Friday, August 1, 2008

MIT Chapter 5 : E-commerce and E-Business

MIT : Chapter 5 E-commerce and E-Business

Chapter 1 - ใจความสำคัญเรื่อง Major Business Pressures ในการทำงานทำธุรกิจในปัจจุบันมี Pressures แรงกดดันอะไรบ้าง ที่บังคับให้เราต้องทำงานได้ลำบาก อุปสรรคต่างๆ มีอยู่ 3 แนวทางใหญ่ๆ
- Responses ตอบโต้อย่างไร แก้ไขอย่างไร กับอุปสรรคเหล่านี้ มีอยู่ 5 วิธีใหญ่ๆ โดยประมาณ
เพิ่มเติม IT จะช่วยส่วนไหนได้บ้างใน 5 แนวทางนี้ (ในตำราเค้าเขียนว่าช่วยได้หมดเลย)
Chapter 2 - ทำความเข้าใจเรื่อง Architecture and Infrastructure : IS หรือ IT Architecture , IT Infrastructure สถาปัตยกรรม และ โครงสร้างพื้นฐาน
- Classification การแบ่งระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบโปรแกรมในองค์กร แบ่งเป็นสัดส่วนอย่างไรบ้าง แบ่งเป็นประเภทต่างๆ อะไรบ้าง แล้วทำไมเราถึงต้องมาแบ่งประเภท เพื่ออะไร เพื่องบประมาณ หรือเพื่อจะบริหารคน
Chapter 3 - Database และ Data warehousing และ Data Mining ไปดูว่า Data Warehousing มีลักษณะอย่างไรที่แตกต่างจาก Corpora ional Database ทำไมเราต้องมี Data Warehousing
- Document Management เราจะ Manage Document ต่างๆ อย่างไรบ้าง
- องค์กรแบบไหน ควรจะต้องมี Data Warehousing และมีไว้เพื่ออะไร เอาไปทำอะไรต่อ เอาไปวิเคราะห์ เอาไปวางแผนอะไรต่อ การวิเคราะห์ก็มี Tool ตัวสำคัญ คือ Data Mining อาจจะมีตัวอื่นด้วย จะเป็น OLap หรือว่า Excel หรือเขียนโปรแกรมเอง หรือว่าอะไรก็ตาม แต่ที่ดังๆ ใช้กันเยอะก็คือ Data Mining ใช้แล้วเอาไปทำประโยชน์อะไรได้บ้างในทางธุรกิจ หรืออื่นๆ อีกด้วย แต่ส่วนใหญ่ดูที่งานการตลาด งานธุรกิจ เอาไปทำอะไร
Chapter 4 - Computing and Collaboration เราแบ่งประเภทของ Application Computer ที่เราเอามาต่อเป็น Network แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ทำไมต้องแบ่ง แบ่งทำไม เกี่ยวกับงบประมาณ เกี่ยวกับเทคโนโลยี เกี่ยวกับคน ไม่หนีพวกๆ นี้
- Internet , Intranet , Extranet มีความเป็นมา มีความแตกต่างกันอย่างไร ในการนำไปใช้งาน
- Software ที่เป็น Groupware เอามาช่วยอะไรบ้าง Groupware หรือว่า Workflow อะไรประมาณนี้
Assignment ( 5 คะแนน) ส่งวันที่ 8 สิงหาคม 2551
- เป็น Model ธุรกิจ (Business Model) ของการค้าต่างบน Internet
- เป็น E-Commerce ที่มี Transmission แบบ B2C หรือ B2B และเป็นธุรกิจใหม่ที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อนบน Internet
- ท่านเป็นเจ้าของกิจการ (เป็น B ) เป็นผู้ออกแบบแล้วก็ขาย
- ตั้งชื่อ Domain Name (ห้ามซ้ำ และ อธิบายเหตุผลในการใช้ชื่อ Domain นี้) , Description , Keyword for Search Engine (ถ้าให้ Google หาเจอจะใช้คำว่าอะไร)
- มีคำอธิบายว่า องค์กรของท่านทำธุรกิจอะไรบ้าง Product หรือ Service หลักคืออะไร ลูกค้าของคุณคือใคร
- ใครเป็นลูกค้าของท่าน C หรือ B ประเภทไหนที่เป็นลูกค้าของคุณ
- แผน Promote Web
- กำหนดส่งวันที่ 8 ส.ค. 51 ส่งเข้า E-Mail ของอาจารย์ , Microsoft Word
สอบMidterm ถึงบทที่ 8 ยกเว้นบทที่ 6 ไม่เรียน


Chapter 5
E-commerce พาณิชย์อิเลคทรอนิกส์ คืออะไร เค้าทำอะไรกันบ้าง มีประโยชน์อย่างไร มีข้อดี ข้อเสียอย่างไร รูปแบบต่างๆ ของพาณิชย์อิเลคทรอนิกส์เยอะแยะไปหมด ตั้งแต่ ค้าปลีก ค้าส่ง ประมูล แลกเปลี่ยน หรืออื่นๆ อีกเยอะแยะ รวมทั้งรูปแบบใหม่ที่คุณกำลังคิดด้วย อาจจะรวมเข้าไปด้วย แล้วก็จะมาดู Transaction Type แบบต่างๆ ประเภท B2C , B2B ต่างๆ นอกจากนั้นเราก็มาดูในเรื่องของ E-Government หรือรัฐบาลอิเลคทรอนิกส์ รัฐบาลที่ใช้ Internet Application มาใช้ในการบริหารงานบางอย่าง นอกจากนั้นเราก็จะมาคุยกันเรื่อง Support Service ก็คือว่ามีธุรกิจอะไรที่เกี่ยวเนื่องกับพาณิชย์อิเลคทรอนิคส์บ้าง เป็นงาน เป็น Job ต่างๆ ขึ้นมา การโฆษณา Website การโฆษณา การทำ Promotion ของ Web และนอกนั้นก็เป็นแง่มุมกฎหมายบ้าง ด้วย สำคัญเหมือนกัน มี Case ต่างๆ ในบทนี้หลาย Case มีทั้ง Success และ Fail
Opening Case เป็น Case ของ Dell ที่ขายคอมพิวเตอร์ ทั้งคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและ Server ทั้งหลาย ซึ่งเค้าเริ่มต้นด้วย คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล Dell มาจากคำว่า Michael Dell ซึ่งเป็นผู้ที่ตั้งบริษัทนี้ขึ้น Dell เป็นชื่อของเค้า เป็นบริษัทแรกที่เค้าค้าขาย PC เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ผ่านทาง Mail Order ผ่านทางไปรษณีย์ คนอื่นไม่ได้ขายผ่านทางไปรษณีย์ในขณะนั้น ขายเหมือนกันแต่อาจจะเป็นส่วนน้อย ส่วนมากจะขายตามหน้าร้าน ตาม Mall หรือว่าขายให้กับองค์กร หรือให้ Salesman ไปขาย แต่ว่า Dell ขายตาม Mail Order เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งขณะนั้นเค้ามีคู่แข่งที่สำคัญก็คือ Compaq สู้กันแบบว่าค่อนข้างจะหนักทางด้านราคา ตอนหลังก็คงจะรู้แล้วว่าใครเป็นผู้ชนะ เพราะ Compaq ได้ขายกิจการให้ทาง HP ไป แต่ Dell ยังอยู่ และยังคงทำเงินอยู่ ขณะนั้นเค้าแข่งขันกับ Compaq ไม่รู้จะทำอย่างไรดี เค้าก็เลยมาสร้าง Concept ใหม่ หรือ Model ธุรกิจอันใหม่ โดยวิธี
1. เค้าจะผ่านทางไปรษณีย์เท่านั้น ไม่ผ่านหน้าร้าน
2. เค้าจะให้ลูกค้าทำ Configuration ของเครื่องเอง ให้ลูกค้าออก Spec เอง ว่าคุณต้องการคอมพิวเตอร์มีส่วนประกอบอะไรบ้าง คอมพิวเตอร์ของบริษัทอื่นมันมี Model อยู่ 2-3 อัน วางไว้ที่หน้าร้าน คุณก็ไปซื้อ คุณไม่เอารุ่นนี้ ก็ต้องเอารุ่นนี้ ไม่เอารุ่นนี้ ก็ต้องเอารุ่นนี้ ก็ต้องเอารุ่นใดรุ่นหนึ่ง เปลี่ยนอะไรก็ไม่ค่อยได้ แต่ว่า Dell จะขายคอมพิวเตอร์แบบไหนก็ได้ที่คุณต้องการ จะมี Hard Disk ขนาดเท่าไรก็ได้ จะมี Port กี่ Port ก็ได้ จอขนาดเท่าไรก็ได้ ได้ทุกอย่าง Concept แบบนี้ เราเรียกว่า Build to Order (BTO)
ขณะที่คนอื่นทำของขาย ทำคอมพิวเตอร์ขาย จะเป็น Concept ที่เรียกว่า Build To Plan คือการสร้างตามแผนการตลาดหรือสิ่งที่ตนเองคิดไว้ว่าจะขายได้ แต่ว่า Dell สร้างคอมพิวเตอร์ขายตามคำสั่งของลูกค้า ไม่สั่งไม่ทำ สั่งอะไรก็ทำอย่างนั้น สั่งเท่าไรก็ทำเท่านั้น แบบนี้เค้าเรียกว่า Build To Order Spec เป็นแบบไหนก็ได้ ที่คุณต้องการ ที่ลูกค้าต้องการ
ทำไม Dell ถึงทำได้ โดยที่ไม่ต้องเสียค่าแรงเพิ่ม เพราะว่า เค้าใช้ Order ทาง Internet ตอนแรกเป็นการสั่งที่เรียกว่า Mail Order สั่งทาง Fax. แล้วก็ Snail Mail หรือโทรศัพท์ เป็นแบบโบราณ จดหมาย อะไรก็ตาม แต่ว่า ใน ปี 90 เป็นต้นมาที่ .Com เริ่มเอามาใช้กันทางพาณิชย์ แล้วก็ปี 93 Word Wide Web (WWW) Broom ขึ้นมาสุดสุด ทุกคน บริษัทเอกชนในสมัยนั้น (ฝรั่ง)ต้องมี Website ที่เป็นชื่อบริษัท ไม่อย่างนั้นก็สู้เค้าไม่ได้แล้ว ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งหรือว่าบริษัทใหญ่ๆ ทุกแห่งก็ต้องมี
เพราะฉะนั้น Dell ก็เลยไปขาย Internet ในปี 99 คือ ขายตั้งแต่ 93 แต่ว่าในปี 99 Dell ขายทาง Internet ขายจริงๆ ทางอินเทอร์เน็ตได้เป็นอันดับ 1 มากกว่าบริษัทอื่น บริษัทอื่นก็เริ่มขายเหมือนกัน ขายมากแซงหน้าบริษัทอื่นไปเลย ขายให้ใคร ขายให้ Consumer ก็คือผู้บริโภคที่เป็นคนทั่วไป SME บริษัทขนาดกลางและเล็ก บริษัทขนาดใหญ่ ก็คือขายหมด ใครจะซื้อก็ขายไม่จำกัดว่าเป็นใคร และนอกจากจะขายคอมพิวเตอร์ใหม่แล้ว ก็ยังขายคอมพิวเตอร์เก่า ก็คือคอมพิวเตอร์ใช้แล้ว นำมาขายด้วย โดยผ่านการประมูลทางอินเทอร์เน็ตเช่นเดียวกัน ลูกค้าไม่ว่าจะเป็นรายย่อยแค่ไหนก็ตาม หนึ่งคนซื้อหนึ่งเครื่อง บริษัทขนาดใหญ่ซื้อ 3,000 เครื่องก็ตาม ทุกคนสามารถจะดู Attract Order ได้คือดูว่าที่เรา Order ไปถูกต้องหรือไม่ แล้วก็ทำไปถึงไหนแล้ว ทำไปครึ่งเครื่องแล้ว เอาไปขึ้นสายพานไหนแล้ว หรือเอาไปขึ้นรถแล้วกำลังจะส่งมา สามารถ Track Order ได้ แล้วก็ Dell มี Store Font ก็คือมีร้านค้า มีหน้าร้านของตัวเองโดยตรง ไม่ได้ไปขายที่ eBay หรือ Amazon หรือที่อื่นๆ ตอนแรกเริ่ม ตรงนี้ เค้าเรียกว่า E-Store Font หน้าร้านอินเทอร์เน็ต มีหน้าร้านอินเทอร์เน็ต แล้วเค้าใช้ Concept ของบทที่แล้วคือ Collaboration หรือ E-Collaboration ก็คือทำงานร่วมกับลูกค้า และ Suppliers ผู้ส่งชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ให้เค้า เช่น Samsung ที่ทำ CD/ DVD Rom และ Memory ให้กับ Dell หรือใครก็ตาม Link กันหมดเลย ทั้ง Chain เลย และ Program ของเค้าจะไป Link กับ ERP และ E-Document , E-Procurement ของลูกค้าด้วย ก็คือ ถ้าลูกค้ามี Program คอมพิวเตอร์ที่ทำการประมูลหรือจัดซื้อ จัดซื้อจัดจ้างผ่านอินเทอร์เน็ต เอาไป Link เสร็จเรียบร้อยเลย ข้อมูลต่างๆ แล้ว ERP ก็เป็น Program ที่เกี่ยวกับการวางแผนการสรุปของโรงงานของลูกค้า Link เข้าไปเลย จะเห็นได้ว่า มันเข้าไปเป็น Supply Chain อันเดียวกัน เข้ามาใน Concept ของ Supply Chain Management ที่เราจะเรียนในบทที่ 8 นอกจากนี้ก็ยังจะทำ E-CRM Costumer Relationship Management การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า มี E อยู่ข้างหน้าเพราะเราใช้อินเทอร์เน็ตในการถามตอบปัญหา Complain คืนเงินหรืออะไรก็ตาม เราเรียกว่า CRM นอกจากนั้นเอาข้อมูลมาทำ Data Mining ทำทุกอย่าง ก็คือ Dell ทำทุกอย่างในตำราเล่มนี้ อะไรผ่านอินเทอร์เน็ตได้ผ่าน อะไรที่ไม่ผ่านก็ไม่ผ่าน ทำเต็มที่เลย Supply Chain Management Program ของ Dell จ้างที่ปรึกษา คือ บริษัท Adventure เป็นบริษัท Top 5 ของบริษัท Consultant ของโลก นอกจากนั้นก็ยังทำ Affiliate Program ด้วย Affiliate program คืออะไร ก็คือให้บริษัทอื่นช่วยทำโฆษณา จ้างคนอื่นทำโฆษณาร่วมด้วย นอกจากนั้นงานภายในของ Dell ก็ใช้ Intranet ด้วย ซึ่งมีชื่อว่า Inside.dell.com เหมือนกับ Web.scb.co.th ของธนาคารไทยพาณิชย์ คล้ายๆ กัน ให้พนักงานภายในใช้ เพื่อจะทำงานต่างๆ มากมาย ปรากฏว่าหลังจากที่ทำทุกอย่าง เค้าเป็น Top 5 At Mine Company จากการ Vote ของนิตยสารฉบับหนึ่ง ก็คือว่าเป็นบริษัทที่คนชื่นชอบมากที่สุด 5 อันดับของอเมริกา ซึ่งเยอะมาก แต่ได้ Top 5 นับว่าเยี่ยมมาก ใครๆ ก็รู้จักและทำธุรกิจด้วยความยุติธรรม มี Website ประมาณ 100 Website ทำอะไรต่ออะไรสารพัดเลย แล้วก็หุ้นของ Dell ถ้าใครไปซื้อในวันแรกๆ ที่เค้าเอาเข้าตลาดหุ้นเป็นครั้งแรก จนปัจจุบัน หุ้นขึ้นไปประมาณ 100 เท่า แล้วนอกจากนั้นเค้ายังเอาเงินไปบริจาคให้กับงานวิจัยเกี่ยวกับ E-Commerce ที่มหาวิทยาลัย Texas ลองไปอ่านเพิ่มเติมในหน้า 74-75 ถ้าอยากจะรู้ว่า Dell ทำอะไร อันนี้ในหน้า 165 เป็น Opening Case แต่ยังมีเพิ่มเติม ถ้าอ่านแล้วรู้สึกว่าน่าจะเลียนแบบสักหน่อย หรือตรงไหนน่าสนใจ ก็หน้า 74-75 ของบทที่ 1 ว่า Dell ได้ทำอะไรบ้างโดยละเอียดกว่านี้ จะสังเกตว่าเรื่องของ E-Commerce ต้องยกให้ Dell ส่วนพวก Logistic ก็ยกให้ Fedex เรามาเข้าเรื่องทฤษฎีกันบ้างของบทนี้ (ที่ Dell ทำแบบนี้ได้ ก็เพราะว่า Built to Order คือจริงๆ แล้วใครก็ทำได้ IBM ก็ทำได้แต่เสียเงินเพิ่มเพราะว่ามีต้นทุนเพิ่ม แต่ Dell พยายามเอา Order ที่เค้ารวบรวมทางอินเทอร์เน็ตอันที่มี Spec เหมือนกันไปไว้ในสายการผลิตเดียวกันแล้วก็ผลิตเป็น Mass เป็นจำนวนมากๆ พร้อมๆ กัน ใน Spec หนึ่ง เสร็จแล้วก็มี Spec ที่สองก็เอามารวมกันอีกครั้งหนึ่งต่อเนื่องกันไปที่ละครั้ง เพราะฉะนั้นเค้าก็ลดต้นทุนได้โดยไม่ต้องไปทำอันโน้นไปถอดอันนี้เสียเวลา ถ้าทำเป็นจำนวนมาก ซึ่งตรงนี้เราเรียกว่า Mass Customization ก็คือว่า Customization เปลี่ยนแต่ว่า Mass ก็ทำที่ละเยอะๆ เพราะฉะนั้นต้นทุนก็เลยลดลงมาได้ และนี่ก็คือสาเหตุที่เค้าทำได้ แต่คนอื่นทำไม่ได้ก็เพราะว่าไปสร้างตามแบบที่ตัวเองคิดว่าจะขายได้ และก็พยายามขายด้วยวิธีต่างๆ ซึ่งเป็นคนละ Model ธุรกิจกัน)
ต่อไปเรามาดูคำว่า E-Business และ E-Commerce
E-Business ธุรกิจอิเลคทรอนิกส์ เป็นคำที่กว้างกว่าคำว่า E-Commerce เพราะว่า E-Business เราอาจจะไม่ได้ค้าขายอย่างเดียวก็ได้แต่อาจจะทำเป็นบริการลูกค้าที่ไม่เสียเงิน หรือว่าปรึกษาหารือ ประชุม สอนหรือว่าอบรม อะไรบ้างอย่างก็ได้
แต่ว่าคำว่า E-Commerce เป็นเหมือนกับว่าย่อยลงไปอีกซึ่งแปลเป็นไทยว่า พาณิชย์อิเลคทรอนิกส์ ซึ่งก็คือ การทำธุรกิจที่จะต้องมีการค้าขายด้วย ก็คือว่าจะต้องได้เงิน มี Connection ของการเงินด้วย เพราะฉะนั้น พาณิชย์อิเลคทรอนิกส์ก็คือ ซื้อหรือขาย โอนหรือว่าประมูลหรือว่าอะไรก็ตาม เช่าก็ได้ Product หรือ Service คือเป็นผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้ หรืองานบริการที่ไม่เป็นของก็ได้ผ่านอินเทอร์เน็ต ผ่านคอมพิวเตอร์ ถึงจะเป็น E ไม่อย่างนั้นก็เป็นพาณิชย์เฉยๆ หรือก็คือคำว่า E ที่อยู่ข้างหน้าทั้งหลาย ที่นักคอมพิวเตอร์กับนักธุรกิจทั้งหลายพยายามเติมเข้าไปในคำต่างๆ ก็นึกได้ว่าก็คือการทำกิจกรรมเดิมแต่ว่าผ่านอินเทอร์เน็ต
เพราะฉะนั้นมาดูว่า E-Commerce ทำหลายอย่างเหลือเกิน แล้วก็มีที่เค้าเรียกว่า Degree of Digitization ก็คือ คุณเป็น E-Commerce อย่างแท้จริงแค่ไหน ตั้งแต่ 1% - 100% มีความแตกต่างกันในแต่ละที่ ซึ่งเค้าบอกว่า Degree นี่หมายความว่า คุณอาจจะขายของบางอย่าง คล้ายๆ อย่างนั้น บาง Product หรือบาง Model มันก็อาจจะเป็น Degree ที่น้อย หรือเปอร์เซ็นต์ที่น้อย แล้วก็นั่นคือชิ้นส่วนของ Product คุณจะส่งของที่เป็นของที่จับต้องได้ หรือเป็นของที่ผ่านอินเทอร์เน็ตได้ กระบวนการทำงานภายในเป็นแบบเดิมหรือเปล่า หรือว่าใช้อินเทอร์เน็ตไปด้วยภายในแบบที่ Dell ทำ การส่งของต่างๆ เพราะฉะนั้นจึงเป็นสิ่งที่ต้องคิดด้วย ไม่ใช่มีแต่หน้าร้านอย่างเดียว มี Catalog แล้วก็มีของ อย่างอื่นเป็นแบบ Manual แบบเดิมอยู่เลยมันก็ Degree น้อย พอจะซื้อจริงๆ ไม่มีที่ซื้อมีแต่ Catalog ซึ่งก็ถือว่าเป็น E-Commerce เหมือนกัน แต่ Degree มันน้อย เวลาซื้อจริงต้องโทรศัพท์ไป หรือ Fax ไปเหมือนเดิม จ่ายเงินก็เอาเงินสดไปจ่าย เหมือนเดิม มันก็ไม่ดี
เพราะฉะนั้นก็เลยมาแบ่งบริษัทต่างๆ องค์กรต่างๆ ออกเป็นพวกๆ
1. Brick and Motar หรือ Old Economy Brick ก็คือก้อนอิฐ และ Motar ก็คือปูน ก็คือบริษัทอิฐกับปูน หมายความว่าขายของอย่างเดิม ที่บริษัทเป็นตึก มีคนนั่งขายและก็มีของวางอยู่ เวลาซื้อก็เดินเข้าไปแล้วเอาเงินจ่าย เงินสดหรือบัตรเครดิต แล้วก็เอาของไป หรือให้คนไปส่ง ซึ่งเป็นแบบโบราณก่อนยุคอินเทอร์เน็ต นี่คือพวกหนึ่งซึ่งยังมีอยู่ในปัจจุบัน จะมากหรือน้อยก็ยังมีอยู่จำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นประเภทที่ไม่มี E-Commerce มาเกี่ยวข้องเลย
2. Virtual Organization หรือ Pure Play เป็นแบบทำ E-Commerce เต็มที่ คือจะไม่มีหน้าร้านที่เป็นตึก ใครซื้อก็ไม่ขาย หรืออาจจะมีแต่ไว้สำหรับทำอย่างอื่น เช่น เอาไว้นั่งทำบัญชี นั่งประชุม แต่ไม่ได้มีเอาไว้ขายของ ซึ่งถือว่าไม่มี เช่น Amazon.com หรือมหาวิทยาลัยที่ไม่มีห้องเรียนให้ไปเรียน จะไปพบอาจารย์ก็ไม่ได้ จะพบได้ทาง Website
3. Click and Motar หรือ Click and Brick ซึ่งเป็นคำล้อเลียน Click ก็คือ Mouse นั่นเอง หมายถึงการซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตผ่าน Web Browser และ Motar ก็คือปูน ก็คือขายครึ่งหนึ่ง แบบกึ่งๆ คล้ายๆ ว่า ขายอย่างเดิมก็ยังขายอยู่ ก็คือจะไปซื้อที่ร้าน ซื้อที่ศูนย์การค้าก็ได้ หรือจะซื้อบนอินเทอร์เน็ตก็ได้ เพราะฉะนั้นมันจะมีผสมกันอยู่ Product ไหนควรจะขายผ่านอินเทอร์เน็ต หรืออันไหนไม่ขาย หรือทุก Product ซื้อได้ทั้งอินเทอร์เน็ตและซื้อแบบปกติก็ได้เหมือนกัน
เพราะฉะนั้นพาณิชย์อิเลคทรอนิกส์ก็อาศัย Infrastructure เหล่านี้ ก็คือ LAN WAN MAN Internet PC อะไรต่างๆ Private Network บ้างผสมผสาน ซึ่งเริ่มมาจากการสืบค้นข้อมูล การใช้บริการส่วนราชการต่างๆ จนกลายมาเป็นการซื้อขายของกัน แต่ส่วนมากก็คือเอา Web Server ของบริษัทมาเชื่อมเข้ากับอินเทอร์เน็ตผ่าน ISP แล้วเราก็จะเข้าสู่วงการ E-Business ได้ คือต้องเข้าอินเทอร์เน็ต ถ้าไม่เข้าก็ไม่ได้ แต่สมัยก่อนอินเทอร์เน็ตก็มีบ้าง มีค้าขายประเภทนี้บ้างเป็น Private Network ที่มี Transaction บ้าง แต่ว่าไม่มากนัก และเป็นระหว่างองค์กรบ้างแห่งที่ร่วมมือกันเท่านั้นเอง อย่างเช่น ธนาคารพาณิชย์ทั่วโลก ก่อนยุคอินเทอร์เน็ตมี Private Network อยู่แล้วเพราะว่าเค้าต้องโอนเงิน สมมติว่าซื้อขายเงินตราระหว่างประเทศทั่วโลกก็ผ่าน Network อยู่แล้ว แต่เป็น Private Network ไม่ใช่อินเทอร์เน็ตก็มีอยู่บ้าง หรือว่าจองตั๋วเครื่องบิน แล้วก็จองโรงแรม ที่จำเป็นจะต้องรู้ข้อมูลของ Online ตลอดเวลาระหว่างสายการบิน ระหว่าง Agent ก็มีอยู่แล้ว แต่ว่ายุคนั้นก็ยังไม่ผ่านอินเทอร์เน็ต เป็น Network พิเศษที่จำเป็นจะต้องทำอยู่แล้ว มีบางธุรกิจที่ทำอยู่แล้ว แต่ว่าหลังจากมีอินเทอร์เน็ต ทุกๆ คนพยายามที่จะไปวิ่งบนอินเทอร์เน็ตกันหมดให้มากที่สุด
Transaction Type ประเภทของธุรกรรมบน E-Business ว่ามีอะไรบ้าง จะพูดผสมกันไประหว่าง E-Business และ E-Commerce ที่ต้องแบ่งเป็น Transaction Type เพราะจะทำให้สามารถแบ่งกลุ่มลูกค้าได้ และเกี่ยวกับการบริหาร คือ Costumer Relationship ที่เป็นกลุ่มลูกค้าบุคคลธรรมดาและกลุ่มที่เป็นองค์กร
1. B2B (Business To Business) ก็คือว่า ทั้งคนซื้อและคนขายเป็นบริษัทหรือเป็นองค์กรธุรกิจหรือเป็นหน่วยราชการ หรือเป็นนิติบุคคล สมาคม มูลนิธิ ซึ่งไม่ใช่บุคคลคนเดียว หรือบุคคลธรรมดา แต่ว่าเป็น Organization องค์กรต่อองค์กร ซึ่งจะต้องเกี่ยวกับ ตัวแทนจำหน่าย Partner ต่างๆ การขายแบบ B2B แบ่งเป็น
1.1 Sell-Side ก็คือ ขายให้กับลูกค้าที่เป็นองค์กร อาจจะเป็นการผ่าน ตัวแทนจำหน่าย Agent หรือพ่อค้าคนกลางที่จะซื้อของแล้วนำไปขายต่อ ซึ่งจะขายให้กับองค์กร บริษัท ห้างร้าน
1.2 Buy-Side ก็คือการซื้อของมาเข้าบริษัท เช่น วัตถุดิบ อาจจะเป็นการประมูล หรือประกาศซื้อต่างๆ เช่น บริษัทน้ำมันใหญ่ๆ
ซึ่งทั้งสองแบบ จะต้องเป็น Website ที่มีขนาดใหญ่หน่อย ซึ่งเป็น Website ที่มีการซื้อขายของจำนวนมาก และลูกค้าก็มีจำนวนมากเช่นเดียวกัน
ซึ่งต้องพยายามแยกให้ออกระหว่าง
Procurement ก็คือ การจัดซื้อ จัดจ้าง จัดเช่า เพื่อจะหาของมา
Auction ก็คือ การซื้อมาด้วยการประมูล คือพอใจจะซื้อในราคานี้ก็ซื้อ
Purchase ก็คือ การซื้อแบบปกติ เช่น Group Purchasing การซื้อเป็นกลุ่มทำให้มีโอกาสต่อรองกับผู้ขาย เช่น สหกรณ์ และ Desktop Purchasing ก็คือการซื้อเดี่ยวๆ เช่น การซื้ออุปกรณ์ต่างๆ ใน Office การซื้อของเก่าแทนของใหม่ และอย่างเช่นการปฏิบัติการต่างๆ เช่น การรักษาความปลอดภัย การทำความสะอาด
Exchange ก็คือ มีผู้ซื้อและผู้ขาย มีผู้ต้องการซื้อและต้องการขาย คือมีทั้งสองกลุ่มรวมกัน ซึ่งก็รวมถึง ตลาดหลักทรัพย์ต่างๆ ก็แบ่งออกเป็น Vertical ก็คือการซื้อขายของในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกันเฉพาะด้าน หรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกัน และ Horizontal ก็คือไม่เฉพาะธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง ขายของที่ทุกๆ คนจะใช้ได้ หรือธุรกิจทุกๆ แห่งจะใช้ พวก MRO คืออาจจะเกี่ยวกับของทุกๆ อย่างที่ต้องการดูแลรักษา เรื่องของการรักษาความปลอดภัย การบำรุงรักษา
2. Collaborative Commerce หรือ C-Commerce คล้ายๆ กับ B2B แต่เป็นองค์กรหลายๆ แห่งที่มาทำงานร่วมกันใน Supply Chain คือมีการซื้อขายกันเป็นใยแมงมุม คือคนนี้ซื้อคนนั้นขายคนนี้ เหมือนกับว่ามีวัตถุประสงค์ร่วมกันในการทำอะไรสักอย่างหนึ่ง
3. B2C (Business To Consumer) ก็คือว่า องค์กรหรือบริษัทห้างร้านแห่งหนึ่งขายของให้กับบุคคลธรรมดา หรือ Individual ซึ่งไม่ได้เป็นตัวแทนของใคร ส่วนใหญ่จะเป็นการขายปลีก คือมีการซื้อไม่มาก ทำให้บางที่ก็เรียกว่าเป็นแบบ E-Retailing คือการค้าปลีกผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นแบบการขายตรง อาจจะแบ่งออกได้เป็น
3.1 E-Storefront หรือหน้าร้านอิเลคทรอนิกส์ ก็คือบริษัทหรือร้านค้าเปิด Website เป็นของตนเอง ซึ่งส่วนใหญ่ชื่อก็จะใช้ชื่อของบริษัทหรือร้านค้านั้นเลย ซึ่งต้องมีขนาดใหญ่พอสมควร และต้องมีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ไม่อย่างนั้นก็จะไม่มีใครรู้จักเรา
3.2 E-Mall หรือ Cyber Mall หรือ Electronic Mall เป็นร้านเล็กที่ไม่ค่อยมีเงินทุน ไม่มีสินค้าเป็นของตนเอง ก็ไปเช่า Mall อยู่ เช่น Tarad.com
ปัญหาก็มีบ้างเช่น การแย่งตลาดกัน และเกิดการทะเลาะกันเองภายในบริษัท โดยที่บริษัทมี Sale Man อยู่แล้ว แล้วก็มีการการตั้งแผนก E-Commerce ขึ้นมา ทำให้เกิดการแข่งขัน แล้วก็ปัญหาทางด้านราคา ปัญหาการให้บริการบางอย่าง เช่นปัญหาทางด้านการส่งของ Logistic ต่างๆ ความเสี่ยงต่างๆ
ราชาของการขายแบบ Retailing ก็คือ Amazon.com ซึ่งมี Concept ก็คือ หาอะไรไม่เจอมาหาได้ที่ Amazon.com และขายราคาถูกกว่าท้องตลาด และมี Security ทางการเงิน ทำให้ลูกค้าเชื่อมั่นได้ว่าปลอดภัย และมีการ Personalize คือมีการทำ Website ที่เหมาะสมสำหรับบุคคลคนนั้นโดยเฉพาะ โดยการมีการให้สมัครเป็น Member หรือถ้าคุณเคยสั่งซื้อหนังสือ Amazon.com ก็จะบันทึกข้อมูลของคุณเอาไว้เลย จำคุณได้ทันทีเลยโดยที่คุณยังไม่ได้สมัครเป็น Member เลย หรือเทคนิคอีกแบบหนึ่งก็คือ CRM แบบ One to One ส่วนราชินีก็คือ eBay.com
B2C ยังมีการขายอย่างอื่นอีก ก็คือการขายบริการ ซึ่งทางการตลาดเราสามารถขายของได้ 2 ประเภท คือ Product และ Service ซึ่งการขายแบบ Service จะขายยากกว่าขาย Product แต่การขาย Service ถึงแม้ว่าจะขายยากกว่าแต่ส่งของได้ง่ายกว่า ส่วนใหญ่จะส่งได้ทางอินเทอร์เน็ตเลย และสามารถส่งได้ 100% ตัวอย่างเช่น E-Banking การซื้อขายหุ้นผ่านทางอินเทอร์เน็ต การหางานการสมัครงานผ่านทางอินเทอร์เน็ต การซื้อทัวร์ท่องเที่ยวต่างๆ เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ
การทำ Customer Service ก็ต้องทำเหมือนกับขายแบบปกติมีการแนะนำบริษัทหรือร้านค้าของเรา ต้องมีสินค้าให้ลูกค้าดู มี Catalog ต่างๆ มีราคา มีคำแนะนำ มี FAQ ต่างๆ มีคำแนะนำในการสั่งซื้อ การรับ Order การชำระเงิน เงื่อนไขการขายต่างๆ มีการบริกรหลังการขาย รับประกันความพอใจ การส่งของคืน
4. C2B (Consumer To Business) ก็คือว่า Consumer หรือผู้บริโภคขายของให้กับองค์กร อาจจะเป็นของที่ใช้แล้วหรือว่าเป็นของที่คนอื่นทำไม่ได้ เช่น งานฝีมืออะไรบางอย่าง แล้วก็องค์กรมี Order ไป องค์กรนั้นอาจจะเอาไปขายต่อในห้างสรรพสินค้า เอาไปตั้งโชว์ หรือเอาไป Export
5. C2C (Consumer To Consumer) ก็คือ บุคคลธรรมดาขายให้กับบุคคลธรรมดา คือไม่ขายให้องค์กรเน้นขายให้กับคน ก็คือคนขายให้คน ของที่ขายอาจจะเป็นพวกของใช้แล้ว ของใช้ส่วนตัว ตัวอย่าง Website ที่ดังๆ ก็คือ eBay.com แต่ Website ที่มาก่อนก็คือ C2C Auction แต่จริงๆ แล้ว C2C สามารถที่จะทำได้มากกว่านั้น เช่น ขายก็ได้ ตั้งราคาขาย แล้วก็ขาย อย่างเช่นประกาศขายรถเก่า หรือของใหม่ก็ได้เหมือนกัน Service ต่างๆ ที่เป็น C2C อย่างเช่น นวด หมอดู ก็คือเราทำคนเดียว ขายคนเดียว และมีคนซื้อคนเดียว
6. B2E (Business To Employee) ก็คือว่าองค์กรค้าขายกับพนักงานของตนเอง หรืออีกชื่อหนึ่งก็คือ Intra Business หรือ Intra Organization ซึ่งอาจจะไม่ใช่ขายก็ได้ อย่างเช่น เบิกค่า OT สวัสดิการ เบิกค่ารถ ขายของราคาพิเศษให้พนักงาน หรือเบิกค่า Entertain ลูกค้า แล้วก็ E-Learning ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นในองค์กร พวก Training ฝึกอบรม เป็นการใช้ภายในองค์กรของตนเอง ทำอะไรได้บ้างก็ตัวอย่างเช่น ใช้ในการบริหาร Sale Force หรือบริหารพนักงานขาย เช่น พนักงานไปทำงานข้างนอก สามารถที่จะ Login เข้ามาดู Order ต่างๆ หรือมาOrder ของให้ลูกค้า หรือมาดู Inventory ว่ามี Stock ขายลูกค้าหรือเปล่า ซึ่งดีกว่าไปเปิดกระดาษขาย และก็ไม่ Update นอกจากนั้นก็ยังมีรายละเอียดเกี่ยวกับการขาย รายละเอียดลูกค้า Profile ของลูกค้าต่างๆ นอกจากนั้นยังใช้ใน Business Unit คือบริษัทในเครือ หรือฝ่ายต่างๆ ในบริษัทฯ เรา บางทีมีการซื้อขาย เบิกจ่าย โอนเงินต่างๆ ภายในบริษัทเรา หรือเป็นการชำระเงินก็มีบ้าง หรือการโอนงบประมาณ
7. Mobile Commerce หรือ M-Commerce มีคำจำกัดความก็คือ เป็น E-Commerce ที่เป็น Wireless ก็คือการซื้อขายทางพาณิชย์ผ่าน Web Browser ผ่านอินเทอร์เน็ตแต่เป็น Wireless อย่างเช่น โทรศัพท์มือถือ Pocket PC หรือ Notebook หรืออะไรก็ตามที่เคลื่อนที่ได้ เค้าแยกประเภทไว้เป็นอีกประเภทหนึ่ง เพราะว่านักคอมพิวเตอร์กับนักธุรกิจมานั่งคิดแล้วว่าถ้าเอา Web Browser เคลื่อนที่ได้ เราจะต้องขายของอีกอย่างหนึ่งที่ไม่เหมือนเดิม สมมติว่าคนนั่งอยู่ที่บ้านหรือที่ Office ก็จะมีพฤติกรรมอีกอย่างหนึ่ง แต่ว่าคนที่มีโทรศัพท์มือถือ PC ที่เข้าอินเทอร์เน็ตได้ และไปตามที่ต่างๆ เรื่อยๆ เราจะต้องขายได้มากกว่า เพราะว่าซื้อได้สะดวกขึ้น ซื้อเมื่อไรก็ได้ตามที่เค้าต้องการ ซึ้งต้องขายของที่แปลกออกไป ซึ่งก็จะสืบเนื่องไปถึงพฤติกรรมที่ไม่เกี่ยวในที่นี้ ซึ่ง M-Commerce ก็คือ E-Commerce ที่เคลื่อนที่ได้ และ L-Commerce (Local Based Commerce) ก็คือ M-Commerce ที่เคลื่อนที่ได้และรู้ว่าอยู่ที่ไหน ที่ย่อมาจาก Location Base
8. G2C (Government To Citizen) ก็คือว่ารัฐบาลขายให้กับประชาชน อาจจะขายที่เป็นบริการของรัฐ อาจจะเสียเงินหรือไม่เสียเงินก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล กทม. รัฐวิสาหกิจ ซึ่งรัฐบาลก็พยายามที่จะเรียกว่า E-Government ซึ่งเป็นกิจกรรมที่รัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐทำกับประชาชนในด้านต่างๆ ในประเทศไทยก็มีตัวอย่างเช่น คนไทยดอทคอม หรือ การใช้บริการเสียภาษีต่างๆ ของกรมสรรพากร หรือบริการของกรมศุลกากรซึ่งอาจจะมีลักษณะเป็นแบบ G2B

ซึ่งขั้นตอนในการทำ E-Government (ในหนังสือ) มีขั้นตอนในการทำผ่านอินเทอร์เน็ต 6 ขั้นตอน ก็คือ
1. ขั้นตอนของการให้ข้อมูล
2. การสร้าง Transaction ขึ้น อย่างเช่น สร้างเส้นทางการชำระเงิน มีใบเสร็จ หรือการซื้ออะไรต่างๆ
3. Portal ก็คล้ายคนไทยดอทคอม จะบอกทุกอย่างที่เราต้องการจะทำ อย่างเช่น ถ้าต้องการจะขอสัญญาณจะต้องทำอย่างไร ทุกอย่างที่น่าสนใจจะสามารถเข้าไปดูได้
4. G2G การซื้อขายหรือการทำสัญญา สนธิสัญญาต่างๆ หรือกิจกรรมที่ทำระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาล

5. Support Service หรือกิจกรรมอะไรต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการขายต่างๆ ซึ่งส่วนมากจะให้คนอื่นทำให้ นอกจากมีของแล้วก็ขาย ก็ยังมี
5.1 Advertising เวลาที่เราจะขายของเราก็ต้องมุ่งพัฒนาที่จะขายของ ซึ่งบางทีเราก็ไม่เชี่ยวชาญในด้านนี้ โดยเฉพาะ Payment ซึ่งส่วนมากจะให้คนอื่นทำให้เพื่อลูกค้าจะได้เชื่อถือ และทำอะไรได้คล่องตัวด้วย เรามาดูการพัฒนาซึ่งก็เกี่ยวเนื่องกับการตลาดด้วย ซึ่งจะทำอย่างไรถึงจะให้ลูกค้ารู้ว่าเรากำลังขายของ ลองเปรียบเทียบกับสื่อดังเดิมกับสื่อทางอินเทอร์เน็ต สื่อดังเดิมก็เช่น วิทยุ โทรทัศน์ แต่สื่อทางอินเทอร์เน็ตก็เช่น Banner ซึ่งมีอยู่ 2 อย่างด้วยกันคือ Key Word Banner จะเอา Key Word ที่เราคีย์เข้าไปอาจจะเป็นตรง Search หรือตรงถามข้อมูล แล้วเราก็ไปเอาโฆษณาที่ตรงกับ Banner นั้นมาโชว์บน Website เพราะฉะนั้นมันจะเป็นการ Focus กลุ่มของลูกค้าได้มากขึ้น กับ Random Banner PoP Up ก็คือหน้าต่างใหม่ที่โผล่ขึ้นมา ซึ่งไม่ค่อยจะนิยมเท่าไร แล้วก็ E-Mail ซึ่งเป็น E-Mail Advertising ก็คือจะแฝงมาใน E-Mail ที่อาจจะส่งมาโดยตรงหรือแฝงมาใน E-Mail เป็นบรรทัดเล็กๆ อยู่ข้างล่าง ถ้าเปรียบเทียบกับโทรทัศน์กับวิทยุ หนังสือพิมพ์ ซึ่งไม่สามารถจะ Focus กลุ่มของลูกค้าได้ บางทีก็เป็นพวก Spam Mail โฆษณาผ่านอินเทอร์เน็ต ถือเป็น Interactive คือสามารถโต้ตอบได้ทันที แล้วก็มีในเรื่องของ Affiliate Marketing ซึ่งกำลังเป็นเรื่องฮิตในปัจจุบันนี้ และอีกแบบนี้ที่เป็นการโฆษณาของตัวเราเอง หรือเป็นการที่จะให้คนอื่นรู้จัก Website ของเรา ซึ่งมีหลายวิธีเช่น Google Adword หรือ Google Adsend ซึ่งเราจะต้องเข้าไปสมัคร อีกวิธีหนึ่งก็คือไปจดทะเบียน E-Commerce ต้องจดให้ถูกต้องตามกฎหมายอยู่แล้ว ซึ่งหลังจากจดแล้วก็จะมีชื่อWebsite ของเราเข้าไปอยู่ใน E-Directory ของกรมทะเบียนการค้าซึ่งจะแบ่งตามหมวดหมู่ ตามประเภท สามารถที่จะเข้าไปดูได้เลยว่าขายอะไร ก็จะมีตราให้ตรารับประกันคุณภาพ แล้วก็มีทะเบียน E-Commerce ให้ ซึ่งทั้ง 3 ตัวจัดเป็นเครื่องมือหลักในการทำโฆษณา

5.2 Payment Order ส่วนมากจะเป็น Service ที่เสริมขึ้นมาเพราะเราไม่สามารถจะทำได้เอง ซึ่งก็จะมี E-Check ซึ่งจะนิยมใช้ในอเมริกา ที่ฮิตที่สุดก็คือ Credit Card ทำอย่างไรถึงจะรับ Credit Card ได้ เพราะฉะนั้นเราจะต้องติดต่อกับทางธนาคารที่เค้าเรียกว่า E-Payment Gateway ไปบอกกับธนาคารว่าเราต้องการจะทำ Payment Gateway บอกว่าเราจะขายของ ธนาคารก็จะลงทะเบียนให้เรา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธนาคารพาณิชย์ ถ้าเราไม่ต้องการไปผูกกับธนาคาร ก็จะมีของไทยเราอยู่ 2 ตัว ก็คือ Thai E-Pay กับ Paysabay.com โดยที่เวลาจ่ายเงินแล้วมันก็จะ Redirect ไปที่ Paysabay.com แล้วก็ตัดเงินลูกค้าจากบัตรเครดิต แล้วก็ Redirect กับมาที่เรา Thank You ก็ส่งของให้ลูกค้า แล้วพอถึงสิ้นเดือนเราก็ไปเบิกเงินกับ Paysabay ได้ ต่อมาก็เป็นพวก Electronic Card อย่างเช่น บัตรที่ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น เช่น บัตร Smart pert อันต่อมาก็คือ Electronic Bill Presentment and Payment ซึ่งเป็นศัพท์ของทางธนาคาร ตัวย่อว่า EBPP ก็คือการวางบิลทางอิเล็กทรอนิกส์ ใช้ใน B2B E-Wallet ก็คล้ายๆ กับบัตร Smart Pert อันสุดท้ายก็คือ Virtual Credit Card ของธนาคารกสิกรไทย ที่ไม่มีตัวบัตรจริงๆ มีแต่เลขที่ที่สามารถใช้ได้ทางอินเทอร์เน็ต

5.3 แล้วก็การส่งของ

องค์ประกอบของ E-Commerce ประกอบด้วยเสาหลัก 5 อย่าง
1. People ก็คือ มีคนซื้อ คนขาย แล้วก็คนกลางในลักษณะขายส่ง แล้วก็พวกพัฒนาระบบ ก็คือคนเขียน Program แล้วก็มีพนักงานส่งของ ก็คือมีคนที่ประกอบด้วยคนต่างๆ หลายกลุ่ม ผู้บริการ
2. Public Policy ก็คือ มีกฎหมาย พรบ.ต่างๆ เรื่องของภาษีอากร ระเบียบขององค์กรของรัฐวิสาหกิจของธนาคารแห่งประเทศไทย แล้วก็พวกมาตรฐานต่างๆ หรือวิธีการต่างๆ ซึ่งถ้าไม่มีกฎหมายรองรับ คนซื้อก็จะไม่กล้าซื้อ คนขายก็จะไม่กล้าขาย ในประเทศไทยมีกฎหมายรองรับ ก็คือ พรบ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเลคทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และ พรบ.ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
3. การตลาดและประชาสัมพันธ์ ก็จะประกอบไปด้วยการทำ Promotion complain ต่างๆ การทำวิจัยการตลาดก่อนที่จะขายหรือก่อนที่จะตั้ง Web และ Content จะต้องดึงดูดน่าสนใจ และการตลาดแบบอื่นๆ รวมถึงบริการหลังการขาย
ซึ่งจริงๆ แล้ว E-Commerce หรือการขายของผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นแค่ Channel หรือช่องทางการจำหน่ายเท่านั้น แต่ช่องทางการจำหน่ายนี้จะต้องทำวิจัยการตลาด ทำ Promotion ทำโฆษณา ถ้าไม่ทำก็จะไม่มีใครรู้จัก Website ของคุณ เช่น การโฆษณาตาม Website
4. Support Service ก็คือ กิจกรรมหรือบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อที่จะให้เราทำ E-Commerce สำเร็จ เช่น Logistic การขนส่งสินค้า การรับส่งสินค้า เพราะสินค้าส่วนใหญ่ในปัจจุบันที่เป็น E-Commerce ยังต้องส่งอยู่ ซึ่งเราไม่สามารถจะส่งตรงจอได้บางอย่าง เพราะฉะนั้นเรื่องของ Logistic เป็นเรื่องที่สำคัญ การ Payment ก็คือการจ่ายเงิน ซึ่งสำคัญที่สุดและเป็นเรื่องใหญ่ที่สุดเรื่องหนึ่ง เรื่องการชำระเงินค่าสินค้าและบริการ นอกจากนั้นก็เป็นเรื่องของ Content คือเรื่องของหน้าตา Web สิ่งที่คุณใส่เข้าไปจะต้องมีความสวยงามทั้งรูปภาพและข้อความ และ Security ก็เป็นเรื่องสำคัญ คุณจะต้องทำให้ลูกค้ามั่นใจในเรื่องของ Security ของการซื้อของบน Web คุณ ว่ามันปลอดภัย หลักการก็คือให้ลูกค้ามั่นใจว่ามันปลอดภัย แม้ว่ามันจะไม่ปลอดภัย แล้วก็ในเรื่องของการพัฒนาระบบต่างๆ การว่าจ้างทำ Web การทำ Web Hosting การจ้าง Web Master Audit
5. System Partnership การทำธุรกิจในยุคนี้ไม่ว่าจะเป็นบนอินเทอร์เน็ตหรือไม่อินเทอร์เน็ตจะต้องมีคู่ค้า ผู้ช่วยเหลือ ตัวอย่างเช่น Affiliate Program ก็คือการให้คนอื่นมาช่วยทางธุรกิจเพื่อพัฒนา แลก Link หรือว่าทำ Search Engine Marketing Joint Ventures ก็คือลงทุน ร่วมทุน เพราะบางอย่างต้องอาศัยเงินทุน และ Acceded ความสามารถในแต่ละแขนงต่างๆ ตัวอย่างเช่นการทำบัตร Smart Pert ของร้านเซเว่นอีเลฟเว่นจะต้องร่วมมือกันหลายฝ่าย เพราะว่าเซเว่นฯ เป็นหัวเรือใหญ่ที่มีความเชี่ยวชาญทางการค้าปลีก แต่ว่าไม่มีความเชี่ยวชาญทางการเงินก็ต้องไปอาศัยผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินก็คือธนาคาร และผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัตรเครดิตก็คือ Visa Card นอกจากนี้ก็มีตลาดอื่นๆ ที่เราเข้าไปร่วม เพื่อจะได้ขายได้ หรืออาจเป็นสมาคมต่างๆ ก็ได้ ที่ค้าขายอย่างเดียวกันกับเราก็เข้าไปร่วมกับเค้าก็ได้ อาจจะสร้าง Web ร่วมกันก็ได้
ประโยชน์ของ E-Commerce (อยู่ในหน้า 173) เราจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน

1. ประโยชน์ต่อองค์กรหรือบริษัท (B)
1.1 ทำให้องค์กรขายของได้มากขึ้น มีจำนวนลูกค้าเพิ่มมากขึ้น เพราะว่ามีการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายอีช่องหนึ่งก็คือ ช่องอินเทอร์เน็ต แล้วก็ไม่จำกัดอยู่เฉพาะภายในประเทศที่บริษัทตั้งอยู่ การค้าขายผ่านทางอินเทอร์เน็ตจะมี Operating Cost ต่ำมาก ต่ำกว่าการขายโดยวิธีอื่นเพราะค่อนข้างจะเป็น Direct Sale
1.2 สามารถจะซื้อวัตถุดิบได้รวดเร็วและถูกกว่า
1.3 ช่องทางการขายอาจจะลดหรือตัดทอนลงไปได้ แทนที่เราจะต้องไปขายให้กับผู้ค้าส่งก่อนถ้าเราขายบนอินเทอร์เน็ตจะเป็นลักษณะ Direct Sale คือตัดคนกลางออกไป เพราะลูกค้าสามารถจะเข้ามา Login เข้ามา Website ของเราโดยตรง ซึ่งจะทำให้ลูกค้าซื้อของได้ถูกลงเพราะไม่ต้องไปแบ่งเปอร์เซ็นต์ให้ใคร
1.4 เกี่ยวกับการบริหารงานเอกสาร ซึ่ง E-Commerce สามารถจะช่วยลดลงไปได้ 90 เปอร์เซ็นต์ การทำ Customer Service สามารถทำได้ผ่านทาง E-Commerce ก็คือมี Web Board มี E-Mail สำหรับรับ Compain ซึ่งก็สามารถจะตอบลูกค้าได้เลย ก็ทำให้รวดเร็ว และที่สำคัญอีกอย่างก็คือ Low Cost
1.5 Customization แบบที่ Dell ทำ ก็คือว่า การทำ Product ให้มี Spec ตามที่ลูกค้าต้องการได้ตรงกว่า ด้วยต้นทุนที่ถูกลง ต้นทุนการผลิตที่ถูกลง และก็ไม่จำเป็นต้องมี Stock สินค้าที่มากมาย และไม่จำเป็นต้องมี Inventory คลังสินค้ามาก และอีกอย่างก็คือต้นทุนที่เกี่ยวกับการขายคือในส่วนที่เป็นของลูกค้าเราไม่ต้องออกเงิน เราจัดการทำแต่ Server ตัวเดียว แต่ลูกค้าจะเป็นคนซื้อเองในด้านอุปกรณ์โดยไม่รู้ตัว เช่น Notebook, Modem

2. ประโยชน์ต่อผู้บริโภค (Consumer ( C )) หรือคนซื้อ
2.1 มีร้านค้าให้เลือกมากขึ้น ซึ่งเป็นเหตุให้ซื้อของได้ถูกลง
2.2 ลูกค้าสามารถเลือกสินค้าได้มากขึ้น อยากเช่นตั้งใจจะซื้อของอย่างหนึ่ง แต่ดู Web ไปดู Web มากลับซื้อของอีกอย่างหนึ่งแทน หรือที่เรียกว่า Substitute Product ก็คือ การซื้ออย่างอื่นแทนที่มันมีลักษณะคล้ายๆ กัน
2.3 สามารถซื้อของได้ 24 ชั่วโมง ทุกวัน และจะซื้อจากที่ไหนก็ได้ ไม่เมื่อยขาด้วย
2.4 ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าได้ง่ายขึ้น มากขึ้น ทำให้สามารถจะเลือกของ หรือ Spec ได้อย่างรวดเร็ว
2.5 Customize Product and Service เกี่ยวกับความพึงพอใจของลูกค้า ถ้าลูกค้าสามารถ Customize ของที่เราสั่ง ได้จะมีความพึงพอใจมากขึ้น ยังมีเรื่องอื่นอีกนอกจากการซื้อขาย เช่นเราสามารถจะทำงานที่ไหนก็ ได้ เรียนที่ไหนก็ ได้ ซึ่งจะทำให้เราลดต้นทุนการเดินทางได้ โดยถ้าเรียนผ่านทาง E-Leaning มันจะถูกกว่า แล้วก็พวกประมูล Online ก็จะได้ของถูกกว่า หรือจำพวก Hi5 , Fresh book หรืออะไรก็ตามที่ทำให้คนมีสังคม Online ก็เป็นความพึงพอใจ เป็นประโยชน์ ต่อ Consumer ที่เราเรียกว่า Social Network

3. ประโยชน์ที่มีต่อส่งคม ประเทศชาติ เศรษฐกิจโดยรวม (S) ในบางช่วง E-Commerce ทำให้เศรษฐกิจเติบโตขึ้น โดยปกติแล้วเศรษฐกิจในบางประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะในอเมริกาการค้าขายผ่านอินเทอร์เน็ตมีปริมาณมากขึ้น ก็ทำให้เศรษฐกิจเติบโตขึ้นด้วย นอกจากการค้าขายตามปกติ คือถ้ามีคนซื้อของมากมีคนขายของมาก เศรษฐกิจก็จะโต แต่ถ้าเมื่อไรที่คนไม่อยากซื้อของไม่อยากขายของ น้ำมันแพง เศรษฐกิจมันก็จะฝืด เงินก็จะตึง ก็คือเงินเฟ้อแล้วเงินก็จะตึงด้วย เพราะฉะนั้น E-Commerce ก็จะช่วยได้ และในทางตรงกันข้าม ในช่วงที่ซบเซา ในปี 2000 ที่ .com Fail หรือปิดไปเยอะ ซึ่งมีส่วนทั้งสองด้าน ต่อมาก็เป็นเรื่องของการทำงานที่บ้าน หรือเรียนที่บ้าน ซึ่งถ้ามีการทำงานที่บ้านมากขึ้น การจราจรก็จะลดลง อากาศเสียก็จะลดลง การใช้น้ำมันลดลง เมื่อประชาชนซื้อของได้ถูกลง ก็จะทำให้มาตรฐานการครองชีพดีขึ้น ก็คือค่าใช้จ่ายในครัวเรือนลดลง ในระดับชาติ ก็คือ ประชาชนในประเทศกำลังพัฒนาหรือว่าชนบท สามารถที่จะซื้อของได้ของดีและถูกเท่ากับคนในเมืองหรือประเทศที่เจริญแล้ว พวกสินค้า OTOP ที่ขายไม่ค่อยได้ ก็มีมาขายในอินเทอร์เน็ตเยอะขึ้น แล้วก็ E-Commerce เป็นสิ่งที่ดีที่สุดเลยที่จะมาใช้กับกิจการของรัฐ คือไม่ใช่พวกซื้อขายอะไรต่างๆ แต่เป็นบริการของรัฐ อาจเป็นเพราะว่ามีคนจำนวนมาก ทำให้สามารถบริการได้ดี และได้เร็วขึ้นคือว่ามันไม่ต้องมีการชำระเงินมาก เป็นการส่งแค่เอกสาร
ให้ไปอ่าน ปัญหาและอุปสรรคในการทำ E-Commerce หน้า 173

Auction and Bartering
Auction ก็คือการประมูล ก็คือเราอยากจะขายของเราก็อยากจะขายให้ได้ราคาถูกที่สุด อย่างเช่น บริษัทที่ขายรถใช้แล้ว พอยึดมาได้ก็เอามาขายโดยการประมูล เช่น สหการประมูล หรือบางอย่างก็มีการประมูล Online ซึ่งเราจะเรียกว่า E-Auction ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 อย่าง คือ Forward (เป็นการประมูลแบบทั่วๆ ไป ที่ต้องการราคาขายที่สูงที่สุด) กับ Reverse (เป็นการประมูลซื้อที่เป็น One Buyer คือมีคนซื้อคนเดียว แต่ว่ามีคนขายหลายคน เป็นการประมูลที่ต้องการราคาซื้อที่ต่ำที่สุด) การทำ E-Auction เป็น Transaction Type ที่เป็นแบบ B2B , C2B , E-Government , C2C ก็ได้ เช่น บริษัท พันธวนิช ที่ทำธุรกิจ E-Auction คือให้บริการทำ E-Auction การทำ E-Auction เราสามารถทำเองก็ได้ ถ้าเป็นบริษัทขนาดใหญ่ มี Web ของตัวเอง และต้องมี Software มีขั้นตอน มีการเก็บเงินที่ค่อนข้างจะยุ่งยาก บางบริษัทก็ทำเอง เช่น บริษัท กสท โทรคมนาคม , บ.คาลเท็กซ์ ซื้ออุปกรณ์ในการกลั่นฯ เป็นต้น
Bartering หลักการก็คือ ไม่ต้องจ่ายเงิน มีของเอาไปแลกของ ในปัจจุบันมี Web ที่ทำเกี่ยวกับเรื่องนี้ ก็คือ Barter Broker.com กลายเป็น E-Bartering หลักการก็คือทำให้คนเข้ามาแลกเปลี่ยนของได้สะดวกขึ้น หรือไม่ก็ทำให้คนรู้จักกันมากขึ้น ตัวอย่าง Case ในหนังสือก็อย่างเช่น eBay.com เป็นแบบ C2B Auction ซึ่งเป็น Auction ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ข้อแตกต่างระหว่าง E-Business กับ E-Commerce
ส่วนใหญ่ที่เราเห็นๆ กันอยู่ส่วนใหญ่เป็น E-Commerce ทั้งหมดที่เราเห็นๆ อยู่ตาม Web ต่างๆ ซึ่ง E-Commerce ถือว่าเป็น Sub Set ของ E-Business แต่ E-Business มันก็กว้างออกไปไม่มาก จะมีเป็นพวกข้อมูลข่าวสารสาระที่ไม่ใช่เชิงพาณิชย์ ส่วนใหญ่เป็นการให้ข้อมูลข่าวสาร สาธารณะประโยชน์ที่ไม่ใช่การพาณิชย์ ไม่ใช่การซื้อขาย ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ค่อยพูดกัน จะเป็น E-Commerce เสียส่วนใหญ่ ตัวอย่างเช่น สรรพากร ซึ่งทำทั้งสองแบบ คือ เป็นทั้ง E-Commerce และ E-Business ที่เป็นทั้งการให้บริการและรับชำระเงิน การโอนเงินผ่าน ATM หรือ E-Banking , Payment โอนเงินอะไรต่างๆ ซึ่งถือว่าเป็นส่วน ประกอบ คือเป็นกิจกรรมที่อยู่ภายใต้ E-Commerce และ E-Business อีกทีหนึ่ง ให้ลองไปดูเสา 5 ต้นอีกที่หนึ่ง ว่าทั้งหมดนี้เป็นส่วนไหนของเสา 5 ต้นบ้าง แต่หลักๆ แล้วเราจะดูที่ว่าเป็นแบบ B2B หรือว่าเป็นแบบ B2C

ต่อไปเรามาดูกันในเรื่องของ E-Procurement ของรัฐบาลอังกฤษ เป็นหน่วยงานรัฐบาลเกี่ยวกับ อย. ก็ไม่เชิง หรือจะเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม หรือ กทม. ก็ไม่เชิง แต่เป็นหน่วยงานรัฐบาล ซึ่งเค้าจะมีการซื้อของจำนวนมาก คือในหนึ่งปีจะมีการซื้อ 16,000 คำสั่งซื้อ มี Invoice กองอยู่ 120,000 ฉบับ มีการชำระเงินทั้งหมด 100,000 Transaction แล้วก็พวกรายจ่ายทั่วไปต่างๆ ซึ่งเยอะมากเลย การทำบัญชีในแต่ละเดือนก็ยุ่งยากมาก แล้วก็มีพวก Supplier เยอะมากเลย ก็เลยเอา E-Procurement เข้ามาช่วย โดยไปซื้อมาจาก Oracle โปรแกรมที่ไปซื้อมาเค้าเรียกว่า E-Business Sweet คือถ้าเห็นคำว่า Sweet จะหมายถึงชุดของโปรแกรม ซึ่งจะมีหลายโปรแกรมรวมกันอยู่ สามารถจะทำกิจกรรมได้ครบถ้วน แต่ถ้าเป็น E-Business Sweet ก็หมายถึงเขียนแบบครอบจักรวาลเลย ไม่ว่าอะไรที่ทำเป็น E-Business ทำได้หมด ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ การแจกต่างๆ ซึ่งจะมี Module ต่างๆ อยู่ครบ ซึ่งที่เค้าซื้อมามี Module E-Contact การทำสัญญาซื้อขาย นอกจากจะซื้อขายแล้วยังมีการทำสัญญา เป็น E เลยไม่มีกระดาษทั้งคนซื้อและคนขาย E-Cantering Auction ประกาศประมูลทั้งซื้อและขาย E-Billing คือ การส่งบิลทางอิเล็กทรอนิกส์หรือว่าทางอินเทอร์เน็ต โดยระบบนี้ก็มี User เข้าไปใช้ของหน่วยราชการนี้ 1,000 คน แล้วก็มีการสั่งซื้อเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งโปรแกรมที่ซื้อมาราคาค่อนข้างแพง แต่ถ้าเขียนเองก็มันจะมีขั้นตอนเยอะ และโอกาสที่จะประสบความสำเร็จยาก แต่ถ้าซื้อมาใช้เองถึงจะราคาแพงหน่อย คิดคำนวณหักในการใช้ไป แต่เป็นการลดกระดาษไปได้เยอะ และลดจำนวน Invoice ไป ซึ่งเป็น Case ที่ Success อีก Case หนึ่ง

No comments: