Wednesday, June 4, 2008

Lecture ISC#1

สรุปการเรียนวิชา ISC
ครั้งที่ 1 วันที่ 4 มิถุนายน 2551


อุปกรณ์การสอน
1. หนังสือที่ใช้ประกอบการเรียน : Discovering Computer 2008
2. e-Learning เข้าใช้ได้จาก Homepage คณะฯ> e-Learning> ลงชื่อเข้าใช้> หาวิชาที่เรียน
3. ซีดี presentation จากอาจารย์

การประเมินผล
ช่วงก่อน Mid Term : เน้นความรู้ด้าน ฮาร์ดแวร์ โดยจะใช้ความรู้ในบทที่ 1,2, 4-7
ช่วงหลัง Mid Term : เน้นความรู้ด้าน ซอฟต์แวร์ โดยจะใช้ความรู้ในบทที่ 3,8, 11-15

การเก็บคะแนน
Individual Assignment 10%
Group Assigment 20%
Mid Term 30%
Final 40%

ความหมายของคำ
USB Flash Drive : ไดร์ฟหน่วยความจำ ที่คนส่วนใหญ่มักจะเรียกกันว่า thumb drive
Portable : อุปกรณ์พกพา
Capacity : ความจุ

ความแตกต่างระหว่าง Internet กับ World Wide Web
Internet : โครงข่ายใยแมงมุม ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก เป็นเสมือนสาธารณูปโภคพื้นฐานอย่างหนึ่ง เหมือนกับระบบน้ำ หรือไฟฟ้า
World Wide Web : เป็นบริการอย่างหนึ่งบนอินเทอร์เน็ต

*** คุณลักษณะของข้อมูล หรือสารสนเทศที่มีคุณภาพ ***
1. Accurate : มีความถูกต้องแม่นยำ
2. Complete : บริบูรณ์/ครบถ้วน –ข้อมูลจะต้องมีความสมบูรณ์มีเนื้อหาครบถ้วน
3. Econimical : ประหยัด
4. Flexible : เปลี่ยนแปลงได้/ปรับได้/ แก้ไขง่าย/ ยืดหยุ่น
5. Reliable : เชื่อถือได้, ความเชื่อถือได้ (reliability)
6. Relevant : ตรงประเด็น/ เกี่ยวเนื่อง, ความเกี่ยวเนื่อง (Relevancy)
7. Simple : ง่าย/ ธรรมดา
8. Timely : ทันเหตุการณ์/ เกิดขึ้นเหมาะสมกับเวลา, ความทันเหตุการณ์ (Timeliness)
9. Verifiable : ซึ่งพิสูจน์ความจริงได้/ ตรวจสอบได้/ ยืนยันได้, Verifiablility การพิสูจน์ความจริงได้/ การตรวจสอบได้

หมายเหตุ ความรู้ในส่วนนี้จะต้องสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับตัวอย่างอื่นๆ ได้ด้วย เพราะฉะนั้นต้องท่องคุณสมบัติทั้ง 9 ข้อให้ขึ้นใจ และลองหาตัวอย่างอื่นๆ มาลองประยุกต์ใช้ดูด้วย

ข้อมูล (Data)
Data : คือตัวตั้งต้น เป็นวัตถุดิบที่จะถูกนำไป process ต่อไป โดยเมื่อ Data ได้รับการ process แล้วจะกลายเป็น Information และถ้า process ต่อไปจะกลายเป็น Knowledge (องค์ความรู้) จากนั้นถ้าได้รับการ process ต่อไป จะเป็นระดับ Wisdom (นักปราชญ์)

Data ------> Information ------> Knowledge ------> Wisdom

ลักษณะของข้อมูล
ข้อมูลมีหลายประเภท โดยจะต้องมีการจำแนก (Classified) ระดับความสำคัญเป็นขั้นๆ ไป ได้แก่
1. ข้อมูลที่เปิดเผยได้ (Public Data) เช่น ชื่อ, อายุ เป็นต้น
2. ข้อมูลส่วนตัว (Private Data) จะเป็นข้อมูลที่ใช้กันภายในองค์กร หรือเป็นข้อมูลเฉพาะส่วนตัว
3. ข้อมูลลับ (Secret Data) จะเป็นข้อมูลที่ไม่เปิดเผย มีเพียบผู้เกี่ยวข้อง หรือเจ้าของข้อมูลเท่านั้นที่ทราบ โดยการทำข้อมูลให้เป็นข้อมูลลับ มีอยู่ 3 วิธี คือ ไม่เก็บไว้ที่ไหนเลย, เข้ารหัส และ ซ่อนไฟล์ ซึ่งการเข้ารหัส และซ่อนไฟล์ เป็นวิธีที่ใช้กับทางไอที

ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ อยู่ที่ไหนได้บ้าง?
1. ในอากาศ
2. สื่อต่างๆ (Media) เช่น แผ่นซีดี, USB Flash Drive, Harddisk เป็นต้น

ข้อมูลจะต้องมีการทำสำรองข้อมูลเอาไว้ (Back up) เพื่อป้องกันข้อมูลสูญหาย ซึ่งโดยธรรมชาติของข้อมูลแล้ว ถ้าไม่เก็บ ก็ต้องส่งไปยังที่อื่นๆ โดยการส่งข้อมูลให้ปลอดภัยนั้นจะต้องมีการเข้ารหัสก่อน ส่วนทางฝั่งผู้รับข้อมูลจะต้องมีกุญแจ เพื่อไขรหัส และต้องมีการแสดงตัวตนด้วย (Autenticate)

หากผู้ที่ได้ข้อมูลไปไม่ใช่ผู้รับที่แท้จริง หรือผู้รับตัวจริงทำกุญแจไขรหัสหาย สามารถแก้ไขข้อมูลที่ถูกเข้ารหัส ได้ด้วยการ crack
ถ้าเป็นข้อมูลที่ตั้งรหัสผ่านเอาไว้ 3 ตัว จะใช้เวลาประมาณ 5 วินาที ในการถอดรหัส
ถ้าเป็นข้อมูลที่ตั้งรหัสผ่านเอาไว้ 4 ตัว จะใช้เวลาประมาณ 2 นาที ในการถอดรหัส
ถ้าเป็นข้อมูลที่ตั้งรหัสผ่านเอาไว้ 8 ตัว จะใช้เวลาประมาณ 1 ปี ในการถอดรหัส ดังนั้นการตั้งรหัสผ่าน (password) ควรจะตั้งอย่างน้อย 8 ตัว

ทั้งนี้ ข้อมูลที่ดีจะต้องมีคุณภาพ และมีความมั่นคงปลอดภัย (Security) โดยการควบคุมการเข้าถึงข้อมูลนั้นโดยพื้นฐานแล้วจะใช้ User Name (ถือว่าเป็นข้อมูลที่เปิดเผยได้) และ Password (ถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล/ส่วนตัว) เพื่อแสดงตัวตน และเข้าถึงข้อมูลต่างๆ

รหัสผ่านที่ดี คือ รหัสที่ง่ายที่จะจำ แต่ยากที่จะเดา นั่นหมายถึงรหัสที่ตั้งขึ้นมานั้น คนอื่นจะเดารหัสของเราไม่ได้ แต่ตัวเจ้าของเองจะต้องจำได้ง่าย อีกทั้งการตั้งรหัสผ่านยังจะต้องมี อักษรตัวเล็ก + อักษรตัวใหญ่ + ตัวเลข ผสมเข้าด้วยกัน เป็นคำที่ไม่มีความหมาย มีความยากพอเหมาะ ไม่ต่ำกว่า 8 ตัวอักษร และเจ้าของควรจะเปลี่ยนรหัสผ่านอยู่บ่อยๆ เพื่อความปลอดภัย

นอกจากนี้การใช้รหัสผ่านแบบ single sign on (รหัสเดียว ใช้กับทุกที่) ยังจะต้องมีความระมัดระวัง และไม่ควรที่จะนำมาใช้ ควรจะตั้งรหัสการเข้าถึงข้อมูลในแต่ละแห่งให้ต่างกัน เพื่อป้องกันผู้อื่น ไม่ให้ลักลอบเข้าไปใช้ข้อมูลได้ง่ายนัก

ธนาคารใช้หลัก มี (บัตร) + รู้ (รหัส) กับบัตร ATM โดยการตั้งรหัสไว้ 4 ตัวนั้น เนื่องจากโดยปกติแล้วมนุษย์จะจำรหัสได้ประมาณนี้ อีกทั้งยังมีการตั้งกฎ ให้กดรหัสได้ 3 ครั้งมากำกับไว้ เพื่อเสริมความปลอดภัยให้กับลูกค้าที่ใช้บริการบัตร ATM ให้มากขึ้น

No comments: