Friday, August 1, 2008

MIT Chapter7: IT Compliance: Functional Applications and Transaction Processing

Lecture MIT chapter7
Chapter7: IT Compliance: Functional Applications and Transaction Processing


คงจะจำบทที่ 2ได้ เราพูดถึงระบบที่ใช้ในส่วนต่างๆขององค์กรมีการต่อเชื่อมกันตามรูปพวกนี้ วันนี้เราจะมาคุยในรายละเอียดของแต่ละส่วนว่ามันมีอะไรบ้าง เราจะมาดูว่าแต่ละส่วนของแผนกแต่ละฝ่าย หรือแต่ละแผนกในองค์กรมี application อะไรบ้าง application ก็คือโปรแกรมประยุกต์ ในกลุ่มโปรแกรมประยุกต์ที่เราเอามาใช้ให้ user ใช้งาน แล้วเรามาดู transaction ที่พูดไปแล้วในบทที่ 2 transaction หรือ ธุรกรรมหลักขององค์กรคืออะไร แล้วก็ระบบคอมพิวเตอร์เข้าไปช่วยงานได้อย่างไร ซึ่งเราเรียกว่า transaction processing system แล้วเราจะคุยละเอียดในแต่ละฝ่ายหรือแผนก เช่นการตลาด การขายใช้ application อะไรบ้าง การบัญชีและการเงิน ทรัพยากรบุคคล แล้วที่มาที่ไปที่เกิดจากการรวม application แต่ละแผนกว่าเอามารวมกันอย่างไร รวมเป็นระบบเดียวกันอย่างไร นั่นก็คือเรื่องราวของบทนี้ ซึ่งจะต่อเนื่องไปบทที่ 8 เรื่องจะเกี่ยวข้องกันทั้ง 2 บทนี้

Opening case:
Wireless Inventory Management System at Dartmouth-Hitchcock Medical center

เป็นเรื่องของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง New Hampshire ของสหรัฐ โรงพยาบาลแห่งนี้ก็เป็นโรงเรียนแพทย์ด้วย เป็นมหาวิทยาลัยด้วย ที่นี้มีหมอฝึกหัดที่กำลังเรียนอยู่ด้วย อยู่ 600 คน หมอที่เป็นอาจารย์ก็มีอยู่ด้วย

ปัญหาที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลคือ การสั่งอุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่ใช้ในการทำงานแต่ละวัน เช่นเข็มฉีดยา ผ้าพันแผล ปรากฏว่ามีถึง 2000 ชนิด ไป list ดู เช่น เข็มฉีดยามีอยู่ 4-5 ขนาด บวกไปเรื่อยๆ รวมถึงยาอื่นๆ มีถึง 27000 มันเยอะมาก แต่เมื่อเทียบกับองค์กรอื่นๆ อาจจะไม่มาก แต่ในโรงพยาบาลมีหลายแผนก มีอุปกรณ์เยอะมาก และคนที่ต้องมานั่งสั่งของคือพยาบาล เพราะคนที่รู้เรื่อง admin ดีที่สุดก็คือพยาบาล ไม่ใช่หมอ พยาบาลจะเสียเวลามากในการ order ของพวกนี้ โดยที่ไม่ค่อยได้ดูแลคนไข้ แต่ต้องไปทำของพวกนี้ การสั่งของต้องรอให้หมดก่อนถึงจะรู้ หรือใกล้ๆหมด ต้องสั่งด่วน เพราะไม่ได้เรียนบริหาร inventory พวกนี้มา

ผู้บริหารก็เลยเอาระบบ IT มาใช้ ตอนแรกจะเอาคนอื่นมาสั่งแทน เอาพยาบาลไปดูแลคนไข้ เอาเจ้าหน้าที่ admin ไปสั่งของแทน ก็ไม่ทำงานต้องอาศัยความรู้ทางพยาบาลทำงานด้วย ตกลงเค้าก็เลยเอาระบบ IT มาลงด้วยการทำเป็นระบบ Wi-Fi ในโรงพยาบาล แล้วพยาบาลก็จะถือ PDA หรือ pocket pc เดินติดตัวไปตลอดเวลาเลย เวลาที่ต้องเบิกของ จะติด barcode ไว้ มีการ scan barcode เพื่อจะได้ไม่ต้อง key อีก คือแทนที่จะไปเบิกแล้วมานั่ง key ที่จอ หรือไป key ก่อนที่จะเบิก ทำให้ลืมบ้าง ผิดพลาดบ้าง และเสียเวลามาก เพราะฉะนั้นก็เบิกปุ๊บก็ scan ปุ๊บด้วยเครื่องมือถือผ่านระบบ Wi-Fi ก็คือ wireless lan เพราะฉะนั้นของก็จะมี stock ที่ถูกต้องตลอดเวลา พยาบาลทุกคนก็จะรู้ เนื่องจากเป็นระบบ online ตัด stock ปุ๊บของก็จะลดลงทันที พยาบาลที่มาก็จะรู้ว่าของตัด stock จะไม่มีการซ้ำซ้อน ไม่มีการเบิกแล้วลืมลบหรือเอาของมาใส่แล้วลืมเพิ่ม

และก็มีระบบที่ต่อเนื่องไปคือเมื่อของใกล้หมด เช่นเข็มฉีดยาใกล้หมด เหลือประมาณ 200 เข็ม ระบบจะเตือนว่าของหมดแล้ว และสั่ง order ใหม่ทันที โดยไม่ต้องรอให้พยาบาลไปตรวจ มันจะเตือนเมื่อถึงจุด reorder point เป็นจุดหนึ่งที่ต้องเบิก หลังจากจุดนั้นของจะลงไปเรื่อยๆ ของใหม่จะมาก็ไม่ทัน ตัวนี้เรียกว่า reorder point เพราะฉะนั้นของใหม่ก็จะมาทันเวลาพอดี

ผล
- เบิกจ่ายของได้ถูกต้อง
- ต้นทุนในการบริหาร inventory/stock (สินค้าคงคลัง) ลดลงถึง 50% ก็คือ order ที่มาช้าเกินไปจะเกิดผลเสียหายจะเกิดผลเสียหาย คนไข้อาจจะเสียชีวิตไปแล้ว ห้องเก็บของที่มีมากเกินไป ต้องมีขนาดของที่พอเหมาะ ที่พอใช้งาน ของบางอย่างก็มี expire หากเก็บไว้นานเกินไป เหล่านี้คือต้นทุนในการบริหาร
- พยาบาลได้ไปดูแลคนไข้มากขึ้น
- ช่วยงาน routine ที่น่าเบื่อซ้ำซาก ทำให้เร็วขึ้นซึ่งเป็นหน้าที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์ อะไรที่เป็นงานซ้ำๆ เครื่องคอมพิวเตอร์จะชอบทำ และนำไปปรับปรุงการทำงานด้วย จากการทำงานบนกระดาษ ก็ไป scan barcode แทน



เป็นตัวอย่างอันหนึ่งของโรงพยาบาลที่เอาคอมพิวเตอร์ไปใช้ในจุดที่ควรจะใช้ นั้นก็คือจุดที่มี transaction เยอะ transaction ของโรงพยาบาลที่มากก็คือการเบิกของ วัสดุการแพทย์ เบิกจ่าย การสั่งของมาแทน เค้าเอาไปใช้ในจุดที่พอเหมาะ ทำให้การทำงานเร็วขึ้น และมีความถูกต้องมากขึ้น

จากรูปนี้จะเห็นระบบ transaction processing system เป็นจุดเริ่มต้นที่จะนำข้อมูล ไปเข้าระบบต่างๆอีกครั้งหนึ่ง สังเกตว่าลูกศรจะส่งไปที่ Finance ไป marketing ไป HR ไป production ไปทุกระบบเลย เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่จะส่งไป function ต่างๆ

Functional Information Systems

1. Composed of smaller systems
ในองค์กรแห่งหนึ่งมีระบบย่อยๆหลายๆระบบรวมกัน ทำให้องค์กรทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ได้อย่าง smooth ก็นำระบบหลายๆ ระบบมา work ด้วยกัน

2. Integrated or independent
แต่ละระบบเช่น financial information system อาจจะมีระบบย่อยลงไปอีก เพื่อให้ระบบตัวนี้ทำงานได้

3. Interfacing คุณสมบัติต่อมา แต่ละระบบจะไม่อยู่เดี่ยวๆโดดๆ จะมีการ interface กันกับระบบอื่น หมายถึงมีการต่อเชื่อม ส่งข้อมูล รับข้อมูลระหว่างกัน เช่นระบบบัญชี ตัวเลขทุกฝ่ายต้องส่งให้กับบัญชี เงินเดือนค่าจ้าง การขายของ แต่บางทีบัญชีไม่ส่งก็มี ก็ขึ้นอยู่กับธุรกิจขององค์กรนั้นด้วยว่าจะต้องส่งให้ใคร องค์กรนั้นผลิตอะไร ขายอะไร หรือไม่แสวงหาผลกำไร ก็ต้องทำบัญชีอยู่ดี เป็นพระเอก เป็นนางเอกของระบบ บริษัทของคุณอาจไม่มีระบบ marketing system ก็ได้ เพราะไม่มุ่งทำกำไร แต่ก็ต้องมีระบบบัญชีอยู่ดี เพราะฉะนั้นระบบต่างๆ ก็จะเชื่อมโยง interface กัน เชื่อมโยงข้อมูลถึงกัน

4. Supportive of different levels
ระบบจะมีพนักงานใช้ทุกระดับชั้น ตั้งแต่ operation ขึ้นมาจนถึงผู้บริหารระดับต้น ระดับกลาง ระดับสูง แต่ละคนจะใช้งานนส่วนต่างๆ แตกต่างกันไป

Transaction Processing Information Systems
ถ้าเห็น system ต่อท้ายจะหมายถึงระบบคอมพิวเตอร์ ระบบ application ถ้าตัด system ออกจะหมายถึงระบบงานเดิม ทำด้วยบุคคล

Transaction ก็คือธุรกรรม เป็นกิจกรรมหลักขององค์กร ที่รับข้อมูลเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ เพราะฉะนั้นระบบที่ใช้ในส่วนนี้เรียกว่า Transaction processing system หรือ transaction information system

Transaction หลักขององค์กร ลองไปเขียน ธุรกรรมหลักขององค์กรคืออะไร จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นธุรกรรมหลักขององค์กร ก็ทำได้โดยการหยุดทำธุรกรรมนั้นๆ ถ้าทำด้วยคอมพิวเตอร์ก็ไปปิด server ตัวนั้นก็จะทำอะไรไม่ได้เลย

Transaction processing system เป็นระบบงานคอมพิวเตอร์ที่เก็บรวบรวมธุรกรรมหลักขององค์กรและนำไปประมวลผล และส่งข้อมูลไประบบอื่นๆด้วย

ตาราง 7.1 หน้า 262 – ระบบ TPS เป็นอย่างไร

ลักษณะของระบบนี้คือ
- มีข้อมูลจำนวนมากผ่านเข้ามาในระบบในลักษณะ inbound logistic เป็นข้อมูลเข้าไปสู่องค์กร เพื่อไปทำงาน logistic
- เกิดขึ้นเป็นประจำ สม่ำเสมอ ทุกวันหรือเปล่า บางคนบอกว่าทุกวัน แต่ขึ้นอยู่กับธุรกิจนั้น transaction ไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นทุกวันแล้วแต่ธุรกิจนั้น เช่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อาจจะเป็นทุกเดือน ปี แต่ก็เป็น transaction อยู่ดี ภงด ก็เป็น transaction ของกรมสรรพากร เพื่อจะดูว่าจะออกแบบระบบอย่างไร ให้ server มัน run ตลอด 24 ชั่วโมง เกี่ยวกับการออกแบบระบบ การเกิดขึ้นครั้งเดียวแล้วไม่เกิดขึ้นอีกเลย ก็ไม่ใช่ TPS เป็นการทำขึ้นมาเฉพาะกิจ
- ใช้ Storage ขนาดใหญ่ เพราะมีธุรกรรมมาก เพราะเป็นธุรกรรมหลัก ต้องมี harddisk บันทึกขนาดใหญ่ ระบบอื่นที่ไม่ใช่ธุรกรรมหลักยังรอได้
- ทำด้วยความเร็วสูง เนื่องจากมันเยอะ และเป็นสิ่งที่ลูกค้ารายย่อยเข้ามาและคาดหวังว่ามันจะต้องทำให้สำเร็จ ไม่ต้องรอ ช้าก็ไม่ได้ เช่นธนาคารพาณิชย์ต้องทำหลาย100 transactionต่อวินาที ต้องรู้ธุรกิจของตัวเองว่าช่วงไหนเยอะ หรือน้อยมาก ต้องเผื่อไว้สูงๆ
- มี format ที่ชัดเจนแน่นอน มาเป็นชุดใหญ่ เช่นการถอนเงิน มี account no. มีจำนวนที่ถอน แต่มาเยอะเท่านั้นเอง แต่ต้องทำให้เร็ว
- ต้องการความละเอียดและถูกต้องแม่นยำสูง เพราะจะทำให้ผิดต่อเนื่อง บัญชีก็ไม่ลงตัว

Primary goal of TPS
1. ประสิทธิภาพ ถ้าเรามี TPS จะทำให้องค์กรเดินได้ไม่ติดขัด เร็วคือเราจะทำได้เร็วกว่าเก่าและมีประสิทธิภาพมากกว่าเก่า

2. กฎหมาย จะมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่ว่าต้องบันทึก transaction พวกนี้เอาไว้ เพื่อเอาไปตรวจสอบได้ ไปอ้างอิงได้ ถ้าเป็นธนาคารพาณิชย์ ก็จะเป็น แบงก์ชาติ มา audit ที่ธนาคาร กฎหมายบังคับให้ทำ การบันทึกที่ดีก็ต้องใช้คอมพิวเตอร์ กฎหมายพรบ. เกี่ยวกับบัญชี 2533-2543 บอกว่า

3. บริษัทเอกชนต้องมีหน้าที่ทำบัญชี งบการเงิน งบดุลเพื่อให้กระทรวงพาณิชย์ตรวจ เพราะฉะนั้นจึงเป็นส่วนสำคัญที่ต้องนำคอมพิวเตอร์มาใช้งาน




วิธีการเขียนโปรแกรมเพื่อไปประมวลผล transaction ณ จุดนี้จะมี input device อยู่เนื่องจากเป็นธุรกรรมหลักที่เข้ามาในองค์กร เป็นเครื่องมือที่เรานำข้อมูลเข้าไปในระบบ barcode RFID เป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบระบบ transaction เหล่านี้ หาอุปกรณ์ที่ input ได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง

วิธีการประมวลผลทำได้ 2 วิธีใหญ่ๆ
1. Batch processing รวบรวม transaction ไว้ก่อนแต่ไม่ประมวลผล คือยังไม่บวกลบคูณหาร เปรียบเทียบ เอาไปเก็บไว้ก่อน แล้วเมื่อถึงเวลาอันสมควรก็นำไปประมวลผลทีเดียวรวมกัน เก็บเอาไว้มากๆ ก่อน ต.ยของ batch processing คือ การตรวจข้อสอบ เงินเดือน
2. online processing / real time (ชื่อจริง) ประมวลผลทันที ที่ transaction นั้นเกิดขึ้น เช่น การถอนเงิน ยอดเงินชำระเงินในมือถือ ไม่จำเป็นก็ไม่ต้องทำ เพราะจะเปลือง resource อะไรที่เป็น batch ได้ก็เป็น batch ไป ไปวิ่งตอนกลางคืน online ตอนกลางวัน

Open case:
ต.ย หน้า 264
- American Airline และ American Express ร่วมกันทำระบบซื้อของด้วยบัตรเครดิตบนเครื่องบิน ซื้ออาหาร เครื่องดื่ม ประสบความสำเร็จมาก เพราะทำให้ซื้อของได้เร็ว และไม่ต้องใช้เงินสดซึ่งมีหลายสกุลเงิน ระบบนี้รับบัตรเครดิตและเดบิต เพราะฉะนั้นจึงรับเงินสกุลไหนก็ได้ ทำให้เขาขายของได้มากขึ้น ที่ต้องจ่ายเงินเองเพราะ American Airline เป็นแบบ low cost เริ่มทำในปี 2006

- Carnival line บริการเรือสำราญ : คนขึ้นเรือหรือลงเรือเวลาไปเที่ยวจะมีคนมาก และเสียเวลาในการ check ว่าเป็นตัวจริงหรือตัวปลอมเอาคนอื่นมาขึ้นเรือเพิ่มหรือเปล่า ทำให้ขึ้นลงแต่ละท่าเสียเวลา จึงได้นำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ โดยใช้ smart card ทำให้ไม่ต้องตรวจรายชื่อหรือดู passport ดังนั้น transaction หลักก็คือการขึ้นลงเรือ ทุกเมืองท่าที่ไปจอดต้องมีกิจกรรมนี้เกิดขึ้นและเป็นส่วนที่ทำให้ช้ามาก
- กรมการขนส่งทางบกของ California นำเอาระบบจดทะเบียนรถยนต์เสียภาษีปลายปีไปใช้ แคริฟอร์เนียมีรถมากที่สุด การซื้อขายรถ การเสียภาษีจะเยอะมาก เพราะเล่งเห็นว่าเป็น transaction หลักขององค์กร
- เคาน์เตอร์รับฝากของของ UPS store เพื่อที่จะส่งต่อ shipping ต่าง จะมีชื่อและที่อยู่ของคนที่จะส่งขึ้นมาให้ เราไม่ต้องไปเขียนใหม่ เช่นคนที่เราส่งเป็นประจำ ชื่อนี้ นามสกุลนี้ เค้าจะ key ให้มี address ถนน code ขึ้นมาเรียบร้อยเลย print ลงบนแผ่นได้เลย โดยที่เราไม่ต้องเขียน เพราะเขาเห็นว่า transaction ตรงนี้มันช้า เขียนผิดเขียนถูก ก็จะมี address ขึ้นมาให้และจะพิมพ์ให้เลย
- USA Sprint Inc. บริษัทโทรศัพท์ TOT ของอเมริกา เขาสามารถติดตั้งโทรศัพท์ได้ภายใน 2 ชั่วโมง ไม่เกิน 3 โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ตรง TPS ตรงนี้ Transaction หลักคือทำอย่างไรให้ติดตั้งโทรศัพท์ให้เร็วที่สุด ลูกค้าถึงจะพอใจ ไม่ใช่รอ 3 วัน 5 วัน
- ระบบ Taxi ในสิงค์โปร์ เกิดมานานแล้ว ติดระบบ GPS บน Taxi ทุกคัน ทำให้บริษัท Taxi เห็นว่าอยู่ที่ไหนบ้าง คิดว่าการเรียก Taxi ไม่สามารถเรียกข้างถนนได้ ต้องไปยืนที่ป้าย หรือที่โรงแรม Taxi ส่วนมากถูกเรียกมาทางโทรศัพท์ เพราะฉะนั้นเขาก็ปรับปรุงการเรียก Taxi ใหม่ นอกจากเรียกทางโทรศัพท์ กับ Fax แล้วก็นำระบบ GPS มาใช้ call center ของบริษัท Taxi ก็จะทราบว่า Taxi อยู่ที่ไหนบ้าง คันไหนว่าง คันไหนไม่ว่าง และจะสั่งให้ Taxi ไปถึงจุดที่จะรับผู้โดยสารได้ทันที ทำให้ Taxi ไปรับผู้โดยสารได้เร็วขึ้น เพิ่มขึ้นถึง 1000% คนทำงานที่ call center ลดจำนวนลงได้เพราะใช้คอมพิวเตอร์มาช่วย นอกจากนั้นก็มี profile ของลูกค้าขึ้นมาที่ระบบด้วย เช่นโทรมาจากเบอร์นี้ ปุ๊บ เป็นลูกค้าประจำ จะมีส่วนลดให้ หลายต่อหลายอย่างผนวกเข้าไปในระบบ จะสังเกตว่าการเรียก taxi เป็นงานธุรกรรมหลักของบริษัท Taxi มีการ process งานมากตรงจุดที่เรียก taxi

(Part2) พักยก Chapter 7

คำแนะนำของอาจารย์

มีเวลาอีก 5 วันที่จะอ่านหนังสือ ส่งข้อสอบไปเมื่อเช้าแล้ว ออกข้อสอบยากกว่าทำข้อสอบ 2 อาทิตย์ยังคิดไม่ออกเลย ข้อสอบ Midterm มี 3 ข้อ 75 คะแนน ข้อละ 25 คะแนน คะแนนเป็น guide line เฉยๆ ว่ามันควรจะยาวเท่าไร แต่จริงๆ แล้ว 75 คะแนนนี้ เราจะมาคำนวณเป็น 40% นั่นเอง แล้วก็อีก 10% คือ assignment 2 ตัว รวมเป็น 50% แล้วอีก 50 % ที่เหลือก็เป็น Final แล้วก็ 3 ข้อ 3 ชั่วโมง คิดแล้ว ข้อละ 1 ชั่วโมง เป็นข้อสอบอัตนัย หมายความว่าเขียนบรรยาย เพราะเราเรียนปริญญาโทแล้ว แล้วเป็นวิชาบริหารด้วย อ่านหนังสือให้มากที่สุด มันอยู่ในนี้แหละ ไม่ได้เอามาจากที่ไหนมากมาย ฝรั่งบอก Up side down in side out กลับหัวกลับหาง ข้างในข้างนอก ทั้ง foot note ตาราง assignment link ไปที่ไหน ผมบอกวิธีที่จะได้เต็ม link ในสไลด์ และก็ข้างหลัง มีคนอ่านจริงๆ นะ มีรุ่นหนึ่งมาถาม อาจารย์ย่อหน้าที่ 2 หน้า 140 หมายความว่าไงครับ แล้วพูดถูกด้วยว่าเรื่องอะไร ผมเกือบตอบไม่ถูกแต่บังเอิญจำได้ มาดูต่อให้

ทำ Note ย่อนะครับ อันนี้เป็นคำแนะนำของผม คุณไม่ต้องทำตามนี้ คุณดูข้อแรกข้อเดียวก็พอ อันนี้เป็นคำแนะนำของผม ซึ่งผมใช้เวลาทำสอบ เนื่องจากว่า ถ้าเรียนมาเยอะๆ หน่วยความจำก็จะน้อยลง เสียไปบ้าง เพราะฉะนั้นคุณก็ทำ Note ย่อไว้ เอากระดาษ A4 มาแผ่นหนึ่ง ขั้นแรกก็เขียนก่อนเลย 1,2,3,4,5 ในแต่ละบทมีเรื่องย่ออะไรบ้าง คล้ายๆ กับที่ผมทำตอนนี้ เขียนไม่ต้องย่อยมาก เอาบทละ 2-3 บรรทัดก็พอ ลองทำดู ทำแล้วก็อย่าไปดูนะ อย่าไปลอก พยายามนึก ได้แค่ไหนก็แค่นั้น ไม่ได้ก็ทิ้งไป เขียนใหม่ ทำไปเรื่อยๆ นั่งรถไฟใต้ดินไปก็ทำ ห้องน้ำก็ทำ จนกว่าจะทำได้ เราไม่ได้มาท่องจำ จำหัวข้อก็ยังดี อย่างผมทำข้อสอบ มีข้อสอบถามมาสั้นๆ ให้ทำแผนการตลาดของ Product เกี่ยวกับหุ้น ขายหุ้น ทำยังไงดีล่ะ อะไรตำราตั้งเล่มเบอเบิ่ม ถ้าคุณทำย่อยแบบนี้ คุณจะคิดออก ว่า

คุณจะเอาเรื่องอะไรมาเขียน จากบทไหน มันก็ตรงกับหัวข้อ เรื่องนี้ บทนี้ บรรยายได้ ไปคิดเอาหน่อย แต่ถ้าคุณแบบ bank เลย บท 1,2,3,4,5,7,8 ก็ยังไม่รู้ หัวข้อยังนึกไม่ออก มันจะเขียนไม่ออก คือผมไม่ได้ถามว่าบทที่ 3 มีข้อความว่าอะไร แต่ผมถามอย่างอื่น ฉะนั้นคุณทำ Note เสร็จแล้วก็ ทำไปเรื่อยๆ เดี๋ยวก็จำได้เอง ดูให้ติดตา พอเข้าห้องสอบ

ก็เริ่มทำ ทุกคนก็เอากระดาษ A4 เขียนลงไป ที่คุณพึ่งดูหน้าห้องเมื่อกี้ มันน่าจะได้นะ
อย่าดูข้อสอบก่อนนะ พอเค้าบอกเริ่มทำ อย่าดูข้อสอบ เขียนในกระดาษเปล่าจนเสร็จ แล้วก็ไปดูข้อสอบ ถ้าทุกคนดูข้อสอบก่อน คุณอาจจะมึน อะไรก็ลืมหมด หรือจะดูก่อนก็ได้ตามใจ นี่เป็นคำแนะนำ เขียนก่อนแล้ววางไว้ แล้วก็ดูข้อสอบ ทีนี้คุณก็ดูข้อสอบว่าประเด็นมันไปตรงกับบทไหน

ข้อสอบบทหนึ่งก็จะประมาณว่าเป็นเนื้อหาของบทนึง พอจะนึกออกไหม อย่างเช่นข้อ 1 เป็นเรื่องของบทที่ 7 ข้อ 2 เป็นเรื่องของบทที่ 3 อย่างนี้ คือ เนื้อเรื่องของข้อสอบของผม จะอยู่ในบท กระโดดข้ามเดี๋ยวคุณจะได้ทำทีหลังตอนประมวลความรู้ Comprehensive หมดเลยทั้งเล่ม ฉะนั้นมันจะช่วยให้นึกง่ายขึ้น น่าจะดีนะ ผมคิดว่าอย่างนั้น อาจารย์ผมออกข้อสอบมาอย่างนี้ ผมดูเข้าท่า ผมก็เลยทำตามนะครับ ทีนี้คุณก็อย่าไปลุ้นนะว่าดูสัก 4 ก็พอ ถ้าเล็งพลาด 3 บทไปหมดเลย เก็งพลาด 0 เลย ก็แล้วแต่คุณจะเสี่ยงเอา

คำตอบที่ผมคาดหวัง คุณอาจจะตอบไม่ตรง เช่น ผมคาดหวังว่า คุณจะเพิ่มยอดขายใน Quarter หน้า แต่คุณดันตอบว่าลดยอดขาย ใน Quarter หน้า ที่ผมเคยเจอ แต่ผมมีเหตุผลที่ดีในการสนับสนุนคำตอบ ถึงแม้จะไม่ตรงใจก็ตาม ก็จะได้คะแนนนะครับ งั้นคุณต้องเขียนเหตุผลที่คุณตอบด้วย ยกตัวอย่างด้วย ไม่ว่าจะถามหรือไม่ก็ตาม คือถ้าสั่งแล้วคุณไม่ยกตัวอย่าง คุณก็ถูกตัดคะแนน แต่ถ้าไม่สั่งให้ยกตัวอย่าง แล้วคุณยกตัวอย่าง คุณก็จะได้คะแนนเพิ่ม นะ ไม่ตัด ตัวอย่างควรจะนอกเหนือจากหนังสือ สไลด์ ที่ผมพูดในห้อง เช่น เป็นที่ทำงานคุณ หรือเพื่อน หรือลูกค้าคุณ อย่างนี้ก็ได้ ยิ่งดี จะรู้ได้ยังไงว่าตรง ผมจำได้ตัวอย่าง

ทุกอัน ถ้าคุณยกตัวอย่างในหนังสือ แสดงว่าคุณท่องจำมา แต่ถ้าคุณยกตัวอย่างที่ทำงานคุณ หรือที่อื่น แสดงว่าคุณมีความเข้าใจ ในวิเคราะห์ อันต่อมา มีคำนำ และสรุป ฟังเหมือนเด็กประถม แต่ก็ดี นำสักนิดก็ได้ ไม่รู้จะเขียนอะไร ก็เขียนคำจำกัดความ ค่อยๆ ว่าไป มันจะได้เขียนออก สรุปก็สำคัญ สำคัญกว่าคำนำอีก เพราะว่า คือคุณต้องตอบคำถาม ข้อสอบคือคำถาม ไม่ใช่ให้เล่าเฉยๆ คุณต้องเขียนลงไปว่า ใช่หรือไม่ใช่ หรือว่าสูงกว่า หรือต่ำกว่า หรือว่าใช้ได้ หรือใช้ไม่ได้ เพราะข้อสอบจะถาม คือต้องฟันธงตอนจบ ว่าคืออะไร คือบางคนเขียนได้ดีมากเลย นำไปใช้งานก็จะดี มีข้อดีอย่างนี้ ไม่ใช้ก็จะมีข้อเสีย

อย่างนี้ แต่ไม่สรุป แล้วนำไปใช้ หรือไม่นำไปใช้ เพราะฉะนั้นก็จะได้คะแนนน้อย เข้าใจนะ
อย่าลืมฟันธง สำคัญนะ หาปากกาที่เขียนลื่น ๆ ไม่ได้เขียนนานแล้ว เพราะตอนนี้มันยุคคอมพิวเตอร์จิ้มๆ แล้วก็เขียนให้อ่านออก ไม่ต้องสวยมาก แต่ให้อาจารย์อ่านออก ถ้าอาจารย์อ่านไม่ออกก็ไม่มีประโยชน์ ตัวหนังสือหวัดไม่ได้ถูกตัดคะแนน แต่มันให้คะแนนยาก ไม่ต้องเขียนเว้นบรรทัด ความยาวประมาณ 1-2 หน้า 1 หน้าก็ครบถ้วน มีคนต่อสมุดก็มี ร่างก่อนแล้วค่อยเขียน ตอบเป็นภาษาไทยหรืออังกฤษก็ได้ อะไรที่ข้อสอบไม่ได้ถามก็ ไม่ได้บอกว่าอยู่ประเทศไหน คุณก็สมมุติประเทศได้ บทที่ 8 ก็ออกข้อสอบ เรื่องของศุกร์จะต่อเนื่องกับวันนี้ ตั้งใจเรียนก็ไม่ต้องไปดูแล้ว มีปัญหา E-mail ถามได้ สอบมิดเทอมก็จะตัดหมดเลย Final ก็จะเป็นที่เหลือ เจออีกครั้ง Comp มีสิทธิ์ไม่เลือกวิชานี้ได้ ไม่เลือกก็ไม่เจอกัน แต่วิชานี้บังคับ

Transaction Processing System

Software ที่ใช้สำหรับ Transaction Processing System
หลักสำคัญของ Transaction Processing System Software หรือ Applications ไม่ว่าคุณจะซื้อมา หรือเขียนเอง ก็คือว่า อันแรกต้อง
- รับ Load ได้ คือหมายความว่า ต้องทำ Processes พอทันกับที่ users ใช้งาน
ถ้าเป็นธนาคารต้องทำ 500 Transaction ให้ได้ใน 1 วินาที ให้ได้ เพื่อจะรับ Load ธนาคารใหญ่ๆ ได้ ทำอย่างไรได้ล่ะถึงจะทราบว่ามันรับได้หรือไม่ งั้นก่อนที่จะซื้อ คุณก็ต้อง Test ดูก่อน แต่ว่าไม่ใช่ Test ธรรมดา เรียกวิชา Test นี้ว่า simulation ก็ได้ ซึ่งแปลว่า จำลองสถานการณ์ หรือจะเรียกว่า benchmark ก็ได้ ก็คือทดสอบเปรียบเทียบกับ Software หลายๆ ตัว เพราะฉะนั้น คุณจะสังเกตรูปใน Sheet หน้า 12 อันนี้เป็น Server Database ที่เก็บ Transaction ที่อ่านเขียน อีกตัวคือ Client เปรียบเทียบ คือ Web Browser ตัวโปรแกรมที่อยู่บน Worksation ของ users และถัดมาคือ users ฉะนั้นการที่จะ Key ให้ได้ 500 Transaction ต่อ วินาที มันทำได้ยาก ซึ่งมีคนเคยทำ มีธนาคารบางแห่งเคยทำ ด้วยการเอา พนง. สาขา ช่วยมาทำในวันอาทิตย์หน่อย มา Key Transaction ช่วยระดม Key เพื่อจะได้รู้ว่าตัว Transaction ตัวใหม่ process ได้หรือเปล่า ซึ่งก็ทำได้เหมือนกัน

แต่คงจะได้รับความร่วมมือยาก ใครอยากจะทำงานวันอาทิตย์ อีกอย่างมานั่ง Key ยังไงก็ไม่ถึง มันไม่ใช่สถานการณ์จริง ฉะนั้นเราเอา simulation ใส่ลงไป ก็คือ Software ที่ทำหน้าที่คล้ายกับ users ที่มา key Transaction นั่นเอง เราเขียนได้ ตรงนี้จะเป็นโปรแกรม ที่ simulation Transaction สั้นยาว ฝากถอน + - x / จะพิสดารยังไงก็ได้ เขียนแล้วยิงเข้าไปที่ระบบจริง งั้นคุณก็จะทราบว่า มันรับได้ไหม อันแรกที่กังวลก็คือมันรับได้ไหม แล้วความถูกต้องก็มาดูอีกที ความถูกต้องดูไม่ยาก เอาตัวเลขมารวมดู กดเครื่องคิดเลข หรือจะใช้วิธีไหนก็ได้ เพื่อดูว่า + - x / ถูกต้องไหม แต่ที่สำคัญที่ทำยากคือ มันรับ Load ได้ไหม ต้องมี Software หลายตัว เช่น Empower LoadRunner หรืออะไรก็ตาม เขียนเองก็ได้ เขียนเองก็เขียนด้วยโปรแกรม C จะเป็น VB ก็ได้ ให้เหมือน users กดเข้าไป ว่าฝากเงิน 100 บัญชีนี้ ฝากเงิน 200 บาท บัญชีโน่น ยิงเข้ามาให้เยอะๆ ใส่ตารางไว้ ยิงเข้ามา ฉะนั้นก็จะเป็นการทดสอบว่า Software นั้น Run ได้หรือไม่ Software ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับ Transaction Processing แล้ว ส่วนมากมักจะซื้อมา มีขายในท้องตลาด เจ้าพ่อเก่าแก่ดั่งเดิม IBM ยี่ห้ออื่นๆ ก็มีของ Microsoft ฯลฯ ให้ web เข้าไปดู TBC.ORG เค้าจะมีทดสอบไว้ ถ้าไม่ทำเองให้เข้าไปดู resource ที่ Web แต่ละตัวทำได้เร็ว ราคาแพงไหม ไปดูเป็น guide line Hp รุ่นนี้ดีไหม

คำว่ารับ Load ได้หมายถึง user key เข้ามาแล้วระบบไม่ Down ไม่ hang ไม่ตาย ไม่เดี้ยง ต้องไม่มี response time ต้องไม่เกิน 1-3 วินาที ถ้าออกมา 25 วินาที ครึ่งนาที ก็ถือไม่ผ่าน user รอนาน ถ้าเร็วมากก็ไม่ดี มันจะแพง ให้พอเหมาะกับเงินลงทุนที่มี ที่ user สามารถใช้งานได้ จะใช้จริงก็ขอ vender มาทดสอบดู Function แต่ละส่วน ว่าเค้าเอาคอมไปใช้อย่างไรบ้าง โดยแบ่งเป็นแผนกๆ

Production & Operations Management (POM)
Production Operaions Management เป็นที่น่าเสียดาย บางองค์กรเอาระบบไปใช้ ทำเป็นแผนกๆ ไป ทำเป็นส่วนๆ ไป บางทีก็ใช้ Software คนละตัว คนละยี่ห้อ ทำให้มันเข้ากันไม่ได้ในภายหลัง ต้องคำนึงถึงการ interface กัน ของแต่ละระบบ ของแต่ละแผนก ต้องคำนึงถึงการ Integrated กัน โดยเป็นระบบรวม ของทุกฝ่าย ทุกแผนกในองค์กรให้ได้

ต้องคำนึงถึงการ Link กันให้ได้ Production ก็เกี่ยวกับการผลิต โรงงาน ประกอบ ผสม ทำเฟอร์นิเจอร์ เช่น พวก Logistics รับของเข้า ส่งของออก โปรแกรมส่วนนี้ก็ทำเกี่ยวกับการจัดซื้อวัตถุดิบ แล้วแต่ว่า users ต้องการอะไร และที่สำคัญ Inventory management หรือสินค้าคงคลัง หรือ คลังวัตถุดิบ คลังวัตถุดิบสำเร็จรูป Inventory หรือสต๊อกก็ได้ ตัวอย่างเช่น โรงพยาบาลที่เป็น Opening case เพราะฉะนั้นการบริหาร Inventory management จะเอาคอมพิวเตอร์ไปใช้จะเหมาะมาก

จากตัวอย่างเมื่อกี้ มันจะนับจำนวนของสต๊อกสินค้า หรือวัสดุทุกชนิด เมื่อมีการเบิกจ่าย โดย Scan หรือ Key in ระบบก็จะนับจำนวนน้อยลง ลดจำนวนลงเรื่อยๆ เมื่อถึง re-order point จุดที่ต้องสั่ง มันก็จะออกใบสั่งให้ จะให้ส่งอัตโนมัติ หรือจะโทรไปสั่งก็ได้ แต่เมื่อถึงจุด re-order มันก็จะสั่งให้คุณได้ ตรงนี้มันก็ไม่ได้พิสดารอะไร คือมันจะคำนวณว่าของที่เหลือมันจะเอาไปใช้ได้กี่วัน แล้วของที่มาใหม่ จะมาถึงกี่วัน ถ้ามาถึงในวันที่ของหมดพอดี ก็ทำงานต่อไปได้ นั่นคือจุดที่สมควรจะสั่ง เวลา และจุดที่ควรจะสั่ง และจำนวนที่ควรจะสั่ง คอมพิวเตอร์ก็จะคำนวณให้ การมีสินค้าคงคลังน้อยเกินไป เมื่อหมดก็จะผลิตของไม่ได้ และการมีมากเกินไป ก็มีปัญหา ที่ต้นทุนในการเก็บของ มีมากเกินไปก็ดี ไม่เสียหาย ถ้ามีที่เก็บ เพราะมันพอใช้ พอดี จุดที่เรียกว่า optimize มีของมากก็ต้องเช่าโกดังเพิ่ม สร้างที่เก็บเพิ่ม ทำห้องเย็นเพิ่ม เปลืองไฟฟ้า จ้างคนดูแล มันจะต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ถึงต้นทุน ฉะนั้นจึงต้อง Inventory optimize ที่สุด ไม่ได้แปลว่า น้อยที่สุด แต่คือจุดที่พอดี ทำให้ต้นทุนต่ำที่สุด

ตัวอย่าง V-mart และ บริษัท P&G V-mart เป็นห้างสรรพสินค้า ที่จะต้องมีสินค้า เพื่อวางขายสินค้าให้กับลูกค้าฉะนั้นทำยังไง สต๊อกสินค้าถึงจะ Optimize ที่สุด คือมีพอวางใน shelf ที่ลูกค้าจะสามารถหยิบได้สะดวก ไม่ใช่มาแล้ว shelf ว่าง มองไม่เห็น ก็ไม่ได้ขาย มีมากไปก็ไม่มีที่เก็บ ดังนั้นเค้าจึงให้ บริษัท P&G ซึ่งเป็นผู้ส่งสินค้าให้กับ วอ mart มาบริหาร Inventory ให้เขา คือ V-mart ไม่ต้องทำเอง ปล่อยให้คนส่งคือบริษัท P&G ทำให้

ตรงนี้มันมีเทคนิคเขียนอยู่ในหนังสือ เรียกกว่า VMI (vender management inventory) คือเราไม่บริหารคลังวัตถุดิบเอง แต่ให้ vender คือคนที่เราซื้อของมาบริหารให้ เอาระบบ

ไปให้เขาทำเลย ก็เป็นเทคนิคหนึ่งที่เอาคอมพิวเตอร์มาบริหาร Inventory ได้ นอกจากนี้ก็ยังมีเทคนิคอื่นที่มาจากทฤษฎี ที่คนบริหารโรงงานคิด เราก็ต้องศึกษางานว่า user เขาทำงานยังไง มี Process ยังไง บริหาร Inventory ยังไง เมื่อไรต้องสั่ง สั่งที่ไหน เสร็จแล้วเราก็มาเขียนโปรแกรม ฉะนั้นเทคนิคตรงนี้เป็นเทคนิคในการบริหารการผลิต บริหารโรงงาน เราจะเขียนโปรแกรมตามนั้น ถ้าซื้อโปรแกรมสำเร็จรูป คนที่เขียนโปรแกรมสำเร็จรูป ก็จะเขียนตาม Process นั้นๆ มีเทคนิคอื่นอีก เช่น Jest in time Inventory หรือ JIT เทคนิคมาจากญี่ปุ่น เขาจะชำนาญมาก บริหาร Inventory โดยไม่ต้องมีคลังสินค้าอยู่ในคลังวัตถุดิบเลย

Managing Production/Operations & Logistics

Just-in-Time Systems
Case : โรงงานผลิตรถยนต์ แทนที่จะเอายางรถยนต์มาเก็บไว้ที่คลังวัตถุดิบจำนวน เพื่อให้พอกับการผลิตรถยต์ แต่เขาไม่ทำ คือไม่มีคลังวัตถุดิบ แต่มีแผนการผลิตให้กับบริษัทผลิตยางรถยนต์ เช่น วันจันทร์จะผลิตรถยนต์ 100 คัน เพราะฉะนั้นวันจันทร์ตอนเช้าจะมียางรถยนต์มาส่ง 400 เส้น ก็เอาขึ้นสายการผลิตไปเลย เสร็จไปวันนั้นก็จบงาน อันนี้ก็เหมือน Zero inventory คือไม่ต้องมีที่เก็บยาง หรือจะเรียกว่า Just in Time หมายถึงพอดี ทันเวลาพอดี เทคนิคที่ญี่ปุ่นคิดขึ้น เรียกว่า การผลิตแบบทันเวลาพอดี

Project Management
นอกจากนี้โรงงานโดยทั่วไปก็มีเทคนิค ที่ไม่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ที่ทำด้วยมือมาก่อน เรียกว่า Pert หรือโปรแกรม evaluation & review technic ซึ่งใช้คู่กับ CPM

Pert กับ CPM คืออะไรมาดูตัวอย่าง สมมุติว่ามี Project ๆ หนึ่ง หรือภาพตัวอย่างเป็นสไลด์ Project การเขียนโปรแกรม จริงๆ เราเอาไปใช้กับโปรแกรมอื่นๆ ก็ได้ เช่น การประกอบรถยนต์ การก่อสร้าง สมมุติว่าจะสร้างบ้านหลังหนึ่ง เราต้องเขียนเป็นกิจกรรมย่อย เรียกว่าเป็น Activity ย่อย ของ Project ซึ่งประกอบด้วย ถมที่ ตอกเสาเข็ม ทำฐานราก ทำพื้นชั้นล่าง เขียนกิจกรรมย่อย Project นั้นออกมาก่อน หลังจากนั้น หาความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรม คือจะทำ 2 ก็ต้องทำ 1 ก่อนหรือเปล่า กัน จะทำ 3 ต้องทำเสร็จทั้ง 2 และ 1

จะทำ4 ต้องทำ 3 เสร็จก่อน 2 คนที่จะตอบได้ คือ ตัวเรา คือเราเป็นวิศวกรที่สร้างบ้านต้องรู้ โปรแกรมเมอร์ไม่รู้

คุณจะทำกับข้าว ต้องรู้ขั้นที่ 1 ทำอะไร ขั้นที่สองทำอะไร ขั้นตอนที่ 3 ต้องให้ 1 กับ 2 เสร็จก่อน หรือทำก่อนได้ ไปล้างผักก่อนได้ แม่ครัวต้องทำได้ วิศวกรก่อสร้างต้องทำได้ วิศวกรอุตสาหกรรมต้องรู้ว่าจะประกอบรถยนต์ ทำอะไรบ้าง หลังจากทำเสร็จแล้ว คุณหาความสัมพันธ์ได้แล้ว คุณจะได้ Gantt Chart ในนี้คือโปรแกรม Project นั่นเอง เป็นส่วนหนึ่งของ Manufacturing CPM คือ เส้นทางวิกฤต (critical path method) สีแดงของโปรแกรม Project คือเส้นทางวิกฤต และสีน้ำเงินคือเส้นทางไม่วิกฤต เส้นทางวิกฤตคือ อะไรก่อนหลัง โปรแกรมจะโชว์เส้นทางวิกฤต คือกิจกรรมที่ไม่สามารถจะใช้

เวลาไปมากกว่านี้ได้ ถ้าทำกิจกรรมนี้มากกว่า 5 วัน Project (เส้นทางวิกฤตก็จะ Delay) ทันที 5+5+0+5 ตรงไหน บวกเว้น 6 ขึ้นมามันจะ Delay ทันที เส้นทางไม่วิกฤต สีน้ำเงิน ใช้เวลา 3 วัน ถ้าใช้เวลามากกว่านี้ เช่นทำ 4 วันมันไม่ใช่เส้นทางวิกฤต เพราะมันเป็น 5 ที่ทำพร้อมกันอยู่ เพราะฉะนั้น Project นี้ก็ไม่ Delay ตรงนี้อู้ได้ นี้คือเครื่องมือในการบริหาร เครื่องมือที่ทำ Project management โดยใช้ทฤษฎี Pert นั่นเอง ไม่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ แต่เอาคอมพิวเตอร์มาช่วยให้เร็วขึ้น เขียน Chart ได้เร็วขึ้น

หรือประกอบรถยนต์ 1 คัน ที่มี 1,000 activity คำนวณด้วยมือมันยากมาก ควบคุมยากมาก ฉะนั้นต้องใช้โปรแกรมเข้ามาช่วยการผลิต ใช้โปรแกรมอื่นก็ได้

Quality control ใช้ตรวจของเสีย หาสถิติ just in time Project management พูดไปแล้ว

TPS-Computer Integrated Manufacturing
Computer Integrated Manufacturing เป็นโปรแกรมรวมที่เอาเทคนิคต่างๆ แทบจะทุกอย่างมารวมกัน เพื่อช่วยในการผลิต เทคนิคต่าง ๆ ก็มี
JIT - Just in Time การผลิตแบบทันเวลาพอดี
FMS - Flexible manufacturing Systems เป็นเรื่องของวิศวกรที่ควบคุมการผลิต
CAD - Computer Aided Design ส่วนของ Design และคำนวณชิ้นส่วน
หรือขายตามท้องตลาดมีชื่อว่า AutoCAD ออกแบบงานต่างๆ
CAE - Computer Aided Engineering คือคำนวณโครงสร้าง ตัวเลข กระแสไฟฟ้า
รายงานวิศวกร เป็นเรื่องของ Manufacturing หรือการผลิต

TPS – Marketing and Sales Systems

สำหรับการตลาดและการขาย เค้าเอาโปรแกรม หรือเขียนโปรแกรมอะไรบ้าง กิจกรรมของการขายก็มี เรื่องของการบริหาร หรือช่องทางการขาย Channel manament ช่องทางการตลาดหรือการขาย ก็จะต้องทำกิจกรรมต่อไปนี้
ก็มีพวก
• Marketing intelligent
• Target marketing
• Sales
• Cutomer support

นักการตลาดต้องมาดูผลิตภัณฑ์ตัวเองว่าจะนำไปขายในตลาดไหนบ้าง ใครเป็นลูกค้า จะตั้งราคาอย่างไร สินค้ากลุ่มไหน Product line ไหน จะให้ใครขาย ทั้งนี้เอาคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยทั้งหมด ภาพรวมว่าการตลาดเอาไปทำอะไรได้บ้าง แบ่งเป็นระบบย่อยของการตลาดลงมา อันนี้อยู่ในหนังสือ ว่าแต่ละตัวทำอะไรบ้าง P.74 และ 271

Customer Relations สิ่งสำคัญอีกตัวของ Marketing ซึ่งช่วยได้มาก ในเรื่องของการเก็บรายละเอียดของลูกค้า เพราะเรามีลูกค้าจำนวนมาก จะจำไม่ได้ เพราะฉะนั้นหลักการก็คือ หารายละเอียดเกี่ยวกับลูกค้า ที่เรียกว่า demographic อายุ เพศ รายได้ ความชอบ และประวัติการซื้อ ซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ โดยโปรแกรมที่เราเรียนมา เช่น Data warehouse, Date Mining เก็บมาจาก Transtion หลัก โดยเก็บที่ Data warehouse แล้วเอามาวิเคราะห์ คือจะต้องระบุตัวลูกค้า ให้รู้ว่าเขาคือใคร อายุเท่าไร อย่าให้ไม่รู้ว่าเป็นใครมาซื้อ แล้วหายไป จะให้สมัครแบบสมาชิก หรือทาง Internet ขอดูบัตรประชาชน passport อะไรก็ได้แลกกับบัตรคูปอง ถ้านักท่องเที่ยวก็ขอดู passport แล้วให้คูปองไปเดินช๊อปปิ้ง เราจะได้รู้ ทำยังไงก็ได้ ที่จะให้ได้รายชื่อมา นอกจากนั้นก็เป็นพวก E-mail
ที่คอมพิวเตอร์จะช่วยได้ หรือผลิตสินค้าตามสเปก ที่ลูกค้าต้องการในปริมาณมาก ด้วยต้นทุนที่ต่ำ หรือทำสินค้าให้เหมาะกับลูกค้าโดยเฉพาะ เจาะจงตัวด้วยการเก็บ cookie ใน Browser หรือทำบัตร smart card เอาบัตร Top มารูดก่อนเข้าไป แล้วโปรโมชั่น ทำความสัมพันธ์กับลูกค้า ถ้าเรารู้ประวัติลูกค้า เราก็จะแจกเฉพาะคนได้ คือแจกคูปองเฉพาะ

กลุ่มเป้าหมาย location ระบุตัวลูกค้าว่าอยู่ตรงไหน การซื้อสินค้า โดยให้ลูกค้าจ่ายเงินเอง ด้วยเคาเตอร์ของธนาคารตามที่ต่าง ๆ ให้ลูกค้า Update ฝากก็ได้ ถอนก็ได้ สั่งเช็คก็ได้ ได้หมด เรียกกว่า self service ที่ต่างประเทศ ก็มีแบบ scan สินค้าที่ลูกค้าซื้อทั้งตะกร้า แล้วจ่ายบัตร ตัดเงินให้เรียบร้อย ก็เข็นรถออกมา ไม่ต้องมีแคชเชียร์ ไม่มีคน ก็เอามาช่วยได้ ปั๊มน้ำมันในต่างประเทศก็ใช้ ซื้อน้ำมันเท่าใด ก็มีจำนวนเงินขึ้นมา ให้ตัดบัญชีได้เลยอันนี้ก็ไปช่วยเรื่องการขาย

การตั้งราคา ก็ประกอบด้วยหลายอย่าง demand supply การตลาดเศรฐกิจ คู่แข่ง ต้นทุน สินค้าเหลือมาก เหลือน้อย พวกนี้ก็มีโปรแกรมช่วยคำนวณ การบริหารเซลล์แมน ช่วยทำ quotation ให้เซลล์แมนไปพบลูกค้า โดยผ่าน Online พวก Data mining

Case: Time to market at P&G
บริษัท P&G ออก Product โดยทำการสำรวจตลาดก่อน เอากลับมาประมวลผล แจกสินค้าตัวอย่าง นำ Internet มาใช้ เช่น ขายสินค้ายาสีฟันฟันขาว ทำ Target segment ยาสีฟันขาว อยู่ในกลุ่มวัยรุ่นที่กำลังจะแต่งงาน เป็นชาวอเมริกากลาง ผิวดำ ทำการโฆษณาเฉพาะกลุ่ม ทำโฆษณา ทำโปรโมชั่น

บัญชีการเงิน มนุษย์ เอาคอมพิวเตอร์มาใช้ในระบบเป็นระบบแรกๆ คือบัญชี อาจพบต้องรีบทำ มีการซื้อขายหุ้น ทำเทคนิคทางบัญชี บัญชีลูกหนี้ บัญชีเงินเดือน ปิดบัญชี ถ้าเราเขียนโปรแกรม เป็นโปรแกรมเมอร์ต้องทำตัวเป็นเสมือนนักบัญชี คือต้องรู้ระบบบัญชีถึงจะเขียนระบบงานได้ดี

Evolution Is Continuing
ที่เล่ามาเป็นวิวัฒนาการ จากต่างคนต่างทำ เขียนเป็นแผนกๆ
ยุค 60 มีโปรแกรมเกิดขึ้นมาชื่อ MRP มีแนวคิดทำเกี่ยวกับการจัดซื้อ กับโปรแกรมที่บริหารสินค้าคงคลัง inventory เมื่อก่อนแยกกันอยู่ ต่างคนต่างเขียน ต่างคนต่างใช้ เอามารวมกัน เอามาเขียนใหม่ พร้อมกัน เพื่อให้ส่งข้อมูลถึงกันได้ โดยไม่ต้องเป็น Report ที่เป็นกระดาษ โดยผนวกกับ Production Scheduling การวางแผนการผลิตไปด้วย เพราะเขาคิดว่า 3 ตัว มันมีความเกี่ยวข้องกัน ซึ่งเดิมมันเป็นคนละส่วนกัน ก็เอามาเขียนรวมกันเป็น MRP

ยุค 70 เอา MRP เอาการเงินและการบริหารแรงงานในองค์กร บวกรวมเข้าไปอีก ก็เลยเป็น MRPII ย่อมาจาก Manufacturing Resources
ยุค 80 เอาโปรแกรมบริหารงานภายในรวมเข้าไปด้วย พวก ทรัพยากรบุคคล หรืออะไรก็ตาม การตลาด เอามารวมกับ MRPII ก็เลยเกิดคำว่า ERP
สรุป ERP เป็นโปรแกรมของทุกส่วนทุกๆ ฝ่าย ที่มีความจำเป็น ในการ Process ข้อมูล เอามารวมกัน เป็นชุดเดียวกัน
ยุค 90 มี บุคลากรภายใน และ Suppliers หรือลูกค้า กับผู้ผลิตวัตถุดิบมารวมด้วย เกิดเป็น Internal SCM
ยุค 2000 เกิด Supply chain management โดย Internet รวม ERP รวม SCM รวมกับ External Suppliers and Customers กลายเป็น Extended SCM/CRM
ยุค 2005 เอา ERP/SCM บวก Business Intellgence EC,CRM,KM เป็น Enterprise Integrated System

ถ้าเอาโปรแกรมทั้งหมดมารวมกัน มันจะมีประสิทธิภาพ ประสบความสำเร็จ ซื้อ 1 ตัว แล้วต้องซื้ออีก ยี่ห้อเดิม เพราะกลัวรวมระบบกันไม่ได้ ก็เลยกลายเป็นผูกขาด

วันศุกร์จะพูดเรื่อง Supply chain
*********************************

No comments: