่วนไหนของตู้ที่เสียและบอกไปยังช่างที่อยู่ใกล้ๆ ตู้หยอดเหรียญให้มาซ่อมโดยใช้งานผ่าน GPS

No comments: